กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทคนิค เทรด Forex อ่าน market structure ด้วย price chart

  • 0 replies
  • 979 views
เทคนิค เทรด Forex อ่าน market structure ด้วย price chart
« เมื่อ: 30, ธันวาคม 2019, 10:09:58 PM »
เทคนิค เทรด Forex อ่าน market structure ด้วย price chart

การอ่าน market structure หรือ price structrue ได้ช่วยให้เรารู้ว่าตลาดกำลังบอกอะไรโดยที่ไม่ต้องไปหาข้อมูลจากแหล่งอื่นเพื่อเรียนรู้ เมื่อเข้าใจสิ่งที่ราคาบอกผ่านชาร์ตแล้วเทรดนั่นเป็นเรื่องของ objective เพราะเราเห็นข้อมูล ต่างจากที่เราเอาแค่หลักการแล้วมาหาความเป็นไปได้เอง ดังนั้นการเข้าใจและอ่าน structure ออกจึงจำเป็นมากในการเทรด

High/Low จุดแรกที่ต้องมองเพราะเป็นแนวรับ-แนวต้านแบบอัตโนมัติ


เช่นการอ่านแนวรับ-แนวต้านที่เป็นไดนามิค จากการพัฒนาการ high/low ที่เกิดขึ้นตอนราคาทำเทรน ก่อนที่ราคาจะลงมาเลข 1 ที่บอกว่า Low มองย้อนขึ้นไป เริ่มที่ High ท่านจะเห็นราคาสามารถทำ Lower High ลงมาต่ำได้กว่าเดิมถึง 2 ครั้ง นั่นบอกว่าพื้นที่ตรง Highs พวกนี้เป็นแนวต้านหรือ resistance แบบอัตโนมัติเมื่อราคาเคลื่อนไป สิ่งที่ต้องดูต่อมาคือเรื่องของการเด้งจากพื้นที่หรือ rejection และเบรคหรือ Break ประกอบจุดพวกไดนามิคแนวรับ-แนวต้านพวกนี้ และต้องดูผลที่ตามมาด้วยว่า การเด้งหรือการเบรคเป็นอย่างไร ดูเรื่องของลักษณะการเบรคด้วย เบรคด้วย momentum bar หรือเปล่า และยังต้องให้ความสำคัญของราคาปิดที่บาร์นั้นๆ ด้วย และต้องเข้าใจเรื่องการล่า liquidity ที่มาจากการกำหนด stop orders ประกอบด้วยว่าจำเป็นอย่างไร

สิ่งที่ท่านเห็นตอนนี้คือราคากำลังสร้าง structure แบบกรอบแนวรับ-แนวต้าน ก่อนที่ราคาจะลงมาทำ Low แต่ที่เห็นคือราคาสามารถทำ Lower High ได้บอกถึงความกดดันมาจากฝ่าย sellers มากกว่า สุดท้ายราคาเบรคและปิดล่างด้วย momentum bar ได้ด้วย ฝ่าย sellers เป็นฝ่ายชนะ เทรดเดอร์ก็คาดหวังว่าราคาจะลงไปต่อ แต่สิ่งที่เห็นคือ แม้ราคากลับมาตรงที่ราคาเบรค หลายบาร์ต่อเนื่องกัน แต่ราคาไม่สามารถทำ low ใหม่ต่อลงไปอีกได้ และยิ่งกว่านั้นราคาสามารถสร้าง consolidation แคบๆ ที่จุดเบรคได้ สุดท้ายราคาเบรคขึ้นมาได้ด้วย Momenum bar ที่ลูกศรเลข 2 และปิดบนได้ด้วย แล้วราคามาเทสหรือ rejection ตรงที่ lower high ที่กลายเป็น resistance อัตโนมัติ เราจะดูว่าราคาสามารถเบรคตรงที่ราคาเบรคขึ้นมาได้หรือเปล่า ถ้าไม่ได้ เราจะถือว่าตรงนี้กลายมาเป็น Higher Low เป็นการยืนยันการเปลี่ยนเทรน ราคาไม่สามารถเบรคพื้นที่เลข 2 ได้ เลยกลายมาเป็น Higher Low ทันที  พอถึงจุดนี้เราก็ตีความสิ่งที่ structure บอกอีกรอบถึงจุดนี้ แสดงว่า ตอนที่ราคาลงไปทำ Low ที่เลข 1 มีจุดประสงค์เพื่อเข้าเทรด ดันราคาเบรคลงไปเพื่อล่า liquidity ให้ได้จุดเข้าเทรดราคาที่ดีกว่า และมี liquidity ที่มากพอ และเทรดเดอร์ที่ทำอย่างนี้มีแต่ขาใหญ่ทำ เพราะขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนวอลลูมเยอะ เมื่อจะเปิดเทรดที่ไหน หรือจะออกเทรด พวกเขาต้องการออเดอร์ตรงข้ามพื้นที่ที่พวกเขาต้องการเทรดหรือจัดการการเทรด

ดูภาพก่อนที่จะเกิดการ Break ที่เลข 3 จะเห็น consolidation พื้นที่แคบๆ แบบเดียวกันกับก่อนการเบรคที่เลข 2  จะเกิดขึ้น เมื่อสังเกตอีกอย่าง ท่านจะเห็นว่าพื้นที่ High, Lower High และ Lower Higher ทั้ง 3 พื้นที่ด้านบน อยู่พื้นที่เดียวกันหมด ดังนั้น การที่ราคากลับมาแลัวทำ Lower High ทั้ง 2 จุดไป ก็มีการใช้ sell limit orders ตรงพื้นที่นั้นไปในตัวด้วย และเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดทางลงด้วยการอิง Highs พวกนี้ก็จะกำหนด stop loss เหนือจุด Highs พวกนี้ ถ้าราคาไปแตะ ก็จะกลายเป็น buy market ordes ทันที ขาใหญ่ที่เปิดเทรดด้านล่าง ก็จะมีออเดอร์ที่ช่วยเร่งราคาให้ได้กำไรมากขึ้นทันที สุดท้ายเลข 3 เกิดขึ้น ราคาเบรคด้วย Momentum Bar ตามคาด และทำ New High ใหม่ด้วย


สิ่งที่เกิดขึ้นคือราคาได้เบรค High ขึ้นมาที่เลข 3 ด้วย momentum เทรดเดอร์ที่เทรดตามเทรนหรือ trend traders ก็จะหาโอกาสเทรดตอนที่ราคากลับมา ขณะที่เทรดเดอร์ที่เปิดเทรด short ก่อนที่ราคาเบรคตรงที่พื้นที่ High หรือ resistance ถ้ากลุ่มที่ไม่ได้กำหนด stop loss เหนือพื้นที่ highs ก็จะติดลบทั้งหมด ข้อมูลที่เกิดขึ้นหลังเลข 3 หรือราคาเบรคขึ้นสำคัญมาก มีผลต่อเทรดเดอร์ที่เทรดขาลงทั้งหมด เพราะรู้ว่าตัวเองกลายเป็น trapped traders เพราะ breakout ตรงนี้ยืนยันสิ่งที่ขาใหญ่ทำตอนดันราคาขึ้นมา และยังเป็นข้อมูลสำหรับเทรดเดอร์ที่รอเข้า โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่เทรดตามเทรน เช่นเทรดเดอร์ที่เทรดแนวรับ-แนวต้าน ก็มองหาราคาเบรค Resistance และได้กลายมาเป็น Support พื้นที่ตรงนั้น เทรดเดอร์ที่เทรดแนว demand/supply ก็มองพื้นที่ highs เป็น supply พอราคาเบรคก็กลายมาเป็น Demand ก็จะรอหาโอกาสเปิดเทรดเมื่อราคากลับมา

ส่วนกรอบด้านบน หลังจากที่ราคาได้สร้าง High ใหม่อีกชุด สิ่งสำคัญที่ราคาไม่สามารถเบรค swap level ที่เพิ่งเบรคขึ้นไปได้ด้วย ท่านจะเห็นว่าพัฒนาการคล้ายๆ กับที่เกิดขึ้นตอนที่ราคาทำหลังจากที่ทำ Low ที่เลข 1 ดังนั้น สิ่งที่ต้องใส่ใจคือการเด้ง (rejection) และการเบรค (break) อย่างที่บอก จากจุดพวกนี้ที่ตอนราคาทำ high/low ที่กลายเป็นแนวรัน-แนวต้านแบบอัตโนมัติ สัมพันธ์กับสิ่งที่พัฒนาการขึ้นมาอย่างไหน เพราะลักษณะการเด้งหรือการเบรคบอกถึงความสมดุลย์และไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ที่มาจาก sellers และ buyers เป็นอย่างไร เมื่อมองจากแต่ละจุดต่อเนื่องกัน แล้วกลายมาเป็น market structure
ดั้งนั้น การที่จะมอง market structure เป็น ท่านสามารถเริ่มได้ง่ายๆ ที่การมองที่ high หรือ low เพราะเป็นแนวรับ-แนวต้านแบบอัตโนมัติ แล้วดูการกลับมาหรือ retracement ดูอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นเด้งหรือเบรค แล้วดูลักษณะที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันเป็นจุดๆ มองเป็นปริบทต่อเนื่องจนมาเป็น market structure ที่สามารถมองแบบง่ายๆ ได้ ให้ความสำคัญกับ momentum ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่แนวรับ-แนวต้าน และราคาปิดด้วย เพราะบอกผลของความพยายามที่เปิดเผยตอนนั้นว่าเป็นอย่างไร