กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

กำหนดและเทรดเทรนเพื่อหาโอกาสเข้าเทรดทอง

  • 0 replies
  • 549 views
กำหนดและเทรดเทรนเพื่อหาโอกาสเข้าเทรดทอง
« เมื่อ: 21, กุมภาพันธ์ 2021, 04:57:59 PM »
กำหนดและเทรดเทรนเพื่อหาโอกาสเข้าเทรดทอง

คำว่า "The trend is your friend" หรือหลักการเทรดด้วยการเปิดเทรดตามเทรนเป็นหลัก เป็นหลักการเทรดที่พูดถึงและนิยมใช้กันสำหรับการเทรดมาก เทรดเดอร์ที่ชอบเทรดเทรนก็จะหาโอกาสเทรดตามเทรนเมื่อเทรนชัด แต่ก็มีเทรดเดอร์ที่ชอบเทรดสวนเทรนด้วยเช่นกัน ความยากของการเทรดเทรนคือกำหนดเทรนและหาจังหวะเข้าที่เหมาะสม  และการเทรดเทรนมีหลายๆ คำถามที่ต้องตอบให้ได้ก่อนเช่น กำหนดเทรนอย่างไร  เทรดเทรนอย่างไร เทรดเทรนดีกว่าการเทรดวิ่งในกรอบแนวรับ-แนวต้าน หรือเทรดเทรนสั้นหรือเทรนระยะยาวอันไหนดีกว่ากัน

กำหนดเทรนอย่างไร


วิธีการกำหนดเทรนมีหลายๆ อย่าง แล้วแต่ะละวิธีการที่เทรดเดอร์ศึกษามา แต่เรื่องของเทรนไม่ต่างกันคือ เทรนขาขึ้น (uptrend) เทรนขาลง (downtrend) หรือวิ่งอยู่ไหนกรอบไม่ทำเทรนหรือเรียกว่า Range หรือ No Trend

ดูการกำหนด Uptrend ท่านจะเห็นความต่อเนื่องของการทำ Higher Highs/Higher Lows ส่วนด้านทาง High ราคาต้องมีการเบรค High ก่อน ตามมาด้วยการทำ High ใหม่ และที่ต่อเนื่องกัน ส่วนทางด้าน Low ท่านจะเห็นว่าราคาต้องทำ Higher Low ตามด้วย คือเมื่อราคาเบรค High ก่อนได้ลงมาทดสอบ ต้องทำ Low ใหม่สูงกว่า Low ก่อนนี้ ต่อเนื่องกัน ตามภาพประกอบที่ 1 ส่วนสำคัญสุดคือตรงพื้นที่ Higher Low ต้องไม่โดนเบรค อาจมากกว่า Higher Low ก่อนเล็กน้อยได้

Downtrend กำหนดด้วยการ Lower Highs และ Lower Lows พัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ราคาต้องสามารถทำ Low ใหม่ได้เรื่อยๆ ด้วยการเบรค Low ก่อน ยิ่งการเบรคด้วย Momentum ยิ่งดี สำคัญว่าราคาต้องไม่สามารถเบรค High ก่อนได้ ที่ทำ Lower High มาอย่างต่อเนื่อง

Range หรือ No Trend ราคาวิ่งอยู่ในกรอบ High/Low หรือบอกว่าเป็นกรอบแนวรับ-แนวต้าน ก็ว่าได้ ก็จะเป็นกรอบแคบๆ ไม่ได้มีการเบรค High หรือ Low ให้เห็นอย่างที่ทำเทรน 

หลักการกำหนดเทรนด้วยการ Swing Highs/Lows เป็นหลักการที่ง่ายและตรง แต่การกำหนดช่วงเทรนเป็นเทรนระยะสั้น หรือระยะปานกลาง หรือระยะยาว อยู่ที่ว่าเรามอง Swing highs/lows จาก timeframe ไหน

การเทรดเทรน

การเทรดเทรนเมื่อท่านกำหนดเทรนได้ อยู่ที่ท่านว่าจะเทรดอย่างไร เช่นอาจเทรดเทรนสั้น เทรนระยะกลางหรือระยะยาว การบริหารจัดการการเทรดก็ต่างกันออกไป

การเทรดเทรนวิธีการแรก ที่ถือว่านิยมกันคือด้วยการใช้การเข้าใจหลักการพัฒนาการเทรนของ Swing high/lows คือถ้าเป็นเทรนขาขึ้น เมื่อราคาสามารถทำ Higher High ได้ ราคาลงมาทดสอบเทรนตรงพื้นที่ Higher Low จุดที่ใช้เพื่อกำหนด trendline ด้านล่าง (lower trendline) ก็จะเป็นจุดที่เทรดเดอร์หาโอกาสเทรด Buy ตามเทรนขึ้น  ส่วนการเทรดเทรนลง ก็ตรงกันข้ามกัน เทรดเดอร์เมื่อเห็นราคากลับมาทำ Lower High ก็จะหาโอกาสเปิด Sell ตามเทรน ถ้าเป็นราคาวิ่งอยู่ในกรอบ เทรดเดอร์ก็จะไม่หาโอกาสเทรดเพราะไม่เห็นเทรนชัด

สิ่งหนึ่งที่จะเห็นชัดเมื่อกำหนดเทรนเป็นด้วยหลักการนี้ ท่านสามารถเทรดแบบ Buy Low และ Sell High ได้อย่างง่าย แต่ความยากจะอยู่ที่ตอนที่ราคาเบรค High หรือ Low ก่อนเพื่อทำ New High หรือ Higher High สำหรับเทรนขึ้น และ ทำ New Low หรือ Lower Low สำหรับเทรนลง ว่าราคาเบรคอย่างไร  การเบรคต้องเห็น Momentum เพราะสะท้อนความชัดเจนของ Market structure ที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด แสดงว่าขาใหญ่เข้ามามีส่วนในการทำให้เกิด การเบรคนั้นๆ แน่นอน เลยจะช่วยให้ท่านกำหนดจุด swing highs/lows สำหรับลากเส้นเทรนไลน และเพิ่มความเป็นไปได้ในการเทรดตามด้วย



วิธีการใช้ Fibonacci Retracements ในการกำหนดหาจุดเข้าเทรดตามเทรน เมื่อเทรดเดอร์เห็นราคาทำ New High หรือ New Low ใหม่ได้ด้วยการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน ก็จะถือว่าการเปิดเผยของราคาแบบนั้นเป็นการเปลี่ยนเทรนหรือราคากำลังทำเทรน  ก็จะใช้ตัวเลขในการย่อตัวหรือ Retracement ที่นิยมกันคือ 23.6%, 38.2%, 50%, 61.8% เพื่อหาจุดเข้าเทรดตามเทรน ดูที่ชาร์ต D1 หลังจากที่ราคาได้เบรค Low ที่เป็นแนวรับก่อนลงมาทำ New Low ใหม่ได้ ก็กำหนด Fibo เข้าไปตั้งแต่ High บนสุดจนลงมาก่อนที่ราคาเริ่มดันกลับมา ก็จะได้พื้นที่น่าเทรดตามเทรนด้วนยการย่อตัวของ Fibonacci Retracement ดูว่าราคาหยุดตรงตัวเลขไหนใน timeframe ย่อยลงมา แล้วเห็น Rejection ชัดเจนก็ได้พื้นที่เทรดตามเทรนได้ง่าย


วิธีการใช้เส้น Moving Averaing ในการกำหนดเทรน ก็จะหาโอกาสเทรดตามเทรนเมื่อเห็นการตัดกันระหว่างเส้น MA เช่นอย่างที่นิยมกันในการเทรดเทรนคือ การใช้ MA 50 และ MA 20 ช่วยในการกำหนดเทรนและหาโอกาสเทรด วิธีการแรกเป็นการเทรดตามราคาและเส้น MA เช่นถ้าราคาอยู่เหนือเส้น MA ถือว่าเป็นเทรนขาขึ้นหาโอกาสเทรดตามเทรน เมื่อราคาย่อตัวมาใกล้ๆ เส้น แล้วเริ่มเด้งออกอีกรอบก็เทรดตามเทรนเช่น เทรนขาขึ้น ราคาต้องอยู่เหนือกว่า MA 50 และ MA 20 แต่ถ้าย่อตัวลงมา แถว MA 20 และเริ่มเด้งออกอีก นั่นคือจังหวะที่เทรดตามเทรน หรือใช้หลักการเทรดแบบ การตัดกันระหว่างเส้น MA 20 กับ MA 50 เทรดตอนเทรนเปลี่ยนแล้วก็เทรดตามเทรนใหม่ที่เกิดขึ้นด้วยหลักการเดียวกัน


เทรดตามเทรนด้วยหลักการ Support/Resistance -    การเทรดตามเทรนด้วยหลักการแนวรับ-แนวต้าน หรือ Price level หรือ Demand/Supply  เป็นวีธีการอีกแบบเพราะต้องการเห็นว่าราคาเปิดเผยอย่างไรก่อนสร้างแนวรับ-แนวต้านบอกข้อมูลอะไรบางอย่าง หรือสร้าง Impulsive move เป็นช่วงที่ราคาเบรค Swing high/low อย่างไร แล้วหาโอกาสเทรดต่อราคาย่อตัว หรือ Retracement หลายๆ เทรดเดอร์ก็ใช้ตัวเลข Fibonacci Retracement เข้ามาช่วยกำหนดหาจุดเข้าเทรดด้วย


  • ที่เลข 1 ราคาเบรค Support หรือ Demand ลงมาด้วยแท่งเทียนยาวๆ เปิดโอกาสให้เทรดตามเทรนใหม่ที่เกิดขึ้นได้
  • ที่เลข 2 และ 3 ต่อเนื่องจากเลข 1 เป็นการพัฒการเทรนต่อ ราคาทำ Lower Low ได้ใหม่อีกด้วยการเบรคลงมา ราคาย่อตัวที่เลข 2 และ 3 เปิดโอกาสให้เทรดตามเทรนต่อด้วยหลักการย่อตัว Retracement หรือเทรดตามเทรนได้ง่าย
  • เลข 4 ดูราคาเบรค Resistance ขึ้นไปทำ Higher High ได้ใหม่ รอราคาย่อตัวมาที่จัดเบรค เป็นการเทรดตามเทรนใหม่ที่กำลงเกิดขึ้น
  • เลข 5 ก็ต่อเนื่องจากเลข 4 ราคาสามารถทำ Higher High ใหม่ได้อีกรอบ ราคาลงมาทดสอบที่จุดราคาเบรคขึ้นไป ก็เปิดโอกาสให้เทรดตามเทรนต่อได้


การเทรดเทรนหลักสำคัญอยู่ที่ว่าท่านกำหนดเทรนเป็นหรือเปล่า และเทรนที่ท่านเทรด ระยะสั้น ปานกลาง หรือระยะยาว การถือรอก็ต่างกันไป และเมื่อท่านกำหนดเทรนเป็นการเทรดการที่ราคาลงมาทดสอบเทรน หรือเรียกว่า Corrective จะเปิดโอกาสให้ท่านเทรดแบบ Buy Low, Sell High ได้ตรงพื้นที่