กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้งาน Leading Indicators

  • 0 replies
  • 4,617 views
การใช้งาน Leading Indicators
« เมื่อ: 14, ธันวาคม 2016, 02:17:44 PM »
การใช้งาน Leading Indicators
ลิขสิทธิ์ traderider.com
ผู้แปล Mamay

Leading Indicators

    ชื่อก็บอกอยู่แล้ว  leading indicator ได้ถูกออกแบบให้เคลื่อนไหวเพื่อชี้นำราคา ส่วนมากจะแสดงเรื่องการเคลื่อนไหวของราคาด้วยมุมมองของกราฟในอดีตโดยใช้การคำนวณ ตัวอย่างเช่น  20-day Stochastic Oscillator จะใช้กราฟราคา 20 วันในการคำนวณ ราคาก่อนหน้า 20 วันนี้จะไม่ได้ใช้ ซึ่งมี Indicator อื่น ๆ อีก ได้แก่ Commodity Channel Index (CCI), Momentum, Relative Strength Index (RSI), Stochastic Oscillator และ Williams %R.

Momentum Oscillators

    Leading indicator หลายตัวออกมาในรูปแบบของ  momentum oscillators นั่นคือการวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์  เมื่อราคาหลักทรัพย์เพื่อมขึ้น   ยิ่งราคาเคลื่นอไหวขึ้นเร็วเท่าไหร่ยิ่งมีโมเมนตั้มสูง เมื่อมันเริ่มช้าโมเมนตั้มก็จะลดลงด้วย  หลักทรัพย์จเริ่มเคลื่อนไหวน้อยลง ราคาจะลดลงจากราคา High ครั้งก่อน อย่างไรก็ตามการที่โมเมนตั้มลดลงจะต้องเข้าสู่ภาวะ Sideway ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะเข้าสู่ตลาดขาลงมันหมายความว่าโมเมนตั้มกลับบบเข้าสู่ภาวะปกติ

RSI


    Momentum indicator มีสูตรหลายแบบในการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคา  RSI (a momentum indicator) เป็นการเปรีบบราคาเฉลี่ยในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งกับการเปลี่ยนปลงเฉลี่ยของช่วงที่ราคาลดลง  ในกราฟ IBM   RSI ขึ้นมาจากเดือนตุลาและมาสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน ในช่วงนี้ราคาหุ้นขึ้นมาจากระดับ 60 เป็น 80  เมื่อหุ้นเทรดอยู่ในกรอบ Side Way ในช่วงเดือนธันวาคม RSI ลดลงค่อนข้างชัน(กรอบสีน้ำเงิน) ซึ่งการกระจุกตัวของราคาแบบนี้ใหนหุ้นค่อนข้างเห็นได้ทั่วไป และแกว่งตัวบริเวณ 70 เหรียญ ราคาเหมือนว่าจะทำท่าลดลง ถ้าRSI อยู่ราว ๆ ระดับ 50 และราคาเริ่มราบ Indicator จะไม่ลดลง เส้นสีเขียวในกราฟแสดงให้เห็นถึงกรอบ Sideway ของหุ้น  RSI ก่อตัวบริเวณตรงกลาง ราคาแบนราบและ Indicator แกว่งตัวบริเวณ 50

ข้อดีและข้อเสียของ Leading Indicators

    ข้อดีของ Leading indicator เห็นได้ชัด เช่น ให้สัญญาณการเข้าเทรดไว ซึ่งทำให้โอกาสในการเทรดนั้นมีความสำคัญมากขึ้น สัญญาณที่บอกมาก่อนนั้นยังแสดงให้เห็นถึงการเตือนถึงจุดอ่อนตัวและจุดแข็งของราคา เพราะว่ามันให้สัญญาณค่อนข้างมาก Leading Indicator สามารถใช้ในตลาดที่มีเทรนด์ แต่ว่าส่วนใหญ่จะใช้ในทิศทางเดียวกับเทรนด์ใหญ่ ในตลาดที่เป็นขาลง Indicator จะบอกเราได้ว่า จุดไหนคือ Overbought เพื่อจะสร้างโอกาสในการ Sell
ยิ่งสัญญาณที่เร็ว ยิ่งให้ผลตอบแทนที่สูงและแน่นอนว่ามีความเสี่ยงที่สูงตามมา แต่ก็หมายความว่าอาจจะมีสัญญาณหลอกเยอะขึ้นมาตามตัวด้วย สัญญาณหลอกจะเพิ่มโอกาสขาดทุนให้เรา แถมการแกว่งตัวที่รุนแรงของราคาอาจจะทำให้เราสูญเสียกำไรหากจิตใจเราไม่มั่นคงในการเทรด 


Lagging Indicators

    อย่างที่ชื่อของมันได้บอกไว้ Lagging indicators เกิดขึ้นตามสัญญาณพฤติกรรมราคา และเป็นเครื่องมือที่เทรดตามเทรนด์ ซึ่งน้อยครั้งที่เครื่องมือนี้จะชี้นำว่าราคาจะไปทางไหน เครื่องมือที่เกิดตามเทรนด์จะใช้เหมาะที่สุดตอนที่ราคาหลักทรัพย์นั้นมีเทรนด์ที่ชัดเจน มันถูกออกแบบมาเพื่อให้เทรดเดอร์ขี่เทรนด์ ดังนั้น เครื่องมือนี้จะใช้ไม่ได้ในช่วง Sideway ถ้าใช้ในตลาดแบบนั้นจะให้สัญญาณหลอกบ่อย ๆ เครื่องมือที่เป็นที่นิยมได้แก่ moving averages (exponential, simple, weighted, variable) และ MACD.


    กราฟข้างบนแสดงดัชนี  S&P 500 ($SPX)   พร้อมกับ Indicator Moving Average 20 และ 100 วันการใช้ Moving Average ในการให้สัญญาณ มีสัญญาณเกิดขึ้น 7 ครั้งตลอดระยะเวลา 2 ปี ซึ่ง 2 ปีนี้ระบบจะทำกำไรได้มหาศาล เนื่องจากเทรนด์ที่ชัดเจนตั้งแต่เดือน ตุลาคม ปี 1997-  สิงหาคม 1998 อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าเมื่อ Index เริ่มเคลื่อนไหว Side way จะเห็นราคาเคลื่อนไหวแกว่งตัวรุนแรงเริ่มขึ้น สัญญาณในเดือน พฤศจิกายน 1997 (Sell) สัญญาณเดือน  สิงหาคม 1999 (Sell)  สัญญาณเดือนกันยายน 1999  (Buy) ซึ่งถ้าใช้ MA ค่าสูงขึ้น เช่น 50 – 200 จะทำให้สัญญาณหลอกน้อยลง และถ้าใช้ MA ค่าต่ำ(10 -50) จุดทำให้สัญญาณหลอกมากขึ้น

ข้อดีและข้อเสียของ Lagging Indicators

    ประโยชน์อย่างหนึ่งของ Indicator ที่เป็น Trend Following คือความสามารถในการจับการเคลื่อนที่ของเทรนด์ที่เหลือ ซึ่งตลาดต้องเคลื่อนไหวเป็นเทรนด์ต่อเนื่องเครื่องมือประเภทนี้สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาลในการใช้ ยิ่งเทรนด์ยิ่งยาว ยิ่งทำให้สัญญาณหลอกยิ่งน้อยและการเข้าเทรดไม่มากด้วย
แต่ประโยชน์เหล่านี้จะหมดไปหากตลาดเคลื่อนไหวแบบแกว่งตัว  ในตลาด S&P500 ดัชนีดูเหมือนจะแกว่งตัวอย่างน้อย 50 % ของช่วงเวลาทั้งหมด แม้ว่าตลาดจะมีเทรนด์ในปี 1982-1999 ซึ่งมีการเคลื่อนไหว Sideway ชัดเจน จากช่วงเวลา 1964 – 1980 ดัชนีเทรดในช่วง 85 – 110
ข้อเสียอีกอย่างของ Indicator ประเภทนี้คือให้สัญญาณค่อนข้างช้า ซึ่งกว่าเส้น MA จะตัดกันราคาก็เคลื่อนไหวไปเรียบร้อยแล้ว ในเดือน Nov -1998 สัญญาณเกิดที่ 1130 และบางครั้งก็ให้จุดออกที่ช้าเช่นกันทำให้กำไรที่เหลือลดลง (Risk:Reward ไม่ดี)


ความท้าทายของ Indicator 

    สำหรับ Indicator ทางเทคนิค มีสิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยนคอความอ่อนไหวและการยืนระยะได้ยาว ในโลกแห่งความคิด เราอยากจะให้ indicator มันอ่อนไหวต่อการเคลื่อนไหวของราคา และให้สัญญาณเทรดก่อนราคาจะเคลื่อนไหวและสัญญาณผิดพลาดน้อยที่สุด ถ้าเราสามารถเพิ่มความอ่อนไหวต่อราคาของมันโดยลดจำนวนของแท่งที่นำมาคำนวณสัญญาณจะเร็วมากขึ้นแต่ว่าสัญญาณหลอกก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ถ้าเราลดการตอบสนองต่อราคาของมัน จำนวนสัญญาณผิดพลาดจะลดลงแต่ว่าสัญญาณเทรดก็จะช้าทำให้อัตรากำไรต่อความเสี่ยงไม่ดี

    ยิ่งใช้ค่า Moving Average มากเท่าไหร่ มันยิ่งตอบสนองต่อราคาได้ช้าเท่านั้น ยิ่งใช้ Moving Average เร็วมันยิ่งต่อสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เร็ว ซึ่งหลักการนี้ก็เป็นจริงใน Indicator ตัวอื่น ๆ อีกด้วย เช่น  RSI 14 จะให้สัญญาณน้อยกว่า RSI 5 และอ่อนไหวต่อราคามากกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเทรดเดอร์จะเลือกใช้ Time Frame ไหนที่เหมาะกับการเทรดของเขา


ประเภทของ Oscillator

    Oscillator  เป็น Indicator ประเภทหนึ่งที่เคลื่อนไหวในกรอบแกว่งตัวขึ้นลงเหนือเส้นตรงกลางหรือระดับที่เซ็ทไว้  Oscillators สามารถอยู่ในโซน overbought or oversold ได้เป็นเวลานาน แต่ว่าไม่ได้อยู่ตลอดไปในทางตรงกันข้าม ราคาสินทรัพย์หรือ indicator เช่น  On-Balance-Volume (OBV)  สามารถเคลื่อนไหวเป็นเทรนด์ได้ตามเท่าที่มันจะเกิดขึ้นใน Time Frame อันใดอันหนึ่ง


    อย่างที่เราได้เปรียบเทียบกราฟให้เห็น การเคลื่อนไหวของ Oscillator สามารถบอกเทรนด์ได้ว่ายั่งยืนหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นกราฟ Time Frame แบบใด  ในระยะเวลาร่วมกว่า 2 ปี  Moving Average Convergence Divergence (MACD) เคลื่อนไหวต่ำและสูงกว่าเส้น 0 ประมาณ 18 ครั้ง และจะเห็นว่าแต่ละครั้ง MACD จะไม่มีจุดต่ำสุดสูงสุดในกรอบการเคลื่อนไหวของมัน ขณะที่ OBV เริ่มจะมีเทนรด์ขาขึ้นในเดือนมีนาคม 2003 และเคลื่อนไหวเป็นขาขึ้นยาวปีถึงปีถัดไป การเคลื่อนไหวของมันไม่ได้บอกว่าจะเป็นเทรนด์ระยะยาว

    มี Oscillator หลายประเภท และบางอันอาจจะจัดอยู่ในหลายประเภท เราสามารถแบ่งประเภทได้เป็น 2 ประเภทคือ Centered Oscillator ซึ่งแกว่งตัวขึ้นหรือลงผ่านเส้นตรงกลาง และ Banded Oscillator ซึ่งแกว่งตัวผ่านเส้น Overbought และ Oversold  โดยทั่วไปแล้ว Centered oscillators เหมาะสำหรับการวิเคราะห์โมเมนตั้มของราคาและทิศทางของมัน ขณะที่ Banded Oscillator เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ Overbought และ Oversold


Centered Oscillators

    Centered oscillators จะแกว่งตัวสูงกว่าหรือต่ำกว่า เส้นตรงกลาง ซึ่ง Indicator เหล่านี้เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ความแข็งแกร่งของเทรนด์ เมื่อโมเมนตั้มอยู่ในทางบวก Oscillator จะอยู่สูงกว่าเส้นกลาง และโมเมนตั้มอยู่ในขาลง Oscillator จะอยู่ในแดนลบ

    MACD  เป็นตัวอย่างของ Centered oscillator ที่แกว่งตัวผ่านเส้น 0 และใช้ค่า EMA  12-day EMA และ 26-day EMA ของราคาสินทรัพย์  ยิ่ง Moving Average 2 ตัวนี้วิ่งแตกต่างกัน เทรนด์ยิ่งจะเกิดขึ้นต่อไป แม้ว่าจะไม่มีเส้นขอบสำหรับ MACD แต่ว่าการเคลื่อนที่แยกหากจากกันของเทรนด์ของเส้น MA ไม่ได้อยู่นาน


MACD

    MACD นั้นค่อนข้างให้สัญญาณช้าและสัญญาณเร็วอยู่ในตัว เพราะ Moving Average จะ Lagging และสามารถบอกเทรนด์ได้ อย่างไรก็ตามการใช้ MA ที่แตกต่างกัน สามารถใช้ MACD ในการบอกลักษณะของราคาที่นำเทรนด์ได้ แต่ว่าก็อาจจะช้าอยู่นิดหน่อย  การรวมเอาเครื่องมือทั้ง 2 ตัวเข้าด้วยกันทำให้มันพิเศษกว่า Indicator อื่น ๆ

ROC

    Rate-of-change (ROC) เป็น Centered oscillator ซึ่งแกว่งตัวสูงกว่าและต่ำกว่าเส้นศูนย์ เนื่องจากชื่อของมันที่บอกว่าเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลง มันบอกการเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลา ตัวอย่างเช่น 20 วันของ ROC จะสามารถวัดเปอร์เซ็นต์ของการเปลี่ยนแปลงราคาในระยะเวลา 20 วันยิ่งราคาแตกต่างกันมากระหว่างราคาปัจจุบันและราคา 20 วันที่แล้ว ยิ่งทำให้ราคา ROC Oscillator สูง เมื่อ Indicator มีค่ามากกว่า 0 อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาเป็นขาขึ้น เมื่อ Indicator ต่ำกว่า 0 ราคาเป็นขาลง


    ไม่ต่างกับ  MACD, ROC  จะไม่มีขอบบนขอบล่างมากำหนด ซึ่งทำให้มันยากที่จะบอกได้ว่าจุดนี้มัน Overbought หรือ Oversold กราฟ ROC บอกว่าราคาเหนือกว่า 20 $ หรือ -20 % แต่อัตราเปลี่ยนแปลง 20 % นี้จะไม่สามารถใช้ได้กันกับทุกสินทรัพย์ ซึ่ง Banded Oscillator สามารถให้การประเมินที่ดีกว่าตามการใช้ระดับต่าง ๆ

Banded Oscillators

    Banded oscillators แกว่งตัวสูงและต่ำกว่าจุดสูงสุดและต่ำสุดของระดับราคา เส้นระดับราคาด้านล่างคือ Oversold เส้นระดับราคาด้านบนเรียกว่า Overbought  และระดับราคาเหล่นี้อาจจะเปลี่ยนไปแตกต่างกันตามสินทรัพย์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้ง่ายในการวิเคราะห์เงื่อนไข ตัวอย่างของ Indicator แบบนี้คือ  Relative Strength Index (RSI)  และ  Stochastic Oscillator  เป็น 2 ตัวอย่างของ Band Oscillator  (หมายเหตุ: สูตรและเหตุผลข้างหลัง RSI และ Stochastic นั้นค่อนข้างซับซ้อนกว่า MACD และ ROC ดังนั้นจึงแยกไว้อีกบทความหนึ่งเกี่ยวกับการคำนวณ )

Stochastics/RSI


    สำหรับ  RSI สามารถบอก Overbought และ Oversold จะตั้งค่าไว้ที่ประมาณ 70 :30 และการที่ค่าสูงกว่า 70 ตีความได้ว่าอยู่ในโซน Overbought ขณะที่ระดับ Indicator อยู่ในโซน 30 จะอยู่ในโซน Oversold  ส่วน  Stochastic Oscillator  ค่าที่สูงกว่า 80 คือค่า Overbought และค่าที่ตำกว่า 20 คือค่า Oversold อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าจะต้องตั้งค่าตามนี้ บางสินทรัพย์อาจจะใช้ไม่ได้ การปรับเปลี่ยนนั้นจึงเหมาะสมตามความชอบของเทรดเดอร์มากกว่า
ส่วนใหญ่ Indicator นี้จะแกว่งตัวในกรอบที่จำกัดไว้แต่ไม่ใช่ indicator ทั้งหมด  Relative Strength Index (RSI)  เป็น Indicator ที่แกว่งตัวภายใต้กรอบ 0-100 แจะจะไม่สูงหรือต่ำกว่านั้น Stochastic ก็เช่นกัน อย่างไรก็ตาม Commodity Channel Index (CCI)  เป็นตัวอย่างหนึ่งของ indicator ที่กำลังจะกล่าวถึง


CCI


ข้อดีและข้อเสียของ  Centered และ Banded Oscillators

    Centered oscillators  เหมาะสำหรับการการบอกทิศทางและความแข็งแกร่งของราคา พูดได้กว้าง ๆ ก็คือค่าที่สูงกว่าค่ากลางเป็นการบอกเทรนด์ขาขึ้น ค่าที่แตกต่างกันมากของ Banded Oscillator จะช่วยให้มันบอกจุดแพงจุดถูกว่า Overbought หรือ Oversold


ลิขสิทธิ์ traderider.com
ผู้แปล Mamay