กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เปิดเทรดไม่รอยืนยันกับรอยืนยัน อันไหนดีกว่ากัน

  • 0 replies
  • 586 views
เปิดเทรดไม่รอยืนยันกับรอยืนยัน อันไหนดีกว่ากัน

จังหวะการเปิดเทรดเป็นอีกสิ่งที่สำคัญต่อการเทรด เช่นอย่างกรณีเทรดด้วยหลักการแนวรับ-แนวต้าน การเปิดเทรด อาจเป็นเปิดเทรดเมื่อราคาไปถึงเลยไม่ต้องรอการยืนยันเมื่อราคามีถึงจุดแนวรับ-แนวต้านที่เราต้องการเปิดเทรด เพราะเห็นว่า ถ้าเปิดทันที Risk:Reward ก็จะดีกว่า เพราะสามารถกำหนด Stop loss ได้น้อย และโอกาสทำกำไรหรือ Reward ก็มากกว่าด้วย หรือถ้าเปิดเทรดด้วยมีการยืนยัน เปิดช้าหน่อย แต่คุณภาพสัญญานที่ได้ก็จะสูงกว่า อันไหนดีกว่ากัน

เปิดเทรดไม่รอยืนยันและเปิดเทรดรอการยืนยันเป็นอย่างไร


ตัวอย่างแรก การเปิดเทรดรูปแบบ Head and Shoulders ที่เป็นที่รู้จักกันดี สำหรับเทรนที่มีความเป็นไปได้สูงราคาจะเปลี่ยนเทรน หลักการคือราคาขึ้นไปทำ Higher High (Left Shoulder) แล้วย่อตัวลงมาเทส สร้าง Support ด้วยการดันราคาเด้งขึ้นไปทำ Higher High ได้อีกรอบหรือ (Head) แล้วราคาลงมาทดสอบที่ Support เดิม สร้างเป็นพื้นที่ในส่วนของ Head and Shoulder เรียกว่า Neckline แล้วราคาขึ้นไปทำ High แต่ไม่สามารถทำ New High ได้เลยกลายมาเป็น Right Shoulder กลายมาเป็นรูปแบบ Head and Shoulders โดยหลักการเทรดทั่วไป จะเปิดเทรดเมื่อราคาเบรคส่วนที่เป็น Neckline หรือ Support/Resistance ในรูปแบบนี้ก่อนค่อยเทรด แต่การเปิดเทรดอาจเปิดตอนที่ราคาทำ Right Shoulder ได้รูปแบบ (Early Entry) ราคายังไม่เบรค  หรือเปิดเทรดเมื่อเห็นราคาเบรคส่วน Neckline ก่อนค่อนเปิดเทรด  (Late Entry)


ตัวอย่างที่สองเป็นการเปิดเทรดที่ แนวรับ-แนวต้าน หรือ supply/demand การเปิดเทรดตอนแรกเป็นการเปิดเทรดแบบไม่รอการยืนยัน เปิดเทรดทันทีเมื่อเห็นราคาวิ่งไปถึงพื้น (Early Entry) ที่วิเคราะห์ว่าราคาจะเด้งเปลี่ยนเทรนกลับ ส่วนหลังเป็นการเปิดเทรดแบบหลังมี Pin Bar เกิดขึ้นหรือ Late Entry ดูสิ่งที่เกิดขึ้นในการเปิดเทรดก่อน

การเปิดเทรดแบบไม่รอการยืนยันมีข้อดีและเสียอย่างไร

ข้อดี หลักๆ ที่เทรดเดอร์ชอบเปิดเทรดทันทีเมื่อราคาถึงพื้นที่ โดยไม่รอการยืนยันเพราะเรื่องของ Risk:Reward ดีกว่า และยังสามารถกำหนด Stop loss ได้แคบกว่า และโอกาสทำกำไรก็มากกว่าด้วยเพราะเป็นการเข้าเทรดตรงจุดเริ่มต้นเลย นอกจากนั้น เรื่องอารมณ์ไม่ต้องอดทนมากเมื่อราคามาถึงก็เปิดเทรดเลย ไม่ต้องมากลัวพลาดถ้าราคาพอมาถึงวิ่งจากไปแบบทันทีและเร็ว (Fear Of Missing Out – FOMO)

ข้อเสีย ของการเปิดเทรดแบบนี้คือ การที่ราคาวิ่งไปถึงพื้นที่จะเปิดเทรด เช่นอย่างตัวอย่าง การเทรด Head and Shoulders หรือ Support ไม่ได้หมายความว่าราคาจะเด้งทันที ราคาอาจไปต่อก็ได้ หรืออย่างกรณีตัวอย่างหลัง ด้วยการกำหนด Stop loss พื้นที่แคบ ออเดอร์ที่เปิดเทรดนั้นอาจถูก Stop hunt เลยทำให้ท่านพลาดโอกาสเมื่อราคาวิ่งมาจริงๆ เพราะการเปิดเทรดแบบนี้มีข้อมูลน้อยไป เพราะราคาอาจไปต่อหรือวิ่ง consolidation ก่อนก็ได้ ทำให้สัดส่วนการเทรดพลาดได้มากได้ เพราะยิ่งเปิดเทรดเร็ว สัญญาณในการเปิดเทรดยิ่งพลาดได้ แม้ว่าการเปิดเทรดแบบนี้ ถ้าออเดอร์ที่เปิดแล้วทำกำไรได้เร็วและมากเพราะเรื่องของ Risk:Reward ดี แต่สัดส่วนออเดอร์ที่เปิดทำกำไรน้อย จะส่งผลต่อเรื่องของอารมณ์ของเทรดเดอร์ได้ เพราะถ้าพลาดหลายๆ ออเดอร์ติดต่อกัน การควบคุมอารมณ์ที่จะเทรดตามเงื่อนไขการเทรดแต่ละ setup กระทบได้ อาจเริ่มไม่แน่ในระบบเทรดตัวเอง อาจเริ่มเทรดด้วยความกลัวเพราะจากการเสียบ่อยๆ ต่อเนื่องกันได้

การเปิดเทรดแบบมีการยืนยันมีข้อดีและเสียอย่างไร


การเปิดเทรดหลังจากมีการยืนยันส่วนมากก็จะเป็น Price Action หรือ market structure เปลี่ยนไปเมื่อราคาเปิดเผยออกมาให้เห็นก่อนค่อยเปิดเทรดตาม

ข้อดี ของการเปิดเทรดแบบ Late Entry เมื่อเห็นมีการยืนยัน สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ ตลาดเป็นตัวยืนยัน หรือเราได้ข้อมูลว่าราคามีความเป็นไปได้สูงที่จะไปทางที่เราต้องการเปิดเทรด ส่วนการปิดทำกำไรได้ก็จะมากกว่าเพราะก่อนเปิดเทรดแต่ละครั้งเราเห็นตลาดเปิดเผยข้อมูลชัดเจน และยังสามารถควบคุมอารมณได้ดี เพราะแต่ละการเทรดมีคุณภาพความเป็นไปได้สูง ไม่ได้เทรดด้วยความกลัว แต่เป็นการเทรดด้วยความมั่นใจในความเป็นไปได้ เพราะเห็นการยืนยัน

ข้อเสีย ของการเปิดเทรดแบบรอการยืนยันก็มีเช่นกัน นอกจากเรื่องของ Risk:Reward ถ้าเทียบกับการเปิดแบบแรกที่ไม่รอการยืนยัน ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องของความอดทน เพราะท่านต้องรอนานกว่าที่ราคาจะมีการยืนยัน เพราะราคาอาจไม่โต้ตอบทันที พอมาถึงพื้นที่แทนที่จะโต้ตอบเลย กลับกลายมาเป็นช่วง consolidation ต่อหรืออาจตามมาด้วย stop hunt/liquidity hunt ก่อนเพราะขาใหญ่ต้องการออเดอร์ตรงข้ามเพื่อปิดทำไรและเพื่อเข้าเทรดด้วย ถ้าออเดอร์ตรงข้ามมากพอพวกเขาค่อยจะขยับราคาตามที่พวกเขาต้องการ

กรณีอื่นสำหรับการเปิดเทรดแบบ Early Entry และ Late Entry


อีกตัวอย่างที่จะเห็นได้ชัด เช่นการเปิดเทรดเมื่อแท่งเทียนยังไม่จบ กับการรอให้แท่งเทียนจบก่อน เพราะการที่แท่งเทียนยังไม่จบอาจทำให้เกิดสัญญาณการเข้าเทรดผิดๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านดูแท่งเทียนจาก timeframe ใหญ่เช่น H4 หรือ D1  ของเรื่อง Pin Bar หรือ Doji คือตัวอย่างที่ชัดเจนบอกเรื่องนี้ เป็นช่วงที่ขาใหญ่ต้องการล่า liquidity เพื่อเข้าเทรดที่ดีกว่า ส่วนมากจะเห็นได้ชัดตรงที่พื้นที่แนวรับ-แนวต้านที่เทรดเดอร์ส่วนมากสนใจ เพราะก็จะหันมาหาโอกาสเทรดตรงนั้นเลยทำให้ขาใหญ่รู้ว่าจะมี liquidity ตรงนั้นมาก กรณีนี้การเทรดด้วยการรอยืนยันด้วยแท่งเทียนปิดก่อนคือทางที่ลดความผิดพลาดได้เยอะกว่า