กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทรดเทรนด้วยการอ่าน Trend clusters

  • 0 replies
  • 681 views
เทรดเทรนด้วยการอ่าน Trend clusters
« เมื่อ: 29, พฤศจิกายน 2021, 06:43:06 PM »
เทรดเทรนด้วยการอ่าน Trend clusters

เป็นที่รู้กันดีว่าวิธีการเทรดที่ดีที่สุดคือเทรดตามเทรน เช่นหลักการ Technical analysis ที่มีอิทธิพลต่อการวิเคราะห์เชิงเทคนิคมาก คือหลักการทฤษฏี Dow ที่ให้ความสำคัญเรื่องของการเทรดตามเทรนเป็นอย่างมาก มองเทรนออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือเทรนหลัก เทรนรองและเทรนย่อย ตามหลักการ Dow จะเน้นการเทรดตามเทรนหลัก ดังนั้น การทำความเข้าใจเรื่องของเทรนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ขณะเดียวกัน ถ้ามองเรื่องของการเทรดเทรนตามหลักของ Elliot Wave จะอธิบายความสำคัญของเทรนในรูปแบบ Impulse Wave และ Corrective Wave การมองเทรดเทรนด้วยการมอง Trend clusters เป็นอีกวิธีการหนึ่งช่วยในการเทรดตามเทรนได้ดี เพราะเป็นการอ่านแนวรับ-แนวต้านตามเทรนอีกรูปแบบ

กำหนด Trend และ Trend clusters อย่างไร


ตามหลักการของ Dow ที่เป็นพื้นฐาน Technical Analysis อื่นๆ มากมายการกำหนดเทรน จะด้วยการดูพัฒนาการความต่อเนื่องกันของ Swing highs/lows ที่ทำไปทางใดทางหนึ่งทางเดียวกัน ทำให้ช่วยกำหนดแนวโน้มหรือเทรนของการเคลื่อนไหวราคาไปทางนั้นๆ โดยที่ทาง Swing ที่ไปทางเทรนจะมีการเคลื่อนที่ยาวกว่า ทางที่ราคาวิ่งสวนเพื่อทดสอบ หลักการนี้ก็จะคล้ายๆ แบบการกำหนด Impulsive Wave และ Correction Wave โดยทางที่มีการเคลื่อนไปทางเทรนก็จะเป็น Impulse wave และทางที่สวนเทรนหรือ Corrective wave

หลักการตีความของเทรนจะให้ความสำคัญของ Swing highs/lows ในการสร้างเทรนว่าเป็นอย่างไร คือ เช่นตามภาพประกอบ เทรนขาขึ้น ก็จะดูว่าราคาตอนขึ้นไปทำ Higher High เป็นอย่างไร คือขึ้นอย่างแรงเบรค High ก่อนได้อย่างรวดเร็ว และราคาปิดบนได้ด้วย และการย่อตัวลงมาเพื่อทดสอบ ต้องไม่ต่ำกว่า Low ก่อน การกำหนดเทรนก็จะกำหนดจากการพัฒนาการ Swing แบบนี้ต่อกัน ที่มีการเคลื่อนไหวไปทางเดียวกัน ดังนั้นเมื่อไรก็ตาม การพัฒนาการ Swing ไม่ได้เป็นไปทางเดียวกัน นั่นคือสัญญาณว่าเทรนอาจเปลี่ยนได้


Trend cluster ถือว่าเป็นส่วนขยายของเรื่องของการมองแนวรับ-แนวต้านอีกรูปแบบ แต่เป็นการมองแนวรับ-แนวต้านตามการพัฒนาการของเทรน เมื่อย้อนกลับไปการกำหนดเทรนด้านบนจะเห็นว่าเราใช้การพัฒนา Swing  Highs/Lows ในการกำหนดเทรน โดยที่ Trend Cluster จะเป็นการมองพื้นที่กรอบออเดอร์ตรงจุด Highs/Lows ที่มีการโต้ตอบ และพื้นที่พวกนี้มีเป็นพื้นที่ต้านทานของการเคลื่อนราคา หรือถ้าราคาขึ้นไป ก็จะเป็นพื้นที่แนวต้าน ถ้าราคาลงมาก็จะเป็นพื้นที่แนวรับ ถ้าจะอธิบายง่ายๆ คือมองพื้นที่ Highs/Lows ที่ราคาทำตอนทำเทรน เป็นพื้นที่แนวรับแนวต้านด้านการดูการโต้ตอบที่ผ่านมาด้วย ภาพด้านบนคือการมอง Trend cluster  สำหรับเทรน สำหรับเทรนกำหนดด้วยการตีเส้น Zigzag เส้นปะ ลงมาพร้อมจุด Swing highs/lows ต่างๆ ได้มีการตีกรอบสี่เหลี่ยมขึ้นมา 2 กรอบ ดูที่กรอบเลข 1 และดูที่วงกลมไว้ ที่เห็นจุด Swing ต่างๆ มองเทียบที่ผ่านมา จะเห็นว่าจุด Swing พวกนี้เกิดขึ้นพื้นที่เดียวกัน จุดพวกนี้เรียกว่า Trend cluster จุดพวกนี้เป็นพื้นที่แนวรับ-แนวต้านจากการกำหนดเทรนจากการเทียบพื้นที่ราคาเกิดขึ้นก่อนด้วย ราคาก็จะโต้ตอบจุดพวกนี้แบบหลักการเดียวกันกับ แนวรับ-แนวต้าน หลักการการมองเทรนแบบนี้ช่วยให้เราหาจุด Take profit และเข้าเทรดตามเทรนอีกรอบ ได้ถูกที่และมีความเป็นไปได้สูงในการเปิดเทรดด้วย

ดูที่เลข 1 ราคาได้ทำ Lower High หลังจากที่ราคาทดสอบพื้นที่ High Lows ใกล้สุด ที่ถือว่าเป็น Support ดูวงกลมสีน้ำเงิน ในกรอบสี่เหลี่ยมเลข 1 แล้วมองมาทางช้าย จะเห็นว่า Low ตรงนี้อยู่พื้นที่เดียวกับ Low ก่อน จากนั้นราคาได้เบรคพื้นที่ตรงนี้ลงมาทำ Lower Low แล้วตอนเด้งขึ้นไปทำ Lower High เป็นพื้นที่ Support ก่อนนี้ นี่คือ Trend cluster สำหรับเทรด โอกาสเปิดเทรดตามเทรนแรก จะเกิดขึ้นให้เทรด Sell ตอนนี้ แล้วราคาลงมาทำ Lower Low ต่อ แล้วเด้งขึ้นไปพื้นที่เดียวอีก เป็นครั้งที่ 2 วงกลมสีแดงต่อมา ก็เกิดพื้นที่เดียวกัน หรือวงกลมสีแดงสุดท้ายก็หลักการเดียวกัน


อีกสิ่งหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้คือ จะเห็นว่าในการทำเทรนจะเห็นว่าราคาได้เบรค Trend cluster ก่อนเพื่อที่จะไปต่อ หรือมองเทียบกับหลักการ Technical analysis บอกว่า ถ้าราคาจะไปต่อได้ จะเห็นราคาต้องสามารถเบรคแนวรับ-แนวต้าน ต่อไปได้เรื่อยๆ แต่ด้วยหลักการ Trend cluster ช่วยให้เรากำหนดแนวรับ-แนวต้าน ตามเทรนที่เกิดขึ้นด้วยหลักการอ้างอิงแนวรับ-แนวต้านด้วย ช่วยให้เรากำหนดพื้นได้ว่าอยู่ตรงไหน และอีกอย่างเมื่อราคาได้ทำ Trend cluster พื้นที่เดียวกันหลายๆ รอบ ยิ่งช่วยเพิ่มระดับความเป็นไปได้มากขึ้นมาอีกด้วยเพราะว่าเป็นพื้นที่ๆ มี Liquidity มาก เทรดเดอร์ให้ความสนใจ ทั้งรอเข้าเทรด เพื่อหาโอกาสเทรด และเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มที่ติดลบ ถ้าราคาไม่กลับมาทางที่พวกเขาเทรดอยู่ เป็นไปได้สูงที่จะออกจากตลาด เลยทำให้พื้นที่ Trend cluster กำหนดคุณภาพของแนวรับ-แนวต้านได้ด้วย


อีกภาพประกอบการตีความของ Trend cluster ที่ภาพ 1 จะเห็นว่า Trend cluster ช่วยให้เราเห็นว่า Double Top เกิดขึ้นอย่างไร ภาพ 3 บอกว่ามีแนวรับอยู่ตรงไหน พอราคาเบรคได้ ราคาทำ Lower Low ได้ จากแนวรับกลายมาเป็นแนวต้าน เปิดโอกาสให้เทรดตามเทรนได้ และที่เลข 3 ก็บอกว่ามีแนวต้านอยู่ตรงไหน เพราะว่า High พื้นที่นั้น 3 รอบ พอราคาเบรคได้กลายเป็นแนวรับ เปิดโอกาสให้เทรดตามด้วยการเปิด Buy ได้ง่าย