กองทุน SPDR Gold Shares

ประจำวันที่

เวลา ครั้งที่ ก่อนหน้า ถือล่าสุด เปลี่ยนแปลง
- - - - -
รวมวันนี้-
เดือนนี้ - : 
ปีนี้  : 

*หน่วยตัน / อ้างอิงจาก SPDR Gold Share

ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ ครั้งที่ เวลา น.

ชนิดทองคำ รับซื้อ ขายออก
ทองคำแท่ง 96.5% - -
ทองรูปพรรณ 96.5% - -
รวมวันนี้-
เปลี่ยนแปลงล่าสุด-

*หน่วยเงินบาท / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ

ธุรกิจกับการลงทุน ทำอะไรดีกว่ากัน

  • 2 replies
  • 1,616 views
*

Numay

ธุรกิจกับการลงทุน ทำอะไรดีกว่ากัน
« เมื่อ: 18, มีนาคม 2016, 02:21:28 PM »
ธุรกิจกับการลงทุน ทำอะไรดีกว่ากัน


หากใครได้ติดตามอ่านบทความของผู้เขียนในบทแรก ๆ จะพบว่าผู้เขียนไอ้อธิบายแนวคิดคร่าว ๆ ของการลงทุนและการทำธุรกิจคร่าว ๆ ไว้ ในบทนี้จะทำการยกตัวอย่างของสถานการณ์การลงทุนและการทำธุรกิจว่าแตกต่างกัน หรือเหมือนกันอย่างไร ผู้เขียนคงไม่สามารถเปรียบเทียบบอกให้ได้ว่าอันไหนจะดีกว่าอันไหนโดยตรง ทั้งนี้เพราะมันยากที่จะทำการเปรียบเทียบเนื่องจากบริบทมันไม่เหมือนกันจึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ตัวอย่างเช่น แพทย์สองคนมีความฉลาดใกล้เคียงกัน และรักษาคนไข้ Case ใกล้เคียงกันมีความคล้ายคลึงกันทุกประการณ์ ผลการรักษาว่าใครจะเก่งกว่าใคร ต้องวัดผลว่าคนไข้คนไหนมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ากัน โดยควบคุมปัจจัยอื่น ๆ ทั้งหมดเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้  แต่ในโลกของความเป็นจริงแทบจะไม่มีเลย ในการที่ของสองสิ่งตามธรรมชาติจะมีลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะตัวที่ต้องเปรียบเทียบ (Nominator) หรือตัวใช้เป็นหลักเปรียบเทียบ ( Denominator) ซึ่งกรณีนี้คือ คนไข้ และหมอ เพราะคงไม่มีหมอที่ฉลาดเท่าเทียมกันทุกประการ คงไม่มีหมอที่มาจากพื้นเพเหมือนกัน ไม่ได้มีนิสัยที่ละม้ายคล้ายกัน  หรือคนไข้ก็ไม่ได้มีสภาพร่างกายเหมือนกันเช่นกัน เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะเห็นว่า ในการทำธุรกิจหรือการลงทุนเช่นกัน  การทำธุรกิจกับการลงทุนแตกต่างกันเพียงแค่มุมมอง จุดที่เรามองออกมา การทำธุรกิจเป็นมุมมองของผู้บริหารกิจการแห่งวิสัยทัศน์ของการพัฒนา  ขณะที่นักลงทุนเป็นการมองในตัวผู้บริหารว่า มีความสามารถที่จะพัฒนาธุรกิจให้รุ่งเรืองได้มากขนาดไหน เหมาะแก่การเอาเงินไปลงทุนในกิจการที่ผู้บริหารธุรกิจบริหารอยู่มากขนาดไหน

เมื่อเรามองแบบนี้ เราจะเห็นว่าบทบาทที่แตกต่างกันนี้ควรจะพิจารณาจากอะไร การพิจารณาว่าจะเป็นนักลงทุนหรือนักธุรกิจนั้นต้องพิจารณาจากตัวเราเป็นหลักเพราะว่า นิสัยบางคนเหมาะแก่การเป็นนักธุรกิจ  หรือนิสัยบางคนเหมาะสำหรับการเป็นนักลงทุนมากกว่า สิ่งที่ผู้เขียนกล่าว มีทฤษฎีความเสี่ยงอ้างอิงว่า เราเหมาะที่จะเป็นนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดไหน  ภายใต้สมมุติฐาน ที่ว่า เมื่อความเสี่ยงมากผลตอบแทนยิ่งมากเข้าไปด้วย  หากท่านไปซื้อกองทุนหรือลงทุนในหุ้นโบรคเกอร์หรือบริษัทนายหน้าจะถามเสมอว่าท่านยอมรับความเสี่ยงได้ระดับใด นั่นเป็นสิ่งที่จะต้องเจอไม่ว่าในโลกธุรกิจหรือการลงทุนมันคือ สไตล์ส่วนบุคคลมากกว่า

---------------------------------------------------------------------------
1. สมมุติฐานคือ การตั้งกระทู้ถามว่าสิ่งที่เราต้องการหาคำตอบนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งจริงหรือไม่จริงเป็นเพียงนามธรรมที่ต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐานการหาคำตอบด้วยเหตุผลและวิธีการที่มีหลักการที่ยอมรับได้ การหาคำตอบที่ใช้ Model เชิงคณิตศาสตร์เชิงปริมาณ (Quant) อย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะบางมิติตอนนี้ยังไม่สามารถวัดได้ในเชิงตัวเลข เช่น อารมณ์  ลักษณะนิสัย
  2.ภายหลังจาก Markowitz theory ได้นำเสนอแนวคิดทฤษฎีการจัดการพอร์ทสมัยใหม่(Modern Portfolio Theory)  มุมมองความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ความเสี่ยงกับผลตอบแทนไม่ได้สัมพันธ์กันมาก (Absolute correlation)

ลักษณะนิสัย

ลักษณะนิสัย เป็นส่วนที่สำคัญมากในการกำหนดว่าเราจะเป็นนักธุรกิจหรือนักลงทุน ในหนังสือของ Steve Jobs ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสได้อ่าน พบว่า ลักษณะนิสัยของ Steve Jobs เป็นลักษณะคนที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง มีความเชื่อมั่น มีรสนิยม มีความเป็นผู้นำ มาตรฐานสูง และมีความทรนงในตัวเอง  สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการทำธุรกิจ อย่างไรก็ตามการเป็นคนมีบุคลิกเหล่านี้ ย่อมมีด้านเสียตามมา แต่ผู้เขียนคงไม่พูดถึง ในหนังสือของสตีฟ มีเนื้อความหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนจำถ้อยความได้ไม่ถนัด ใจความประมาณว่า หลังจากที่เขาตัดสินใจออกผลิตภัณฑ์ใหม่ (IPOD) ซึ่งยังไม่ได้เริ่มผลิต มีบริษัทการตลาดมานำเสนอการวิจัยตลาดให้เขาว่า เพื่อลดความเสี่ยง บริษัทสามารถสำรวจความนิยมของผู้บริโภคจะตอบรับกับผลิตภัณฑ์ใหม่นี้มากน้อยแค่ไหน  สิ่งที่สตีฟ ตอบไปทำให้ผู้เขียนรู้สึกทึ่งกับคำตอบก็คือ  "คนเหล่านั้นเขายังไม่เคยเห็นผลิตภัณฑ์ของผมด้วยซ้ำ เขาจะประเมินได้ยังไงว่ามันดีหรือไม่ดี" ซึ่งมันจริงเอามาก ๆ ในทัศนะของผู้เขียน ผลิตภัณฑ์ที่ดี มีรสนิยมในตัวเอง มีความสามารถที่ล้ำสมัย คนใช้ไม่รู้หรอก เพราะคนใช้ยังจินตนาการไม่ออกเลยด้วยซ้ำว่ามันจะมีอะไรขนาดนี้ เขาจะประเมินในสิ่งที่เขายังไม่เคยเห็นได้อย่างไร นี่เป็นลักษณะนิสัยที่สำคัญที่เราจะพบในนักธุรกิจ  แต่ผู้เขียนคงยังไม่สามารถจะอธิบายได้มาก เพราะไม่ได้เกี่ยวกับหัวข้อมากนัก 

อีกด้านหนึ่ง ความเป็นนักลงทุน หากพูดถึงความเสี่ยงที่ว่า ในกรณีตัวอย่างของ IPOD ของสตีฟ จ็อบส์ หากผลิต IPOD ขึ้นมาแล้วขายไม่ออกเท่ากับเอาเงินไปทิ้ง ต้องทำการตลาด การมองในแง่นี้คือ การมองแบบการกลัวความเสี่ยงมากเกินไป หรือก็คือรัดกุมเกินไป แต่เราจะบอกว่านักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจะต้องอนุรักษณ์นิยมหรือต้องคิดคำนวณมากเป็นพิเศษก็ไม่ได้  เพราะนักลงทุนก็ต้องกล้าตัดสินใจในโอกาสเช่นเดียวกับที่สตีฟ จ็อบส์ทำเช่นกัน เพียงแต่นักลงทุนต้องพิจารณาในแง่ของการกระจายความเสี่ยง ร่วมด้วย เพราะไม่ได้มีผลิตภัณฑ์เดียวให้เลือกลงทุน เมื่อกล่าวถึงตรงนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึง นอกจากลักษณะนิสัยของผู้ลงทุนหรือนักธุรกิจแล้วก็คือ ขนาดเงินทุน ขนาดของเงินทุนจะไปเกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำกำไรและการรับความเสี่ยงได้อย่างมาก

ขนาดของเงินทุน

ขนาดของเงินลงทุนนั้นเป็นสิ่งที่จะกำหนด สไตล์การทำธุรกิจได้อย่างมีอิทธิพล  ในธุรกิจที่ Start up ต่ำ ๆ เช่น ร้านขายเสื้อผ้าขนาดเล็ก ร้านขายของมือสองที่ลงทุนหลักพันบาท หรือการขายเครื่องสำอางค์ออนไลน์ ที่เริ่มต้นไม่กี่พันบาท ผู้ทำธุรกิจมีแน้วโน้มว่าจะสามารถยอมรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทั้งก้อนได้มากกว่า

---------------------------------------------------------
3. Modern Portfolio Theory จะถูกกล่าวในบทเรียนขั้นกลาง ซึ่งเป็นช่วงท้ายของบทความ ในบทความจะไม่มีบทเรียนขั้นสูงเพราะการจะเขียนเนื้อความขั้นนั้นได้ผู้เขียนคงต้องมีความสามารถในระดับขั้นสูง ซึ่งผู้เขียนคงไม่อาจเอื้อมถึงปานนั้น

เช่น ร้านเสื้อผ้า หากทำไปสักพักแล้วขายไม่ออก ขาดทุนจนหมดก็ไม่เสียดายเงินมากนัก  หากเราลองเปลี่ยนเป็นธุรกิจขายเสื้อผ้าขนาดใหญ่ โรงงาน หรือ Garment ที่ลงทุนขนาด 10 ล้าน ใครจะยอมเสียเงินก้อนนั้นไปง่าย ๆ  หล่ะ สมมุติว่ากู้มาลงทุน 10 ล้าน ถ้าหากพลาดแล้วย่อมเสียหายมหาศาลจนยากจะกลับมาได้อีก เช่นนี้แล้ว การให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่จะยอมรับได้จึงเกี่ยวกับขนาดการลงทุน 
ด้วยเหตุนี้เมื่อลองเอาลักษณะนิสัยที่ผู้เขียนได้กล่าวมาในตอนแรก เปรียบเทียบระหว่างนักธุรกิจที่ผลิต IPOD เพื่อขายและมีความมั่นใจ หากเสียก็คือเสียทั้งก้อนหายไปหมดเลยจำนวน 10 ล้าน  หรือ ท่านจะลองแบ่งเงินไปลงทุนใน Software ของวินโดว์ด้วย เพื่อกระจายโอกาสที่จะขาดทุนจากสองผลิตภัณฑ์ออกไป ใครจะรู้ วินโดวส์อาจจะไปรุ่งก็ได้ หรือเลือก IPOD อย่างเดียว เป็นผู้อ่าน ผู้อ่านจะเลือกแบบไหน?
ทั้งสองแบบไม่สามารถบอกได้ว่าใครจะเป็นนักลงทุนหรือนักธุรกิจ เพราะนักลงทุนที่กล้าได้กล้าเสีย มีนักธุรกิจที่ขี้กลัวมาก ๆ เช่นกัน แต่ว่ากระทบกับกำไรที่ท่านจะได้ขึ้นมาแน่นอน ในมุมมองของความเสี่ยงผู้เขียน คงจะเขียนไว้คร่าว ๆ ตรงนี้ แต่ยังไม่ลงลึกมากนักเพราะผู้อ่านคงต้องติดตามในบทเรียนขั้นกลางนู่นนนน แต่ผู้เขียนจะกล่าวไว้คร่าว ๆ ในหัวข้อต่อไปนี้

เสี่ยงหรือไม่เสี่ยง


ในเรื่องความเสี่ยงผู้เขียนจะเปรียบเทียบสองมุมมองคือ มุมมองการกระจายความเสี่ยงกับการที่ Focus ที่ความเสี่ยง เคยมีคำกล่าวที่ว่า(ไม่รู้ใครกล่าว)  "ใส่ไข่ไว้ในตระกร้าหลาย ๆ ใบเวลาแตกจะไม่ได้แตกหมดพร้อมกัน" หรือ "ใส่ไว้ในเดียวกันทั้งหมดอย่าให้มันแตกเด็ดขาด" คำกล่าวนี้ค่อนข้างเป็นคำกล่าวที่ลึกซึ้งถึงขั้นเป็นปรัชญาตัวอย่าง มุมมองของธุรกิจที่มีความมั่นใจหากเขาบอกว่า เขารู้จักผลิตภัณฑ์ของเขาดีว่ามันดีแค่ไหน ดีกว่าคู่แข่งอย่างไร เขาย่อมรู้ดีว่าจะขายได้หรือไม่ เพราะเขาเป็นคนทำมันมากับมือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเขาจึงรู้ดีว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเสี่ยงหรือไม่ เพราะเขาทราบในรายละเอียดทั้งหมด  ขณะที่นักลงทุนไม่รู้รายละเอียดมากนักเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่บริษัทได้ผลิตขึ้น จึงขอกระจายการลงทุนไปยังผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นี่เป็นจุด Climax ของความแตกต่างของธุรกิจและการลงทุนที่นักธุรกิจจะมีความได้เปรียบมากกว่านักลงทุน ขณะที่นักลงทุนทำได้แค่ให้ความเชื่อมั่นในการบริหารของผู้บริหารเท่านั้น ตัวอย่างคลาสสิคคงไม่พ้น ไข่ในตระกร้า ที่หากพ่อค้าไข่หากต้องผ่านถนนแห่งหนึ่ง ซึ่งความขรุขระนั้นทำให้ไข่แตกได้มาก ในทุกวันพ่อค้าจะขนไข่สิบแผงผ่านเส้นทางนี้ทุกวันและไม่มีเส้นทางอื่น หากขน 10 รอบจะมี 4 รอบที่ไข่จะแตก นั่นคือขนครั้งละ 1 แผงจะได้ไข่รอดแน่ ๆ ตามสถิติ 6 แผง ขณะที่อีกคนบอกว่า "ไม่เอา ฉันจะขน 10 แผงในรอบเดียว หากเจอในรอบที่ไข่ไม่แตก มันก็จะไม่แตกเลย ไข่มันอยู่ในมือเรา ทำไมเราจะไม่รู้ว่าไข่จะแตกไม่แตก" กรณีนี้ไม่มีความแตกต่างใด ๆ เลยกับแนวคิดที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น

เงินน้อยหรือเงินมากดี

ถ้าว่ากันตามหลักที่ผู้เขียนได้กล่าวอ้างมาแล้ว สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เกี่ยวกับโลกของธุรกิจและการลงทุนคือ ขนาดเงินที่มี  หากเราลงทุนในธุรกิจเสื้อผ้าครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ก็ขาดทุนครั้งละเล็กละน้อย มันก็เป็นการขาดทุนที่มหาศาลได้ ฉะนั้น การยอมรับที่ว่า เงินทุนน้อยยอมรับความเสี่ยงได้มากกว่า โดยไม่แคร์ว่าจะเสียเงินครั้งละมาก ๆ แต่ก็เสียอยู่นั่นแหละ จึงเป็นความคิดที่ผิดในทัศนะผู้เขียน ไม่ว่าเงินมากหรือเงินน้อย สิ่งที่ควรจะต้องระลึกเสมอคือ ถ้าหากเราขาดทุนจนหมดจะทำยังไง? นั่นคือสิ่งที่ผู้อ่านต้องหาคำตอบสำรองไว้ ส่วนมากเราไม่เคยคิดกันหรอก ผู้เขียนคงได้แต่เตือนไว้เท่านี้ เพราะมือใหม่ย่อมไม่ค่อยเข้าใจประสบการณ์แน่นอน ท้ายที่สุดจะมีคำถามที่ว่า แล้วมันจะใช้ได้จริง ๆ หรือจากการคำนึงถึงข้อหลาย ๆ ข้อที่ได้กล่าวมา คือ ลักษณะนิสัย  จำนวนเงินทุน  ความเสี่ยง ทั้ง 3 อย่าง ผู้เขียนคงบอกไม่ได้เพราะ 3 ข้อแรกที่กล่าวมานั้นยังไม่สามารถตอบข้อ 4 ได้ว่าควรใช้เงินน้อยหรือเงินมากดี  มันขึ้นอยู่กับอะไร?   นั่นคือความรู้ยังไงหล่ะ  ความรู้คือภาวะที่เราเข้าใจ ไม่ว่าจะมาจากการตรึกตรอง การอ่าน การฟัง หรือประสบด้วยตัวเอง ก็เรียกว่าความรู้ทั้งนั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไปตามมนุษย์แต่ละคน

ในการขนไข่ที่ผู้เขียนกล่าวถึง ถ้าหากว่าคนมีความรู้และประสบการณ์ย่อมสามารถทำได้ดีและมีโอกาสสูงกว่าที่จะผ่านไปได้ บางคนอาจจะประดิษฐ์เครื่องมือรองรับกันกระแทกให้ไข่ ป้องกันการคว่ำของรถขนไข่ หรืออะไรก็แล้วแต่เช่นพัฒนาถนนให้มันดีขึ้น การฝึกทักษะการขับ อะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือประสบการณ์ เมื่อก่อนนานมาแล้ว ผู้เขียนได้มีโอกาสได้ไปนั่งคุยกับชาวเรือ แถวอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  และถามว่า "คนขับเรือขนสินค้าล่องแม่น้ำโขงจะรู้ได้ยังไงว่า ตรงไหนตื้นลึก ตรงไหนมีร่องน้ำผ่านไปได้ เขามีโซน่าหรือ?"  ชาวบ้านที่ตอบหัวเราะกับคำถามของผู้เขียน "ฮ่า  ๆ ๆ ๆ หนู มันไม่มีหรอกหรอกประสบการณ์ล้วน ๆ มีนะมี เรือที่เอาโซน่ามา ไปติดสันดอนทรายตรงนั้นหน่ะ" พูดพลางพร้อมชี้มือไปให้ เขาบอกว่า มันมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ทั้งเรื่องน้ำขึ้นน้ำลง ความแรง กระแสน้ำ ฤดูกาล มันเปลี่ยนไปได้ทั้งนั้นแหละ สิ่งเหล่านี้ล้วนอาศัยประสบการณ์ และในเมื่อปัจจัยนี้คือความรู้ เท่าไหร่ดี ควรจะให้ความสำคัญกับอะไรก็คงจะต้องสามารถตัดสินใจได้ หัวข้อไหนที่ผู้เขียนกล่าวมาดีที่ควรจะให้ความสำคัญในการเริ่มการลงทุนหรือธุรกิจ ก็คงต้องเป็นไปตามความรู้ประสบการณ์

ผู้อ่านบางท่านอาจจะเห็นว่ามันไปเกี่ยวกับการเทรดตรงไหน ผู้เขียนขอกล่าวสั้น ๆ โดยสรุปดังนี้ อะไรก็ตามมันก็เหมือนกันหมดนั่นแหละ ลักษณะนิสัยเรา ในการเทรดบางคนก็มุทะลุ เทรด Lot หนัก ๆ บางคนก็กลัวจนใส่ Lot น้อย ๆ บางคนได้กำไรจนติดใจ ก็เทรดมากจนเกินไป หาโอกาสเทรดอยู่นั่นแหละ
ในด้านความเสี่ยงบางคนก็ต้องเลือกว่า จะกำไรแค่ 5 % ต่อปี แต่ไม่ล้างพอร์ท แต่ก็เป็นการยากที่จะสามารถทำให้พอร์ทโตได้หรือถ้าต้องเลือกให้พอร์ทโตเร็ว ก็ต้องศึกษาแนวคิดธุรกิจ มีนิทานเซ็นเรื่องหนึ่งอยากให้ผู้อ่าน ชื่อเรื่องว่า "ยิ่งเร็วนั่นแหละยิ่งช้า" ใจความประมาณว่าการใจเร็วด่วนได้จะทำให้เกิดปัญหามากกว่าที่จะทำให้งานไปเร็ว เรื่องนี้ใช้กับความเสียงได้ดี ล้างพอร์ทครั้งละน้อยก็จริงแต่ล้างบ่อยครั้งก็เป็นเงินมหาศาลอยู่ แต่ไม่ล้างเลย แม้แต่ครั้งเดียวก็ทำให้เรากลัวเกินไป ไม่กล้ามีความคิดสร้างสรรค์ คิดทำกำไร อยู่แต่ในกรอบ ไม่สรรหาวิธีการใหม่ ๆ


ท้ายที่สุดเรื่องของขนาดของเงินทุน สิ่งที่ผู้เขียนกล่าวไว้เมื่อกี้คือ เป็นเทรดเดอร์ต้องเจอกับการล้างพอร์ทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง แต่อย่าให้มันมากจนเสียหายแบบไม่คุ้มค่า  ไม่ว่าจะเป็นการเทรดวิธีการใดก็ตาม การล้างพอร์ท (Margin Call) ให้ผลเสียหลายด้าน เช่น  ทำให้เราเกิดความเคยชินว่าเป็นเรื่องธรรมดา  ทำให้เราค้นหาแต่วิธีการที่จะทำให้ได้กำไรร้อยเปอร์เซ็นต์ เสียเวลาและทรัพย์สิน ผู้จัดการกองทุนที่ดีอาจจะต้องมีคำว่าเคยโดน Margin Call อยู่บ้าง แต่ต้องไม่โดน นั่นคือหัวใจของการลงทุน "ห้ามล้างพอร์ท!"

*

admin

  • 81,706
Re: ธุรกิจกับการลงทุน ทำอะไรดีกว่ากัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20, มีนาคม 2016, 11:43:28 PM »
ขอบคุณครับ สำหรับบทความดีๆ
(TH)**
"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"

*

pitakllll

Re: ธุรกิจกับการลงทุน ทำอะไรดีกว่ากัน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 28, มิถุนายน 2016, 07:11:07 PM »
 **tk** **tk** **tk** **tk** **tk**