กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

กลยุทธ์การเทรดและข้อดี-ข้อเสีย

  • 0 replies
  • 684 views
กลยุทธ์การเทรดและข้อดี-ข้อเสีย
« เมื่อ: 28, ธันวาคม 2021, 05:27:36 PM »
กลยุทธ์การเทรดและข้อดี-ข้อเสีย

กลยุทธ์การเทรดคือระบบที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อจะเปิด Buy หรือ Sell เมื่อไรและอย่างไร พร้อมด้วยการบริหารความเสี่ยงอย่างไร กลยุทธ์การเทรดแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ว่าเทรดเดอร์กำหนดและสร้างระบบเทรดอย่างไร มีหลายกลยุทธ์การเทรดที่ใช้ Technical Analysis อย่างเดียว หรือใช้ Fundamental Analysis อย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างด้วยกัน สำหรับกลยุทธ์การเทรดที่ดีนั้นต้องให้เทรดเดอร์วิเคราะห์ตลาดและเทรดด้วยความมั่นใจพร้อมทั้งการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี แต่ว่าแต่ละกลยุทธ์การเทรด ก็จะมีข้อดีและข้อเสียต่างกันออกไป

แม้ว่ากลยุทธ์การเทรดจะหลากหลาย แต่ละกลยุทธ์ก็จะมีปัจจัยกำหนดต่างกันออกไปเพื่อเป็นตัวกรองความเป็นไปได้สำหรับการเทรด แต่มี 3 หลักการที่พอจะนำมาใช้ในการเปรียบเทียบกลยุทธ์การเทรดต่างๆ คือ เรื่องของเวลาที่ใช้ เช่นใช้เวลานานขนาดไหนก็จะหา Trade Setup เจอ เรื่องของความถี่ของโอกาสการเทรดว่ามีบ่อยแค่ไหน และสุดท้ายเรื่องของระยะห่างการทำกำไร หรือระยะห่างเป้าหมาย หรือมองเป็นเรื่องของ Risk:Reward ก็ว่าได้ ตัวอย่างกลยุทธ์การเทรดและข้อดี-ข้อเสียของแต่ละกลยุทธ์มีอะไรบ้าง

กลยุทธ์การเทรด แบบ Price Action

การเทรดด้วย Price Action เป็นการศึกษาและวิเคราะห์สิ่งที่ราคาเกิดขึ้นเพื่อนำมาหาความเป็นไปได้ว่าจะเกิดอย่างไรมากกว่า การวิเคราะห์แบบนี้อาจใช้ราคาอย่างเดียว เช่นจากราคาเปิด สูง ต่ำ และปิดจากแท่งเทียน และอาจใช้ควบคู่อินดิเคเตอร์อื่นประกอบช่วยเสริม  แต่การวิเคราะห์จะเป็น Price Action  อย่างแรกเรื่องของช่วงเวลาการเทรด จะเห็นการเทรดด้วย Price Action ใช้ได้หมดทุกช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นระยะยาว กลางหรือสั้น และมีเทรดเดอร์ส่วนมากก็จะใช้วิเคราะห์แบบ Multitimeframe ด้วย โอกาสการเทรดหรือการหา trade setup จะแค่อ่านรูปแบบแท่งเทียนแล้วเทรดเลย หรือการอิง Fibonacci Retracement หรือใช้เรื่องของเทรนมาดู market structure แล้วใช้ PA ประกอบ การเทรดจะต่างกันออกไป แล้วระยะห่างทำกำไรก็จะต่างกันออกไป ว่าการเปิดเทรด เป็นการเทรดช่วงไหน ข้อดีคือสามารถใช้ได้ทุกช่วงการเทรด แต่ข้อเสียต้องศึกษาเรื่องของแท่งเทียนว่าเปิดเผยสิ่งที่ราคาบอกอย่างไร

กลยุทธ์การเทรดในกรอบ หรือ Range trading


หลายๆ เทรดเดอร์ชอบการเทรดแบบนี้ เพราะหากรอบราคาง่าย คือหาพื้นที่แนวรับ-แนวต้าน ที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบ การเปิดเทรดก็ไม่ซับช้อน ราคามาถึงพื้นที่แนวต้านก็เปิด Sell และ Stop loss เหนือพื้นที่แนวต้าน และ Take Profit ที่พื้นที่ แนวรับ การเปิด Buy ก็แค่ตรงกันข้าม แต่การเทรดแบบนี้จะใช้ได้ดีเมื่อตลาดไม่ค่อนมีความผันผวนมาก และไม่ทำเทรนชัดเจน ส่วนสำคัญของการเทรดแบบนี้นอกจากดูกรอบให้เป็นแล้ว คือเรื่องของจัดการความเสี่ยง ถ้าราคาหลุดกรอบออกมา ต้องรีบจัดการทันทีเพื่อจำกัดการสูญเสีย การเทรดแบบนี้ก็นิยมใช้อินดิเคเตอร์เข้ามาประกอบเพื่อดู Overbought/Oversold เช่น Relative Strength Index (RSI), Commodity Channel Index (CCI), หรือ Stochastics เป็นต้น ข้อดีคือ เมื่อกำหนดกรอบได้ก็หาพื้นที่เทรดง่าย และกำหนด Risk:Reward ไม่ยาก ข้อเสียคือ ใช้เวลานาน เพราะราคาไม่ค่อยวิ่ง ทำให้ถือออเดอร์นานไป พอผ่านช่วงตลาด เช่นพอตลาดยุโรปเปิดเข้ามามีความผันผวนมากเกิดขึ้น โอกาสการจัดการการเทรดก็ยากขึ้น

กลยุทธ์การเทรดตามเทรน


การเทรดตามเทรนเป็นกลยุทธ์ที่นิยมกัน และศึกษาได้ง่าย แค่กำหนดเทรนหลักว่าเป็นไปทางไหน ใช้เทรนย่อยลงมาเพื่อหาโอกาสจังหวะเข้าเทรดเพื่อเทรดตามเทรนหลัก  ข้อดีคือเมื่อกำหนดเทรนหลักได้ ก็หาโอกาสเทรดตามได้ง่าย และ Risk:Reward ดี ข้อเสียคือการที่จะเทรดตามเทรน ต้องรอจังหวะจบช่วงเทรนทดสอบหรือ Corrective ที่ต้องใช้เวลาว่ากำหนดเทรนจาก timeframe ไหน  การเทรดจะเน้นเทรดเทรนที่แข็งทำ Swing highs/lows เช่นอย่างภาพประกอบ เห็นเทรนลง ราคาทำ Lower Lows ตามด้วย Lower Highs พื้นที่ Lower Highs คือจุดที่จะเข้าเทรดตามเทรน แต่จะเห็นว่าต้องรอเวลาให้ราคากลับไปทำการทดสอบก่อน แล้วรอเห็นราคาโต้ตอบค่อยเปิดเทรด ดังนั้นข้อเสียคือต้องรอนานจนกว่าราคาจบ Corrective แต่ Risk:Reward กลับคุ้มค่าเมื่อท่านเทรดแบบนี้ได้

กลยุทธ์แบบ Position Trading

กลยุทธ์นี้เป็นการเทรดระยะเวลายาวเป็นหลัก ก็จะเทรดข้อมูลพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อราคา การเทรดก็จะมองภาพการเคลื่อนไหวจากอาทิตย์ หลายอาทิตย์ และเดือน หลายเดือน ไปถึงปี เป็นหลัก  ไม่ให้ความสำคัญกับราคาขึ้น-ลงใน timeframe ย่อยถือว่าเป็นสัญญาณหลอก ข้อดีของการเทรดแบบนี้คือไม่ต้องเปิดบ่อย สัดส่วน Risk:Reward สูง แต่ก็มีข้อเสียคือ สัญญาณการเปิดเทรดจะน้อยมาก และก็จะต้องทนรอนาน เทรดแล้วถือรอให้เห็นความความสำคัญของกลยุทธ์การเทรดแบบนี้

กลยุทธ์แบบ Day Trading

กลยุทธ์การเทรดแบบ Day Trading มุ่งเน้นการเทรดหรือถือออเดอร์ให้จบภาพในวันที่เทรด ไม่ต้องการถือข้ามวันเพราะแต่ละวัน Liquidity ก็จะต่างกันออกไป การเปิดเทรดอาจเปิด ออเดอร์เดียวหรือหลายออเดอร์ก็ได้ สำคัญคือต้องปิดออเดอร์ภายในวันที่เทรดนั้นๆ ช่วงเวลาการเปิดเทรด ตั้งแต่นาที (M1-M30) หรือระดับ (H1) เป็นการเทรดแบบ Scalping หรือ ตามช่วงการเคลื่อนของช่วงเวลานาที หรือชั่วโมง ข้อดีของกลยุทธ์แบบนี้คือโอกาสการเปิดเทรดจะมีบ่อย ระดับ Risk:Reward มีหลายระดับ แต่ก็มากพอถ้ากำหนดการเข้าเทรดอิง timeframe ใหญ่คือ H1/H4 ข้อเสียใช้เวลาในการเทรดมาก เพราะต้องคอยหา Setup บ่อย และการเปิดเทรดบ่อยๆ โอกาสเสี่ยงสูงก็เกิดขึ้นมากด้วย

กลยุทธ์แบบ Scalping Trading

การเทรดแบบ Scalping เป็นการเทรดสั้นๆ เน้นหวังผลกำไรทีละน้อยจากการเคลื่อนเข้าและออกเทรดเร็ว ช่วงเวลาที่ใช้จะดูชาร์ต M1-M30 ข้อดีของการเทรดแบบนี้คือจะมีโอกาสการเทรดมาก และเกิดขึ้นบ่อย ข้อเสียคือใช้เวลามากเพราะต้องวิเคราะห์ setup ต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่ามีความเป็นไปได้พอที่จะเทรดหรือไม่ เรื่องของ Risk:Reward น้อยเพราะเน้นหวังผลการทำกำไรทีละน้อย เข้าออกเร็วเพื่อบริหารความเสี่ยงด้วย

เมื่อจะเลือกกลยุทธ์การเทรด จากตัวอย่างที่ยกมา หรือจากที่ท่านกำหนดขึ้นมาเอง จะเห็นว่ามีเรื่องว่าใช้เวลาในการเทรดถือรอ เป็นอย่างไร เรื่องของ Risk:Reward เป็นอย่างไร เลือกให้เข้ากับรูปแบบการเทรด ช่วงเวลาในการเทรด และทุนสำหรับการเทรด เพราะแต่ละเทรดเดอร์จะเลือกวิธีการที่ต่างกันออกไปแล้วแต่ว่าจะเทรดแบบไหน การเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเข้ากับเงื่อนไขส่วนตัวหรือความชอบส่วนตัว ก็จะช่วยให้อยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องแต่เริ่มแรกในการเทรด