กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Price structure คือ อะไร ช่วยบอกอะไรเราได้บ้าง

  • 0 replies
  • 3,628 views
Price structure คือ อะไร ช่วยบอกอะไรเราได้บ้าง

ราคาวิ่งขึ้นหรือลงเพราะความไม่สมดุลย์ระหว่าง sell และ buy ออเดอร์ที่มาจาการเข้าเทรดและการออกเทรดจากเทรดเดอร์ ณ ราคา และเวลานั้นๆ  ข้างไหนมากกว่า ราคาก็จะวิ่งไปทางนั้นเพื่อหา Liquidity ออเดอร์ตรงข้ามที่ราคาต่อไป และเนื่องจากออเดอร์มาจากเทรดเดอร์ Price structure บอกสิ่งที่เทรดเดอร์หรือ Market participants ได้เทรดอย่างไรตอนนั้นๆ หรือบอกสิ่งที่เกิดขึ้นเปิดเผยผ่าน Price action โดยเฉพาะที่ถูกทำให้เกิดโดยขาใหญ่ เพราะเข้าเทรดด้วยจำนวนออเดอร์เยอะ และมากพอที่จะปั่นหรือดันราคาไปทางใดทางหนึ่งได้

Price structure กับ Price action


ทั้ง Price structure และ Price action สัมพันธ์กันเพราะ price action เป็นตัวที่ทำให้เกิด price structure เพราะ Price action บอกเรื่องราวว่าอะไรเกิดขึ้นแต่ละแท่งเทียน หรือบอกว่าตลาดเคลื่อนไหวอย่างไรแต่ละแท่งเทียน  ดังนั้น Price action ไม่ใช่ระบบเทรด แต่เป็นเรื่องของความสามารถในการเทรดที่สะสมผ่านการเทรด ฝึกฝนและประสบการณ์ จึงไม่แปลกที่มักจะมีการใช้คำว่า price action ในการอ่านแต่ละแท่งทียนเพื่อช่วยกำหนดการเทรด Price action ถือได้ว่าเป็นตัวบอกการเคลื่อนไหวตลาดแบบไดนามิค เลยทำให้เกิด Price structure  ดังนั้น Price structure เป็นการบอกว่า Price action ได้เกิดขึ้นอย่างไรที่ผ่านมา เทรดเดอร์โต้ตอบรูปแบบอย่างไร สภาพตลาดที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร จึงบอกได้อีกอย่างว่า price action เป็นการเข้าใจและบอกถึง สภาพตลาดตอนนั้นๆ ภายใต้ Price structure หรืออาจเรียกกว่า Market structure


Price structure บอกว่าเทรดเดอร์เทรดอย่างไรในอดีต


เนื่องจาก Price structure บอกถึงสภาพตลาดว่าเทรดเดอร์โต้ตอบราคาตลาดอย่างไรในอดีตแต่ละช่วงที่เกิดขึ้น จนกลายมาเป็นโครงสร้างการเคลื่อนไหวราคาหรือ price structure ธรรมชาติของมนุษยก็จะโต้ตอบปัญหาด้วยรูปแบบเดิมๆ และก็มักจะดูจากตัวอย่างเดิมๆ จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลง (เรื่องการเทรดแนวรับ-แนวต้านเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ) เพื่อเป็นแนวทางในการคาดการณ์ทิศทางที่มีความเป็นไปได้สูง เลยทำให้ราคาตลาดปัจจุบันจะโต้ตอบ price structure อดีตที่บอกถึงความไม่สมดุลย์ที่ผ่านมา การเทรดแบบแนวรับ-แนวต้าน หรือ demand/supply หรือเรียกทั่วๆ ไปว่าการเทรดแบบกลยุทธ์ Key level ก็จะอาศัย price structure เป็นตัวหลักเพื่อหาจุดที่จะกำหนด trade setup แล้วค่อยดู price action ที่บอกสถานะตลาดปัจจุบันเมื่อโต้ตอบจุดอดีต และเปิดเผยออกมาเป็นอย่างไร เลยทำให้เกิดการเทรดที่จุดพวก key levels  อีกรูปแบบหนึ่งคือเรื่องของ chart patterns ก็เป็นการวิเคราะห์จาก price structure ที่เกิดขึ้นแล้วคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นพื่อกำหนด trade setup  ดังนั้น Price structure เลยทำให้ท่านหาพื้นที่ key levels หรือพวกแนวรับแนวต้านได้ง่าย ด้วยการดู price acton ที่ทำให้เกิด Impulsive move, หรืออาการอื่นๆ เช่น rejection, break, false break, absorption หรือแม้แต่การพัฒนาการของเทรนด้วยเรื่องของ swing highs/lows ที่เป็นตัวกำหนดเทรน

เริ่มมองที่เลข 1ราคาได้เปิดเผยว่ามี resistance เกิดขึ้นกลายมาเป็น price structure แนวต้านเล็กๆ ขึ้นมา ดู price action ว่าเปิดเผยอย่างไร จะเห็นว่าราคาสามารถทำ Higher Lows ขึ้นมาได้เรื่อยๆ บอกถึงภาวะหรือสถานะตลาดตอนนั้นๆ ว่าเกิด weakness ด้านฝ่าย sellers สุดท้าย price action เปิดเผยออกมาเป็น Impulsive move ยืนยันสิ่งที่ price action บอก ด้านล่างมาเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่สร้าง Price structure ขาขึ้นมาทันที จนไปถึงเลข 2 ที่บอกว่า Resistance เพราะ price action เคยเปิดเผย Rejection ตรงนั้นแต่  price action สามารถเบรคและปิดบนได้ต่อเนื่องจาก Impulsive move ที่ขึ้นมาได้
สิ่งที่เห็นที่เลข 2 ที่ราคาเคยดันลง เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้เทรดเดอร์อยากเทรดอีก เลยเห็นมีการสู้กัน 3 แท่งเทียนก่อนเบรคขึ้นไปต่อได้ อะไรเกิดขึ้นที่กรอบตรงเส้น Resistance 2 ดูสิ่งที่ price action บอกหรือเปิดเผยเมื่อโต้ตอบ price structure  แม้ว่าราคาจะสามารถเบรคขึ้นมาและปิดบนได้ แต่แท่งเทียนต่อมาเป็นแท่งเทียนลงหรือ Bearish เพราะตรงพื้นที่นี้เคยดันราคาลงไป สร้างเทรนลงมาก่อนสร้าง price structure ลงก่อนที่ราคาจะดันขึ้นมา เลยทำให้เทรดเดอร์อยากเปิดเทรดอีก เลยทำให้เกิด limit orders ตรงนี้ และมี sell market orders ตามด้วยเลยทำให้แท่งเทียนลงมา และยังเกิดจากการปิดทำกำไรของเทรดเดอร์ที่เปิดเทรด Buy ที่ทำให้เกิด Impulsive move เปิดทำกำไรด้วย แต่แท่งเทียนต่อมาราคาเบรคแล้วไปต่อ และอีก 3 แท่งเทียนราคาลงมาทดสอบแล้วไปต่อ

Price structure กับเทรดเดอร์และออเดอร์


จากตัวอย่าง Price structre บอกถึงมีการเปิดเทรดตรงไหนที่ผ่านมาด้วย และยังบอกถึงว่ามีเทรดเดอร์ที่ยังคงถือ positions ตรงไหนด้วย ถ้าพวกเขาไม่ได้ออกด้วย stop loss ตอนที่ราคาวิ่งสวนพวกเขาช่วงที่พวกเขาเปิดเทรด  ดูที่พื้นที่เลข 3 ที่บอกว่าเป็น Resistance เห็นได้ชัด ดู Price structure ที่เกิดขึ้น ก่อนที่ราคาจะเบรคลงมา ราคาดันขึ้นไป price action ต่อเนื่องมาสร้าง Price structure เป็นเทรนขึ้น เพราะราคาเบรค Resistance 2 เลยทำให้เทรดเดอร์หันมาเปิด Buy เป็นหลัก แต่ดูสิ่งที่ price action เปิดเผยคือ ราคาวิ่งอยู่ในกรอบหลายแท่งเทียน แต่สุดท้าย price action เปิดเผยมาเป็น stop hunt ตรงส่วนนี้ต้องเข้าใจเทรดเดอร์และออเดอร์ทำงานอย่างไร หลักการทำงานออเดอร์ในตลาดฟอเรก การที่การเทรดหรือออกเทรดจะเปิดขึ้นได้ก็ต้องมีออเดอร์ตรงข้ามเสมอ และเทรดเดอร์ที่เป็นขาใหญ่เทรดด้วยวอลลูมที่มาก เมื่อพวกเขาจะเปิดเทรดหรือออกเทรด พวกเขาก็ต้องการออเดอร์ตรงข้ามที่มากพอ ตรงพื้นที่ๆ พวกเขาต้องการ นี่คือเรื่องของ Liquidity ราคาเบรคลงมาได้ รูปแบบ price action ใหม่ที่เปิดเผยออกมาต่อคือ Impulsive move ขาลง เลยให้ข้อมูลว่า ขาใหญ่ต้องมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดแน่นอน  แล้ว Price structure จากที่เป็นเทรนขึ้นก็อาจจะเปลี่ยนเทรนได้เพราะข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น

Price structure ที่เปลี่ยนไป ส่งข้อมูลใหม่ต่อเทรดเดอร์ที่รอเข้าและเทรดเดอร์ที่ถือ positoins อยู่ในตลาดด้วย โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่เดือดร้อน และหลักการทำงานของออเดอร์ การออกจากตลาด ไม่ว่าจะปิดออกเอง หรือ stop loss หรือ take profit ก็เท่ากับว่าเปิดเทรด หรือ market order ตรงข้ามที่ถือ position อยู่เช่น ถ้าถือ long position เพราะเปิด buy เพื่อเข้าตลาด ถ้าออกเอง หรือ stop loss หรือปิดทำกำไรด้วย take profit เท่ากับเปิด sell market order ตรงที่ออก  เลยทำให้ price action ที่เกิดตอนราคากลับมาหา Resistance ที่เลข 3 หลังจาก price structure เปลี่ยนไปทำงานได้ดี

ดังนั้น Price structure เป็นโครงสร้างที่บอกถึง price action ที่เกิดขึ้น ที่สะท้อนว่าเทรดเดอร์เทรดและจัดการออเดอร์แต่ละช่วงอย่างไร และใช้ price action ดูว่าการโต้ตอบเป็นอย่างไร เพื่อคาดการณ์ price structure ที่จะเกิดขึ้น ทุกอย่างสัมพันธ์ต่อเนื่องกันหมด Price structure เกิดขึ้นเพราะ price action และ price action เกิดขึ้นเพราะออเดอร์ที่มาจากเทรดเดอร์ทั้งที่รอเข้าและอยู่ในตลาดที่รอออก