กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Consolidation Breakout คืออะไร มาทำความรู้จักกัน

  • 0 replies
  • 3,659 views
Consolidation Breakout คืออะไร มาทำความรู้จักกัน
« เมื่อ: 13, พฤศจิกายน 2019, 09:24:06 PM »
ทำความรู้จัก Consolidation Breakout

อาการที่ราคาทำ Breakout หรือกลยุทธ์การเทรด Breakout เป็นเรื่องที่เทรดเดอร์ส่วนมากพยายามใช้ประโยชน์ให้เข้ากับตัวเอง ตัวอย่างคือถ้าเป็นเทรดเดอร์ประเภทที่เป็น Breakout เทรดเดอร์จะเทรดเมื่อเห็นราคาเบรคกรอบพื้นที่ consolidation หรือราคาวิ่งอยู่ในกรอบ การเทรดอาจกำหนด stop order ประกอบเข้าไปเพื่อใช้ประโยชน์จาก stop loss เช่นขาใหญ่พวกที่หวังทำกำไรระยะสั้น  หรือรอเทรดเมื่อเห็นราคา Breakout เกิดขึ้นจริงค่อยหาโอกาสเปิดเทรดตอนที่ราคาย่อตัวลงมาเทสอย่างรวดเร็ว หรืออาจมีระยะห่างก็ได้ค่อยเปิดเทรด อย่างรูปแบบการเทรดแนว supply/demand หรือในทางตรงกันข้าม ก็เปิดโอกาสให้เทรดสวนได้หลังจากที่ราคาได้ทำ Breakout เกิดขึ้นแล้วราคากลับวิ่งสวนอย่างรวดเร็ว ในบทความนี้จะกล่าวเรื่องราคาเบรคพื้นที่ consolidation ก่อน

Breakout กำหนดอย่างไร


การกำหนด Breakout เพื่อเทรดจำเป็นต้องอ่าน price structure ประกอบ ไม่ใช่แค่ดูว่าราคาเบรคกรอบราคาหรือ แนวรับ-แนวต้านเท่านั้น อย่างกรณีแรก เมื่อราคาวิ่งอยู่ในกรอบ consolidation หรือ sideway ก็ได้ก็ให้ดูที่มาก่อน  ตามภาพประกอบจะเห็นว่าราคาก็เบรคลงมา แต่เราไม่ได้กล่าวถึง Breakout ตรงนี้ จะกล่าวถึงที่เลข 1 และเลข 2  นั่นเลยจำเป็นต้องอ่าน price structure ประกอบก่อนจะอ่านว่า Breakout ที่เกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์อะไร อย่างแรกที่สามารถบอกได้เลยว่าเรื่องของ Breakout เป็นผลงานที่ขาใหญ่มีส่วนทำให้เกิด สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากราคาได้เบรคลงมาและเริ่ม consolidation คือ

•   เทรดเดอร์พอเห็นราคาเบรคลงมาก็จะหันมาหาโอกาสหรือหา trade setup ที่เข้าทาง Breakout ที่เกิดขึ้นเลยเปิด Sell เป็นหลัก

•   พอราคาลงไป แล้วราคาเด้งขึ้นมา ไม่สามารถเบรคจุดที่เบรคลงไปได้ เทรดเดอร์ก็เริ่มเปิดเทรดมากขึ้นเพราะมองว่า buy pressure น่าจะน้อย เลยไม่สามารถดันราคาขึ้นมาได้ ราคาลงไปก็ไม่เบรค เทรดเดอร์พวกนี้ก็ยังไม่ได้ออก ราคาเริ่มวิ่งอยู่ในกรอบหรือกลายเป็น consoldation

•   พอราคาเริ่ม consolidation กลับกลายเป็นว่า สิ่งที่ทำให้ราคาเบรคลงไปเป็นเจตนาเพื่อปิดทำกำไรที่พวกขาใหญ่เปิด short positions ด้านบนก่อนที่ราคาเบรค ที่บอกเช่นนี้เพราะราคาลงแล้วทำ consolidation ได้ ถ้าขาใหญ่ไม่มีเจตนาแบบนั้น พวกเขาต้องดันราคาลงไปต่อแน่ๆ เพราะเราดู structure ที่เกิดขึ้นประกอบด้วยว่าพอ consolidation พัฒนาไปอะไรเกิดขึ้นบ้าง

•   มาถึงจุดที่เราโฟกัสคือ Breakout ที่เลข 1 ราคาเบรคลงไปจริงและด้วย Momentum ด้วย แต่บาร์ต่อมาทำไมขึ้นมาอย่างรวดเร็ว การลงไปต่ำกว่า Low ของกรอบพื้นที่ด้วย Breakout เช่นนี้เป็น False Breakout สำหรับหลอก เพราะไม่ไปต่อหรือ Genuine Breakout ถ้าราคาไปต่อ  เราดูได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะราคาไม่สามารถไปต่อได้ แต่กลับขึ้นมาในกรอบอย่างรวดเร็ว นั่นบอกว่าเป็น Breakout หลอก แล้วใครเป็นคนทำ อย่างที่กล่าวไว้ในตอนแรก สิ่งหนึ่งที่เราแน่ใจได้คือไม่ว่า Breakout จะเป็นของจริงหรือของหลอก ที่แน่ๆ คือขาใหญ่เป็นคนทำ

•   มาถึงจุด Breakout ที่เลข  2 ต่างจากตรงที่เลข 1 อย่างเดียวคือ เมื่อราคา Breakout แล้วราคาไปต่อ แถมบาร์ถัดมาที่เป็น Doji เป็นการกลับมาเทสอย่างรวดเร็วแล้วไปต่อด้วย

Breakout หลอกหรือจริงให้ price action บอก


หลักการง่ายๆ ในการเบรค ถ้าเป็น Breakout ที่เกิดขึ้นจริง ต้องเห็นราคาไปต่อ อย่างที่เลข 2 ไม่ใช่เห็นราคาไปทางที่ทำให้เกิด Breakout แล้วราคาวิ่งสวนอย่างรวดเร็วแบบที่เลข 1 ต้องอ่านเจตนาที่แฝงให้ออก เพราะอย่างที่บอกว่า Breakout เป็นผลงานที่ขาใหญ่ทำ ดังนั้นการอ่าน Breakout เพื่อเทรดจำเป็นต้องอ่าน price structure ประกอบ หรือดูปริบทที่ทำให้เกิด Breakout ให้เป็น ไม่ใช่แค่เห็นราคาเบรคพื้นที่แล้วเทรดตาม ไม่งั้นจะแยกไม่ออกว่า Breakout ที่ท่านเทรดเป็น False Breakout หรือ Genuine Breakout กันแน่ สิ่งที่ต้องดูประกอบว่า Breakout จะเป็นจริงมีดังนี้

•   ราคาเบรคพื้นที่ consolidation อย่างไร ต้องการให้เบรคด้วย Momentum ในเวลาอันสั้น ต้องการการเคลื่อนไหวของราคาที่บอกถึงว่าแรงและเร็ว เช่นบาร์ยาวๆ หรือยาวพอสมครวและบาร์ตามมาไปทางเดียวกันสัก 2-3 บาร์

•   ราคาปิดอย่างไร การดูราคาปิด ถ้ามองต่าง timeframe อาจเห็นภาพที่ต่างกันออกไป เป็นเรื่องของแท่งเทียนและเวลาที่กำหนดเท่านั้นเอง ให้ยึดตรรกะเป็นสำคัญ ราคาต้องปิดทางที่ราคาเบรคได้ และไม่เห็นหางบาร์ที่จุดที่ราคาเบรคไปยิ่งดี เพราะจะบอกว่าตอนนั้นๆ เป็นการเข้าเทรดเพื่อเอาชนะจริงๆ เกิดความไม่สมดุลย์อย่างมาก ถ้าเห็นหางบาร์ทางที่ราคาเบรค อาจส่อเจตนาอื่นอย่างที่ทำให้เกิด False Breakout เป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องราคาปิด

จะทำการเทรด Breakout อย่างไร


เมื่อเข้าใจหลักการกำหนด Breakout ในการเทรดให้นึกถึงการทำงานของเรื่องออเดอร์และเทรดเดอร์อื่นๆ ที่เทรดประกอบเช่น กรณีที่ False Breakout ที่เลข 1 เราในฐานะที่เป็นรายย่อยอาจพลาดตรงนี้ไปได้ เพราะขาใหญ่ยังไม่เปิดเผยว่าพวกเขาสะสมออเดอร์ทางไหน แต่พอ False Breakout เกิดขึ้นกลับกลายเป็นว่าเราได้ข้อมูลสำคัญสำหรับกำหนด trade setup ทันที เพราะที่เรารู้แน่ๆ คือว่าขาใหญ่ทำให้เกิด Breakout แต่พอเกิดเหลือขึ้นมา ทำให้เรารู้ว่าขาใหญ่สะสมออเดอร์ในกรอบ consolidation ด้านไหน ก็จะเปิดโอกาสให้เราเทรดด้วยความเป็นไปได้มากขึ้นทันที แต่อาจรอแค่ว่าเมื่อไหร่ที่ขาใหญ่จะดันราคาเท่านั้นเอง ข้อมูลนี้เราได้รับ เทรดเดอร์คนอื่นๆ ก็ได้รับ

เทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดได้รับกันหมดเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตัวบอก อย่างที่รู้กันว่าขาใหญ่เมื่อเข้าเทรดจะไม่สามารถปกปิดร่องรอยได้ เพราะพวกเขาเทรดด้วยจำนวนวอลลูมที่เยอะ ดังนั้นเทรดเดอร์ที่เปิด long อยู่ในตลาด ก็จะหันมากำหนด stop loss เหนือพื้นที่ consolidation เทรดเดอร์ที่เข้าใจและเห็นโอกาสการทำงาน stop loss ก็จะกำหนด buy stop order เข้าไปในพื้นที่เดียวกัน บางเทรดเดอร์มองตรงนี้เป็นโอกาสในการเข้าเทรดและทำกำไรได้เร็ว เพราะตัวเร่งราคาให้ขึ้นเร็วก็จะมาจาก stop loss ของกลุ่มเทรดเดอร์ที่ติดลบหรือกลายเป็น trapped traders นั่นเอง เมื่อขาใหญ่ดันราคามาแตะในส่วนของ stop loss ก็จะกำหนดไว้ด้านล่างกรอบ  และอีกกลุ่มหนึ่งต้องการเห็นว่า Breakout เกิดขึ้นจริงนั่นเป็น timing ที่พวกเขาต้องการ ก็จะเปิดเทรดหลังจากที่ราคาเบรคไปแล้วให้เห็น ดู 2 บาร์หลังจากที่ราคาเบรคมีแต่ buy orders เป็นหลัก และ buy orders ยังมาจากเทรดเดอร์ที่ไม่ได้กำหนด stop loss ตอนราคาเบรคในบาร์แรกก็เริ่มหันมาออกเองเป็นหลักด้วย เลยทำให้ราคาขึ้นเป็นหลักและเร็วด้วย การกำหนด stop loss ก็เป็นแบบเดียวกัน