กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

วิเคราะห์ทุกความเป็นไปได้ : Brexit กับอนาคตเศรษฐกิจโลก

  • 0 replies
  • 1,286 views
*

INFINOX Official

บทความนี้พาไป วิเคราะห์ Brexit โดยหลังจากที่สมาชิกรัฐสภาอังกฤษได้คว่ำข้อตกลง "Brexit" ของ "เทเรซา เมย์" ไปถึง 2 ครั้ง และยังโหวต "ไม่ให้" อังกฤษออกจากอียูโดยไม่มีข้อตกลง (No-Deal Brexit) ไปแล้วนั้น ล่าสุดรัฐสภาอังกฤษ ได้โหวตให้เลื่อนเวลาในการ Brexit ซึ่งหากสมาชิกอียูชาติอื่น ๆ เห็นพ้อง ก็จะสามารถเลื่อนเวลาที่อังกฤษจะ Brexit ออกไปได้

ทั้งนี้ เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ กล่าวว่า ไม่ควรจะเลื่อนนานเกินกว่าสามเดือน และได้พูดถึงแนวโน้มที่จะขยายเวลานานกว่านั้นมาก ซึ่งหากจะแจกแจงผลลัพธ์ ก็อาจจะเกิดได้หลายกรณีดังนี้

1. ไม่มีข้อตกลงในเวลาต่อมา

การโหวตให้เลื่อนออกจากอียู ไม่ได้หมายความว่าอังกฤษจะไม่ออกจากอียูโดยไม่มีเงื่อนไข หากอียูไม่ให้เลื่อนหรือหากอังกฤษและอียูไม่สามารถตกลงในระหว่างขยายเวลาได้ ก็จะยังคงมีผลว่าอังกฤษผิดสัญญาต่ออียูอยู่ดี

2. ลงมติเพิ่มต่อข้อตกลงของนายกรัฐมนตรี

ซึ่งเรื่องนี้ต้องไปทำข้อตกลงผ่านสภาอีกครั้ง โดยรัฐบาลอังกฤษมีแผนที่จะให้โหวตอีกครั้งในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์นี้ และหากประสบความสำเร็จ เทเรซา เมย์ ก็อาจไปประชุมสุดยอดอียูในวันที่ 21 มีนาคม เพื่อขอให้อียูเลื่อนออกไปอีกเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ

หากจะวิเคราะห์ Brexit ต่อไปอีก ปัญหาในเรื่องนี้ คือ อังกฤษมีกฎว่า ไม่ควรจะขอให้สภาโหวตสองครั้งในเรื่องเดิมในระหว่างสมัยประชุมสภาเดียว แต่ก็จะขึ้นอยู่กับประธานสภาที่จะตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้โหวตหรือไม่ หากประธานสภาอนุญาต นายกรัฐมนตรีจะเสนอให้โหวตเป็นทางเลือกระหว่างรับรองข้อตกลงแต่เลื่อนเวลาในการออกจากอียูเป็นช่วงสั้น ๆ หรือจะปฏิเสธข้อตกลงและยืดเวลาในการออกจากอียูนานขึ้น

3. เจรจาใหม่ในเรื่องสำคัญ ๆ

หากมีการขยายเวลานานขึ้น รัฐบาลอังกฤษอาจเสนอให้เจรจาข้อตกลง Brexit ใหม่โดยสิ้นเชิง โดยอาจจะมีขึ้นหลังจากที่สภาได้มีโอกาสแสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อตกลงทางเลือกนี้แล้ว ทั้งนี้ รัฐบาลอังกฤษยังมีตัวเลือกอีกมาก ซึ่งอาจหันไปใช้โมเดลอื่น ๆ ของข้อตกลงที่ได้มีการแนะนำไว้ เช่น "โมเดลนอร์เวย์"

4. ลงประชามติอีกครั้ง หรือ จัดการเลือกตั้งทั่วไป

มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะมีการลงประชามติอีกครั้ง และมันอาจมีสถานภาพแบบการลงประชามติเมื่อปี 2559 ซึ่งไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย เหมือนกับการลงประชามติในอังกฤษที่ผ่านมา ในขณะที่อีกตัวเลือกหนึ่ง อาจจะเป็นการที่ เทเรซา เมย์ ตัดสินใจจัดเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนดเพื่อให้สามารถหลุดพ้นจากภาวะชะงักงันนี้

5. ลงมติไม่ไว้วางใจอีกครั้ง

พรรคแรงงานอาจเคลื่อนไหวให้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อไหร่ก็ได้ โดยตามกฎหมายวาระดำรงตำแหน่งในรัฐสภา ปี ค.ศ. 2011 การเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษเกิดขึ้นได้ทุกห้าปีเท่านั้น ซึ่งครั้งต่อไปจะมีขึ้นปี 2565 อย่างไรก็ดี การลงมติไม่ไว้วางใจ จะให้ ส.ส.โหวตว่าต้องการให้รัฐบาลทำงานต่อไปหรือไม่

ุ6. เหตุที่ทำให้ "อังกฤษ" อาจจะไม่ออกจากอียู

ศาลยุติธรรมยุโรปได้ตัดสินว่าอังกฤษจะเพิกถอนมาตรา 50 แต่เพียงลำพัง เพื่อยกเลิกการตัดสินใจที่จะออกจากอียูได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสมาชิกอียูอื่น ๆ อีก 27 ประเทศ แต่เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษยังคงมุ่งมั่นที่จะออกจากอียู จึงน่าที่จะมีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการเคลื่อนไหวเช่นนั้น เช่น มีการลงประชามติเพิ่มหรือเปลี่ยนรัฐบาล