กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทรด Breakouts อย่างไรไม่ให้เจอ Fakeouts

  • 0 replies
  • 836 views
เทรด Breakouts อย่างไรไม่ให้เจอ Fakeouts
« เมื่อ: 11, มีนาคม 2020, 08:37:03 PM »
เทรด Breakouts อย่างไรไม่ให้เจอ Fakeouts

Breakouts จะสามารถเกิดขึ้นได้พื้นที่ที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน หลังจากออเดอร์ที่เป็นตัวต้านทานใช้ไป และไม่มี market orders ต่อเนื่องทางนั้น จนสุดท้ายทำให้เกิดการเบรคเกิดขึ้น ขณะเดียวกัน Fakeouts หรือเรียกอีกอย่างว่า False Breakout ก็เกิดขึ้นประจำเช่นเดียวกันที่พื้นที่พวกนี้ เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังที่ทำให้เกิด Breakout หรือ Fakeouts เพราะขาใหญ่ต้องการใช้ประโยชน์จาก Liquidity ที่พื้นที่พวกนี้เป็นหลัก ทั้งเพื่อเข้าเทรดและเพื่อเร่งราคา การเทรด Breakout ทำให้ราคาวิ่งไปเร็วถ้าถูกทางก็กำไรเร็ว ผิดทางก็ติดลบเร็วเพราะเรื่องของ liquidity เป็นหลัก

ทำไมนิยมเทรด Breakout


เหตุผลหลักที่การเทรด Breakout เป็นที่นิยมกันเพราะเรื่องของจำนวน และการจัดการ liquidiy เป็นหลัก เพราะหลังจากผ่านช่วงสะสม positions ในหลักการของ Elliott Wave ก็จะเป็นช่วงที่ Accumulation หรือ Distribution ก่อนนั่นเองที่จะตามมาด้วย Breakout  ที่เป็นช่วงสะสม ก็จะเห็นราคาวิ่งอยู่ในกรอบแคบๆ หรือเรียกว่ายังมี volatility น้อย เราอาจกำหนดวิธีการดูเรื่อง volatility เพื่อดูช่วยได้ด้วยหลายวิธีเพื่อเป็นตัวช่วยบอกช่วง Breakouts หรือ Feakouts จะเกิดขึ้นได้ เช่นด้วยการอ่าน Price action, Moving Average หรือที่นิยมกันคือ Bollinger Bands เช่นภาพที่ยกมาประกอบเป็นการใช้ Bollinger Bands ก็จะตีความเรื่องของ volaitlity จากเส้น Upper band, middle และ lower band ถ้าระยะถ่าง 3 เส้นแคบ บอกว่าตลาดมี volatility น้อย และถ้าถ่างออกมากก็บอกถึง volatility มาก ถ้าดูแท่งเทียนประกอบ จะเห็นชัดว่าแท่งเทียนยาวๆ จะเกิดตอนที่ระยะถ่างมากของ Bollinger Bands

เข้าใจรูปแบบ Breakouts ก่อน แล้วจะเข้าใจ Fakeouts


การเปิด Breakout หรือ Fakeouts ที่เกิดที่พื้นที่ key level เช่นพวกแนวรับ-แนวต้าน หรือ pivot level, supply/demand เป็นต้น เมื่อมองจากรูปแบบ price structure จะแบ่งออกได้ 2 แบบคือ Continuation breakout เกิดการเบรคไปทางที่ทำเทรนหรือ impulsive move มา และแบบ Reversal breakout แบบสวนเทรนเกิดหลังจากที่ราคาทำเทรนมาสักระยะ เป็นช่วงปลายของเทรน ขาใหญ่เข้ามาเพื่อสะสม positions ก่อนเรื่อยๆ ในช่วง consolidation หรือ accumulation หรือ distribution เมื่อสะสมหรือเข้าออเดอร์ได้ตามต้องการก็จะดันราคาสวนเทรนเพื่อทำกำไร ตรรกะที่ทำให้เกิดเรื่องของ breakout อยู่ที่เรื่องการทำงานของออเดอร์ การเข้าและออกเทรดและการทำกำไรและการสูญเสียประกอบกัน และ breakout ต่างจาก Fakeouts คือ Breakout เป็นการเบรคและราคาไปทางที่เกิดการเบรคจริง ส่วน Fakeouts คือ ราคาเบรคเช่นกัน แค่ราคากลับสวนเทรนอย่างรวดเร็ว วิ่งสวนที่เกิดเบรค ถ้าพูดง่ายๆ คือ การที่ราคาเบรคจริงหรือเบรคหลอก นั่นเอง Fakouts มีการเรียกหลายอย่าง Fase Break, Stop hut, Liquidity hunt, Bull Trap หรือ Bear Trap เป็นต้น เพราะการที่เกิด Breakout หรือ Fakeouts อยู่ที่เรื่องของ liquidity ตรงพื้นที่ตรงนั้น ขาใหญ่ใช้ประโยชน์ เพื่อเข้าเทรดหรือจัดการการเทรดเพื่อทำกำไรมากขึ้น


Breakout กับ Liquidity


นอกจากรูปแบบของ price structure แล้วสิ่งที่สำคัญคือว่าอะไรที่ทำให้เกิด Breakout หรือ Fakeout หลักๆ เป็นเพราะขาใหญ่เข้ามีส่วนร่วม ดูกรอบสี่เหลียมสีเหลืองที่ราคาลงไป consolidaiton เกิดแนวรับด้านล่าง และแนวต้านด้านบนของกรอบ เป็นช่วงสะสม positions ดูว่าขาใหญ่ใช้อย่างไร มองย้อนมาที่เลข 1 ในตอนช่วงสะสม เทรดเดอร์ที่เปิด sell ก็ได้เปิด ที่เปิด buy ก็ได้เปิด ไม่มีความไม่สมดุลย์เกิดขึ้น เทรดเดอร์ที่เปิด sell ก็จะถือ short postions ก็จะกำหนด stop loss เหนือจุด High ที่ใกล้สุดขึ้นมานิดหน่อย เริ่มที่เส้นสีเหลืองเลข 1 ถ้าราคาดันขึ้นมาก็จะแตะ stop loss ส่วนเทรดเดอร์ที่เปิด buy ถือ long positions ก็จะกำหนด stop loss ต่ำกว่าเส้นสีเขียวเล็กน้อย สิ่งที่น่าสังเกตุตรงที่เหนือเลข 1 ก็เป็นแนวรับเก่า หลักการเดียวกันตรงที่เลข 2 แล้วใครดันลงมาเพื่อแตะ stop loss ที่สำคัญคือการทำงาน stop loss เมื่อราคาแตะจะกลายมาเป็น sell market orders ทันที นั่นหมายความว่าถ้าขาใหญ่จะเปิด Buy พวกเขาต้องการ sell orders ที่มาจาก stop loss ตรงนั้นเพื่อจะมา fill orders ของพวกเขา ดังนั้น stop loss เลยเพิ่ม liquidity เข้าตรงที่กำหนดให้ขาใหญ่หาได้ง่าย และนอกจากนั้นตรงพื้นที่ตรงนั้นยังมีออเดอร์จากเทรดเดอร์ที่เทรดแบบ Breakout ด้วยก็จะเข้าตลาดเช่นกัน ส่วนมากก็จะกำหนด เป็น pending orders ซึ่งในที่นี้คือ sell stop orders ดังนั้นทั้ง stop loss และ sell stop ต่างเป็นออเดอร์ที่จะทำงานด้วยเงื่อนไขเดียวคือราคาตลาดมาแตะเท่านั้น ก็จะกลายเป็น sell market orders ทันทีเพราะตลาดเปิดเทรดให้เอง ไม่ใช่เทรดเดอร์เปิด ส่วนมากก็จะเป็นพื้นที่ที่ Low มาก จำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ price structure ที่บอกถึงการสะสม วิธีการง่ายๆ ให้ดูพื้นที่จาก timeframe ใหญ่เป็นหลักเพื่อหลักการสะสม positions พอพวกเขาเข้าได้ก็ดันราคาขึ้นมา แล้วยังแตะ stop loss พวกเทรดเดอร์ที่เปิด sell ด้วย ก็จะกลายเป็น buy market orders ก็จะช่วยดันราคาให้ด้วย

หรือตัวอย่างที่ 2 ที่เกิดการดันราคาขึ้นเบรคไปก่อนแล้วลงมาด้วย แท่งเทียนยาวๆ เป็นการล่า stop order จากพวกเทรดเดอร์ที่เปิด sell ก่อนเพื่อเข้าตลาดที่ราคาดีกว่าแล้วดันราคาลงมา จนกว่าถึงด้านล่างอีกที ค่อยดันให้เกิด Breakout อย่างจริงจัง

จากที่ยกตัวอย่างมา เป็นไปได้ก่อนที่ Breakout จะเกิดขึ้นมักจะเห็น Fakeout เกิดขึ้น เพราะตรรกะเรื่องของ liquidity ที่ขาใหญ่ต้องการเพื่อเข้าเทรด และรูปแบบแนวรับ-แนวต้านที่เป็นจุด Breakout มีหลายแบบแล้ว อาจเป็น Trendline, หรือพวก chart patterns แบบสามเหลี่ยมเช่น Ascending Triangle, Descending Triangle หรือ Symmetrical triangle ก็ได้

และวิธีการเลี่ยงไม่ให้เจอ Fakeout ในการเทรด Breakout ให้รอดูว่ามีการล่า liquidity หรือเปล่าให้เกิดขึ้นก่อนค่อยเปิดเทรด หรือรอให้ Breakout เกิดขึ้นก่อนค่อยเปิดเทรด