กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทรดและจัดการออเดอร์ด้วยระบบ Indy System Trade PRO

  • 0 replies
  • 4,181 views
เทรดและจัดการออเดอร์ด้วยระบบ Indy System Trade PRO
« เมื่อ: 01, กุมภาพันธ์ 2022, 04:43:21 PM »
เทรดและจัดการออเดอร์ด้วยระบบ Indy System Trade PRO



หลายๆ ท่านอาจมองหาระบบเทรดที่มีทั้งอินดิเคเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์เชิงเทคนิคและการจัดการการเทรดพร้อมๆ กัน ระบบเทรด Indy System Trade PRO เป็นระบบเทรดที่ตอบโจทย์ทั้งสองเรื่องนี้ ระบบเทรดนี้ง่ายต่อการเรียนรู้และตีความแล้วเทรดตามได้ง่าย เมื่อท่านเข้าใจก็จะช่วยให้ท่านเทรดตามเทรน หาจุดเข้าเทรดจากแนวรับ-แนวต้านได้ง่ายๆ ในแต่ละวัน นอกจากนั้นระบบเทรดนี้ยังได้เพิ่มแนวรับ-แนวต้านในแต่ละวันสำหรับคู่ทอง (XAUUSD หรือ GOLD) ด้วย

ส่วนประกอบของ Indy System Trade PRO มีอะไรบ้าง

การที่จะดูว่าระบบเทรดนี้มีอะไรบ้างและใช้อย่างไร ต้องดูรายละเอียดว่าระบบเทรดนี้กำหนดระบบเทรดเป็นอย่างไร และเงื่อนไขในการเปิดเทรดและออกเทรดเป็นอย่างไร สุดท้ายช่วยในการกำหนดความเสี่ยงเป็นอย่างไร  [การเปิดเทรดนอกจากจะมีระบบเทรดเพื่อหาจุดเข้าเทรดแล้ว ท่านจำเป็นต้องมีการจัดการความเสี่ยงที่ดี และ mindset ในการเทรดของท่านเป็นอย่างไร] ระบบเทรดนี้ช่วยให้ท่านรู้ว่าจะเทรดเทรนอย่างไร จะเทรดตามเทรนหรือเทรดสวนเทรน จะหาจุดเข้าเทรดและออกเทรดที่ไหน และจะหาพื้นที่กำหนด Stop loss และ Take profit ที่ไหน และที่สำคัญสุดเมื่อรวมทุกอย่างด้วยกัน ทำให้การเรียนรู้ง่ายและสามารถช่วยให้ท่านทำกำไรต่อเนื่องได้หรือเปล่า ดูรายละเอียดส่วนประกอบของระบบเทรดนี้ก่อนว่ามีอะไรบ้าง แล้วค่อยอธิบายตามขั้นตอนจากเบื้องต้นไป


ระบบเทรดนี้มาพร้อมค่า default ทุกอย่างท่านแค่เปิดโหลด template ที่ชื่อว่า Indy System Trade PRO ภาพแรกที่เห็นจะเห็นว่า ระบบมีการโหลดทั้งส่วน Expert Advisors ที่เป็น Panel หรือกรอบทางด้านขวามือที่ที่แสดงสถานะบัญชี และอำนวยความสะดวกในการเปิดเทรดคู่ชาร์ตที่ท่านเปิดอยู่ และส่วนที่สองเป็นระบบเทรด ที่กำหนดเทรน และจุดเข้าเทรด จากส่วนของอินดิเคเตอร์หลายตัวที่ใช้รวมกัน มีตัว River หรือแม่น้ำเป็นตัวหลัก ดังนั้นการเปิดเทรดก็จะหา trade setup จากระบบเทรด และเทรดผ่าน EA ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเทรดแต่ละคู่ให้ง่าย

อ่านเทรนอย่างไรด้วยระบบเทรดนี้


การเทรดตามเทรนเป็นวิธีการเทรดที่ปลอดภัยสุด และมีความเป็นไปได้สูงด้วย แต่ว่าต้องรู้จักว่าจะอ่านเทรนและเทรดเทรนอย่างไร ระบบเทรดนี้ได้มีระบบที่ให้ท่านได้อ่าน, กำหนดเทรน และจะเทรดตามเทรนได้อย่างไร 

จำเป็นต้องลงรายละเอียดอินดิเคเตอร์แต่ละตัวว่าใช้ทำอะไรบ้างในระบบ เนื่องจากระบบผูกติดกับ EA เลยจำเป็นต้องโหลดตัว EA ที่เป็นส่วน Panel สำหรับจัดการออเดอร์ก่อนแล้วค่อยโหลดอินดิเคเตอร์อื่นๆ ประกอบได้

อินดิเคเตอร์ตัวแรกคือ Moving Average กำหนดค่า Period 200 หรือ 200 แท่งเทียนของช่วงเวลานั้นๆ MA method เป็น Exponential และ Apply to : Close อิงราคาปิดของแต่ละแท่งเทียนเป็นหลัก ตัว MA ตัวนี้ จะแสดงเป็นเส้นสีเหลือง จาก Template ของชุดระบบเทรดนี้ จะเห็นตัวกำหนดเทรนหลัก หรือเทรนใหญ่ หรือ Major trend เพราะเป็นการหาค่าเฉลี่ยจาก 200 แท่งเทียน ค่ากำหนด MA ตัวนี้เป็นที่ยอมรับของเทรดเดอร์ว่าเป็นตัวกำหนดเทรนหลักได้ดี ดังนั้น MA ตัวนี้จะช่วยในการกำหนดเทรนหลักว่าเป็นขาขึ้น (Bullish trend) หรือขาลง (Bearish trend) ตัวนี้ก็จะช่วยกำหนดว่า เราจะหา Bias ของการเคลื่อนตลาดทางไหน หรือเทรดตามเทรนทางไหนได้ง่าย หลักการคืออ่านว่าราคาสัมพันธ์กับเส้นเหลืองนี้เพื่อกำหนดเทรนอย่างไร คือราคาอยู่หนือกว่าเส้นเหลืองถือว่าเป็นเทรนขาขึ้น หรือ Bullish ถ้าราคาต่ำกว่าเส้นเหลืองเทรนหลักก็เป็น Bearish ดูระยะห่างราคากับเส้นและความเอียงของเส้นประกอบด้วย

อินดิเคเตอร์ตัวที่สองคือ indy trend V1.0 ตัวนี้เป็นทูลในการกำหนดเทรนเพิ่มขึ้นมาอีกตัว แต่ตัวนี้จะเห็นการตีเทรนจากการพัฒนาของการเคลื่อนของราคา ประกอบด้วย 3 เส้นหลัก อินดิเคเตอร์ตัวนี้เป็นตัวสำหรับสร้าง Auto-Trend ที่กำหนดจากการเคลื่อนไหวได้นั่นเอง เพราะจะเปลี่ยนไปตามรูปแบบของราคาที่เปลี่ยนไป จะช่วยให้เห็นกรอบการเคลื่อนของราคาหรือแนวโน้มทำเทรนได้ชัดเจน อินดิเตอร์ตัวนี้จะมี 3 เส้น คือเส้นกลางและเส้นบนและเส้นล่าง อาจมองรูปแบบเป็น Trend channel หรือกรอบของการทำเทรนของราคาก็ว่าได้ เป็นตัวเสริมเส้นสีเหลืองค่าเฉลี่ยกำหนดเทรนหลักอีกที เป็นเทรนระดับกรอบการพัฒนาของการเคลื่อนราคา


อินดิเคเตอร์ตัวที่สาม River ตัวแม่น้ำ มาพร้อมกับ RiverSide ตัวแม่น้ำ เป็นตัวหลักของระบบนี้เพราะว่ามีส่วนสำคัญสำหรับกำหนดเงื่อนการเปิด-ปิดเทรด ก็จะอิงจาะกับตัวนี้เป็นหลัก ตัวอื่นๆ ก็จะเป็นตัวกรองเสริมความเป็นไปได้ว่าจะเทรดทางไหน และเมื่อไร  ส่วน RiverSide เป็นค่าเบี่ยงเบนจากขอบบน-ล่างของตัว River อีกที  จากภาพประกอบจะเห็นว่าตัวแม่น้ำคือพื้นที่โต้ตอบกับราคาที่เห็นชัดเจนรองมาจากกรอบเทรน ประกอบด้วย 3 เส้น คือเส้นสีเขียว เส้นสีฟ้า และเส้นสีแดง ให้ดูว่าราคากับแม่น้ำโต้ตอบอย่างไร [เช่น เด้งที่กรอบบนหรือกรอบล่าง อิงกับเส้นกลางแม่น้ำอย่างไร และทิศทางการเด้งสัมพันธ์กับเส้น MA หลักอย่างไร หรือการที่ราคาเบรคกรอบแม่น้ำก็เช่นกัน] เพราะแม่น้ำถือว่าเป็นการกำหนดเทรนด้วย แต่เป็นเทรนระดับการเคลื่อนราคา หลักการเบื้องต้นดูว่าราคาสัมพันธ์กับแม่น้ำอย่างไร อยู่เหนือหรือต่ำกว่าแม่น้ำ ถ้าราคาสูงกว่าแม่น้ำ เป็น Bullish ถ้าต่ำกว่าแม่น้ำเป็น Bearish  และเมื่อราคาลงมาพื้นที่แม่น้ำ ต้องดูว่าราคาโต้ตอบและปิดลงอย่างไร ดูความเอียง ขึ้นหรือลง หรือออกขวา ของแม่น้ำประกอบด้วย เพราะเป็นการบอกเทรนด้วย และระยะห่างขอบบนและขอบล่างของแม่น้ำประกอบด้วย นอกจากนั้น ต้องมองให้สัมพันธ์กับกรอบเทรนของอินดิเคเตอร์ตัวที่สอง และสัมพันธ์กันกับเส้นเฉลี่ย หรืออินดิเคเตอร์ตัวแรกที่เป็นตัวกำหนดเทรนหลักเป็นอย่างไร อาจพูดแบบง่ายๆ แบบนี้ เทรนหลักจากเส้น MA กรอบการเคลื่อนไหวและพัฒนาการเทรนจาก indy Trend และการโต้ตอบเทรนของราคาด้วยการดูจาก River + RiverSide และนอกจากนั้นเมื่อราคามาพื้นที่แม่น้ำ เราต้องดูว่าราคาเปิดเผยหรือโต้ตอบอย่างไรแต่ละพื้นที่ของแม่น้ำด้วย เพราะว่า ตำแหน่งราคากับแม่น้ำ และการโต้ตอบราคากับแม่น้ำ [การโต้ตอบให้ความสำคัญราคาปิด ดังนั้นต้องรอจนกว่าแท่งเทียนของ timeframe ที่ท่านกำหนด trade setup จบก่อน เพราะถ้าไม่รอ อาจเป็นส่วนหนึ่งของ Stop hunt ได้] บอกว่าราคากำลังบอกเทรนที่เรามองอย่างไรอยู่

เมื่อทั้งสามอินดิเคเตอร์ MA + indy Trend + River (River + RiverSide) ใช้รวมกัน ก็จะช่วยในการกำหนดเทรนได้ง่ายทั้ง 3 ระดับ คือเทรนหลัก เทรนระดับการพัฒนากรอบการเคลื่อนไหวหรือแนวโน้มการทำเทรน และเทรนระดับการโต้ตอบของราคา การเทรดเน้นรอราคาย่อตัวเทรดตามเทรนเป็นหลัก หรือเป็นการเทรดสวนเทรนก็ได้ แต่การเทรดสวนเทรนต้องใช้ความระวังมากกว่า ดังนั้นเมื่อกำหนดเทรนและอ่านการพัฒนาเทรนเป็นจากทูลที่อธิบายมา เราก็สามารถมองออกว่าเราจะเทรดทางไหน  เทรนขึ้นก็หาโอกาสเปิด Buy ตอนราคาย่อตัวลงมาหาแนวรับ หรือเทรนลงก็หาโอกาสเปิด Sell ตอนราคาเด้งขึ้นมาหาแนวต้านเป็นหลัก แต่เราจำเป็นต้องรู้ว่าจะเข้าเทรดและออกเทรดตรงไหนตามเทรนที่กำหนดด้วย นั่นคือเรื่องของการหาจุดเข้าเทรดและออกเทรด

หาจุดเข้าเทรด-ออกเทรดด้วย แนวรับ-แนวต้านอย่างไรจากระบบ

การอ่านเทรนเป็น และกำหนดเทรนว่าจะเทรดทางไหน ยังไม่พอ เพราะท่านจำเป็นต้องรู้ด้วยว่าจะเข้าเทรดตรงไหน เมื่อไร และออกเทรดตรงไหน เมื่อไรด้วย  ไม่ว่าจะเป็นการปิดกำไรหรือปิดเสียก็ตาม หลักการหลักๆ ในการหาจุดเข้าเทรดและออกเทรด มีหลายแบบ แต่ที่นิยมกันคือ หาจุดแนวรับ-แนวต้านนั่นเอง (Support/Resistance) หลักการหาจุดพวกนี้ ต่างกันออกไปแล้วแต่ทฤษฏี เช่น Support/Resistance, Supply/Demand, Pivots อื่นๆ เป็นต้น หลักการนี้ก็จะเป็นหาจุดเข้าและจุดออกเบื้องต้น เช่น เมื่อท่านเห็นราคาวิ่งไม่ผ่านพื้นที่ๆ ไม่เคยผ่านลงไปได้ ท่านเรียกว่าแนวรับ ราคาน่าจะเด้งขึ้นอีก เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้น ท่านก็เปิด Buy ตรงนั้น เมื่อราคาวิ่งเข้าทางที่เปิดเทรด ท่านก็ดูว่าราคาเคยวิ่งขึ้นแต่ไม่ผ่านตรงไหนได้ ท่านก็ปิดทำกำไรแถวนั้นๆ หรือถ้าเป็น Sell ก็หลักการตรงข้าม นี่คือหลักการคร่าวๆ แต่การเปิดเทรดจริงท่านต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วยเพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ของการเปิดเทรด หลักแนวความคิดแนวรับ-แนวต้าน เป็นพื้นฐานของการหาจุดเข้าเทรดและออกเทรดที่ง่ายและตรงที่สุด สำคัญที่ว่าต้องรู้ว่าจะหาแนวรับ-แนวต้านได้อย่างไร


แนวรับ-แนวต้านด้วยอินดิเคเตอร์ใช้กำหนดเทรน  อินดิเคเตอร์ 3 ตัวที่ใช้ในการกำหนดเทรน นอกจากกำหนดเทรนแล้ว ยังเป็นการสร้างแนวรับ-แนวต้านไปในตัวด้วย การอ่านแนวรับ-แนวต้านจะให้ความสำคัญว่าราคาโต้ตอบพื้นที่นั้นๆอย่างไร เรื่องของราคาวิ่งเข้าหา  ราคาไปแล้วไม่ผ่านหรือเด้ง หรือ Rejection หรือเรื่องของไปแล้วผ่านได้ หรือ Break หรือพอราคาไปถึงแล้วราคาวิ่งออกทางขวาหรือทำ Consolidation


แนวรับ-แนวต้านด้วยอินดิเคเตอร์ที่ช่วยในการกำหนด Support/Resistance โดยตรงที่มาพร้อมระบบคือ INDY TRADER SupportResistance ก็จะสร้างเส้นแนวรับ-แนวต้านให้อัตโนมัติ ตามการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เปลี่ยนไป จะที่ตั้งแต่ระดับ H1, H4, D1, W1, และ MN สำหรับแนวรับก็จะอยู่ด้านล่างของราคา และแนวต้านก็จะอยู่ด้านบนของราคา ตัวระบบคำนวณหาแนวรับ-แนวต้าน ต่ำสุดแค่ H1 แม้ท่านจะเปิด timeframe ที่เล็กกว่าแนวรับ-แนวต้านที่ได้จะเป็น H1 ที่เล็กสุด ขึ้นมาจนถึง MN เพราะว่าระบบเน้นเป็นการเทรดแบบ Day Trading เป็นหลัก แนวรับ-แนวต้านพวกนี้จะเปลี่ยนไปตามราคาที่เปลี่ยนไป จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแนวรับ-แนวต้านระดับ H1 และ H4 ชัดเจนเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงบ่อย แนวรับ-แนวต้านตัวนี้ก็ใช้ได้ทั้งระบบของระบบเทรดนี้ มีการประสีและประเภทเส้นประกอบด้วย คือเส้นทึบกับเส้นปะ ประกอบเพื่อให้ดูง่ายด้วยคือ ถ้าเป็นเส้นปะ ก็จะเป็นแนวรับ-แนวต้านของ H1 และ H4 เป็นต้น


แนวรับ-แนวต้านด้วย Daily SR – อินดิเคเตอร์ตัวนี้เป็นทูลสร้างแนวรับ-แนวต้านอีกตัว แต่สำหรับคู่เทรดทองเท่านั้นในแต่ละวัน หลักการไม่ต่างจากเรื่องของ Pivots ในแต่ละวัน แต่จะมีการปรับจูนค่าอินดิเคเตอร์ก็จะหาค่าเฉลี่ยกลาง หรือ Average Point แล้วสร้างแนวรับ-แนวต้านอิงจากค่านี้ออกไป ขึ้นไปด้านบนก็เป็นส่วนของแนวต้าน หรือ Resistance ที่น่าจะเกิดขึ้นแต่ละวัน ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยก็เป็นหาพื้นที่แนวรับ หรือ Support อินดิเคเตอร์ตัวนี้ก็จะสร้าง แนวรับ-แนวต้านขึ้นมาอย่างละ 3 ด้านบนและล่างของแต่ละวันแบบอัตโนมัติ และมีการตีเส้นแนวตั้งเทียบวันก่อนวันปัจจุบันให้ด้วย


แนวรับ-แนวต้านด้วย Indy Arrow Swing – อินดิเคเตอร์ตัวนี้ก็มองได้ว่าเป็นการบอกราคาไปเจอพื้นที่แนวรับ-แนวต้านได้ แม้ว่าราคาจะตีจุด Swing ให้เมื่อได้เงื่อนไขเท่านั้น มองว่าเป็นจุด ZigZag ที่น่าสนใจตามเงื่อนไขของระบบเทรดนี้ได้ ถือได้ว่าเป็นทูลบอกแนวรับ-แนวต้านอีกตัว

เมื่อระบบเทรดนี้ได้สร้างแนวรับ-แนวต้านให้ท่านเอง ท่านต้องรู้ว่าจะใช้อย่างไร การอ่านแนวรับ-แนวต้าน จะให้ความสำคัญว่าราคาโต้ตอบพื้นที่นั้นๆ อย่างไร เรื่องของราคาวิ่งเข้าหา ราคาไปแล้วไม่ผ่านหรือเด้ง หรือ Rejection หรือ เรื่องของราคาไปแล้วผ่านได้ หรือ Break หรือพอราคาไปถึงแล้วราคาวิ่งออกทางขวาหรือทำ Consolidation แล้วเทรดสัมพันธ์กับเทรน เช่นราคาทำเทรนขึ้น ราคาอยู่เหนือแม่น้ำและเส้น MA 200 สีเหลือง ราคาย่อตัวลงมาหา Support อาจจาก SupportResistance หรือจาก Daily SR (ถ้าเป็นคู่ทอง) หรือย่อตัวมาที่พื้นที่แม่น้ำแล้วเด้งออก เราก็รอดูว่าราคาเปิดเผยออกมาอย่างไรประกอบ ดูว่าราคาปิดอย่างไร แล้วค่อยเปิดเทรด แต่ถ้าท่านเทรดจนชำนาญระบบแล้ว อาจไม่จำเป็นต้องรอปิดแล้วราคาเด้งตามทางที่ท่านคาด ท่านอาจเปิดเทรดได้เลยทันที

เงื่อนไขการเทรดของระบบ

การกำหนดเงื่อนไขสำหรับระบบเทรด จะไม่ยากเมื่อท่านเข้าใจว่าระบบช่วยเรื่องของเทรน และแนวรับ-แนวต้านอย่างไร หลักการเบื้องต้นคือเปิด Buy ที่แนวรับ (Support) ไปปิดกำไรที่แนวต้านหรือ Resistance หรือถ้าเปิด Sell ที่แนวต้าน (Resistance) แล้วไปปิดทำกำไรที่แนวรับ หรือ Support  การเปิดเทรดแบบนี้เป็นการเปิดเทรดแบบ Buy Low และ Sell High นั่นเอง ความยุ่งยากจะอยู่ที่กำหนดเทรนและกำหนดแนวรับ-แนวต้าน และดูความต่อเนื่องของเทรน เป็นหรือเปล่า และเมื่อเปิดเทรดแล้ว อดทนรอเป็นหรือเปล่า และบริหารความเสี่ยงอย่างไรเมื่อเปิดเทรดอยู่


เงื่อนไขหลักการการเปิดเทรด ก็อ่านจากความสัมพันธ์ราคากับแม่น้ำ (River + RiverSide) และเส้นเฉลี่ยสีเหลืองหรือเส้น MA 200 ที่เป็นตัวกำหนดเทรนหลัก หรือว่าเราควรมองหาโอกาสเทรดทางไหนเป็นหลัก แล้วอ่านราคากับ แนวรับ-แนวต้าน ทั้งจากตัวแม่น้ำ River + RiverSide, กรอบการพัฒนาของราคา หรือ Indy Trend, หรือจากแนวรับ-แนวต้านจาก Support/Resistance หรือ Daily SR (สำหรับคู่ทองเท่านั้น) หรือ Arrow Swing แล้วเมื่อราคามาถึงพื้นที่พวกนี้ราคาเปิดเผยอย่างไรแล้วเข้าเทรด แล้วไปออกเทรดที่ตรงข้าม

เงื่อนไขสำหรับเปิด Buy ของตัวอย่างด้านบน

ข้อแรกดูทูลหลักที่กำหนดเทรน คือการดูแม่น้ำ (River + RiverSide) กับเส้น MA 200 สีเหลือง เมื่อแม่น้ำยกตัวตัดขึ้นหรืออยู่เหนือเส้นสีเหลือง ถือว่าเป็นขาขึ้น ให้รอเปิด Buy เป็นหลัก เมื่อราคาย่อตัวลงมาที่แนวรับ หรือ Support [ที่แม่น้ำ, AutoTrend, SupportResistance, Daily SR หรือ Arrow Swing] และปิดทำกำไรที่แนวต้านหรือ Resistance ที่ใกล้สุดเป็นเบื้องต้น และ Stop loss เมื่อราคาปิดต่ำกว่าแม่น้ำหรือข้ามแม่น้ำ หรือต่ำกว่าเส้น MA หรือต่ำกว่าเส้น Support การรับความเสี่ยงขึ้นอยู่กับการบริหารทุนว่ารับความเสี่ยงได้มากแค่ไหนจากทุนของเราเองและจำนวนล็อตที่เปิดเทรด  แม่น้ำถือว่าเป็นแนวรับ-แนวต้านระดับการเคลื่อนของราคา เช่นกรณีนี้ราคาลงมาที่แม่น้ำแล้วเด้งออกดูแท่งเทียนที่บอก ราคา Bid บอกว่าราคาเจอแนวรับตรงนี้ด้วย และแม่น้ำกำลังจะตัดเส้นสีเหลืองหันหัวขึ้น ต่อเนื่องจากที่ราคาได้เบรคแม่น้ำขึ้นมา และเบรคแนวต้านที่กลายมาเป็นแนวรับตรงที่ลูกศรหรือ Arrow Swing เกิดขึ้นพอดี และระบบเทรดนี้ยังได้เพิ่ม Stoch ที่เป็นอินดิเคเตอร์บอก Osicillator ของการเคลื่อนของราคาเป็นตัวเสริมด้วย บอกสถานะ Overbought/Oversold ประกอบการตัดสินใจอีกที  ยิ่งเมื่อราคาทำเทรนชัดเจนคือ แม่น้ำอยู่เหนือเส้น MA เป็นเทรนขึ้น ต่ำกว่าเส้น MA เป็นเทรนลง รอราคาย่อตัวกลับมาที่ระดับแม่น้ำ หรือแนวรับ-แนวต้าน ยิ่งเทรดตามเทรนได้ง่าย อีกอย่าง สำหรับการดูความแข็งของการทำเทรน สามารถดูได้จากความเอียงของแม่น้ำ และระยะห่างจากเส้นเหลือง  เพราะถ้าแม่น้ำและเส้นเหลืองวิ่งออกขวาเป็นแนวตรง เป็นช่วงที่ตลาด Sideway ไม่ควรเปิดเทรด ก่อนจะเปิดเทรดควรเห็นความลาดเอียงของแม่น้ำด้วยเพราะราคาเริ่มทำเทรน


เงื่อนไขการเปิด Sell สำหรับระบบ

ภาพประกอบนี้เป็นชาร์ตย้อนหลัง จะไม่เห็นเส้น Auto Trend, Support/Resistance และ Daily SR (สำหรับคู่ทองเท่านั้น) เพราะแสดงผลเฉพาะวันปัจจุบันเท่านั้น ยกเว้นในโหมด Backtesting หลักการตรงกันข้ามกันเงื่อนไขของการเปิดเทรด Buy คือดูเทรนก่อนว่าจะเทรดทางไหน ในที่นี้ ราคาบอกทางลงหรือ Bearish ดูที่กรอบเลข 1 เห็นชัดเจนราคาต่ำกว่าเส้น MA สีเหลือง  แม่น้ำตัดเส้นสีเหลืองลงมา และราคาต่ำกว่าแม่น้ำ ราคาทำเทรนชัดเจนมาก ยิ่งเมื่อมองมาทางซ้ายมือประกอบ ตรงที่ลูกศรชี้ จะเห็นว่าราคาได้ได้เบรคแม่น้ำและเส้นสีเหลืองลงไปก่อนแล้ว เป็นการบอกนัยว่าราคาอยากไปทางไหนมาก่อนแล้ว พอเราเห็นการเกิดขึ้นที่กรอบเลข 1 จากระบบเทรดเลยเป็นการยืนยันเทรนลงไปในตัวด้วย โอกาสการเปิดเทรด เลยเกิดขึ้นทาง Sell เป็นหลัก เปิดเทรดราคาย่อตัวกลับมาทดสอบที่แนวต้าน [ในที่นี้ไม่เห็นแนวต้านจาก SupportResistance, Daily SR เพราะแสดงแต่วันล่าสุดหรือในโหมด Backtesting เท่านั้น] แต่เราก็จะเห็นราคาเด้งออกจากแนวต้าน ตรงที่แม่น้ำ และเส้นสีเหลืองอย่างชัดเจน โอกาสเปิดเทรด Sell ที่เลข 2 3 4 5 และ 6 เลยเกิดขึ้นง่ายและชัดเจน พร้อมทั้งเห็นการยืนยันจาก Stoch ด้วยการอ่านสัญญาณการเทรดจากระบบนี้ การเปิดเทรดแต่ละครั้งแนะนำว่าให้รอราคาปิดก่อน แม้ว่าบางช่วงราคาอาจได้เคลื่อนไปหลายจุดแล้ว แค่ราคาปิดเป็นตัวยืนยันว่าราคาอยากมาทางที่เราเปิดเทรดหรือเปล่า


ดูชาร์ตทองของวันที่ 26 ม.ค. 2565 จะเห็นว่าการเปิดเทรดที่เลข 1 ของหลายวันก่อน สัญญาณของระบบให้ในการเปิดเทรด Buy ชัดเจนมาก เพราะต่อเนื่องจากวันก่อนๆ ที่ราคาพัฒนาการมาและระบบได้เปิดเผยตามมาด้วย  การเปิดเทรดที่เลข 2 ถือว่าเป็นการเทรดตามเทรน หลังจากที่ราคาได้เบรคแนวต้านขึ้นมา และราคาลงมาหยุดที่จุด Swap Support พอดี ที่เปลี่ยนจากแนวต้านกลายมาเป็นแนวรับ ตัวระบบบอกว่า ราคาอยู่เหนือเส้นเหลือง และลงมาต่ำกว่าแม่น้ำ และราคาเด้งกลับ การปิดทำกำไรของการเปิดเทรดที่เลข 2 ไม่นาน ที่เลข 3 ระบบเทรดยังบอกสัญญาณขึ้น เหนือกว่าเส้น MA ราคาเด้งชัดเจนที่ของแม่น้ำล่างยังถือว่าเป็นเทรนขึ้นอยู่ แม้ว่าราคาจะยก Higher Low สูงขึ้น แต่ราคาไม่สามารถเบรคแนวต้านด้านบนได้ จนกว่ามาถึงสัญญาณการเปิดเทรดที่เลข 4 สัญญาณเทรนแรงขึ้น ราคาขึ้นมาอีกและได้แรงจากแนวต้านแถวเลข 2 3 และ High ก่อนที่ราคาจะลงไปทำ Low ที่เลข 2 ด้วยเพราะ stop orders เลยทำให้การเทรดที่เลข 4 มีการเคลื่อนไหวมากสุดและเร็ว แต่หลังจากการเคลื่อนที่เลข 4 แม้ราคาเบรคขึ้นไปได้ แล้วรีบลงมา แต่วิ่ง consolidation หลายแท่งเทียนแบบนี้ ให้พึงระวัง และอีกอย่างราคาห่างจากเส้น MA มากและผ่านเวลาทางเดียวนานแล้วด้วย มีโอกาสที่ราคาจะย่อตัวกลับมาทดสอบหรือเปลี่ยนเทรนได้

ดูเทรนเปลี่ยนอย่างไรจากระบบ

เป็นปกติราคาไม่ได้วิ่งทางเดียว มีการเปลี่ยนเทรนเลย หรือเปลี่ยนเทรนระยะสั้นช่วงการทดสอบเทรน การเทรดเป็นเรื่องของการทำกำไรจากการเคลื่อนของราคา ท่านสามารถเปิดได้ทั้ง ตามเทรน หรือสวนเทรน ก็สามารถทำกำไรได้หมด อยู่ที่ว่าท่านอ่านระบบว่าตีความตลาดอย่างไร และใช้เข้ากับรูปแบบการเทรดของท่านตามระบบอย่างไร การที่จะดูการเปลี่ยนเทรน ดูจากระบบ ท่านต้องย้อนกลับไปว่าระบบกำหนดเทรนอย่างไร สิ่งที่กำหนดเทรนคือ MA 200 หรือเส้นสีเหลือง กรอบการพัฒนาราคาและตีเทรนหรือ Auto-trend ด้วยอินดิเคเตอร์อีกตัวชื่อ INDY Trend V1.0  และสุดท้ายตัวแม่น้ำ ใช้อินดิเคเตอร์ 2 ตัวคือ River และ RiverSide  ดูว่าสัมพันธ์กับราคาอย่างไร เมื่อเข้าใจหลักการแล้วให้ฝึกสายตาบ่อยๆ จาก Backtesting ราคาก็จะโต้ตอบตัวกำหนดเทรนจากที่เร็วสุดก่อนจนมาถึงโต้ตอบที่ห่างสุด คือเริ่มจากแม่น้ำ ตามมาด้วยกรอบ Auto-Trend และสุดท้ายเป็นเส้นเหลืองหรือ MA 200


ภาพประกอบนี้เป็นการดูว่าระบบบอกการเปลี่ยนเทรนอย่างไร เป็นภาพย้อนหลัง ไม่ได้เปิด Backtesting เลยไม่เห็นส่วนของ Auto-Trend ว่าแสดงผลต่อการเปลี่ยนเทรนอย่างไร ดูแค่แม่น้ำ กับเส้น MA จะเห็นว่าราคากับแม่น้ำ (River + RiverSide) โต้ตอบเรื่องของเทรนเร็วสุด ดูที่เลข 1 ก่อนที่ราคาจะเบรคเส้นกลางแม่น้ำลงมา ถ้าดูตรงนี้ระบบจะยังบอกว่าเป็นเทรนขึ้น เพราะราคาอยู่เหนือเส้น MA การเบรคนี้อาจเป็นการย่อตัวลงมาหาแนวรับ แล้วไปต่อก็ได้ แต่เราต้องไม่ลืมว่าระบบทำงานจากอินดิเคเตอร์ในการกำหนดเทรน อ่านข้อมูลจากราคาที่เกิดขึ้นด้วย เราต้องไม่ลืมว่าราคาบอกอะไร  ราคาได้ถึงแนวต้านใหม่ด้านบนแล้วเด้งลงมา และก่อนจะเด้งลงมายังได้เบรคแนวรับด้านล่างแล้วด้วย นี่คือสิ่งที่ราคาบอก  การอ่านการเปลี่ยนเทรนตอนเริ่มต้นแบบนี้ ต้องอาศัยประสบการณ์ เพราะระบบยังไม่ได้ระบุเทรนชัดเจนช่วงจะเปลี่ยนเทรน แต่พอมาถึงพื้นที่เลข 2 แม่น้ำได้ตัดเส้น MA ลงมา และราคาอยู่ต่ำกว่าแม่น้ำด้วย เทรนได้รับการยืนยัน และระบบบอกเทรนไปทางเดียวกันหมด ความชัดเจนเกิดขึ้น แล้วอินดิเคเตอร์ก็จะสร้างแนวรับ-แนวต้านขึ้นมาให้เป็นตัวเปรียบเทียบแต่ละวันว่าจะหาจุดเข้าเทรดและออกเทรดตรงไหน ก็จะเทรดตามเทรนได้ง่าย

ดูที่จุดเลข 2 จะเห็นว่าการเปลี่ยนเทรนเช่นกันแต่ระยะสั้นแบบนี้หรือเรียกราคากลับมาทดสอบเทรน ราคาจะโต้ตอบแม่น้ำอย่างชัดเจนและเด้งออกทางเดียวกันกับราคาทำเทรน ดังนั้นควรจะดูโครงสร้างราคาประกอบกับการกำหนดเทรนของระบบด้วย แล้วค่อยดูแนวรับ-แนวต้านที่ระบบสร้างแต่ละวันประกอบ ก็จะอ่านการเปลี่ยนเทรนได้ง่าย

จัดการการเทรดให้ง่ายด้วย Panel


ส่วนของ Panel เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการเทรด สำหรับคู่เงินที่เทรดนั้นๆ ส่วนของ Panel จะเป็น EA ต่างจากส่วนที่เป็นระบบที่ช่วยกำหนดเทรนและแนวรับ-แนวต้านที่เป็นอินดิเคเตอร์ ระบบเทรดนี้ใช้ทั้ง EA และ Indicators ด้วยกัน ส่วนของ Panel สำหรับจัดการการเทรดนี้ประกอบด้วยส่วนที่บอกสถานะ ตั้งแต่เลข 1 – 6

เลข 1 – บอกถึงคู่เงินที่ชาร์ตและ timeframe ที่กำลังเปิดอยู่

เลข 2 – บอกว่า เหลือเวลานานเท่าไรจึงจะหมดแท่งเทียนของชาร์ตที่กำลังเปิดอยู่

เลข 3 – บอกถึง สถานะของ Positions ที่เปิดอยู่ แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Order Buy ว่าเปิดกี่ออเดอร์อยู่ Lot Buy ล็อตที่เปิดเท่าไร และ Profit ยอดกำไรหรือติดลบเท่าไร และอีกส่วนเป็นของ Order Sell ว่าเปิดกี่ออเดอร์ เปิดทั้งหมดล็อตเท่าไร และกำไรหรือติดลบเท่าไร

เลข 4 – บอกสถานะ Profit/Loss โดยรวมของคู่เงินที่เปิดชาร์ตและเปิดเทรดอยู่

เลข 5 – บอกสถานะ บัญชีเทรด ว่ามียอด Balance และ Equity เท่าไร

เลข 6 – บอกสถานะการเคลื่อนของราคาชาร์ตที่เปิดอยู่ 5 timeframes ด้วยกันคือ M5, M15, M30, H1, H4 ใช้ดูประกอบเทรนของระบบ

เลข 7 – ปุ่มอำนวยความสะดวกในการจัดการออเดอร์ที่เปิดอยู่ของชาร์ตที่เปิด มี Close Sell ปิดเฉพาะออเดอร์ ที่เปิด Sell อยู่, Close Buy ปิดเฉพาะออเดอร์เปิด Buy อยู่, Close Profit ปุ่มสำหรับปิดออเดอร์ที่มีกำไรทั้งหมด และ Close All สำหรับปิดทุกออเดอร์ที่เปิดอยู่ไม่ว่าจะเป็น Sell หรือ Buy

เลข 8 – อำนวยความสะดวกในการเปิดเทรด แบบเดียวกันกับ Trade panel ที่มากับ Metatrader ที่อยู่ทางซ้ายด้านบน สามารกำหนดล็อตได้ และเปิด Sell ด้วย Open Sell และเปิดเทรด Buy ด้วย Open Buy

เลข 9 – ถือว่าเป็นส่วนเสริมช่วยในการจัดการ ออเดอร์ที่ถืออยู่และกำไร ให้ง่ายขึ้นด้วยสามารถเปิด-ปิด คำสั่ง Trailing stop สำหรับออเดอร์ที่กำไรอยู่ได้ ด้วยการกำหนดระยะเป็น Points

เลข 10 – ส่วนของการวางกลยุทธ์การเทรดแบบ Grid Order  เปิด-ปิดการใช้งาน และค่าล็อตตามที่กำหนด Lot x ต้องการคูณเท่าไรของออเดอร์ที่เปิด Step จำนวนออเดอร์ที่จะเปิด และ Range ระยะห่างกันแต่ละออเดอร์ที่จะเปิด ตรงส่วน Grid Order นี้จะทำงานคู่กับเลข 8 หรือส่วนเปิดเทรด เมื่อท่านเปิดใช้ Grid และเมื่อเปิดเทรด ระบบจะกำหนด Pending orders เพิ่มให้ตามที่กำหนดในส่วนของ Grid ตามทิศทางที่เปิดเทรดในข้อ 8

เลข 10 – เป็นฟังก์ชั่นให้ระบบเปิดเทรดตามเงื่อนไขให้เอง หรือ Auto Trade มีให้เลือกว่าจะให้อีเอเปิดเทรดทางไหน ถ้าต้องการเปิดเทรด Buy กดที่ Long ก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเปิด Sell ด้วยการกด Short ด้วยเงื่อนไขการเปิดเทรดตามที่กำหนด คือ Lot เท่าไร USD นับเป็น Pips ส่วน Loss รับการสูญเสียได้กี่ Pips และสุดท้าย Max Order สามารถเปิดได้มากสุดกี่ออเดอร์ ระบบ Auto Trade จะมีประโยชน์มากเมื่อท่านกำหนดเทรนได้ว่าจะเทรดทางไหนเป็นหลัก แล้วท่านไม่มีเวลาดูหน้าจอชาร์ตนั้นๆ บางช่วง เลยกำหนดเงื่อนไขการเปิดเทรดเอง ตามทิศทางที่ทางต้องการ ท่านก็จะไม่พลาดโอกาสเปิดเทรดตามเทรนที่ท่านเห็นได้

ระบบ Indy System Trade PRO เป็นอีกระบบเทรดหนึ่ง ที่มีทุกอย่างตั้งแต่ กำหนดเทรน หาจุดเข้าและจุดออก ด้วยการสร้างแนวรับ-แนวต้านด้วยระบบก็จะสร้างภาพรวมของตลาดให้ในแต่ละวัน ตามราคาที่เปลี่ยนไป ให้ผู้ใช้หาโอกาสเทรดได้ง่าย และที่สำคัญศึกษาได้ง่าย พร้อมทั้งเพิ่มความสามารถในการเทรดและจัดการการเทรดได้ง่าย ด้วย Panel ง่ายด้วย มีระบบป้องกันกำไรด้วยเพิ่มความง่ายการกำหนด Trailing Stop  สามารถสร้างการเทรดตามแนว Grid Order ได้ง่ายด้วย และยังมี Auto Trade ให้ด้วย ระบบสามารถเทรดตามเงื่อนของระบบเทรดนี้เอง หรือ สามารถกำหนดตอนที่เห็นราคาทำเทรนชัดเจน แล้วให้ระบบเปิดเทรดเองทางไหนก็ได้ ถ้าช่วงที่ท่านไม่มีเวลาดูชาร์ตตลาด อาจพลาดโอกาสเปิดเทรดที่เกิดขึ้นได้  ระบบเทรดจะใช้มีน้ำเป็นตัวหลักในการหา Trade setup ตามเทรน ดูว่าราคาเปิดเผยอย่างไรกับ 3 เส้นของแม่น้ำ และสัมพันธ์กับเส้น MA หลักเป็นอย่างไร ถ้าราคาวิ่งข้ามแม่น้ำได้ ให้รู้ว่าราคาอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาได้ของ timeframe ที่เปิดอยู่  หรือถ้าเราเปิดเทรดอยู่ ก็จะเป็นตัวบอกว่าเราควรจะปิด Stop loss ถ้าราคาวิ่งสวนเรา แต่ถ้ามองภาพรวมของ timeframe ใหญ่ขึ้น การที่ราคาข้ามแม่น้ำชอง timeframe ที่เล็กลงไปก่อน จะเปิดโอกาสให้เทรดสัมพันธ์กันกับระบบแม่น้ำของ timeframe ใหญ่กว่าด้วย ที่สำคัญต้องดูภาพรวมของเทรนด้วยว่ากำหนดเทรนจาก timeframe ไหนเป็นหลัก แล้วอ่านแม่น้ำ ต่าง timeframe กับระบบแนวรับ-แนวต้าน ให้สัมพันธ์กันค่อยเปิดเทรด

ติดต่อใช้ระบบ :line Official : @Indytrader
แจ้งว่ามาจาก Traderider จะได้รับส่วนลด 3000 บาท สำหรับค่าใช้ระบบรายปี