กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

📊ATR (Average true range) คืออะไร?

  • 0 replies
  • 234 views
📊ATR (Average true range) คืออะไร?
« เมื่อ: 09, กุมภาพันธ์ 2024, 01:03:17 PM »

อินดิเคเตอร์ ATR หรือ Average true range เป็นอินดิเคเตอร์ที่บอกความผันผวนของการเคลื่อนของราคาในช่วงเวลาที่กำหนด ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์ที่ดีมากๆ อีกตัวหนึ่ง แต่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันสักเท่าไหร่ ด้วยเหตุที่ว่าอินดิเคเตอร์ ATR ตัวนี้ไม่ใช่ อินดิเคเตอร์ ที่ใช้สำหรับการสังเกตแนวโน้มของราคา และไม่ใช่อินดิเคเตอร์ที่ใช้เป็นจุดเข้าเทรดได้ เพราะโดยเทรดเดอร์มักจะมองหาตัวช่วยที่สามารถบ่งบอกจุดซื้อ ขายตรงจุดไหนถึงจะได้กำไรมากกว่า

ซึ่งสิ่งสำคัญในการเทรดไม่ได้มีแค่กำไร ขาดทุนเท่านั้น เรายังต้องรู้สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างในการเทรดก็คือ การกำหนดจุดตัดขาดทุน (stop loss) และ จุดปิดทำกำไร (take profit) ที่จุดไหนกันด้วยนั่นเอง เทรดไรเดอร์ก็จะมาบอกวิธีการใช้งานอินดิเคเตอร์ ATR ที่จะมาตอบโจทย์การเทรดของเราในเรื่องของการกำหนดจุด TP , SL กันครับ


ATR เป็นอินดิเคเตอร์ที่ถูกพัฒนาโดย J.Welles Wilder ซึ่งยังมีอินดิเคเตอร์ดีๆอีกหลายตัวที่นักพัฒนาคนนี้ได้สร้างขึ้นมาอย่าง RSI , Parabolic SAR ด้วย สามารถมั่นใจได้เลยว่า ATR จะต้องเป็นอินดิเคเตอร์ที่สามารถตอบโจทย์การเทรดของเราได้อย่างแน่นอนเลยครับ

เราสามารถเปิดใช้เครื่องมือ ATR ใน MT4,MT5 ได้เลย โดยเข้าไปที่ Insert > Indicator > Oscillators > Average true range ค่า Period ให้ตั้งเป็นค่ามาตรฐานที่ 14 ครับ ส่วน timeframe ก็จะใช่เป็น Timeframe ใหญ่ๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของตลาดได้ดี และเราสามารถเปลี่ยนสีของเส้นตามความถนัดของเราเลยครับ

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักการทำงานของเครื่องมือกันก่อน โดยค่าเฉลี่ยความผันผวนของ ATR นั้นถูกคำนวณมาจาก true range (TR) เพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ ซึ่ง TR ที่ว่าจะมาจากการหา 3 ค่าต่อไปนี้
- ระยะห่างระหว่าง High ของวันก่อน กับ Low ของวันนี้
- ระยะห่างระหว่าง Close ของวันก่อน กับ High ของวันนี้
- ระยะห่างระหว่าง Close ของวันก่อน กับ Low ของวันนี้

ส่วนการนำ ATR มาใช้งานก็จะดูที่ค่าเฉลี่ย หากมีการซื้อขายมากความผันผวนก็จะมากขึ้น (เส้น ATR จะสูงขึ้น) และราคาจะร่วงลงในช่วงที่มีความผันผวนต่ำหรือช่วงที่มีคนซื้อขายน้อย (เส้น ATR จะต่ำลง) เดี๋ยวเรามาดูการใช้งานเครื่องมือในกราฟจริงกันบ้าง


ตัวอย่างความผันผวนสูง
จะเห็นว่ากราฟราคานั้นมีการพุ่งตัวสูงขึ้น หรือต่ำลงอย่างชัดเจน นั่นหมายถึงในช่วงนั้นเกิดการซื้อขายมาก ทำให้เกิดความผันผวนสูง ค่าของเส้น ATR ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย


ตัวอย่างความผันผวนต่ำ
จะเห็นว่ากราฟราคานั้นมีลักษณะ Sideway ไม่สูงขึ้น หรือต่ำลง นั่นหมายถึงในช่วงนั้นเกิดการซื้อขายน้อย ทำให้เกิดความผันผวนต่ำ ค่าของเส้น ATR ก็จะต่ำลงตามไปด้วยนั่นเอง

ทีนี้เรามาใช้ ATR เพื่อกำหนดจุด stop loss และ Take profit กันบ้าง ด้วยการดูความผันผวนของตลาด ตั้งจุด stop loss หรือ Take profit ให้กว้างขึ้นเมื่อตลาดกำลังมีการแกว่งตัวสูง เพื่อหลีกเลี่ยงการ stop out และเมื่อตลาดมีความผันผวนต่ำลงแล้ว ค่อยกำหนดจุด stop loss หรือ Take profit ให้แคบลงมา


ยกตัวอย่างการตั้งจุด Stop loss และ Take profit ของคู่ EURUSD จะใช้ค่า ATR และราคาเปิดของแท่งเทียนปัจจุบันในการคำนวณ ซึ่งค่า ATR14 อยู่ที่ 0.0076 หมายความว่าราคาของแท่งเทียนปัจจุบันจะมีโอกาสที่ราคาจะขึ้นสูงหรือต่ำไปประมาณ 0.0076 จุด และราคาเปิดของแท่งเทียนแท่งนี้จะอยู่ที่ 1.09362


การคำนวนจุด TP
(ค่า ATR x 2) + ราคาเปิดของแท่งเทียนปัจจุบัน = จุด Take profit
จะได้ดังนี้  (0.0076 x 2) + 1.09362 = 1.11152 หมายความว่าจุด TP ออเดอร์ Buy จะอยู่ที่ราคาประมาณ 1.11152
การคำนวนจุด SL
(ราคาเปิดของแท่งเทียนปัจจุบัน – ค่า ATR) = จุด Stop loss
จากสูตรด้านบนจะได้ดังนี้  (1.09362 - 0.0076)  = 1.06891  นั่นหมายความว่าจุด SL ออเดอร์ Buy จะอยู่ที่ราคาประมาณ 1.08602

นี่ก็จะเป็นหลักการใช้งาน ATR หลักๆที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมใช้ จะเป็นการดูค่าเฉลี่ยความผันผวนของราคา เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดระยะห่างจุด stop loss และ take profit ได้ ซึ่งแอดก็อยากแนะนำให้ดู ภาพรวมของตลาด อย่าง จุด high หรือ จุด low ประกอบด้วย เพราะการใช้  ATR ในการกำหนดเพียงอย่างเดียว ระยะห่างของ stop loss และ take profit อาจมากไปหรือแคบไปก็ได้