กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Supply/Demand Trading EP.2 รูปแบบ

  • 0 replies
  • 1,718 views
Supply/Demand Trading EP.2 รูปแบบ
« เมื่อ: 17, มีนาคม 2020, 09:34:45 PM »
Supply/Demand Trading EP.2 รูปแบบ

ต่อจากบทความก่อนนี้ ที่บอกว่าสิ่งสำคัญสำหรับการเทรดแนว Supplly/Demand คือการดูความไม่สมดุลย์หรือ Imbalance ให้เป็น การเข้าใจรูปแบบโครงสร้างที่กลายมาเป็นรูปแบบหรือ pattern สำหรับ Supply/Demand ก็จะทำให้ง่ายต่อการเทรดขึ้นมาด้วย รูปแบบจะเป็นเบื้องต้นเพื่อให้ง่ายต่อการจำแนกว่าความไม่สมดุลย์แบบไหน และแรงมากพอที่จะเทรดหรือเปล่า

กำหนดรูปแบบตาม price structure


บรรยายด้วยภาพประกอบ เริ่มที่ Demand ราคาทำเทรนลงมา เห็นภาพ  Swing ราคาทำลงมาเรียกกว่า Drop แล้วราคาก็ consolidation ไม่ไปไหนต่อจนเกิด Break ขึ้นด้านบนวิ่งไปอย่างแรก และด้วยความรวดเร็วด้วยความไม่สมดุลย์ที่อธิบายในบทความก่อนนี้ เนื่องจากการมองจากชาร์ตหรือ Technical Analysis เรามองจากราคาปัจจุบันก่อน สิ่งที่เราเห็นคือ การขึ้นอย่างเร็วและแรงหรือ strong move away หรือเรียกคำว่า Rally แล้วเราก็มองหาต้นตอว่าอยู่ตรงไหน ตรงต้นตอก่อนที่จะเกิดความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นเรียกว่า Base ในที่นี้ หรือที่เป็นพื้นที่ consolidation แล้วก็มองย้อนไปอีกว่าก่อนที่ราคาจะทำ consolidation ราคาลงมาอย่างแรง (Drop) หรือขึ้นมาอย่างแรง (Rally) ก่อน ขั้นตอนก็จะเป็น 1 – 2 -3 ตามภาพประกอบ แต่เวลาเรียกชื่อให้เรียกตาม price structure ที่เกิดขึ้นเลยเรียกเป็น 3-2-1 หรือ Drop-Base-Rally และอีกอย่างเป็น Rally-Base-Rally  สำหรับ Demand และสำหรับ Supply ก็มี Rally-Base-Drop และ Drop-Base-Drop

การกำหนดว่าจะเป็น Demand หรือ Supply ดูส่วนที่เป็นเบรคและตามด้วย Momentum หรืออาจเรียกว่าเป็น Impulsive move ก็ได้ ถ้าความไม่สมดุลย์ทางฝ่าย Buy orders เรียกว่า Demand ถ้าความไม่สมดุลย์เกิดทางฝ่าย Sell orders เรียก Supply  และทั้ง Supply และ Demand ก็จะแบ่งรูปแบบหรือ patterns เป็น 2 แบบคือแบบสวนเทรนหรือ Reversal และแบบตามเทรนหรือ Continuation


จากตัวอย่างด้านบนในการกำหนดรูปแบบ หรือประเภทว่าเป็น Supply หรือ Demand และเป็นแบบ Reversal สวนเทรนหรือ Continuation ตามเทรน จากที่อธิบายมาดูที่ Imbalance ก่อน แล้วมองย้อนกลับมา แล้วเรียกตาม price structure ที่เกิดขึ้นสวนทางกัน ที่เลข 1 จะเป็น Demand รูปแบบ Drop-Base-Rally (DBR) เกิดขึ้นเมื่อราคาวิ่งสวนเทรนก่อนนี้ เลยเป็นรูปแบบ Demand ประเภท Reversal หรือสวนเทรน ที่เลข 2 ราคาหยุดทำ Base แล้วเกิด Imbalance ไปต่อทางที่ขึ้นมาหรือ Rally เป็น Rally-Base-Rally (RBR) เกิดตอนราคาได้ตั้งเทรนแล้ว หรือเป็นรูปแบบ Demand สำหรับเทรดตามเทรน ที่เลข 3 ก็เช่นกันเป็น Rally-Base-Rally  ที่เลข 4 ก็เห็น Imbalance ชัดเจน เป็น Drop-Base-Rally สวนเทรนเกิดขึ้น เงื่อนไขก็จะแบบเดียวกับเลข 4 คือที่เลข 7 และที่ตัวเลขอื่นๆ ก็เรียกตาม price structure ที่อธิบายมา แต่การจำแนกรูปแบบว่าเทรดได้ กับรูปแบบมีความเป็นไปได้มากพอหรือเปล่าคนละเรื่อง  เราต้องดูส่วนประกอบหรือที่เป็นตัวกรองว่า Demand หรือ Supply นั้นๆ มีความเป็นไปได้มากพอที่จะเทรดหรือเปล่า

เทรด Retracement ของ  Demand/Supply ที่ผ่านการกรอง

หลักการเทรดแนว Demand/Supply คือการเทรดการย่อตัวกลับมาหรือ Retracement หรือ Pullback เพราะการเทรดนี้เป็นเป็นการหาต้นตอว่าขาใหญ่เข้าเทรดหรือเปล่าด้วยการดูความไม่สมดุลย์ที่เกิดขึ้น เพราะความไม่สมดุลย์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเข้าเทรดแล้วเป็นร่องรอยที่ขาใหญ่ไม่สามารถปกปิดได้ ว่าพวกเขาเข้าเทรดตรงไหน การเข้าเทรดต่างจากการปิดทำกำไรเพื่อออกจากตลาด แม้ว่าหลักการทำงานออเดอร์แบบเดียวกัน คือต้องการออเดอร์ฝั่งตรงข้าม เพื่อเข้าเทรดหรือออกเทรด ณ พื้นที่ที่ต้องการ แต่ถ้าเป็นการเข้าเทรด สิ่งที่เห็นตามมาคือ ความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นทำให้ราคาทำ High หรือ Low ใหม่ได้


จากภาพประกอบ หลักการเข้าเทรด เมื่อสามารถหาความเป็นไปได้ว่าขาใหญ่น่าจะเข้าเทรดตรงไหน ด้วยหลักการ Demand/Supply การเทรดจะเกิดขึ้นเมื่อราคาย่อตัวลงมาพื้นที่ตรงนั้น เทรดตามทางที่เกิด Imbalance หรือตามที่บอกว่าเป็น Demand หรือ Supply ดูที่ Retracement ที่ประกอบ ตรงที่เลข 2 3 4 และ 5 จะเห็นว่าพอราคาย่อตัวกลับมา ราคาก็จะเด้งไปทางที่เกิด Imbalance ถ้าเปิดเทรดตามร่องรอยก็จะสามารถปิดกำไรได้  แต่ถ้าเรามองจากรูปแบบอย่างเดียว การเปิดเทรดอาจมีความเป็นไปได้น้อยลงได้ เช่นอย่างที่พื้นที่ A และ B ถ้าเราดูรูปแบบ ก็จะเป็น Drop-Base-Rally สวนเทรนด้วย แต่พอราคากลับมา ทำไมราคาไม่เด้งขึ้นแบบที่ราคากลับมาแบบที่เลข 2 และ 3 เหตุผลเพราะเรื่องของออเดอร์ที่อยู่ตรงนั้นมีการใช้ไปแล้ว และเพราะราคากลับมาครั้งแรก

จะเห็นว่า Demand ตรงพื้นที่ A แม้รูปแบบจะเป็น Drop-Base-Rally ประเภทสวนเทรนหรือ Reversal ปัญหาคือ รูปแบบ Demand ที่เกิดขึ้นตรงนี้เป็นตอนที่ราคาย่อตัวลงมาหรือ Retracement หาพื้นที่ Demand ที่เลข 3 เลยทำให้ราคากลับมาพื้นที่ A ต่างจากตอนที่ราคากลับมาพื้นที่เลข 3 แล้วกลายมาเป็นรูปแบบ Demand ที่ A เพราะตามที่ได้อธิบายไว้ในบทความแรก พอราคาขึ้นไปบอกถึง market orders เกิน และขาใหญ่เข้าเทรดอีก แต่การที่ราคากลับมาหรือ Retracment ทุกๆ ครั้งมันมีการใช้ไป limit orders ตรงพื้นที่นั้นๆ ด้วยเพราะ Limit orders พวกนี้ก็จะทำให้ราคาตลาดที่วิ่งสวนมาหยุด หรือชลอความเร็วในการวิ่งของราคา เมื่อราคาย่อตัวกลับมา limit orders เลยมีการใช้ไป เลยทำให้พื้นที่นั้นๆ มีตัวต้านทานออเดอร์ตรงข้ามน้อยลงเลยทำให้ราคาผ่านไปได้ง่าย

สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่ราคาย่อตัวมาพื้นที่ A ราคาจะอยู่พื้นที่ตรงนั้นได้ ไม่มีการโต้ตอบเด้งกลับแบบตอนแรกที่ราคามาที่เลข 3 เลยทำให้ Demand ตรงพื้นที่ A โดนเบรค ดังนั้นการกรองว่า Demand/Supply นั้นๆ มีคุณภาพมากพอที่จะเทรดหรือเปล่า หรือเรียกว่าเป็น Demand/Supply ได้หรือเปล่า อย่างในตัวอย่างล่าสุด ตรง A หรือ B ไม่ใช่ Demand หรือ Supply ที่เราต้องการเทรด Retracment ตรงที่ลูกศรชี้มา แต่เราจะเทรดทางตรงกันข้าม หรือเทรดราคาเบรค Demand/Supply