กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

3 กลยุทธ์เทรดตามเทรน – The trend is your friend แบบง่ายๆ

  • 0 replies
  • 811 views
3 กลยุทธ์เทรดตามเทรน – The trend is your friend แบบง่ายๆ

หลักการหรือกลยุทธ์การเทรดตามเทรนถือว่าเป็นวิธีการเทรดที่นิยมสุดว่าได้ เพราะการเปิดเทรดแบบนี้เมื่อกำหนดเทรนเป็น ก็จะเป็นการเปิดเทรดด้วยกลยุทธ์ที่ง่าย เสี่ยงน้อย และที่สำคัญเทรดเดอร์ส่วนมากก็จะสนใจโดยเฉพาะเทรดเดอร์กลุ่มที่เห็นจบการ Correction แล้วเห็นสัญญาณยืนยันว่าราคาจะกลับมาทางที่ทำเทรนก็จะหันมาเปิดอีกรอบ แต่สำคัญก่อนที่จะเปิดเทรดเป็น การกำหนดเทรนเป็นเรื่องสำคัญ บทความนี้จะเน้นว่าเรื่องของการกำหนดเทรนและตัวอย่างกลยุทธ์วิธีการเทรดตามเทรนที่กำหนด

กำหนดเทรด – The Trend is your friend อย่างไร


การเทรดไม่ว่าจะป็นการเทรดตามเทรนหรือสวนเทรนสิ่งแรกที่จำเป็นคือการกำหนดเทรนเป็น ว่าเป็นเทรนระยะสั้น เทรนระยะกลาง หรือเทรนระยะยาว แล้วค่อยกำหนดกลยุทธ์เทรดตามที่แต่ละเทรดเดอร์ถนัด วิธีการที่นิยมใช้กันในการกำหนดเทรนคือการใช้หลักการพัฒนาการ swing highs/lows มาประกอบการดู market structure ที่เกิดขึ้น คือถ้าเป็นเทรนลง market structure ต้องการพัฒนาการของเห็น Lower Lows และ Lower Highs หรือถ้าเป็นเทรนขาขึ้นต้องเห็น Higher Highs และ Higher Lows  เช่นอย่างภาพประกอบ ราคาจะทำ LL หรือ Lower Low ก่อนด้วยการเบรค Low ก่อนลงมา และย่อตัวขึ้นไป ไม่สามารถเบรค High ก่อนได้กลายมาเป็น Lower High

เทรดตามเทรนด้วย Trendline และ Channel


วิธีการแรกเป็นการอธิบาย 2 กลยุทธ์ไปพร้อมกันคือการกำหนด Trendline และใช้ Trendline เป็นกรอบราคาหรือ Channel จากภาพประกอบ เป็นการลากเทรนไลน์จากจุดที่ราคาทำ swing highs/lows หรือการพัฒนาการเทรน เช่นอย่างภาพประกอบ สำหรับเทรนขึ้นต้องเห็น market structure ที่ราคาทำ Higher Highs ตามด้วย Higher Low ตามภาพประกอบ [ราคาอาจทำ Higher Low ก่อนทำ Higher High ก็ได้ แต่ถ้าราคาทำ Higher High ได้ก่อนจะดีกว่า] ดูที่เลข 1 ที่ถือว่าสำคัญเพราะราคาได้เบรค High ก่อนขึ้นมาทำ Higher High และตามด้วยราคาลงมาทำ Higher Low เพราะไม่สามารถต่ำกว่า Low ก่อนได้ ยิ่งกว่านั้นเห็นการจบ Correction ที่กรอบสีเขียวด้วยราคาเบียดขึ้นไปตรงเส้นสีแดง นั่นคือ price action บอกถึงการจบของช่วงทดสอบเทรน ตามที่ราคาได้เบรคขึ้นมา ก็จะเป็นโอกาสแรกในการเปิดเทรด Buy ตามเทรน การกำหนด stop loss ก็พื้นที่ price action ตรงจุดนั้นต่ำกว่าเล็กน้อย เพราะเราเห็น price action ยืนยันไม่ต้องกำหนด ห่างมาก มาที่จุด Buy 2 ก็ต่อเนื่องจากก่อนหน้า ราคาสามารถทำ Higher High ด้วยการเบรค High ก่อนที่เลข 1 ได้ ราคาย่อตัวไม่สามารถลงต่ำได้ เห็น price action บอก rejection ที่จุดจบ Correction และราคาได้เบรคขึ้นมา โอกาสเปิดเทรดมาเช่นเดียวกับตอนแรก ตรรกะการเปิดเทรดตามเทรนไม่ต่างกัน  และช่วงที่ราคาขึ้นไปทำ Higher High อาจใช้ Fibonacci Retracements มาประกอบเพื่อหาจุดจบของ Correction ได้

การกำหนดเทรนไลน์ด้วยการลากจากจุด swing highs/lows อย่างน้อย 2 จุดต่อเนื่องกัน และถ้าตีเส้น trendline ทั้งส่วน swing highs และส่วนของ swing lows ช่วยให้เราสามารกำหนด channel เป็นกรอบของราคาวิ่งเป็นกรอบเทรนได้ เลยอธิบายทั้ง Trendline และ Channel ไปพร้อมกัน

เทรดตามเทรนด้วย Oscillators


อีกวิธีการในการเทรดตามเทรนคือใช้ Oscillators เพื่อดูว่าราคาจบช่วง Correction หรือยัง ถ้าราคาหันกลับมาทางเดิมที่ทำเทรน และมีข้อมูลจาก Oscillator มาประกอบด้วย ก็จะเป็นการยืนยันว่าเทรนจะกลับมาเปิดโอกาสการเปิดเทรดตามเทรนได้ง่ายและมีความมั่นใจ เช่นอย่างกรณี RSI หรือ Relative Strength Index เป็นตัวอย่างที่ดี หลังจากราคาไปถึงพื้นที่ Overbought หรือ Oversold แล้วเห็น price action ประกอบการเปลี่ยนทางจะหันกลับมาทางเดิมที่ทำเทรนก่อนนี้ จากตัวอย่างการใช้ RSI เข้ามาประกอบการหาโอกาสเทรดตามเทรน ก่อนอื่นที่กล่าวมาด้านบนต้องรู้จักวิธีกำหนดเทรนเป็นก่อน จะเห็นว่ามีการตีการพัฒนาการ swing high/low นำหน้ามาเพื่อกำหนดเทรนลง พอ RSI มาพื้นที่ Overbought เราก็ดู price action ประกอบตรงส่วนที่น่าจะเป็นจุด swing และดู price action กับ market structure ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าพื้นที่เลข 2 เห็นโอกาสเทรดตามเทรนที่ชัดเจนใน timeframe เดียวกันว่าที่เลข 1 แต่หลักการเดียวกัน ถ้าเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ก็จะใช้การมอง timeframe ย่อยลงไป ก็จะเปิดเทรดตามเทรนตั้งแต่เลข 1 ได้ด้วย

การเทรดตามเทรนเป็นวิธีการเทรดที่ถือว่าง่าย และค่อนข้างจะปลอดภัยในการป้องกันทุน แต่สำคัญว่าท่านต้องกำหนดเทรนแต่ละช่วงแข็งของเทรนเป็นค่อยจะหาจุดเข้าเทรดตามเทรนได้ถูกที่อย่างที่ยกตัวอย่างมา เป็นการเทรดหลังจากที่กำหนดเทรนเป็นและยังพัฒนาการอยู่ด้วยการทำ Swing high/low โดยเฉพาะที่เน้นก่อนที่จะหาจุดเข้าเทรดตามเทรนให้เห็นราคาได้ทำ New high สำหรับเทรนขึ้นหรือ New Low สำหรับเทรนลงก่อน ด้วยการวิ่งแรงๆ หรือเห็นแท่งเทียนไปทางเดียวกันเป็นแท่งยาวๆ หรือถ้าเป็นตรรกะที่อยู่เบื้องหลังจะออกมาเป็นรูป Momentum หรือ Impulsive move ชัดเจน เพราะส่วนนี้จะช่วยให้ท่านหาหรือกำหนดจุดสำหรับกำหนดเทรนด้วย Trendline หรือตีกรอบเป็น กรอบราคาตามที่อธิบายมาได้ชัดเจนและถูกที่ด้วย และการเบรคแบบนี้ยังบอกถึงการอยากเข้าเทรดหรือดันราคาไปต่อทางเทรนนั้นๆ ที่เพิ่งเกิดและต่อเนื่องก่อนที่ท่านจะเปิดเทรดด้วย

มีอีกหลายวิธีที่จะเทรดตามเทรน เช่นอาจเป็นการใช้ Moving Averages หรือ Bollinger Bands เป็นต้น แล้วแต่ถนัด แต่พื้นฐานคือต้องกำหนดเทรนเป็นจาก market structure ก่อน เพราะการอ่านข้อมูลจากอินดิเคเตอร์อย่างเดียวในการกำหนดเทรนไม่พอ ท่านจำเป็นต้องหาส่วนอื่นเข้ามายืนยัน เช่นการอ่าน market structure หรือ confluence จาก technical analysis อื่นๆ มาประกอบเพื่อเป็นตัวยืนยันเพิ่มความเป็นไปได้