รู้จักกับ Gap คืออะไร + Island reversal คืออะไร
Gap คืออะไร
สวัสดีค่ะวันนี้จะมานำเสนอบทความเรื่องของ Gap ที่ทุกเช้าวันจันทร์จะต้องเกิดขึ้นประจำบ่อยๆบางที่ก็ gap เล็ก บางที่ก็ gap ใหญ่วนเวียนกลับมาบ้างไม่กลับมาบ้างแล้วแต่ความแรงของการซื่อขายในตลาด แต่เวลาที่มี gaps คนส่วนใหญ่ไม่รู้หรอว่าเป็น gaps แบบให้คงต้องใช้ประสบการณ์ในการดู
ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค Gaps เป็นรูปแบบต่อเนื่อง(Continuation Pattern) ชนิด คือเมื่อเกิดในตลาดขาขึ้น ก็มักจะขึ้นต่อตามกันไป เมื่อเกิดในตลาดขาลงก็มักจะลงต่อจนเกิด Gap สุดท้าย
Gap เกิดจากการเกิดการกระโดดขึ้นหรือลงของราคาจนทำให้เกิดช่องว่างขึ้นที่กว้าง ซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของแรงซื้อกับแรงขาย ในตลาด Forex โดยปรกติเราจะเห็น Gaps กันเป็นประจำในช่วงเช้าวันจันทร์ที่ตลาดเปิด สาเหตุม่จากนักลงทุนต้องการซื้อหรือขายทันทีที่ตลาดเปิด หรือ ช่วงที่มีข่าวแรงๆ เมื่อเกิด Gap ซึ่งแนวที่เปิด Gaps จะสามารถใช้เป็นแนวรับหรือแนวต้านที่ดีได้ และหากเราเข้าใจถึงชนิดของ Gaps ที่เกิดขึ้นก็จะทำกำไรได้เป็นอย่างดี Gaps
ถ้า Gap กระโดดขึ้นมักแสดงแนวโน้มขาขึ้น
ถ้า Gap กระโดดลงมักแสดงแนวโน้มขาลง
สามารถแบ่ง Gap ออกได้เป็น 4 ประเภท
1. Common Gaps หรือ Area Gaps
2. Breakaway Gaps
3. Runaway Gaps หรือ Measuring Gaps
4. Exhausting Gaps
ได้แก่
1. Common Gap หรือ Area Gaps เป็น gap ธรรมดาโดยทั่วไปไม่มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นเป็นช่องว่างทั่วไปที่ สองถึงสามวันจะกลับมาในภาวะปรกติ common gaps นี้เรียกว่า "ช่องว่างในพื้นที่" หรือ "ช่องว่างในการซื้อขาย" gaps แบบนี้ก็ไม่มีอะไรที่น่าสนใจมักจะเกิดในราคาระหว่าง sideway ขึ้นลง หรืออยู่ระหว่างแนวรับและแนวต้านที่ไม่กระโดดออกจากแนวรับแนวต้านก็ไม่มีอะไรและไม่ค่อยมีวอลุ่มมาหนุนเท่าไหร่ gaps เปิดตลาดธรรมดา
2. Breakaway Gaps เป็น gaps ที่วิ่งทะลุ breakout หรือแนวรับแนวต้านหรือวิ่งจากราคาที่เป็น sideway เกิดขึ้นได้ไม่ค่อยบ่อยไม่ค่อยเจอ gap แบบนี้เท่าไหร่ ทะลุขึ้นไปหรือทะะลุลงมาเป็นการพุ่งทะลุจึกเกิด gaps ลักษณะนี้โดยปรกติแล้วถ้าเกิด gaps ทะละแนวต้านหรือแนวรับมันจะวิ่งกลับมาหาแนวรับแนวต้านอีก 2-3 วันเพื่อมาปิด gaps แต่บางครั้งถ้ามีปริมาณการซื้อขายที่มากกว่าปรกติหรือมีข่าวที่ค่อยๆแรงมันจะกลับมาอีกหลายเดือนถึงจะกลับมาปิด gaps ยังสามารถให้เป็นแนวรับและแนวต้านได้อีกด้วยโดยมาก breakaway gaps จะวิ่งอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมเป็นรูปแบบของ sideway ถ้ามีการซื้อขายมากๆก็จะพุ่งไปข้างบนเลยหรือพุ่งไปข้างล่างเลยเป็นทิศทางที่ชัดเจนว่าตลาดมาเทรนไหนในชั่งนั้นถ้าเกิดแบบนี้สามารถซื้อหรือขายตามไปได้เลย
3. Runaway Gaps หรือ Measuring Gaps เป็น gaps ที่เกิดหลังจากที่เกิด breakaway gaps ถ้าเป็นช่วงขาขึ้น runaway gaps จะแสดงให้เห็นถึงกำลังความแข็งแกว่งของกำลังซื้อเราสามารถที่จะคาดเดาราคาไว้ว่าจะไปอีกเท่าไหร่นับต้องแต่การเกิด breakaway gaps ถ้าเป็นช่วงขาลง runaway gaps จะแสดงให้เห็นถึงกำลังความแข็งแกว่งของกำลังขายเราสามารถที่จะคาดเดาราคาไว้ว่าจะไปอีกเท่าไหร่นับต้องแต่การเกิด breakaway gaps แต่ถ้าไม่มี ถ้าเป็นช่วงขาขึ้น runaway gaps จะแสดงให้เห็นถึงกำลังความแข็งแกว่งของกำลังซื้อเราสามารถที่จะคาดเดาราคาไว้ว่าจะไปอีกเท่าไหร่นับต้องแต่การเกิด breakaway gaps ก็ไม่เป็นไร gaps ชนืดนี้สามารถหาความสูงของราคาได้
4. Exhausting Gaps เป็น gaps ที่ชอบกระโดดขึ้นลงในตอนสุดท้ายที่กำลังซ้อเริ่มอ่อนแอลงไปที่มักจะเกิดขึ้นที่ปลายเทรนขาขึ้นหรือเกิดขึ้นที่เลายเทรนขาลงเป็นสัญญาณเตือนในการกลับตัวของเทรนที่อาจจะมีประมาณการซื้อขายที่มากลักษณะการวิ่งของกราฟจะวิ่งกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน gap นี้ราคาจะต้องมาปิดเสมอเพราะเป็นสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มของเทรน
Island reversal เป็นสัญญาณกลับตัวของราคาที่มี gaps 2 ประเภทเกิดขึ้นสองข้าง gaps แรกคือ exhausting gaps บอกว่าเทรนกำลังอ่อนกำลังลงแล้วกำลังจะกลับตัวอาจจะมีการทิ้งทวนครั้งสุดท้ายในการซื้อขายทำให้ราคากระโดดออกมาเป็นช่องว่างขนดใหญ่แล้วสุดท้ายราคาก็เกระตัวกันไปตามด้านข้าง แล้วเกิด breakaway gaps ในฝั่งตรงกันข้างเพราะมาแรงซื้อเยอะกราฟเลยกระโดดออกมากลายเป็น gaps มีลักษณะที่เหมือนเกาะที่อยู่โดดเดี่ยว
Falling Windows
เป็นรูปแบบต่อเนื่องของขาลง หรือเรียกว่า bearish continuation pattern ที่เกิดช่องว่างขึ้นระหว่างแท่งเทียนก่อนหน้าและแท่งเทียนปัจจุบันในแนวโน้มขาลงเป็นสัญญาณรูปแบบต่อเนื่องขาลงการปรับตัวนี้แสดงถึงความแข็งแกร่งของขาลงมามีความแข็งแกร่งมาก
Downside Tasuki Gaps
ตัวแท่งเทียนที่หนึ่งและตัวแท่งเทียนที่สองจะต้องเป็นแท่งเทียนขาลงและแท่งเทียนที่สามจะต้องเป็นแท่งเทียนขาขึ้น ถึงจะเรียกว่า downside tasuki gaps ถ้าดูจากรูปจะแห็นว่าแท่งเทียนที่สามเป็นแม่งเทียนขาขึ้นแต่ไม่มีแรงขึ้นทำให้เกิดแท่งเทียนแท่งที่สี่เป็นขาลงแสดงว่าความแข็งแกร่งขอขาลงยังมีมากอยู่และขาลงยังคงดำเนินไหลลงต่อไป
Rising Windows
เป็นรูปแบบต่อเนื่องของขาลง หรือเรียกว่า Bullish continuation pattern ที่เกิดช่องว่างขึ้นระหว่างแท่งเทียนก่อนหน้าและแท่งเทียนปัจจุบันในแนวโน้มขาขึ้นเป็นสัญญาณรูปแบบต่อเนื่องขาขึ้นการปรับตัวนี้แสดงถึงความแข็งแกร่งของขาขึ้นมามีความแข็งแกร่งมาก
Upside Tasuki Gaps
ตัวแท่งเทียนที่หนึ่งและตัวแท่งเทียนที่สองจะต้องเป็นแท่งเทียนขาขึ้นและแท่งเทียนที่สามจะต้องเป็นแท่งเทียนขาลง ถึงจะเรียกว่า upside tasuki gaps ถ้าดูจากรูปจะแห็นว่าแท่งเทียนที่สามเป็นแม่งเทียนขาลงแต่ไม่มีแรงลงทำให้เกิดแท่งเทียนแท่งที่สี่เป็นขาขึ้นแสดงว่าความแข็งแกร่งขอขาขึ้นยังมีมากทำให้ยังคงเป็นเทรนขาขึ้นอยู่