เปิดเผยราคาทอง 1 บาทพุ่งปรี๊ด! ร้านทองเสี่ยงปิดกิจการหรือไม่ หากคนแห่ขายทองทำกำไร

กำไรจากร้านทองที่ขายราคาทอง 1 บาท

ในช่วงเดือนเมษาที่ผ่านมา ราคาทองคำ New High ทะลุถึง 41,500 บาทไปเป็นที่เรียบร้อย ทำให้หลายคนต่างแห่นำทองคำไปขายเพื่อสร้างกำไรอย่างต่อเนื่อง เคยสงสัยหรือไม่ว่าร้านทองรับซื้อทองราคาสูงขนาดนี้ จะเอากำไรมาจากไหน มีโมเดลธุรกิจอย่างไร และมีโอกาสเจ๊งมากน้อยเพียงใดท่ามกลางราคาทองสูงขนาดนี้ วันนี้เรามีคำตอบเกี่ยวกับข้อมูลธุรกิจร้านทองมาแชร์กัน พร้อมปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ แล้ววิเคราะห์แนวโน้มราคาทองคำ 1  บาทหลังจากนี้ ถ้าพร้อมแล้วตามมาดูกันเลย   

รายละเอียดธุรกิจร้านทองกับราคาทอง 1 บาทที่ควรรู้  

ในราคาทอง 1 บาท ที่ขายในร้านทองแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

ทองคำแท่ง คือ ทองคำมีลักษณะเป็นแท่ง ทรงบล็อก มีลวดลายเล็กน้อยหรือมีโลโกร้านสลักไว้ ซึ่งในประเทศไทยมีขายทองคำแท่งความบริสุทธิ์ 2 ประเภท ได้แก่ ทองคำแท่ง 99.99% และทองคำแท่ง 96.5%

ทองรูปพรรณ คือ ทองคำที่นำมาขึ้นรูปเป็นเครื่องประดับ สิ่งของตกแต่ง ทำลวดลายต่างๆ ให้สวยงาม โดยแบ่งความบริสุทธิ์ได้แก่ องรูปพรรณ 99.99% และทองรูปพรรณ 96.5%

โดยแหล่งร้านทองรับซื้อมีช่องทางรายได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการทำธุรกิจอื่นควบคู่หรือไม่ เช่น ค่ากำเหน็จ ขายทองให้กับลูกค้า ขายทองส่งให้กับผู้ส่งออกหรือผู้ผลิต รับฝากขายทอง รับจำนำ และบริการอื่นๆ 

นอกจากมีรายได้จากข้างต้นก็ต้องมีรายจ่ายด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรงช่าง ดอกเบี้ยสินเชื่อในธุรกิจ เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ระบบความปลอดภัยต่างๆ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายคงที่สำหรับจ่ายทุกเดือน ยังไม่รวมค่าจิปาถะอื่นๆ

กำไรจากร้านทองที่ขายราคาทอง 1 บาท  

แน่นอนว่าร้านทองจะมีกำไรได้ก็มาจากรายได้มากกว่ารายจ่าย จะเห็นได้ว่าเหมือนเป็นธุรกิจรับแลกเงินจากการจับคู่คนซื้อกับคนขาย แล้วทำกำไรจากส่วนต่างๆหรือบวกค่าคอมมิสชั่นเข้าไปเป็นค่าดำเนินการ 

โดยธุรกิจร้านทองมีรายได้หลักจากค่ากำเหน็จ นับว่าเป็นแหล่งรายได้ที่ครอบคลุมร่ายจ่ายไม่ให้ร้านทองขาดทุน ซึ่งเป็นค่าดำเนินการผลิตหรือแปรรูปทองรูปพรรณ ทั้งนึ้ขึ้นอยู่กับร้านจะบวกเพิ่มมากน้อยขนาดไหนอยู่ที่ลวดลาย ความยากง่ายในการผลิต เราจะเห็นได้ว่าราคาทองรูปพรรณราคาสูงกว่าทองแท่ง 

ส่วนทองคำแท่งนอกจากรายได้จากส่วนต่างการซื้อขายแต่ละครั้งแล้ว ร้านยังบวกค่าบล็อกซึ่งก็คือค่าใช้จ่ายในการขึ้นรูปแท่งทองเข้าบล็อกสี่เหลี่ยมนั่นเอง    

ซื้อขายราคาทอง 1 บาท 

ราคาทอง 1 บาทพุ่งสูงขณะนี้ ร้านทองมีโอกาสเจ๊งจากการรับซื้อทองหรือไม่ 

ในสถานการณ์ปกติร้านทองจะบริหารความเสี่ยง แล้วหากำไรจากส่วนต่างบวกค่ากกำเหน็จหรือค่าบล็อก แต่เมื่อช่วงราคาทองสูงขึ้น คนแห่ขายทองเยอะ ทำให้ร้านทองต้องรับซื้อราคาทอง1บาทในราคาสูงไปด้วย แน่นอนว่าทองที่ซื้อมาในช่วงสั้นๆ มีโอกาสขาดทุนไปบ้าง แต่อย่าลืมว่าทองคำในคลังที่ซื้อมาก่อนหน้าก็ราคาขึ้นตามด้วยเช่นกัน 

แต่ที่ร้านทองไม่เจ๊งมักเกิดจากร้านทองบริหารความเสี่ยงทองในคลังได้อย่างเหมาะสม หาสมดุลระหว่างการซื้อทองเข้ามาใหม่กับทองที่มีอยู่ในคลังเดิมให้มีสภาพคล่องตัวมากที่สุด 

เมื่อบริการสินค้าคงคลังอย่างเหมาสมไประยะหนึ่ง ร้านทองก็จะเดินตามโมเดลทำกำไรจากส่วนต่างราคาซื้อขายและค่ากำเหน็จหรือค่าบล็อกตามมาภายหลัง

ดังนั้นความยากของธุรกิจร้านทองคือ การบริหารความเสี่ยงสินค้าคงคลังให้สมดุลเพื่อให้ได้กำไรจากส่วนต่างซื้อขาย มาพร้อมสภาพคล่องตัวมากที่สุด ทองคำไม่ขาดตลาดจากคนแห่ซื้อหรือขาดสภาวะทางการเงินจากคนแห่ขาย นั่นเป็นหัวใจหลักสำคัญในการดำเนินการธุรกิจร้านทอง การแห่ขายหรือซื้อเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ร้านทองต้องการมากที่สุด แต่เป็นช่วงที่ตลาดคึกคักทั้งคนซื้อและคนขายตลอดทั้งวัน ทำให้ร้านทองอยู่รอดได้ทุกสถานการณ์ 

ในช่วงปี 2566 สู่ปี 2567 ผลประกอบการร้านทองชั้นนำกับการขายราคาทอง 1 บาท 

ข้อมูลจากผลประกอบการจาก DBD DataWarehouse กับสถิติปี 2565 ที่ผ่านมา 

  • บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัซ จำกัด มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1.31 ล้านล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิ 236.7 ล้านบาท เกิด Margin 0.018%
  • บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด (ห้างทองแม่ทองสุก) มีรายได้รวมทั้งสิ้น 617,105 ล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิ 35 ล้านบาท เกิด Margin 0.0056%
  • บริษัท วาย แอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีรายได้รวมทั้งสิ้น 738,962 ล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิ 72.2 ล้านบาท เกิดMargin 0.0097%

ถึงแม้จะเป็นร้านทองชั้นนำของประเทศแต่ Margin บางมาก ซึ่งมีต้นทุนการขายประมาณ 99% ของรายได้ แต่ทางร้านทองขนาดใหญ่อาจมีรายได้จากธุรกิจอื่น เช่น แพลตฟอร์มเทรดทอง ขายทองเก่าให้กับผู้ส่งออกหรือผู้ผลิต โดยรายได้ส่วนนี้จะช่วยให้ร้านทองอยู่รอดได้ในระยะยาว ซึ่งร้านทองขนาดเล็กอาจมีเม็ดเงินไม่เพียงพอทำธุรกิจอื่นเสริม ประกอบกับเศรษฐกิจฟืดตัว กำลังซื้อลดลง เมื่อการซื้อขายลดลงส่งผลให้กำไรจากส่วนต่างและค่ากำเหน็จไม่คุ้มทุนกับรายจ่ายคงที่ จนร้านทองขนาดเล็กต้องปิดตัวในที่สุด 

สรุป

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าร้านทองที่ดำเนินกิจการได้จนถึงทุกวันนี้ไม่ได้มีเพียงรายได้จากกำไรส่วนต่างซื้อขายราคาทอง 1 บาท หรือค่าคอมมิสชั่นเท่านั้น เนื่องจาก Margin บางเฉียบของร้านทองอาจไม่เพียงพอต่อการเผชิญสภาวะเศรษฐกิจฝืดได้ ดังนั้นการประกอบธุรกิจอื่นไปด้วยจะทำให้ร้านทองนั้นอยู่รอดได้ทุกสถานการณ์ แล้วการบริหารและวางแผนจัดการสินค้าคงคลังจึงเป็นสิ่งสำคัญช่วยให้เกิดสมดุลการทำกำไรสูงสุด บอกได้เลยว่าร้านทองที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ต้องอาศัยความชำนาญในการบริหารขั้นสูง หากมีเงินอย่างเดียวก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน 

Relate Post