กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Tips สำหรับเทรดทอง

  • 0 replies
  • 778 views
Tips สำหรับเทรดทอง
« เมื่อ: 28, ธันวาคม 2021, 05:56:47 PM »
Tips สำหรับเทรดทอง

ทอง (Gold หรือ XAUUSD) เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงอย่างมากในการเทรด เพราะเรื่องของการเคลื่อนของราคา มีการเคลื่อนไหวมากในแต่ละวันเมื่อนับเป็น Pips การเก็งกำไรจากการเคลื่อนไหวหรือการเทรดตามเทรน เมื่อราคาเข้าข้างที่เปิดเทรดเลยสามารถทำกำไรได้ในเวลาอันสั้น แต่ถ้าราคาวิ่งสวนก็จะสูญเสียในเวลาอันสั้นเช่นกัน  การเทรดทองมีหลายวิธี เช่นการเทรดด้วยการอ้างข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับทอง หรืออิงกับกองทุนที่ซื้อขายทอง อย่างเช่น SPDR Gold Shares เป็นต้น แต่มีอีกบางวิธีการที่สามารถช่วยท่านให้เทรดทองได้ง่ายขึ้น

ปรับกลยุทธ์การเทรดให้เข้ากับเงื่อนไขปัจจุบัน


เทรดสิ่งที่เห็น ไม่เทรดสิ่งที่คิด การปรับกลยุทธ์ของท่านเข้ากับสิ่งที่ราคาทองกำลังบอกท่าน คือวิธีการปรับกลยุทธ์การเทรดของท่านเป็นไดนามิค เข้ากับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เช่น ถ้าเทรดเดอร์ที่เทรดด้วยหลักการเทรดเทรนเป็นหลัก แต่พอราคาวิ่งอยู่ในกรอบ และส่วนมากทองก็จะวิ่งอยู่ในกรอบนานด้วย แต่พยายามเทรดตอนที่ราคาอยู่ในกรอบด้วยกลยุทธ์เทรดเทรน ผลการเทรดก็ไม่ออกมาดีอย่างที่ต้องการแน่นอน ดูกรอบตัวเลข 1 2 3 และ 4 ย้อนหลัง จากชาร์ต D1 เมื่อท่านมองดู Market structure หรือวาดเส้นบอกจุด Swing Highs/Lows เข้าไป การเทรดตามเทรนก็ทำงานดี แต่ว่าช่วงราคาที่อยู่ในกรอบนาน เช่น ที่เลข 1 ราคาอยู่ในกรอบ 13 วัน แม้ว่าท่านกำหนดเทรนด้วยการตีเส้น Swing highs/lows สีดำ กว่าราคาจะเบรคขึ้นมาได้ ถ้าท่านไม่ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การเทรดให้เข้ากับช่วงที่ราคาลงไปที่กรอบเลข 1 เห็นราคาวิ่งอยู่ในกรอบหลายวัน ท่านอาจสะสมเพิ่ม Long positions เรื่อยๆ แต่ราคาอาจจะลงก็ได้ ปัญหาคือท่านเทรดเทรนแล้วราคาเข้าสู่โหมดที่ไม่ทำเทรน ก็จะยากที่จะเทรดเทรน  ที่สำคัญมากกว่านั้น เช่นกรณีท่านเปิดเพิ่ม Long positions วันละ 1 ออเดอร์ ก็รวมเป็น 13 ออเดอร์ [เทรดเดอร์อื่นๆ โดยเฉพาะรายย่อยก็ทำเช่นกัน] เมื่อท่านปรับตัวเข้ากับเงื่อนไขตลาดแต่ละช่วงที่เกิดขึ้น ท่านก็จะเปลี่ยนหันมาเทรดแบบวิ่งอยู่ในกรอบ จนกว่าราคาเบรคขึ้นไปค่อยเทรดตามเทรนอีกที ลองดูว่าถ้าท่านเพิ่มออเดอร์เรื่อยๆ เทรดแบบไม่ปรับเปลี่ยนตามเงื่อนไขตลาด จะเห็นว่า ก่อนที่ราคาจะขึ้นไปจริงๆ เกิด Stop hunt แท่งเทียนที่มีหางยาวๆ แทงลงมาด้านล่างก่อนที่จะขึ้นไป เพราะขาใหญ่รู้ว่าพอราคาอยู่ในกรอบนานๆ เรื่องของ Stop orders ที่มาจาก Stop loss ของคนที่ถือ Long positions และ Sell stop ของเทรดเดอร์ที่รอเข้า

ให้ดูการเคลื่อนไหวของ Dollar Index ประจำ


สินค้าทอง Gold หรือ XAUUSD คือสินค้าที่เทรด XAU กับ USD  ท่านสามารดูการเคลื่อนของ Dollar Index ประกอบเพื่อยืนยันการเคลื่อนของทองได้ ว่าท่านจะเทรดอย่างไร ใช้หลักการ Correlation เพราะถ้าท่านสามารถใช้ ความสัมพันธ์กับ Dollar Index เพื่อยืนยันการเคลื่อนไหว เมื่อท่านได้ปรับกลยุทธ์การเทรดเข้ากับเงื่อนไขที่เกิดขึ้นกับปัจจุบันของทอง ท่านก็จะหาโอกาสเทรดได้ง่าย และจัดการ Positions ที่ถืออยู่ว่าจะจัดการอย่างไร เนื่องจากทองเทรดกับค่าเงิน USD (ในที่นี้กล่าวถึงคู่ทองกับ USD หรือ XAUUSD เท่านั้น)  ดูที่เลข 1 ว่า Dollar Index ช่วยการเทรดทองดีขึ้นอย่างไร ถ้าท่านอ่าน Market Structure ก่อน ท่านจะพบว่าราคาอยู่ในกรอบ แต่พอดู Dollar Index ราคาวิ่งขึ้นไปหาพื้นที่ที่น่าจะเป็น Supply zone เพราะ XAUUSD และ USDX วิ่งสวนกัน ดูแท่งเทียนที่บอก Stop hunt เราสามารถใช้ Dollar Index ยืนยันสิ่งนี้ได้เลยเพราะราคา Dollar Index วิ่งไปถึง Supply แล้วเด้งออกอย่างชัดเจน การยืนยันระหว่าการเคลื่อนไหว และมองพื้นที่ Price level ประกอบด้วย เช่นที่ Supply zone ของ Dollar Index ช่วยการเทรดทองได้ง่าย และมีความเป็นไปได้สูงด้วย ดูที่เลข 2 ท่านสามารถใช้ Dollar Index ยืนยัน ราคากลับมาทดสอบพื้นที่ Swap level ที่เปลี่ยนจาก Resistance กลายมาเป็น Support แม้ท่านเทรดยืนยันด้วยราคาขึ้นมา 1 แท่งเทียนแล้ว แต่ยังเป็นเทรนหลักที่ราคาเพิ่งเบรคขึ้นมา แท่งเทียนต่อมาสามารถเปิดเทรดด้วยความมั่นใจได้เพราะว่า Dollar Index ยืนยันด้วย

ให้ความสำคัญกับ Timeframe ที่ท่านกำหนด


การใช้การวิเคราะห์ต่าง Timeframe ที่สำคัญคือต้องใช้ให้เป็น เช่น เมื่อราคาทำเทรนขึ้น อย่างตามภาพประกอบเป็นชาร์ต H4 ทางช้ายมือเป็นชาร์ตหลักเพื่อดูว่าการเคลื่อนโดยรวมเป็นอย่างไร หรือกำหนดเทรนว่าเป็น Bullish หรือ Bearish มองมาทางขวามือ เป็นชารต์ M30 ตอนที่ราคาทำ Corrective move ของชาร์ต H4 แต่พอมองที่ชาร์ต M30 ราคาเบรคลงมา ท่านจะเห็นว่าราคาทำ Impulsive move ของช่วง Corrective ของชาร์ตหลัก  ยิ่งท่านมองหลายชาร์ตย่อยลงไป เช่นใช้ M5 เข้ามาประกอบอีก ภาพก็ยิ่งจะซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกัน ถ้าท่านยังไม่ชำนาญ  แต่ถ้าท่านเข้าใจ ท่านจะมองการเคลื่อนไหวใน Timeframe ย่อยเป็นรายละเอียดของ Timeframe หลักท่าน ท่านจะหาโอกาสเทรดสัมพันธ์กับชาร์ตหลักท่านได้ง่าย และเข้าจุดเทรดได้ดีด้วย รายละเอียดใน Timeframe ย่อย  ตามภาพประกอบ กำหนดชาร์ตหลักคือ H4 ราคาทำ Higher High ได้ แล้วราคาลงมาทำ Higher Low แล้วดู M30 ประกอบเพื่อดูการพัฒนาการของ Corrective move ว่าจะจบเมื่อไร จะเห็นว่าราคาก็ทำ Lower Lows ตามด้วย Lower Highs ต่อเนื่องกันเพราะราคาทำเทรนย่อยลงในช่วงนี้ แต่พอสุดท้าย ราคาเบรค Higher Low ได้ หลังจากที่ Lower Lows ไม่ห่างกันมากด้วย นี่คือสัญญานว่าราคาได้จบขั้นตอน Corrective move ของช่วง H4 ได้เวลาเปิดเทรดตามช่วง M30 – ด้วยวิธีการนี้ ท่านก็จะเข้าเทรดได้ตรงจุด ยิ่งได้ดู Dollar Index ประกอบด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้