กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ Volumes

  • 0 replies
  • 3,798 views
การใช้อินดิเคเตอร์ Volumes
« เมื่อ: 30, มิถุนายน 2021, 07:00:45 PM »
การใช้อินดิเคเตอร์  Volumes

อินดิเคเตอร์ Volumes บอกถึงว่า มีวอลลูมการเทรดเกิดขึ้นเท่าไร กับแต่ละช่วงเวลาที่กำหนด ส่วนมากก็จะใช้แท่งเทียนในการกำหนด เวลาดูช่วงเวลาด้วยดูจากว่าเปิดชาร์ต timeframe ไหน หรือบอกว่าเป็นการบอกถึงจำนวน ticks ที่เกิดขึ้นภายในช่วงเวลาของแท่งเทียนนั้นๆ เช่น เมื่อเปิดชาร์ต H1 จำนวนแท่ง Histogram ที่แสดงในส่วนของ Volumes ก็จะบอกถึงจำนวน ticks ที่เกิดขึ้นของแท่งเทียน H1 แต่ละแท่งเทียน แต่ละ tick เป็นผลจาก trading transaction ที่เกิดขึ้น [trading transaction จะเป็นผลจากการเปิดเทรดหรือออกเทรด ด้วยการจับคู่ระหว่างออเดอร์ sell และ buy ณ ราคา Bid/Ask และวอลลูมเดียวกัน ถ้าจำนวนออเดอร์อีกฝ่ายไม่พอ ราคาก็จะวิ่งไปหาออเดอร์อีกฝั่งที่ราคาต่อไป] ดังนั้น Volumes มากก็บอกถึง ticks มาก หรือบอกถึงเกิดการเทรดมาก

การใช้งาน Volumes


Volumes เป็นอินดิเคเตอร์ที่อยู่ในประเภท Volumes ของโปรแกรมเทรด Metatrader ที่แบ่งอินดิเคเตอร์ออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ Trend, Oscillators, Volumes และ Bill Williams สามารถเลือกใช้ด้วยการไปที่เมนู Insert -> Indicators -> Volumes แล้วคลิกที่ Volumes ดูค่าที่แสดงผลด้านล่าง มีแค่แท่ง Histogram ที่บอกถึงว่ามี Volume สำหรับแต่ละแท่งเทียนหรือช่วงเวลาที่กำหนดเท่าไร ค่า Settings มีแค่ให้ปรับแต่งการแสดงผลว่า Volume ของแท่งเทียนปัจจุบันมากกว่า Volume ของแท่งเทียนก่อน หรือเรียกว่า Value Up และ Volume ของแท่งเทียนปัจจุบันน้อยกว่า Volume ของแท่งเทียนก่อน เรียกว่า Value Down สามารถปรับสีและขนาดได้เท่านั้นเอง ส่วนตัวเลข Volumes ตรงมุมบนด้านซ้ายคือ ค่าของแท่งเทียนปัจจุบัน ถ้าจะดูค่าแท่งเทียนอื่นๆ ก็ขยับเมาส์ไปที่แท่ง Histogram ที่ตรงกับแท่งเทียนที่ต้องการก็จะมีข้อมูลแสดงขึ้นมา ส่วนการแสดงผล ค่าที่มากกว่าค่า Volume ของแท่งเทียนก่อน ก็จะแสดงสีตามที่กำหนด Value Up ในส่วนของ Settings และถ้าค่า Volume ของแท่งเทียนต่ำกว่าแท่งเทียนก่อน ก็จะแสดงสีตามที่กำหนด Value Up การแสดงผล ง่ายและชัดเจน แต่พอท่านกำหนดใช้กับ Timeframe ใหญ่ขึ้นเช่น D1 ทางชาร์ตด้านขวา เทียบกับการแสดงผลของชาร์ต H1 ทางด้านซ้าย จะเห็นว่าแท่ง Histogram ของชาร์ต D1 แสดงความแตกต่างไม่ชัดเจน แบบที่แสดงผลใน H1 ดังนั้น เนื่องจากการแสดงผลเป็นแบบนี้ การใช้ Volumes ก็เลยเหมาะสำหรับใช้กับ timeframe H1 หรือต่ำกว่า ค่อยจะเห็นความต่างชัดเจน ง่ายต่อการตีความ

การตีความ Volumes สำหรับการเทรด



การใช้วอลลูมจะใช้กับราคา (price) เป็นหลัก เพราะว่าราคา เช่นตัวอย่างแท่งเทียนราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด ตรงส่วนราคาบอกถึงทิศทางว่า เกิดการเคลื่อนไหวทางไหน แต่เราไม่ทราบถึงแรงที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวว่าเป็นอย่างไร  แม้ว่าเราจะดูระยะห่างจากราคาเปิดและปิด ด้วยการดู Candlestick body เพราะว่าเราจะเห็นว่า แม้ขนาดแท่งเทียนยาวมาก แต่ราคาเปิดและปิดอยู่พื้นที่เดียวกันประจำ ดังนั้นแค่ราคาอย่างเดียวไม่ได้บอกทั้งหมดเหมือนอย่าง Volume  แต่ถ้าเราใช้ Volume เข้าไปประกอบก็จะทราบถึงแรงที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวนั้นๆ  ดังนั้นบอกได้ว่า ราคาบอกถึงทิศทางของเทรน (direction) และ Volumes บอกถึงความแข็งของเทรน (strength) ดังนั้นเมื่อเราใช้ ราคา และ Volume ด้วยกัน เราก็จะได้การยืนยันทิศทางว่าแข็งพอที่จะไปทางนั้นหรือเปล่า จำนวน Volume ที่เพิ่มขึ้น บอกถึงการเข้าเทรดมากขึ้น ยิ่งมีทิศทางอย่างชัดเจน เช่นแท่งเทียนยาวๆ บอกว่าขาใหญ่ได้เข้าเทรดทางนั้นๆ มองแบบคล้ายๆ กับหลักการ Momentum ได้ Volume ช่วยบอกความแข็งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่เกิดขึ้น ถ้า Volume ไม่มีการเทรดมาก บอกว่าเทรดเดอร์ที่มีการเทรดมากยังไม่ได้เข้ามา หรือบอกว่า มีความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์กับ Sell และ Buy ที่ยังไม่เห็น

ภาพประกอบ 2 อธิบายการใช้ Volume ในการตีความได้อย่างดี หลักการสำคัญของการใช้ Volume ใช้และช่วยในการเทรดคือ ต้องอ่านว่า Volume สัมพันธ์กับราคาอย่างไรให้เป็น ยิ่งต้องอ่านต่อเนื่องกัน ยิ่งเห็นชัดเจนว่าราคา และ Volume กำลังบอกอะไร  [อย่างที่อธิบายไว้ก่อนนี้ว่า แนะให้ใช้ Volume กับชาร์ต timeframe ระดับ H1 ลงไป จะเห็นความต่างของ Volume ชัดเจน] 

ที่เลข 1 จะเห็นว่าราคาขึ้น และ Volume เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนมาก การดู Volume ให้ดูเปรียบเทียบกับ Volume ของแท่งเทียนก่อน จะเห็นว่ามากกว่า Volume ของแท่งเทียนก่อน และหลายแท่งเทียนก่อนด้วย การขึ้นของ Volume ของแท่งที่ 1 บอกนัยสำคัญว่า Volume นี้เป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่ และราคาบอกว่าสามารถปิดเหนือกว่า Resistance ด้านบนด้วย

ดู Volume ที่เลข 2 ลดลงอย่างต่อเนื่อง ดูราคาบอกว่าอะไรเกิดขึ้น เป็นช่วง Retracement หรือลงมาทดสอบ ตรงที่ราคาขึ้นไปตอนแรก สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้กับราคา และ Volume คือว่า ราคาไม่ไปต่อ ลดตัวลง และจำนวน Volume ลดลงด้วย บอกถึงช่วงทดสอบหรือ Corrective นั่นเอง

ดูที่เลข 3 ว่าการใช้ Volume บอกอย่างไรต่อแท่งเทียน บอกว่าเห็น Volume เพิ่มขึ้นแบบโดดเด่นมีนัยอีกรอบ หลังจากที่ลดลงตอนช่วงเลข 2 แล้ว ราคาก็ไปต่อตามเทรน ช่วงที่ไปต่อก็จะเห็นความต่อเนื่องของ Volume ของแท่งเทียนต่อมาเพิ่มขึ้นด้วย


จะเห็นว่า แม้รูปแบบการเสนอของอินดิเคเตอร์ไม่มีอะไรยาก และไม่มีค่าใช้ประมวลผลอะไรแบบอินดิเคเตอร์อื่นๆ เลย แค่กำหนดรูปร่างและสีของแท่ง Histogram ที่แสดงขนาดของ Volume แต่ละแท่งเทียนเท่านั้นเอง การใช้งานชัดเจน แต่ ว่าท่านจะพบว่าการอ่าน Volume ในการเทรด ท่านจำเป็นต้องอ่านต่อเนื่อง หรือดูปริบทที่เกิดขึ้นก่อนเป็น ด้วยการเข้าใจว่า ราคาสำหรับกำหนดทิศทางและ Volume สำหรับกำหนดดูความแข็งที่เกิดการเคลื่อนไปทางนั้นๆ ประกอบกัน ก็จะช่วยในการเทรดแบบกลยุทธ์ต่างๆ เช่น ภาพสุดท้ายที่เลข 1 จำนวน Volume ที่เพิมขึ้นช่วยบอกว่าการเข้าเทรดของขาใหญ่ ช่วยให้ท่านมองว่าคุณภาพของ Demand ที่เกิดขึ้นนี้มีความแข็งมากพอที่จะเทรดอีกรอบ ถ้าราคากลับมาที่ราคาได้ดันขึ้นไปด้วย Impulsive move และย่อตัวลงมา ท่านจะเห็นว่า Volume ช่วงย่อตัวลงมาทำ Corrective move ก็จะลดลงด้วย ตรงที่เลข 2 บอก แล้วจบ Volume เพิ่มขึ้นอีกรอบ ราคาปิดบนได้ บอกถึงการจบ Corrective move ได้เวลาเทรดตามเทรนอีกรอบ  ตรรกะที่อยู่ที่เลข 3 ก็เช่นเดียวกัน