กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

ผู้แพ้และผู้ชนะในปี 2021 ที่ผ่านมา

  • 0 replies
  • 973 views
ผู้แพ้และผู้ชนะในปี 2021 ที่ผ่านมา
« เมื่อ: 11, มกราคม 2022, 01:09:15 PM »
ผู้แพ้และผู้ชนะในปี 2021 ที่ผ่านมา


จบไปเรียบร้อยแล้วสำหรับเกมการเทรดในปีที่ผ่านมา มาดูกันดีกว่าว่าผู้ชนะเป็นใคร? และมีใครเป็นผู้แพ้บ้าง? แล้วนักเทรดอย่างเราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเกมฟอเร็กซ์ที่ดำเนินไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีวันสิ้นสุด

G10:  สกุลเงินโดดเด่นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

ในกลุ่มประเทศ G10 – ซึ่งมีสกุลเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก – มีสกุลเงิน CAD เป็นผู้ชนะซึ่งโดดเด่นกว่าสกุลเงินอื่นๆ ตามมาด้วยสกุลเงิน USD ในอันดับ 2


มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการที่ทำให้ CAD เป็นผู้ชนะในปีที่ผ่านมา อย่างแรกคือราคาน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) ที่เพิ่มขึ้น 55% ซึ่งตรงตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำมันดิบของสหรัฐฯ นั่นเอง ประการที่สองคือความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางแคนาดาในการผลักดันให้นโยบายการเงินกลับสู่สภาวะปกติ โดยธนาคารกลางแคนาดาถือเป็นธนาคารที่มีความเข้มงวดมากๆ เห็นได้จากการขยายงบดุลประมาณ 5 เท่าเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังเป็นธนาคารกลางแห่งแรกที่เริ่มควบคุมความช่วยเหลือพิเศษ มีการลดการซื้อพันธบัตรในเดือน ต.ค. ตั้งแต่ปี 2020 แล้วค่อยๆ เลิกใช้ และสิ้นสุดในเดือน ต.ค. ปี 2021

คาดว่าสกุลเงิน NOK ก็ได้รับแรงหนุนจากปัจจัยเดียวกัน หลังน้ำมันเบรนท์พุ่งขึ้นถึง 50% ในช่วงปีที่ผ่านมา และธนาคารกลางนอร์เวย์ก็ยังเป็นประเทศแรกๆ ที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (จาก 0.25% เป็น 0.50% ในวันที่ 16 ธ.ค.)

ไม่น่าแปลกใจเลยที่ JPY กลายเป็นสกุลเงินที่เคลื่อนไหวแย่ที่สุด เพราะในขณะที่ประเทศอื่นๆ เริ่มจัดการกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าเป้าหมายและหารือเกี่ยวกับปัญหาที่จะเกิดหากไม่เริ่มปรับนโยบายการเงินให้กลับสู่สภาวะปกติ แต่อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นยังคงต่ำกว่าเป้าหมาย (อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจริงๆ แล้วติดลบ – หรือพูดง่ายๆ ก็คือเงินฝืดนั่นแหละ!) ที่แย่ไปกว่านั้นคือไม่มีทีท่าว่าพวกเขาจะ "วางแผนเกี่ยวกับการพูดคุยเกี่ยวกับ" นโยบายการเงินปกติด้วยซ้ำ

สำหรับสกุลเงินอื่นๆ ปัจจัยหลักจะเป็นการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางจะปรับขึ้น โดยกราฟด้านล่างนี้แสดงให้เห็นถึงการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงในช่วง 12 เดือนข้างหน้าบนแกน Y (แนวตั้ง) และความเคลื่อนไหวของสกุลเงินเทียบกับ USD บนแกน X (แนวนอน) โดย R2 ของ 0.60 หมายความว่าสกุลเงินทั้งสองมีค่าความสัมพันธ์กัน 60%


สังเกตได้ว่ากราฟด้านบนจะไม่นำสกุลเงิน NZD มาเทียบ นั่นเพราะว่า NZD ทำให้ค่าความสัมพันธ์นี้ผิดเพี้ยนได้ เพราะหากเรารวม NZD ค่า R2 จะลดลงเหลือ 0.23 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ NZD เป็นค่าเงินที่ผิดปกติ สาเหตุอาจเกิดจากการล็อกดาวน์ที่รุนแรงของนิวซีแลนด์ในเดือน ส.ค. ซึ่งทำให้แผนการหดตัวทางเศรษฐกิจของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ต้องหยุดชะงัก

ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ภาพที่แม่นยำจริงๆ ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของค่าเงินในปี 2021 แน่นอนว่าจะต้องรวมกรณีไวรัสเข้าไปด้วย


สำหรับค่าเงิน มีสองแหล่งที่มาของผลตอบแทน: ซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงในราคาสำหรับซื้อขายทันที (Spot price) และดอกเบี้ยค้างในขณะที่ถือสกุลเงินนั่นเอง โดยกราฟนี้แสดงผลตอบแทนจากการซื้อขายบนแกน X (แนวนอน) และผลตอบแทนรวม ซึ่งเป็นผลตอบแทนรวมกับดอกเบี้ยบนแกน Y (แนวตั้ง) ซึ่งจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะอยู่บนเส้นองศา 45 หมายความว่าผลตอบแทนทั้งสองแบบแทบจะเท่ากัน – นั่นก็คือไม่ได้ดอกเบี้ยจากการถือสกุลเงินใดๆ เหล่านี้เลย โดย NZD อยู่ในช่วงตั้งแต่ +0.43% ถึง -0.54% สำหรับค่าเงิน CHF


ย้อนกลับไปที่ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางและประเด็นไวรัส ผมคิดว่าปัจจัยทั้งสองนี้จะยังคงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อค่าเงินในช่วงปี 2022 นี้ แนวคิดเรื่อง "ความไม่สอดคล้องของนโยบายการเงิน" ไม่มีผลในปี 2020 เนื่องจากธนาคารกลางของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักทั้งหมดลดอัตราดอกเบี้ยถึง 0 หรือต่ำกว่า 0 ด้วยซ้ำ ขณะนี้ธนาคารแห่งชาติเหล่านั้นกำลังอยู่ในกระบวนการปรับอัตราดอกเบี้ยให้กลับสู่สภาวะปกติ โดยอัตราแนวโน้มในการปรับอัตราดอกเบี้ยให้กลับสู่สภาวะปกติเป็นปัจจัยอันดับ 1 ที่มีผลต่อสกุลเงิน ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไวรัสและความยินยอมของประชาชนในการรับวัคซีนและความอดทนต่อข้อจำกัดในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส


EM:  ความเคลื่อนไหวที่ชัดเจน

เอาล่ะ คราวนี้ลองมาดูภาพรวมของสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงสกุลเงินของกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging market หรือ EM) ซึ่งตามการรายงานของ Bloomberg ตอนนี้มีทั้งหมด 142 สกุลเงินด้วยกัน

สกุลเงินที่ติดอันดับท็อปก็คือรูปีเซเชลส์ (SCR) ซึ่งแข็งค่าขึ้นมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับ USD อันดับสองคือ Zambian Kwacha (ZMW) แต่เตือนไว้ก่อนว่าอย่าไปมองหาสกุลเงินเหล่านี้ที่โบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่คุณใช้บริการอยู่ เพราะสกุลเงินเหล่านี้อาจไม่ได้มีให้เทรดทั่วไป แต่ที่มีให้เทรดแน่ๆ ก็คือเงิน Shekel ของอิสราเอล (ILS)


ถ้าถามว่าทำไมสกุลเงิน SCR และ ZMW จึงเติบโตขึ้นอย่างมากในปีที่แล้ว ก่อนอื่นเราจะสังเกตได้ว่าสกุลเงินทั้งคู่อยู่ในสภาวะตกต่ำในปี 2020 เนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 (ทั้งสองสกุลเงินมีมูลค่าลดลงต่ำสุดประมาณ 36%) และมีการดีดตัวกลับขึ้นมาในปี 2021


เศรษฐกิจของเซเชลส์ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวในประเทศ โดยการฟื้นตัวของค่าเงิน SCR เกิดขึ้นหลังมีการตัดสินใจยกข้อจำกัดการเข้าในประเทศในวันที่ 25 มี.ค. อีกทั้งยังได้จัดเตรียมเงินกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเดือน ก.ค. ด้วยการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้ภายใต้โครงการปฏิรูปที่ได้รับการสนับสนุนจากโปรแกรม IMF ทำให้เศรษฐกิจและค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลง

สำหรับควาชา ปัจจัยบวกอาจมาจากมุมมองเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือน ส.ค. และความหวังว่าเขาจะสามารถบรรลุข้อตกลงช่วยเหลือทางการเงินกับ IMF และเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ได้ รวมถึงการปรับตัวขึ้นของทองแดงซึ่งคิดเป็นกว่า 70% ของรายได้จากการส่งออกของแซมเบียซึ่งก็มีส่วนช่วยเช่นกัน

ในส่วนของผู้แพ้นั่นก็คือ... เงินเปโซของคิวบา (CUP) ซึ่งค่อนข้างทรงตัวและมีความเคลื่อนไหวน้อยที่สุดแห่งปี อีกทั้งยังมีการร่วงลงเมื่อวันที่ 1 ม.ค. เมื่อรัฐบาลสิ้นสุดระบบสกุลเงินสองชั้นและทำให้ค่าเงินลดจาก 1 CUP = $1 เป็น 24 CUP = $ 1 และคงอยู่ที่ 24 หลังจากนั้นเป็นต้นมา แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ประมาณ 70% ก็ตาม


สำหรับดีนาร์ลิเบีย (LYD) ในแง่หนึ่งก็เป็นประเทศที่มีน้ำมัน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่ถูกยุบไปเป็นภูมิภาคที่ปกครองโดยขุนศึกที่บาดหมางกัน อีกทั้งการเลือกตั้งระดับชาติที่เดิมกำหนดไว้ในเดือนนี้ก็ถูกเลื่อนออกไป

ส่วนลีราตุรกี (TRY) ยังคงอยู่ในระดับท้ายๆ แม้จะมีการฟื้นตัวที่ดีพอสมควรในช่วงกลางเดือน ธ.ค. แต่การฟื้นตัวนั้นสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่แย่ที่สุด (วันที่ 17 ธ.ค.) ค่าเงินลดลงถึง 55% YTD จึงอาจได้ผลตอบแทนกลับมาเล็กน้อยจากการถือออเดอร์ อย่างไรก็ตาม TRY นั้นแย่กว่า Haitian Gourde (HTG) ซึ่งเป็นประเทศที่มีหายนะ

จากความรุนแรงของการประท้วงและการลักพาตัวตั้งแต่ประธานาธิบดีถูกลอบสังหารในเดือน ก.ค. ส่วนอัฟกานิสถาน (AFN), ก็เกิดการยึดโดยตาลีบัน และเอธิโอเปียนเบอร์ (ETB) ประเทศที่สืบเชื้อสายมาจากสงครามกลางเมืองที่เต็มกำลัง ถือเป็นความสำเร็จอย่างมากสำหรับสกุลเงินของประเทศที่สงบสุขและเศรษฐกิจที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์
โปรดจับตาดูเปโซอาร์เจนติน่า (ARS) ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 9 เพราะอาจเป็นสกุลเงินที่น่าสนใจที่สุดในโลก


สกุลเงินในกลุ่ม EM: spot vs ผลตอบแทนรวม

เมื่อเทียบกับค่าเงินในกลุ่ม G10 สกุลเงินหลายตัวในกลุ่ม EM มีอัตราดอกเบี้ยและส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนจาก Spot (การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าค่าเงิน) และผลตอบแทนรวม (ผลตอบแทนจาก spot และดอกเบี้ยเพิ่มเติม) อย่างชัดเจน

แต่น่าเสียดายที่เราไม่ได้มีข้อมูลทั้งหมดสำหรับ 143 สกุลเงินที่ Bloomberg กำลังติดตาม แต่มีเพียง 44 สกุลเงินเท่านั้น (รวมสกุลเงินของประเทศในกลุ่ม G10)
2 ตัวที่ค่าผิดปกติ: TRY และ ARS ซึ่งยิ่งทำให้เห็นว่า TRY นั้นเข้าขั้นวิกฤต เพราะดอกเบี้ยที่ได้รับจากการถือสกุลเงินดังกล่าวยังไม่สามารถชดเชยค่าเสื่อมราคาของเงิน TRY ได้เลย

ในขณะเดียวกัน สกุลเงิน ARS นั้นประหลาดจนน่าทึ่ง เพราะแม้จะเป็นสกุลเงินที่มีผลงานที่แย่ที่สุดเป็นอันดับ 9 หลังรวมการจ่ายดอกเบี้ยเข้าบัญชี แต่ก็ยังมีผลงานโดดเด่นเป็นอันดับ 2 ของโลกเบียดสกุลเงิน ZMW ร่วงจากอันดับดังกล่าว  (โปรดทราบ: เราไม่ทราบอัตราดอกเบี้ยของ ZMW หรืออัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินอื่นๆ ในตาราง ยกเว้น ILS) โดยผลตอบแทนดอกเบี้ยจากการถือครอง ARS อยู่ที่ 55.45% ซึ่งมีค่ามากกว่าการถือ spot เพียงอย่างเดียวถึง 18.1%

กรณีของ ARS แสดงให้เห็นว่าตุรกีจะต้องทำอย่างไรเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาให้กับสกุลเงินของตัวเอง แต่หากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวของรัฐบาล ณ ขณะนี้ ต้องขอบอกตรงๆ ว่ามีแนวโน้มเป็นไปได้น้อยมากๆ


มาดูสกุลเงินส่วนใหญ่กันดีกว่า (กราฟนี้รวมสกุลเงินกลุ่ม G10 ด้วย) สังเกตเส้นสีแดงที่ 45 องศา หมายความว่าสกุลเงินที่อยู่เหนือเส้นนั้นมีผลตอบแทนรวมที่สูงกว่าผลตอบแทน spot และด้านล่างเส้นมีผลตอบแทนรวมที่ต่ำกว่า (เช่น อัตราดอกเบี้ยติดลบ) สกุลเงินกลุ่ม EM บางตัว เช่น BRL, PHP และ MYR มีผลตอบแทนดอกเบี้ยชัดเจนแต่ยังคงมีผลตอบแทนรวมติดลบ ในขณะเดียวกัน หากลองสังเกตดู MXN สกุลเงินดังกล่าวมีผลตอบแทน spot เป็นลบ แต่ให้ผลตอบแทนรวมเป็นบวกด้วยอัตราดอกเบี้ย 5.1% ที่สำคัญนักลงทุนรายย่อยสามารถลงทุนสกุลเงินดังกล่าวได้อีกด้วย ใครที่กำลังมองหาไอเดียการทำ Carry trade อาจลองศึกษาและติดตามสกุลเงิน MXN แทน TRY


สัปดาห์นี้: ตัวเลข CPI สหรัฐฯ, ยอดขายปลีก, วันแถลงดัชนีระยะสั้นของอังกฤษ

อาจไม่ได้มีเหตุการณ์สำคัญให้ติดตามมากนักในสัปดาห์นี้

ที่น่าติดตามคือดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ (CPI) ในวันพุธ โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ 7.1% (yoy) จากเดิม 6.8% ซึ่งจะเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. ปี 1982 (ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ตัวเลขเดือน พ.ย. ที่ 6.8% เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ มี.ค. ปี 1982)


สิ่งที่เราเคยได้ยินจากการแถลงของ Fed และประเด็นต่างๆ จากการประชุม FOMC ของเดือน ธ.ค. จะเห็นได้ว่าเฟดมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้ออย่างมาก โดยสมาชิกคณะกรรมการกล่าวว่า "ค่าเงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่องกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้" "สมาชิกให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องต่อความกังวลของสาธารณชนเกี่ยวกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเกิดขึ้นในปีนี้และภาระที่เกี่ยวข้องกับครัวเรือนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีงบที่จำกัดในการจ่ายราคาสินค้าและบริการที่จำเป็นสูงขึ้น"

นี่เป็นประเด็นที่สำคัญ โดย Austan Goolsbee ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกและอดีตประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดี ได้เขียนความใน The New York Times ซึ่งเขาแย้งว่าสหรัฐฯ ควรกำหนดอัตราเงินเฟ้อที่แตกต่างกันเพื่อสะท้อนถึงค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ต้องเผชิญกับรายได้ที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับที่สร้างข้อมูลการว่างงานสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มรายได้ที่แตกต่างกัน เนื่องจากผู้มีรายได้น้อยต้องเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แต่นั่นไม่ได้สะท้อนให้เห็นในนโยบายใดๆ ซึ่งความปรารถนาของเฟดที่จะเห็นการจ้างงานที่สูงขึ้นสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำอาจต้องสมดุลด้วยความปรารถนาที่จะไม่เห็นคนกลุ่มเดียวกันเหล่านี้รับภาระหนักเกินไปจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง

นอกจากนี้ จะมีข้อมูลอัตราเงินเฟ้ออื่นๆ จากสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐเช่นกัน

ส่วนดัชนี PPI ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นดัชนีราคาขายส่งจะออกมาในเช้าวันศุกร์ โดยตลาด FX ไม่ได้ให้ความสนใจกับดัชนีนี้มากนักในช่วง 20 ถึง 30 ปีที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ต้องหันกลับมาสนใจตัวเลขดังกล่าวกันบ้างแล้วล่ะ

ขณะนี้ ดัชนี PPI ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึง 9% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 8.8% (yoy) ในเดือน ธ.ค. ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก


ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจถึง 75% (yoy) โดยราคาสินค้าขั้นกลางเพิ่มได้ขึ้น 15.7% (yoy)


ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ บริษัทต่างๆ ได้รับผิดชอบราคานำเข้าที่สูงขึ้นไว้ในต้นทุน เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มราคาขายและสร้างผลกระทบต่อราคาซื้อของผู้บริโภค แต่จากการสำรวจระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ (tankan) เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่ามีบริษัทจำนวนมากที่มองว่าจะขึ้นราคาสินค้าให้ผู้บริโภครับผิดชอบตัวเอง โดยหากกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น ญี่ปุ่นอาจบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% และธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นอาจเริ่มควบคุมนโยบายการเงินที่ผิดปกติ และจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อโลกการเงินซึ่งเดิมเคยชินกับการที่ญี่ปุ่นเป็นแหล่งเงิน zero-cost นั่นอาจหมายความว่าค่าเงินเยนจะแข็งค่าขึ้นและค่าเงินยูโรหรือฟรังก์สวิสจะอ่อนค่าลง เนื่องจากนักลงทุนมีการเปลี่ยนสกุลเงินที่ระดมทุน

เรายังได้เรียนรู้เพิ่มเติมอีกว่าธนาคารกลางประเทศญี่ปุ่นคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของท่าทีที่ก้าวร้าวมากขึ้นของ Fed เมื่อ Kuroda ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะกล่าวปราศรัยในการประชุมผู้จัดการสาขาในวันพุธ

ย้อนกลับไปที่ตัวชี้วัดของสหรัฐคาดว่ายอดขายปลีกในสหรัฐจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็แล้วแต่ การคาดการณ์ว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นก็ยังดีกว่าลดลงใช่ไหมล่ะครับ หากพิจารณาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวดีขึ้นทั้งในการสำรวจของ U of Michigan และแบบสำรวจของ Conference Board ในเดือนนี้นั้นดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าสถานการณ์ไวรัสจะเลวร้ายลงก็ตาม


การสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคล่วงหน้าของเดือน ม.ค. จาก U of M จะออกมาในวันศุกร์เช่นกัน คาดว่าตัวเลขแสดงความเชื่อมั่นจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยซึ่งผมคิดว่าค่อนข้างดี เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้ความเชื่อมั่นลดลง


วันศุกร์ยังเป็นวันสำคัญสำหรับตัวชี้วัดระยะสั้นของอังกฤษ ซึ่งรวมถึงตัวเลข GDP, ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการผลิต และตัวเลข GDP ถือเป็นดัชนีที่มีความสำคัญมากที่สุด คาดว่าจะเห็นการเติบโตขึ้นเล็กน้อยที่ +0.4% (mom) ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบล่าสุด (ค่าเฉลี่ยของช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ +0.3% (mom)) ผมไม่คิดว่ามันจะเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรมากมาย แต่ก็ไม่ได้ช้าพอที่จะกีดกันธนาคารกลางอังกฤษจากการใช้นโยบายหดตัว ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับเงินปอนด์ 


สำหรับสหภาพยุโรป ตัวชี้วัดหลักของสัปดาห์คือจำนวนการว่างงานในวันจันทร์ และดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในวันพุธ

​​สัปดาห์นี้ยังไม่มีการประชุมของธนาคารกลางต่างๆ แต่ Fed อาจมีอะไรให้ติดตามในวันอังคารนี้ ซึ่งก็คือการโหวตของ 3 สมาชิก FOMC (Mester ประธาน Fed สาขาคลีฟแลนด์, George ประธาน Fed สาขาแคนซัส และ Bullard ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์) อีกทั้งคณะกรรมการด้านการเงินของวุฒิสภาจะจัดให้มีการพิจารณาการเสนอชื่อพาเวลเป็นประธาน Fed (อีกครั้ง) ซึ่งก็ต้องรอติดตามว่าจะมีการคัดค้านเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่าพาเวลมาจากพรรครีพับลิกันที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีพรรครีพับลิกันและได้รับการแต่งตั้งอีกครั้งโดยประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ความน่าสนใจอยู่ที่การรับฟังความคิดเห็นของพาเวลและผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนอื่นๆ ในประเด็นต่างๆ ที่ Fed กำลังเผชิญอยู่ เช่น ประเด็นที่ว่า Fed จะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อไหร่ และอีกนานเท่าใดจึงจะเริ่มลดงบดุล โดยในวันพุธ Fed จะเผย Beige Book ล่วงหน้าก่อนการประชุมของ FOMC ในวันที่ 26 ม.ค. และในวันพฤหัสฯ คณะกรรมการการธนาคารวุฒิสภาจัดให้มีการพิจารณาคดีแต่งตั้ง Brainard เป็นรองประธานเฟด ซึ่งน่าจะไม่มีอุปสรรคใดๆ ในการได้รับการอนุมัติ ดังนั้นประเด็นที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือสิ่งที่เธอจะกล่าวเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ และในวันศุกร์รอฟังแถลงการณ์จากวิลเลียมส์ ประธาน Fed แห่งนิวยอร์ก ซึ่งเป็นสมาชิกอีกหนึ่งท่านที่มีสิทธิ์มีเสียงในการโหวต


Cr. Marshall Gittler นักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญของ BDSwiss