กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ Fractals

  • 0 replies
  • 3,122 views
การใช้อินดิเคเตอร์ Fractals
« เมื่อ: 17, กรกฎาคม 2021, 09:38:20 PM »
การใช้อินดิเคเตอร์ Fractals

อินดิเคเตอร์ Fractals โดย Bill Williams ที่เป็นผู้พัฒนา เป็นทูลที่ต่อเนื่องจาก Alligator ก็ว่าได้เพราะว่า Alligator จะเป็นตัวกำหนดหรือบอกสถานะของเทรน เพราะว่าตลาดก็จะทำเทรนเทรนแค่ 15-30 % เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็จะเป็นช่วงที่ตลาด consolidation เป็นหลัก Fractals เป็นแนวความคิดต่อเนื่องเมื่อกำหนดเทรนได้ ก่อนที่จะเปิดเทรดให้ดู Fractals ก่อน เพราะว่ามันบอกถึง market structure ที่กำลังเกิดขึ้นสัมพันธ์กับ Alligator หรือเปล่า

การเรียกใช้และรูปแบบ Fractals


ดูภาพแสดงผล Fractals เมื่อท่านเลือกใช้ไปที่เมนู Insert -> Indicators -> Bill Williams แล้วเลือก  Fractals ไม่มีค่าสำหรับคำนวณ มีแค่ค่าปรับสีเท่านั้นเอง และหลักการถือว่าง่ายมากด้วยการเปรียบเทียบ High และ Low ของแท่งเทียน 5 แท่งเทียนเป็นเบื้องต้น  คือหลักการง่ายๆ ให้ดูแท่งเทียนที่มี ด้านช้าย 2 และด้านขวา 2 ต่ำกว่าหรือสูงกว่าแท่งเทียนนั้นๆ หรือนับเป็นแท่งเทียนที่ 3 สำหรับกำหนดนั่นเอง เช่น การกำหนด Bearish Fractal ด้วยการดู High ของแท่งเทียน มองมาทางช้าย 2 High ทั้ง 2 แท่งต่ำกว่าแท่งที่ท่านมองหรือแท่งที่ 3 และมองมาทางขวาก็เช่นเดียวกันคือ High ของแท่งเทียน 4 และ 5 ก็ต่ำกว่าแท่งเทียน 3 หรือมองมาที่ Bullish Fractal หลักการเดียวกัน แต่รอบนี้เอา Low เป็นหลักในการนับแท่งเทียนที่บอกว่าเป็น Bullish Fractal ดูภาพประกอบด้านบนที่ตีกรอบที่ชาร์ต ท่านจะเห็นในโปรแกรม Metatrader จะทำสัญญลักษณ์ลูกศรตรงจุด Fractal ให้ด้วย ลูกศรด้านบนจะเป็น Bearish Fractal และลูกศรด้านล่างจะเป็น Bullish Fractal

การใช้ Fractals มีการเอาไปใช้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะดูเรื่องของ support/resistance ที่เกิดขึ้นแบบอัตโนมัติกับ market structure ที่เกิดขึ้นกับ Technical analysis หลายอย่างเช่นดู Reversal ที่จุดต้องการเปิดเทรด หรือดู Breakout ที่น่าจะเกิดขึ้น เริ่มแรก Bill Williams พัฒนาหลักการมองตลาดด้วย Fractals เพื่อใช้กับอินดิเคเตอร์ Alligator ที่เป็นตัวบอกสถานะเทรน

การตีความหมาย และใช้ Fractals


การที่จะเข้าใจความหมายว่า Fractal บอกอะไรจากแท่งเทียน ต้องเข้าใจก่อนว่าแท่งเทียนเกิดอย่างไร และความหมายที่อยู่เบื้องหลังเป็นอย่างไร Fractal บอกได้ว่าการพัฒนาการของการเทรดที่เกิดขึ้นจาก Buyers และ Sellers จากช่วงเวลาที่กำหนด หรือแท่งเทียน ว่าฝ่ายใดกดดัน ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายคุมการเปลี่ยนแปลงตอนนั้นๆ ที่เกิดขึ้น  แต่ละแท่งเทียนประกอบด้วยราคา Open, High, Low และ Close อย่างภาพประกอบ Bearish Candlestick ราคาเปิดต่อเนื่องจากราคาปิดของแท่งเทียนก่อน และ High/Low คือช่วงที่เกิดการเทรดช่วงเวลาหรือแท่งเทียนนั้น และ Close ราคาจากการเทรด หมดช่วงแท่งเทียนตรงไหน แล้วก็ขึ้นแท่งเทียนใหม่ หลักการของ Fractal คือการอ่าน market structure จากแท่งเทียนนั่นเอง

ความหมายแต่ละแท่งเทียน เช่นตามภาพประกอบ พอราคาเปิดมา ขึ้นไปทำ High และดิ่งลงมาได้ บอกว่ามีแรงจาก Sellers ออเดอร์มากกว่า หรือเห็น Supply เกิดบน Demand จริงนั้น  สิ่งที่เราได้จาก High คือเราเห็นว่ามี Resistance เกิดขึ้นตรงไหน พร้อมเห็น Selling pressure เกิดขึ้นตรงไหน ส่วนทางด้านล่างหรือ Low ก็ตรงกันข้าม บอกเราว่ามี Support เกิดขึ้นตรงไหน และ Buying pressure เริ่มที่ตรงไหน ราคาปิด หรือ Close เทียบกับราคาเปิด Open เป็นตัวกำหนดว่า Trading pressure ฝ่ายไหนมากกว่า หรือฝ่ายไหนชนะช่วงเวลาแท่งเทียนนั้นๆ ดังนั้น สิ่งที่แท่งเทียนบอกเรา คือว่ามีการเปิดเทรดช่วงไหน (trading transactions) ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายได้เปรียบหรือกดดันมากกว่า ด้วยการดูราคาปิด เทียบกันราคาเปิด และยังเทียบกันกับแท่งเทียนก่อนนี้ด้วย และพื้นที่เริ่ม trading pressure ยังบอกว่า Support/Resistance อยู่ตรงไหนด้วย อีกสิ่งที่ต้องไม่ลืมเรื่องของการทำงานของออเดอร์ เพราะว่าเมื่อท่านเปิดเทรดด้วย market orders เช่น ท่านเปิดเทรด sell market order ตรงราคานั้น ได้กลายมาเป็น short position เมื่อท่านออกจากตลาด ไม่ว่าจะเป็นการปิดออกเอง หรือ stop loss หรือ take profit เท่ากับว่าท่านเปิด buy market order ณ ราคาที่ท่านออก


ดูว่า Fractal ทำงานอย่างไร เห็นมากกว่าแค่ High/Low จาก 5 แท่งเทียน ดูที่เลข 1 ก่อนที่ลูกศรขึ้นมองมาทางช้ายมือจะเห็นว่ามี Bearish Fractal แสดง 2 จุด บอกถึงว่ามี Resistance ตรงไหน มองดูจะเห็นว่าราคาได้ Rejection ตามเส้นที่ตี Resistance อย่างชัดเจน แต่ขณะเดียวกันมอง Bullish Fractal สังเกตดูว่า จะสูงขึ้นเรื่อยๆ พอราคาเบรคตรงที่เลข 1 ดูสิ่งที่เกิดขึ้น จะเห็นว่า 3 แท่งเทียนไปทางเดียวกันหมดยาวๆ แม้ว่ามีแท่งเทียน 2 ย่อลงมา แล้วกลับไปอย่างรวดเร็ว หลังจากแท่งเทียน 3 ก็เปลี่ยนเทรนขึ้น สิ่งที่ทำให้ราคาขึ้นแบบนี้ ไม่ได้มาจากการเปิด buy market orders อย่างเดียว แต่เป็นการมาจากการออกจากตลาด ของกลุ่มเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดตรงพื้นที่ Resistance ลงไปหลังจากที่โดนเบรคขึ้นมา ดูเทียบกันที่จุด 2 ทั้งเลข 1 และเลข 2 หลังจากราคาได้เบรคจุดที่เป็น Fractal หลักๆ มักจะเห็นแท่งเทียนยาวๆ ไปทางนั้นทันที เพราะการออกจากตลาดของกลุ่มที่อยู่ในตลาดแยะยังมีอีกกลุ่มที่เข้าใจการทำงานตลาดตรงก็จะใส่ buy stop orders ไปที่เลข 1 และ sell stop orders ไปที่เลข 2 ด้วย

ดูความสัมพันธ์และพัฒนาการระหว่างเส้น Alligator และ Fractal ที่เกิดขึ้นว่าสัมพันธ์กันอย่างไร ดูที่เลข 1 หลังจากที่ Alligator ได้ตัดขึ้น Bullish Fractal ที่เหนือกว่าเส้นสีแดง คือจุดที่เป็นสัญญาณให้เปิด Buy ตามเทรนที่บอกด้วย Alligator ทั้งหมด ตรงที่ลูกศรสีน้ำเงิน และ Bearish Fractal หลังจากที่เส้น Alligator ตัดลง

ตัว Fractal ที่เป็นตัวบอก Dynamic Support/Resistance ตอนราคาพัฒนาไป ช่วยให้เราเห็นว่า market structure เป็นอย่างไรตอนที่เกิดเทรนด้วย Alligator ก็จะช่วยให้เราเทรดตามเทรนได้ถูกที่ และออกจุดที่ดีด้วย

นอกจากนั้นแล้วหลักการ Fractal  ยังนิยมเอาไปใช้กับ Technical Analysis การเทรดแบบบอื่นๆ เพราะว่าเป็นการดูพัฒนาการ Dynamic support/resistant ที่เกิดขึ้นตอนราคาทำ market structure ว่าเป็นอย่างไร ช่วยให้อ่านปริบทของราคาได้ง่ายขึ้นด้วย จะใช้ทั้งตอนที่ราคาเบรค หรือราคาจบการทดสอบแล้วเทรดตามเทรนต่อ



ที่เลข 1 ราคาได้เบรค Bearish Fractal ที่ถือว่าเป็น Resistance ได้ขึ้นไปทำ New High และย่อตัวลงมาทดสอบ ทำ Bullish Fractal นี่เป็นการใช้ Fractals เพื่อเทรด Breakout ที่เลข 2 ราคาลงมา Support แล้วราคาเด้งขึ้น ราคาทำ Bullish Fractal สูงขึ้นต่อเนื่องได้ นี่คือตัวอย่างการใช้ Fractals กับการเทรด Pullback หรือ Retracement