กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้งาน Correlation Coefficient

  • 0 replies
  • 4,437 views
การใช้งาน Correlation Coefficient
« เมื่อ: 07, ธันวาคม 2016, 06:06:22 PM »
การใช้งาน Indicator Correlation Coefficient
ลิขสิทธิ์ Traderider.com
ผู้แปล Mamay

บทนำ
    Correlation Coefficient  เป็นค่าทางสถิติ(บ้านเราเรียนสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์) ซึ่งสะท้อนความสัมพันระหว่าง 2 ค่าเงิน หรืออีกแง่หนึ่ง ค่านี้บอกเราว่าหลักทรัพย์ตัวหนึ่งนั้นมีความสัมพันธ์กับอีกตัวหนึ่งมากขนาดไหน ค่า The Correlation Coefficient เป็นค่าบวกเมื่อ 2 หลักทรัพย์นั้นเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่เมื่อ Correlation Coefficient เป็นค่าลบแสดงว่า 2 หลักทรัพย์นั้นเคลื่อนไหวตรงข้ามกัน การตัดสินความสัมพันธ์ระหว่าง 2 หลักทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตลาด ระหว่างหุ้นหรืออุตสาหกรรม และอุตสหกรรมที่มีต่อตลาด ตัวชี้วัดนี้สามารถช่วยนักลงทุนในการกระจายการลงทุนโดยการวิเคราะห์ค่าหลักทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กับตลาดต่ำ

การคำนวณ

    การคำนวณค่า Correlation Coefficient นั้นค่อนข้างทรัพย์ซ้อนแต่คุณก็สามารถข้ามช่วงนี้ไปได้เลย เราจะมองมันอย่างง่าย  ๆ ในวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อนนั้น เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่เป็นหัวใจสำคัญในการวิเคราะห์ทางสถิติ อันดับแรกให้เลือก 2 หลักทรัพย์ ในตัวอย่างนี้เราใช้ Intel (INTC) และ  Nasdaq 100 ETF (QQQ)  หรือเรียกอีกแบบว่าเราต้องการดูระดับความสัมพันธ์กันของ Intel และ  QQQ ตารางข้างล่างแสดงการคำนวณ


   ช่อง INTC แสดงราคา Intel ตลอด 20 วันพร้อมกับค่าเฉลี่ยด้านล่าง
   ช่อง  QQQ แสดงราคา 20 วันพร้อมค่าเฉลี่ย  QQQ ด้านล่าง
   อีก 2 ช่องแสดงราคายกกำลังสอง พร้อมกับค่าเฉลี่ยด้านล่าง
   ช่องสุดท้ายแสดง  INTC คูณด้วย  QQQ  ของแต่ละช่วงพร้อมกับค่าเฉลี่ยด้านท้ายตาราง


    การใช้ช่องสุดท้าย เราสามารถคำนวณ  Variance, Covariance และค่า Correlation Coefficient  สูตร Excel แสดงด้านล่างสุด และช่วงเวลาที่เราเลือกคือ 20 วัน ตั้งแต่ June 22nd ถึง  July 20th  หุ้น Intel แสดงให้เห็นถึงค่าความสัมพันธ์ที่เป็นบวกอย่างชัดเจน (+.95) พร้อมกับ  Nasdaq 100 ETF



การตีความ


    ค่า  Correlation Coefficient ผันผวนระหว่าง -1 และ  +1  มันไม่ใช่  momentum oscillator  แทนที่มันจะเคลื่อนจากบวกไปหาลบ มันบอกถึง ค่าความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน ค่า. +1 is ถือว่าเป็นค่าที่เคลื่อนไหวเหมือนกันอย่างสมบูรณ์แบบในทิศทางเดียวกัน ระดับของค่าความสัมพันธ์นั้นจะแตกต่างกันไปตามเวลา หุ้นน้ำมันและ ราคาน้ำมันจะมีความสัมพันธ์กันแทบจะตลอดเวลา ตัวอย่างข้างล่างแสดลห้น Energy SPDR (XLE)  พร้อมกับราคา  Spot Light Crude ($WTIC) ไม่แปลกใจเลยที่ค่า 20-day Correlation Coefficient นั้นเป็นค่าบวกมากกว่า +.75 มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนระหว่างหลักทรัพย์ 2 คู่ โดยทั่วไปแล้วค่าเกิน .50 ก็ถือว่าเยอะมากแล้ว 


    ณ จุด  -1  ถือว่าเป็นจุดที่ความสัมพันธ์ตรงข้ามกันอย่างสมบูรณ์แบบ ค่าระหว่าง 0 – 1 นั้นบอกว่าหลักทรัพย์จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกัน ระดับความสัมพันธ์นั้นแตกต่างกันไปตามเวลา ราคาทองและราคาดอลล่าร์เป็น 2  หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายนี้ กราฟข้างล่างแสดง Spot Gold Spot ($GOLD) พร้อมกับ  US Dollar Index ($USD) แม้ว่า  Correlation Coefficient จะอยู่ในช่วงบวกอยู่บ้างแต่ส่วนใหญ่จะอยู่แดนลบ หรือพูดง่าย ๆ ถ้ามันมากกว่า-.50  แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงลบที่ชัดเจน


การกระจาย

    ค่า  Correlation Coefficient สามารถใช้ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ในการทำพอร์ทที่มีการกระจาย ไม่แปลกใจเลยว่า กลุ่ม 9 กลุ่มใน S&P sectors นั้นส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับ  S&P 500  อย่างไรก็ตามบางอันนั้นมีความสัมพันธ์มากกว่าอันอื่น เช่น Technology ETF (XLK) และ Consumer Discretionary SPDR (XLY) ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ  S&P 500 มากกว่า 3 ปี ซึ่งค่า  Correlation Coefficients ใช้เวลา 90 วันในการคำนวณ   consumer discretionary sector นั้นลดต่ำกว่า .50 เพียงครั้งเดียวในรอบ 3 ปี  หุ้นเทคโนโลยีไม่เคยลดลงต่ำกว่า .50  เนื่องจากหุ้นกลุ่มนี้สัมพันธ์กับตลาด ในทางกลับกัน ค่า  Correlation Coefficient สำหรับกลุ่ม  consumer staples sector ลดต่ำกว่า .50 ไม่กี่ครั้งและค่า  Correlation Coefficient สำหรับ  utilities sector นั้นต่ำกว่า 0 สองครั้ง เครื่องมือนี้แสดงว่าหมวด  consumer staples และ  utilities sectors นั้นมีความสัมพันธ์น้อยเมื่อเทียบกับ   S&P 500  น้อยกว่า กลุ่ม  consumer discretionary และกลุ่ม technology sector


    ในการที่จะกระจายหุ้น มันจำเป็นจะต้องดูภาวะตลาดด้วย กราฟข้างล่างแสดง ETFs 4 ตัวที่มีค่าความสัมพันธ์ – ในแต่ละช่วงกับหุ้น (SPY) สังเกตุว่าค่า  Correlation Coefficients ลดต่ำกว่า 0 หลายครั้ง ในตัวอย่างนี้  ผมใช้  50-day Correlation Coefficient ส่วนค่า ของ  20+ year Bond ETF (TLT)  แสดงพันธบัตร ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางลบกับหุ้นส่วนใหญ่  ราคา  Gold (สีแดง) เคลื่อนไหวระหว่างค่าบวกและค่าลบ ในภาพรวมแล้ว มันมีค่าบวกมากกว่าค่าลบในตลอด 3 ปี  Yen Trust (สีเขียว )  ปรากฏการแบ่งระหว่างค่าบวก กับค่าลบ  แต่ที่น่าแปลกใจ เมื่อ US Dollar Fund (UUP) แสดงค่าความสัมพันธ์ที่เป็นทิศทางเดียวกับตลาด


สรุป

    ค่า Correlation Coefficient บอกเราถึงความสัมพันธ์ระหว่าง 2 หลักทรัพย์ ในช่วงเวลาหนึ่ง หลักทรัพย์ 2 หลักทรัพย์เคลื่อนไหวไปทิศทางเดียวกัน พร้อมกับ  Correlation Coefficient ซึ่งเป็นค่าบวก ในทางกลับกัน ค่าหลักทรัยพ์สองหลักทรัพย์จะเคลื่อนไหวตรงข้ามกันเมื่อค่าเป็นลบ ตัวอย่างข้างบนแสดงตัวอย่างการคำนวณ  20-day  และ  50-day Correlation Coefficient การคำนวณที่ใช้เวลายาวกว่านั้นอาจจะใช้ 150 หรือ  250 days (1 ปี) เพื่อให้ได้เส้นที่สมูทขึ้นในระยะยาว


ลิขสิทธิ์ Traderider.com
ผู้แปล Mamay