กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Order Block ช่วยในการหาจังหวะการเข้า-ออกเทรด

  • 0 replies
  • 1,020 views
Order Block ช่วยในการหาจังหวะการเข้า-ออกเทรด

หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค Order Block ที่บอกว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่ ช่วยให้เราเห็นการเปลี่ยนข้าง ระหว่างการเคลื่อนไหว Bullish และ Bearish  เร็วและชัดเจน นอกจากจะช่วยให้เราหาพื้นที่เราเทรดตามเทรนที่เกิดขึ้นได้ง่าย ยังช่วยให้เราหาจังหวะว่าจะเข้าเทรดตอนไหน และออกเทรดตอนไหนได้ดีด้วย  วิธีการเข้าเทรดมีหลายอย่างเช่นใช้ Indicator ช่วย หรือ Price Action หรือแม้แต่หลักการ Order Block ที่จะกล่าวในที่นี้

Bullish OB คือแท่งเทียน Bearish ที่ต่ำสุด มีระยะห่างราคาเปิดกับราคาปิดมาก แท่งเทียนต่อมาเป็น Bullish ที่มีการเทรดมากกว่า High ของแท่งเทียน Bearish การเปิด Bullish OB ถ้าเกิดที่พื้นที่ Support หรือ Demand  ยิ่งดี  และ Bearish OB คือแท่งเทียน Bullish ที่สูงสุด มีระยะห่างราคาเปิดกับราคาปิดมาก แท่งเทียนต่อมาเป็น Bearish ที่มีการเทรดลงไปต่ำกว่า Low ของแท่งเทียน Bullish  การเปิด Bearish OB ถ้าเกิดที่พื้นที่ Resistance หรือ Supply ยิ่งดี  ตัวกรองที่ถือว่าสำคัญของ OB คือแท่งเทียนที่มีการเทรดสวน ต้องสามารถ Engulfing แท่งเทียนก่อนได้ และมีการเคลื่อนไปทางนั้นต่อด้วยเห็น Imbalance ได้อย่างชัดเจน และมีการเอาชนะ OB ตรงข้ามหรือ Market structure ด้วยก็ยิ่งดี

สิ่งสำคัญในการเข้าเทรดคือข้อมูลยืนยัน


การเข้าเทรดเช่นเดียวกับการกำหนด Trade Setup นอกจากความเป็นไปได้สูงแล้วก่อนที่จะเข้าเทรดท่านต้องเห็นว่า Trade setup ท่านได้เงื่อนไขตามแผนการเทรด มีข้อมูลยืนยันว่าความเป็นไปได้ของ Setup ของท่านเป็นไปได้สูงมากกว่าอีกทาง เช่นใช้หลักการ Confluence หรือใช้ Technical Analysis หลายอย่างเสริมกันเป็นการยืนยันไปในตัว หรือจะใช้หลักการ Correlation ก็ได้แล้วแต่วิธีการ ส่วนตรรกะก็คือถ้ามีหลายวิธีการทางเทคนิคหรือข้อมูลพื้นฐานมายืนยันก็ยิ่งจะดี แต่การเข้าเทรดก็สำคัญมากเช่นกัน แม้ว่าท่านกำหนด Setup ได้ แต่ถ้าท่านเข้าเทรดได้ถูกที่ ถูกเวลา นั่นหมายความว่าท่านสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดี และเรื่องของสัดส่วน Risk:Reward ของแต่ละ Setup ท่านก็จะทำได้ดีด้วย ภาพด้านบนเป็นตัวอย่างการวิเคราะห์แบบ Multi Timeframe ตั้งแต่กำหนดเทรนว่าเป็นเทรน Bullish หรือเทรน Bearish จากชาร์ต D1 ตามมาด้วยหา OB level ที่เปิดโอกาสให้เทรดให้สัมพันธ์กับเทรน เปิดชาร์ต H1 และชาร์ต M15 เพื่อหาจุดเข้าเทรด

เทรด Setup เกิดจากที่เกิด D1 Bullish Order Block ที่น่าสนใจเพราะราคาลงมาทำเทรนลงแล้ว Consolidation หลายวัน แล้วก็เกิด Higher High ได้เบรคพื้นที่ Resistance ในที่นี้คือเบรค Market Structure ขึ้นไปทำ New High ดูแท่งเทียนที่เบรคขึ้นไป สามารถเอาชนะแท่งเทียนก่อนหน้านี้ 10 แท่งได้ แล้วราคาลงมา อาจลงต่อก็ได้ แต่ที่ราคาเปิดเผยคือแท่งเทียน Bearish แต่มีการเทรดสวนขึ้นไปทันทีวันต่อมา บอกถึงการเปลี่ยนข้างจาก Bearish ไปเป็น Bullish

ดูชาร์ต H1 รายละเอียดของ Momentum ที่ราคาเบรคขึ้นไปแล้วลงมาทำ D1 Bullish OB  ดูที่ชาร์ตจะเห็นว่า H1 Bullish OB ที่เป็นจุดลงรายละเอียดของ D1 เห็นได้ว่ามีการพัฒนาเปลี่ยนข้างอย่างชัดเจน ท่านก็เห็นว่า Trade Setup ของท่านสัมพันธ์กับเทรน ดู H1 OB จะเห็นว่าราคาได้ขึ้นมาทำ Higher High ได้เป็นการเบรคขึ้นมา แล้วลงมา ต้นตอตรงกรอบ OB แล้วเด้งขึ้นไปทำ Higher High ใหม่ก่อนที่ราคาลงมาทำ Higher Low ตรงที่กรอบเลข 4 ตรงนี้คือส่วนสำคัญของการเข้าเทรด เมื่อมองย้อนกลับไปทั้ง 3 ชาร์ต เริ่มที่ชาร์ต H1 จะเห็นว่าราคาได้ลงมาแล้วเกิด Bullish OB กลับขึ้นไป แล้วมีการลงมาทดสอบแล้วขึ้นไปทำ OB ใหม่ได้อีก เป็นการบอกเป็นนัยว่า เทรนที่ลงของ D1 ที่ลงมาจนกลายเป็น D1 Bullish OB จบ ราคาน่าจะขึ้นไปทำ Higher High ของชาร์ต D1  การเปิดเทรดใช้ M15 ดูที่ลูกศรจะเห็นว่าราคาลงมาทดสอบ H1 Bullish แล้วเกิด M15 Bullish OB พอดี นั่นคือที่เปิดเทรด Stop loss อิงพื้นที่ H1 OB และ Take Profit อิง Higher High ของ D1


อีกตัวอย่างหนึ่ง แต่แค่ 2 ชาร์ตคือชาร์ต Setup – H1 กับชาร์ต Enter – M15 หลักสำคัญคือว่าเทรดให้สัมพันธ์กัน และใช้ OB ช่วยหาจุดเข้าเทรด ภาพนี้เป็นการใช้ M15 เพื่อเข้าเทรด H1 OB ตอนราคาลงมา ตรรกะที่เราต้องการคือ เราเห็นราคาขึ้นไป สามารถเอาชนะพื้นที่ตรงข้าม หรือเบรค Market Structure ดูรายละเอียดที่ชาร์ต M15  พอราคาลงมาถึงพื้นที่เราก็แค่รอให้เห็น Bullish OB เกิดขึ้นใน M15 เพราะต้องการเห็นว่าการเปลี่ยนข้างเกิดขึ้นหรือยังเพราะราคาอาจลงไปต่อได้ แต่พอเกิด OB ขึ้น ราคาบอกการเปลี่ยนข้างจาก Bearish กลับมาเป็น Bullish  แค่ราคาลงมาทดสอบก็เปิดเทรดได้เลย

จะเห็นว่าการใช้ Order Block เข้าเทรดถ้าจะให้ดีต้องสัมพันธ์กับ Setup ว่าเป็นอย่างไร คุณภาพในการกำหนดก็สำคัญเช่น ส่วนของ Setup ของท่านตอนที่ยืนยัน Order Bock ด้วยการวิ่งแรงๆ หรือเกิด Imbalance ถ้าเกิดขึ้นแถวพื้นที่แนวรับ-แนวต้านหรือ Swap level ได้ก็ยิ่งดี ถ้ามีการเบรค Market structure ด้วยก็ยิ่งดี ถ้ามีการเอาชนะ OB ตรงข้ามด้วยยิ่งดี สัดส่วนของ Reward อย่างน้อยต้อง 3 เท่าของส่วน OB ตัวกรองพวกนี้จะช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ของ Trade setup นั้นๆ เมื่อถึงตอนเข้าเทรด ใน Timeframe ย่อยแล้วเกิด OB ยืนยันอีกที ก็จะได้เข้าถูกที่ ถูกเวลา และนอกจากนี้ก็ยังมีสัดส่วน Risk:Reward ที่ดีอีกด้วย