กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน Foreign Exchange Risk

  • 2 replies
  • 13,394 views
*

admin

  • 80,398
 
  การบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน




     สวัสดีครับ พอดีผมไปเจอบทความบทความหนึ่งเห็นว่ามีความน่าสนใจก็เลยนำมาแบ่งปันให้ทุกท่านได้อ่านกันเพื่อซึมซับหลักการ Money Mamangement เผื่อเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันหรือการจัดการพอร์ตของท่าน ครับ

            ในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการย่อมต้องการให้ "ต้นทุน" หรือ "กำไร" มีความแน่นอน เพื่อที่จะสามารถวางแผนทางธุรกิจให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้ หากธุรกิจเกี่ยวข้องเพียงการซื้อขายภายในประเทศ โดยมีรายรับ-รายจ่ายเป็นสกุลเงินบาทแล้ว อัตราแลกเปลี่ยน"ค่าเงินบาท" จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็จะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนหรือกำไรของธุรกิจ

        แต่ในสภาวะเศรษกิจปัจจุบันที่สังคมมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีรวมถึงการเปิดเสรีการค้าหรือการเปิดเสรีของ เขตเศรษกิจต่างๆทำให้การค้าขายไร้ขอบเขต ไร้พรมแดนมากยิ่งขึ้นมากกว่าในอดีต รายรับและรายจ่ายของหลาย บริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำเข้าและผู้ส่งออกอยู่ในรูปของสกุลเงินตราต่างประเทศทำให้ผลประกอบการมีมูลค่าขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนโดยตรง ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบแล้ว ในมุมมองของนักเก็งกำไรค่าเงิน ในตลาด Forex อัตราแลกเปลี่ยนก็เหมือนกับ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยคาดเดาได้ยาก เนื่องจากอัตรแลกเปลี่ยนค่าเงิน นั้น อ่อนไหวง่าย และการแลกเปลี่ยนก็ขึ้นกับปัจจัยที่มาจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น ความผันผวนนี้ย่อม มีผลการทบต่อผลประกอบการอันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเราเรียกความเสี่ยงนี้ว่า "ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน" (Foreign Exchange Risk)

       ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเป็นผู้ส่งออกสินค้าซึ่งจะได้รับค่าสินค้าในอีก 1 เดือนข้างหน้าเป็นเงิน 30, 000 USD โดยมีอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันตกลงทำการซื้อขาย ที่ 1 USD/ 30 บาท แต่ ปรากฏว่าในอีก 1 เดือนต่อมาเมื่อวันรับเงินเกิดค่าเงินบาทแข็งขึ้นทำให้ อัตรแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 USD/ 29 บาท นั่นหมายความ ว่า ระยะเวลา เพียง 1 เดือน ทำให้เราขาดทุนไป เป็นจำนวนถึง 30,000 บาท โดยที่เราไม่ได้ทำอะไรเลย หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง คือ เรา ขาดทุนเพราะไม่ยอมทำอะไรนั่นเอง
        การเปิดรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน 100 % หรือการเที่เรามีรายรับรายจ่ายในรูปของเงินตราต่างประเทศในอนาคต แล้วเอาแต่นั่งลุ้นให้อัตราแลกเปลี่ยนปรับไปในทิศทางที่เราจะได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนนั้น เปรียบเสมือนการเล่นการพนัน ด้านหนึ่งก็ตื่นเต้น มีรสชาติดี อีกด้านหนึ่งก็เหมือนเล่นกับไฟ อาจเกิดผลขาดทุนตามตัวอย่างได้ ซึ่งหากธุรกิจหลักของเราไม่ใช่การค้าเงินตราต่างประเทศแล้ว เราควรใช้เวลาส่วนใหญ่เพื่อการประกอบธุรกิจหลักมากกว่าที่จะมุ่งเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพราะผลขาดทุนอาจทำให้กำไรที่จะได้ลดลงจนหมดเลยก็ได้ แล้วเราจะปรับลดความเสี่ยงนี้อย่างไรดีล่ะ ?

     การบริการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทำได้ 2 แบบคือ แบบ ไม่ใช่ตัวช่วย และแบบใช้ตัวช่วย สำหรับแบบแรกไม่ใช้ตัวช่วยหมายถึง การบริการความเสี่ยงโดยลดรายรับหรือรายจ่ายในด้านสกุลเงิน ต่างประเทศให้เหลือน้อยที่สุด โดยหลักๆ มี 3 วิธีได้แก่

     1.ซื้อขายในสกุลเงินบาทเท่านั้น: หากสินค้าหรือค่าบริการมีการรับและจ่ายในรูปสกุลเงินบาทเราก็จพไม่มีความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยน วิธีนี้ถือเป็นการผลักภาระความเสี่ยงให้กับคู่ค้าของเราเต็มๆ
     2.การจับคู่(Natural Hedging): หากเรามีทั้งรายรับและรายจ่ายอยู่ในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศสกุลเดียวกันเราสามารถใช้ประโยชน์จากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency deposit: FCD) โดยการนำรายรับในรูปเงินตราต่างประเทศ ไปชำระค่าสินค้าในสกุลเงินเดียวกันโดยไม่ต้องแปลงกลับมาเป็นสกุลเงินบาทแต่อย่างใด ซึ่งวีธีการนี้จะทำให้เราไม่เสียเปรียบในเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมแลกเปลี่ยน หรือ Swap ซึ่งวิธีการนี้ถือเป็นวิธีหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ง่ายที่สุด
    3.การหักลบ กลบหนี้ (Netting):  หากเรามีคู่ค้าที่เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ของเราในเวลาเดียวกันการทำสัญญาเพื่อหักลบกลบหนี้ระหว่างกัน โดยกำหนดให้แต่ละฝ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการฌฉพาะส่วนต่างที่เหลื่อมล้ำกันอยู่เท่านั้นจะช่วยลดจำนวนที่จะรับและแปลงกลับมาเป็นค่าเงินบาททำให้ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนลดลง ถือเป็นทางเลือกในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอีกวิธีหนึ่ง




         มาถึงการปรับลดความเสี่ยงแบบใช่ตัวช่วยกันบ้าง ซึ่งตัวช่วยนี้หมายถึงเครื่องมือทางการเงิน(Finalcial Instruments) ประเภทอนุภัณฑ์นั่นเอง อนุภัณฑ์ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า"Derivatives" มาจาก"derive" ที่มีความหมายสืบเนื่องจากสาเหตุเพราะอนุพันธ์นั้นไม่มีมูลค่าในตัวเองแต่จะมีมูลค่าสืบเนื่องมาจากสินค้าอ้างอิง(Underiying) โดยสินค้าอ้างอิงอาจเป็นสินค้าที่มีตัวตน จับต้องได้ (Tangible assets)  เช่น อ้อย น้ำตาล ข้าวโพด เป็นต้นหรืออาจเป็นสินค้าไม่มีตัวตน ไม่อาจจับต้องได้ (Intangible asstes) เช่นอัตราดอกเบี้ย ดัชนีราคาหุ้น หรือ อัตราแลกเปลี่ยน ก็ได้อนุพันธ์ที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำความเข้าใจลักษณะธุรกรรมได้ง่ายและมีโครงสร้างไม่ซับซ้อนประเภทหนึ่ง มีชื่อว่า " FX Forward" Fx forward เป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสัญญา 2 ฝ่าย(Bilateral Agreement) เพื่อซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ที่มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า(Forward Exchange) และจำนวนเงินที่ต้องการซื้อหรือขาย ไว้คงที่ตั้งแต่วันที่เข้าทำสัญญา แต่จะมีการส่งมอบและชำระราคากันในอนาคต (มากกว่า 2 วันทำการขึ้นไป)

     ยกตัวอย่างเช่น สมมุติเราเป็นผู้ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศซึ่งได้รับค่าสินค้าเป็นเงินจำนวน 30,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ในอีก 1 เดือนข้างหน้า เหมือนในตัวอย่างแรก แต่ในคราวนี้เราไปทำสัญญา FX Forward หรือสัญญาการซื้อขายดอลล่าร์สหรัฐล่วงหน้ากับธนาคารท่าอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเท่ากับ 30.10 บาท หมายความว่าเราสามารถรู้ได้ทันทีว่ารายได้จากการขายสินค้าในครั้งนี้จะมีมูลค่าเท่ากับ 903,000 บาท (US$ 30000 x 30.10 ) ไม่ว่าอัตราแลกเปลี่ยนในอีก 1 เดือน ข้างหน้านั้นจะเป็นอย่างไร ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการลดความไม่แน่นอนของอัตาแลกเปลี่ยนได้นั้นเอง

        สิ่งสำคัญที่ต้องเน้นย้ำคือ FX Forward เป็นสัญญาซึ่งเป็นภาระผูกพัน (Obligation) ระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ที่จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา หมายความว่าในอีก 1 เดือนข้างหน้าเมื่อเราได้รับค่าสินค้าจำนวน 30,000 USD แล้ว เรามีหน้าที่ที่จะต้องทำตามเงื่อนไข ในสัญญา คือเราต้องมีภาระในการที่จะนำเงินจำนวนนั้นไปขายให้กับ ธนาคาร และธนาคารก็มีภาระที่จะต้องรับซื้อเงิน เรา ใน อัตราแลกเปลี่ยน 30.10 บาท/ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ด้วยเช่นกัน
    ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนนั้นสามารถบริหารจัดการได้เพียงแต่เราต้องหมั่นศึกษาหาความรู้และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมที่สามารถที่จะลดการขาดทุนของเราให้มากที่สุดดังนั้นจึงควรศึกษาเครื่องมือแต่ละชนิดให้ดีเพื่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชนฺ


Credit : กัญญมน ไทยถานันดร์ หนังสือพิพ์ ฐานเศรษกิจ วันที่  24-26 คุลาคม 2556

       
   
"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"

*

admin

  • 80,398
Re: การบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน Foreign Exchange Risk
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 23, พฤศจิกายน 2013, 06:57:37 PM »
       ดีใจ จัง บทความนี้มีคนเห็นประโยชน์ และ เอาไปเผยแพร่ด้วย  TKo*)
แต่เขาจะรู้ใหม ว่า ผม นั่ง พิมพ์ ทุกตัวอักษรอยู่ 4 ชม
     เพราะอ่านมาจาก หนังสือพิมพ์แล้วสรุปเป็นบทความมาให้อ่านง่ายๆ เนื่องจากหาในเนต แล้วไม่มี T*/-
แต่ไม่เป็นไรครับถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านทุกคนก็ดีใจแล้ว  4*/-4
เพราะความรู้มีไว้แบ่งปัน
"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"

*

onena

Re: การบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน Foreign Exchange Risk
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 23, พฤศจิกายน 2013, 07:16:48 PM »
อ้างจาก: admin ที่ 23, พฤศจิกายน  2013, 06:57:37 PM
       ดีใจ จัง บทความนี้มีคนเห็นประโยชน์ และ เอาไปเผยแพร่ด้วย  TKo*)
แต่เขาจะรู้ใหม ว่า ผม นั่ง พิมพ์ ทุกตัวอักษรอยู่ 4 ชม
     เพราะอ่านมาจาก หนังสือพิมพ์แล้วสรุปเป็นบทความมาให้อ่านง่ายๆ เนื่องจากหาในเนต แล้วไม่มี T*/-
แต่ไม่เป็นไรครับถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านทุกคนก็ดีใจแล้ว  4*/-4
เพราะความรู้มีไว้แบ่งปัน

สาธุ  4*/-4
เค้าคงไม่รู้นะท่าน... แต่เดี๋ยวคงรู้... เพราะเค้าขยันมากกกกกกกกกกกก  j)*/