กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้ Fibonacci Time Zones และ Fibonacci Arcs

  • 0 replies
  • 5,487 views
การใช้ Fibonacci Time Zones และ Fibonacci Arcs
« เมื่อ: 30, กรกฎาคม 2021, 08:33:32 PM »
การใช้ Fibonacci Time Zones และ Fibonacci Arcs

ทูลที่อยู่ในกลุ่มของ Fibonacci มี 5 ทูลหลักด้วยกันคือ Fibonacci Retracement, Fibonacci Time Zone, Fibonacci Fan, Fibonacci Arcs และ Fibonacci Expansion ที่ได้รับความนิยมและใช้งานมากในการเทรดการย่อตัวเป็นหลัก และการที่ราคาเบรคแล้วน่าจะไปต่อระดับไหน ส่วนมากเมื่อกล่าวถึง Fibonacci จะกล่าวถึง Fibonacci Retracement เป็นหลัก Fibonacci ได้รับความนิยมในการหาแนวรับ-แนวต้าน, หาจุดสำหรับเข้าเทรดและออกเทรด ,หาจุดที่น่าจะเกิดการเปลี่ยนเทรน หรือหาจดุที่น่าจะเป็นจุดกำหนด Take profit หรือแม้แต่ลักษณะการย่อตัวที่วัดจาก Retracements ของ หลักการ Fibonacci ยังช่วยบอกถึงความแข็งของเทรนด้วย บทความนี้เน้นอธิบายการใช้งาน Fibonacci Time Zones และ Fibonacci Arcs

การใช้งาน Fibonacci Time Zones


หลายๆ เทรดเดอร์อาจไม่สนใจ Fibonacci Time Zones เช่นอย่าง Fibonacci อื่นๆ ที่ใช้ตัวเลข Fibonacci ในการหาว่าพื้นที่แนวรับ-แนวต้านน่าจะเกิดขึ้นตรงไหนเพื่อเข้าเทรด ตั้งตามเทรนและสวนเทรน เพราะว่า Fibonacci Time Zone เมื่อท่านใช้จะสร้างเส้นแนวต้านบนชาร์ตที่บอกแค่เรื่องของเวลาเท่านั้น จุดสำคัญของการใช้ Fibonacci Time zones คือใช้เพื่อกำหนด Zone ที่คาดว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาเกิดขึ้น ดังนั้น ด้วยการใช้ทูลนี้เราสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาไหน หรือกรอบเวลาที่น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลง จุดเวลาพวกนี้ จะใช้เพื่อเป็นจุดดูการเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเกิด swing high/low หรือการเปลี่ยนเทรนเกิดขึ้น

อย่างแรกเลยเรื่องของ Fibo Levels ที่กำหนดใน Fibonacci Time Zones คือตัวเลขตามลำดับของ Fibonacci Number คือ 0, 1, 3, 5, 8, 13, 21, 34 เป็นต้น ที่มาจาก การบวกกันของ 2 ตัวเลขก่อนนี้ต่อกัน ไม่ได้มีสูตรการคำนวณอะไรที่ซับซ้อนเลย สิ่งต่อมาคือ จากหลักการ Fibonacci Retracement, Fibonacci Extension หรือ Fibonacci Fan จะบอกอะไรที่เกี่ยวกับแนวรับ-แนวต้านที่เกี่ยวกับราคาเป็นหลักที่น่าจะเกิดขึ้น แต่พอมาถึง Fibonacci Time Zones กลับบอกเรื่องของเวลาหรือแสดงผลแนวตั้งที่เกี่ยวกับเวลา ที่น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือราคาทำ High, Low หรือเกิดการเปิดเทรด และต้องให้ไม่ลืมว่าคำว่า Zones ในที่นี้เป็นการบอกช่วงเวลาว่าน่าจะเกิด ไม่ได้บอกวลานั้นเลยทีเดียว อาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง หรือตรงเวลาก็ได้


จากภาพประกอบ ได้ใช้ Fibonacci Time Zones และเปลี่ยนชาร์ตจากการแสดงแท่งเทียน Candlesticks เป็น Line charts เพื่อให้เห็น High, Low หรือ Trend Reversal ได้ชัดเจน  และการใช้งาน แม้ว่าจะสามารถใช้ Fibonacci Time Zones อย่างเดียวได้ แต่แนะให้ใช้การตีเส้นแนวรับ-แนวต้านประกอบด้วย เพื่อจะได้หาการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนเมื่อถึงพื้นที่เวลาที่กำหนด 

ดูภาพประกอบ แต่รอบนี้เปลี่ยนมาเป็นการแสดงผลแท่งเทียน และมีการตีเส้นแนวรับ-แนวต้านเข้าไปประกอบด้วย สิ่งที่เราเรียนรู้จาก Fibonacci Time Zones คือว่า เราสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า ราคาน่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแถวพื้นที่เวลานั้น พื้นที่แนวรับ-แนวต้าน อาจมาจากการหาแนวรับ-แนวต้านทั่วไป หรือจาก Impulsive move ของ Fibonacci Retracement ของ Timeframe ที่ใหญขึ้นก็ได้ เพราะพื้นที่พวกนี้จะช่วยให้เราหาจุดว่าน่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงราคาที่ไหน แต่พอเราใช้ Fibonacci Time Zones เข้าไปด้วย เราก็สามารถคาดการณ์ช่วงเวลาที่น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเข้ามาประกอบได้ด้วย

การใช้งาน Fibonacci Arcs


Fibonacci Arcs เป็นรูปครึ่งวงกลมที่ลากออกจากเส้นที่เป็นจุดต่อกันระหว่างจุด High และ Low เส้นนี้เรียกว่าเส้นหลักหรือ Base line การกำหนดเส้น เช่นที่เราใช้ในการกำหนดสำหรับ Fibonacci Retracement หรือเป็นจุดที่บอก Impulsive move โดยเส้น Arcs จะลากตัดเส้นหลักที่ลากระหว่างเส้น High และ Low โดยมีจุดกลางอยู่ที่จุดที่สองของส่วนกำหนดเส้นหลัก แล้วตีเส้น Arcs ออกมาตัดทับเส้นหลัก ด้วยการใช้ตัวเลข Fibonacci ที่ระดับ 38.2, 50.0 และ 61.8 มาเป็นรัศมีในการกำหนดวงกลม แล้วแสดงผลวงกลม [สำหรับ Metatrader ต้องคลิกเลือก Ellipse ที่ Parameters สำหรับกำหนดค่าด้วย]

โดยเส้น Arcs ที่ลากห่างออกมาจากจุดกลางที่จุดที่ 2 ของ Base line ที่กำหนด ก็จะใช้เป็นพื้นที่แนวรับ-แนวต้าน เส้น Arcs ที่ได้ ก็จะอิงทั้งเวลาและราคา ออกจากจุดที่สองของ Baseline และจุดทั้งสองของ Base line ยิ่งห่างกันมาก เส้น Arcs ก็จะห่างออกไปด้วย

ดูที่เลข 1 สำหรับการใช้ Fibonacci Arcs เพื่อหาพื้นที่แนวต้านหรือ Resistance  สิ่งอื่นท่านต้องกำหนด Impulsive move หรือจุด High เป็นจุดแรก แล้วตามด้วย Low ที่บอกว่าเป็น Impulsive move เพื่อที่จะใช้ทูล Fibonacci Arcs สำหรับโปรแกรม Metatrader ท่านไปที่ Insert -> Fibonacci -> แล้วเลือก Arcs หรือใช้วิธีการคลิกที่รูป icon ด้านบนเลยก็ได้ แล้วท่านก็คลิกไปที่จุด High แล้วลากไปที่จุด Low โปรแกรมก็จะตีเส้น Arcs สำหรับแนวต้านให้ท่านดังภาพประกอบ ค่าหลักที่มาด้วยก็จะมีตัวเลข Fibonacci คือ 38.2, 50.0 และ 61.8 ที่จะมาหาเส้น Arcs และแสดงผลครึ่งวงกลม

ที่เลข 2 เป็นการใช้ Fibonacci Arcs สำหรับการสร้างแนวรับหรือ Support  ด้วยการที่ท่านต้องหา Low และมี High ที่เป็น Impulsive move แล้วก็ใช้ทูล Fibonacci Arcs ลากจากจุด Low ขึ้นมายังจุด High แล้วท่านก็จะได้แนวรับที่มาจากหลักการของทูล Fibonacci ตัวนี้


หลักการใช้ Fibonacci Arcs ไม่ต่างจากหลักการใช้ Fibonacci Retracement และการลากเส้น Impulsive move จุดเดียวกันด้วย เช่นอย่างภาพด้านบนที่ใช้ การหาพื้นที่แนวรับด้วย Fibonacci Retracement และ Arcs ดูเส้นระดับของ Retracement จะตรงกับจุดตัดของเส้นโค้ง Arcs ที่ตัดกับเส้น Baseline พอดี ด้วยค่า Fibonacci number เดียวกัน แต่การแสดงผลของ Retracement ลากเป็นเส้นแนวนอน ไม่ได้กำหนดช่วงเวลา แต่ Arcs แสดงที่จุดตัดกับเส้นครั้งเดียวเท่านั้น