กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ ZigZag พื้นฐาน

  • 0 replies
  • 3,447 views
การใช้อินดิเคเตอร์ ZigZag พื้นฐาน
« เมื่อ: 30, กรกฎาคม 2021, 07:40:41 PM »
การใช้อินดิเคเตอร์ ZigZag พื้นฐาน

ZigZag เป็นอินดิเคเตอร์อีกตัวที่ได้รับการนิยมในการดูการเคลื่อนราคาเพื่อช่วยกำหนดเทรน และการเปลี่ยนเทรนจากสิ่งที่เกิดขึ้น จะช่วยกรองการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ จากการขึ้นหรือลงเล็กน้อยของราคา ที่มักจะทำให้เกิดสัญญาณหลอกสำหรับการวิเคราะห์ และช่วยให้ท่านเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนและเทรนหลักได้ง่ายจากสิ่งที่เกิดขึ้น โดยรูปแบบ ZigZag ก็จะแสดงจุด Higher และ Lower บนชาร์ตที่ได้เงื่อนไข เมื่อการเคลื่อนของราคาระหว่างจุด Swing high และ Swing low มีค่าการเปลี่ยนแปลงมากกว่าค่าเปอร์เช็นตที่กำหนดสำหรับค่าผันผวนเท่านั้น [ค่าหลักที่มีค่า 5] ด้วยวิธีการกรองการเคลื่อนของราคาแบบนี้ เลยทำให้ ZigZag กรองการเคลื่อนไหวที่เล็กน้อยออกไป เลยทำให้หาเทรนหลักหรือการเคลื่อนหลักได้ชัดเจน


เรื่องจาก ZigZag ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในประกลุ่มประเภทหลักของอินดิเคเตอร์ของ Metatrader ที่มี Trend, Oscillators, Volumes และ Bill Williams จะอยู่ส่วนที่เป็น Custom เมื่อท่านเลือกใช้ ค่าสำหรับกำหนดมีแค่ 3 ค่าหลักๆ คือ Depth = 12, Deviation = 5 และ Backstep = 3 ที่เป็นค่าหลักหรือ Defaults มาเมื่อตอนเรียกใช้ ท่านสามารถปรับได้ การแสดงผลบนชาร์ตเปล่า จะเห็นว่าได้แสดงเส้นต่อเนื่องกัน ระหว่างจุด Swing high/Swing low หรือการตีเส้นต่อเนื่องกันระหว่างจุด Higher และ Lower เท่านั้นเอง และข้อมูลพวกนี้มาจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นภาพที่ได้ของ ZigZag ถือว่าเป็นข้อมูลที่ช้า หรือประเภท lagging information เพราะจริงๆ แล้ว ZigZag ออกแบบมาเพื่อช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนว่าเกิดขึ้นอย่างไร ด้วยการกรองการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ออกไป ไม่ได้บอกว่าอะไรน่าจะเกิดขึ้น แต่บอกแค่ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จุดตรงไหน

เข้าใจ ZigZag settings สำคัญก่อนใช้


ZigZag ใช้ตัวแปรหลัก 3 ตัวในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงราคาสำหรับจุด Swing ว่าต่ำหรือสูงตามเงื่อนไขเพื่อหาจุด Higher และ Lower แล้วลากเส้นต่อเนื่องกันตามภาพที่แสดงที่ชาร์ต  ตัวแปรหลักคือ


  • Depth = 12 ในที่นี้จำนวน 12 ถ้าเป็นในการกำหนดค่า setting ของอินดิเคเตอร์อื่นๆ ก็เท่ากับ Periods นั่นเอง หมายถึงจำนวนแท่งเทียนขั้นต่ำ เช่นถ้าต้องการหาค่า Higher และ Lower จากกรอบแท่งเทียนที่มากขึ้นก็กำหนดมากขึ้น เช่นอย่างกำหนด ZigZag สำหรับดู timeframe M5 อาจกำหนดเป็น 20 เพื่อให้กรอบมากขึ้น เพราะค่า 12 เหมาะสำหรับ H1, H4 และ D1
  • Deviation = 5 ค่าเบียงเบน สำหรับดูว่าก่อนการที่จะสร้าง Higher หรือ Lower ต้องมีการเปลี่ยนแปลงขั้นต่ำของการเคลื่อนเท่าไร เพื่อกรองหรือลดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยออกไป เลยทำให้ ZigZag เป็นทูลในการดูการเคลื่อนไหวหลักที่เกิดขึ้นได้ดี
  • Backstep = 3  อย่างน้อยต้องไม่น้อยกว่า 3 แท่งเทียน ถ้าจะเกิด Higher หรือ Lower

เนื่องจากการสร้าง ZigZag ก็จะต่างกันออกไปแล้วแต่ timeframe ที่ใช้ หลักการ timeframe เช่น H4 สำหรับ 1 แท่งเทียน เมื่อมองจากชาร์ต H1 ก็เท่ากับ 4 แท่งเทียน ถ้าเป็น M30 ก็มี 8 แท่งเทียน ดังนั้นตัวแปรหลักที่ต้องเข้าใจคือ Depth ที่ต้องปรับให้สัมพันธ์กับที่ท่านต้องการ ส่วน Deviation และ Backstetp ส่วนมากจะไม่ปรับ แต่หลักการให้ท่านเทียบสัดส่วนเอา ถ้า timeframe ที่ใช้ต่างกันมากเช่น ถ้าการมองต่าง timeframe ห่างกันไม่มากก็จะไม่ปรับ เพราะกรอบ Depth จะเน้นเรื่องของพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินค้าที่เทรดเป็นหลัก

จากตัวอย่างด้านบน ชาร์ต M5 ที่มีการปรับค่า Depth ต่างกัน ทางด้านซ้ายค่า Depth = 12 ส่วนทางด้านขวา Depth = 20 ดูการสร้างจุดสวิงของ ZigZag ที่ต่างขึ้นมาตรงกรอบสีฟ้าที่ชาร์ตทางด้านซ้ายมือ หรือที่กำหนดค่า Depth น้อยกว่า หลักการกำหนด Depth จะต่างกันออกไป ถ้าต้องการปรับจูนให้ตรงกับสินค้าที่เทรด เพราะว่าพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของแต่ละสินค้าต่างกัน แต่ให้กำหนดค่า Defaults ไปก่อน แล้วค่อยๆ ปรับ แต่ต้องเข้าใจเรื่องของ Depth ต่าง timeframe ด้วย ถ้า timeframe เล็กลงมาอาจเปลี่ยนขึ้น พร้อมทั้ง deviation ด้วย

การใช้งาน ZigZag สำหรับการเทรด


ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ZigZag ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นข้อมูลแค่บอกสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามีการเปลี่ยนแปลงสำคัญตรงไหน  หรืออธิบายแบบนี้ว่า ทูลนี้ใช้เพื่อกรองสัญญาณเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เพื่อจะได้ดูว่าการเคลื่อนจริงๆ เป็นอย่างไร ที่เกิดจากจุด A ไปยังจุด B ด้วยการสร้างจุด High และ Low แต่ละช่วงการเคลื่อนไหว  ดังนั้น เทรดเดอร์ก็จะใช้ ZigZag เพื่อประกอบหลักการ Technical Analysis เช่น การเทรดแนวรับ-แนวต้าน  อย่างอื่นเป็นหลัก เพราะว่า ZigZag ช่วยให้หาจุดที่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนว่าเกิดขึ้นตรงไหน และที่สำคัญด้วยการใช้ Deviation เข้าไปด้วย ตัว ZigZag เลยกรองการเปลี่ยนแปลงที่น้อยกว่าค่า Deviation ออกไปด้วย เลยช่วยให้โฟกัสการเปลี่ยนแปลงหลักของภาพรวมการเคลื่อนของราคาได้ง่ายและเร็ว

สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดเจนสุดเพราะว่า ZigZag ให้เห็นการเคลื่อนแต่ละช่วงชัดเจนด้วยจุด Higher และ Lower เลยช่วยให้เทรดเดอร์เห็น Market Structure ชัดเจน จะเห็นว่ามีการใช้ ZigZag ช่วยในการกำหนดการพัฒนา Swing high/low ด้วย มีการใช้การกำหนดแนวรับ-แนวต้าน ที่เป็นพื้นฐานของการนำเอา ZigZag ไปเป็นส่วนสำคัญในการกำหนด Technical Analysis [เช่นช่วยกำหนดรูปแบบชาร์ต Double Tops/Bottoms, 1-2-3 หรือ Head and Shoulders เป็นต้น] และใช้กับ Technical Analysis อย่างอื่นด้วย

การที่จะตีความจุด Highs และ Lows ต่างๆ ที่เกิดจาก ZigZag จำเป็นต้องเข้าใจตรรกะที่อยู่เบื้องหลังก่อน แล้วค่อยจะตีความจากสิ่งที่ ZigZag บอก เพราะต้องไม่ลืมว่า ZigZag แค่บอกว่ามีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หรือมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นตรงไหน ไม่ได้บอกสิ่งที่จะเกิดขึ้น จุด High หรือ Low เกิดจากผลการสู้กันระหว่าง Byers และ Sellers แล้วตามด้วยผลว่าฝ่ายไหนเป็นผ่ายชนะ เพราะการที่ราคาจะสร้างจุด High หรือ Low ได้ ราคาต้องวิ่งไปทางเดียวอย่างชัดเจน ก่อนที่จะตีกลับมาอย่างรวดเร็ว ด้วยกำลังออเดอร์อีกข้าง จุดพวกนี้เลยเป็นจุดสำคัญที่บอกว่า มีอีกข้างเข้ามาเทรด และสามารถดันราคาเปลี่ยนเทรน หรือช่วงการเคลื่อนของราคาได้ตรงไหน ตามหลักการมองแนวรับ-แนวต้าน จุดพวกนี้เลยเป็นแนวรับ-แนวต้านสำคัญ 

ดูที่เลข 1 พอ Low นั้นโดนเบรคลงไป ทำให้เรารู้ว่าแนวรับโดนเบรค ด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นและ ZigZag ช่วยให้เราเห็นพื้นที่ได้ง่าย พร้อมความเข้าใจตลาดและออเดอร์ทำงานอย่างไร แม้ตัว ZigZag ไม่ได้บอกจุดที่ราคาจะโต้ตอบในอนาคต แต่ความเข้าใจตลาดและหลักการทำงานออเดอร์และพฤติกรรมเทรดเดอร์ ทำให้เราหาพื้นที่ราคาจะโต้ตอบได้ง่าย หรือ เลข 3 และ 4 เป็นอีกตัวอย่างที่จุด High และ Low ที่บอกโดย ZigZag กลายเป็นแนวรับ-แนวต้านด้วย

ดังนั้นสิ่งที่ ZigZag บอกเราคือพื้นที่ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงชัดเจนของช่วงนั้นๆ เลยเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับ Technical Analysis หลายๆ อย่าง เบื้องต้นคือแนวรับ–แนวต้านที่กล่าวในที่นี้ ส่วนขยายจะกล่าวในบทความต่อไป