กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ DeMarker

  • 0 replies
  • 3,276 views
การใช้อินดิเคเตอร์ DeMarker
« เมื่อ: 26, มิถุนายน 2021, 02:02:40 PM »
การใช้อินดิเคเตอร์ DeMarker

DeMarker เป็นอินดิเคเตอร์อีกตัวที่อยู่ในกลุ่ม Oscillators ของโปรแกรมเทรด Metatrader ที่ได้รับความนิยม เพราะใช้งานง่าย รูปแบบการนำเสนอและการตั้งค่าง่าย แค่กำหนดว่าต้องการกี่ Period หรือแท่งเทียน  ด้วยการเปรียบเทียบกับราคาสูงสุดและต่ำสุดของช่วงเวลาปัจจุบันกับช่วงเวลาก่อน จุดประสงค์เพื่อเป็นการยืนยันการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนที่ชัดเจน ช่วยให้เห็นสถานะตลาด Overbought/Oversold ได้ง่ายนอกจากยืนยันเทรน หรือถ้าดูการพัฒนาการ Market structure ประกอบกับการพัฒนาการของ DeMarker ก็ช่วยให้เราเห็น Divergence ได้ง่าย

การใช้งาน DeMarker


ข้อดีอย่างหนึ่งของการใช้โปรแกรมเทรดคือ เราไม่ต้องมาปวดหัวกับการกำหนดค่าต่างๆ สำหรับใช้งานแต่ละอินดิเคเตอร์ เพราะว่าตัวโปรแกรมจะทำงานให้เอง แค่เราใส่ตัวแปรหลักๆ ของแต่ละอินดิเคเตอร์ก็พอ เช่นอย่างในที่นี้ DeMarker ตัวแปรหลักคือ Period ที่เหลือปล่อยให้โปรแกรมคำนวณให้เราเอง ส่วนมากแล้วอินดิเคเตอร์จะมาพร้อมกับค่า Default หรือค่าหลักที่ผ่านการทดลองมาแล้วว่าใช้งานได้ดีกับการทำงานแบบอินดิเคเตอร์ตัวนั้นๆ เราแค่ทำความเข้าใจว่า อินดิเคเตอร์ตัวนั้นๆ นำเสนออย่างไร และใช้งานอย่างไร เช่นค่า Default หลักของ DeMarker คือ Period 14 ส่วนรูปแบบเป็นแค่ตัวแปรปรับรูปร่างและสีเท่านั้น อีกส่วนคือ Levels ที่มาช่วยตีเส้นระดับ Overbought/Oversold รูปแบบการนำเสนอจะคล้ายๆ กับ Stochastic Oscillator ต่างแค่รูปแบบการกำหนดเส้นระดับของ DeMarker คิดเป็นแบบ 0-100% เท่านั้นเอง [ค่า default จะต่างจาก Stoch ท่านสามารถปรับเป็นสัดส่วนเท่ากันได้ด้วยการเปลี่ยนเป็น Level 0.2 และ 0.8] การทำงานยังเป็นแบบเดียวกันกับตัวอื่นด้วยเช่น CCI, RSI

การตีความ DeMarker สำหรับการเทรด


การจะตีความการใช้งาน ต้องเข้าใจก่อนว่าอินดิเคเตอร์ใช้ข้อมูลจากไหนมาประมวลผลตามแบบของแต่ละอินดิเคเตอร์ ข้อมูลที่นำมาจะเป็นราคา Open, High, Low, Close จากช่วงแท่งเทียนหรือ Period ที่กำหนดวิธีการคำนวณจะต่างกันออกไปแล้วแต่หลักการทำงานของแต่ละอินดิเคเตอร์ ตัว DeMarker ใช้การเปรียบเทียบราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดช่วงเวลาปัจจุบัน เทียบกับช่วงเวลาก่อน ผลที่ได้ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนว่าการเคลื่อนไหวทาง Buyers หรือ Sellers ต่างกันอย่างไร

ดูการใช้งานที่เลข 1 ก่อน [ในการตั้งได้ระดับ Overbought/Oversold ได้เพิ่มเข้าไป ค่า 0.30 และ0.70 เป็นค่าหลักมีมากับอินดิเคเตอร์ ส่วน 0.20 และ 0.80 เป็นค่าที่ตั้งตามสัดส่วนการนำเสนอของ Stochastic  การตีความก็แบบเดิม 0.7-0.8 มี 2 ระดับที่ถือว่าเป็น Overbought และ 0.2-0.3 มี 2 ระดับสำหรับ Oversold เท่านั้นเอง] จะเห็นว่า ก่อนที่จะถึงจุดที่ลูกศรชี้ มองดูที่ DeMarker ได้ทำ Overbought ไปมาถึงระดับ 0.8 ราคาได้วิ่งไปมาก แต่การเปิดเทรด เราไม่ได้เปิดเทรดได้ทันที เพราะการที่ราคาทำ Overbought ไม่ได้หมายความว่าราคาจะเด้งลงทันที มองดูก่อนที่ DeMarker ที่จะไปถึง 0.8 ได้ผ่านจุดแรก Overbought ที่ 0.7 ราคายังไปต่อขึ้นมาถึงจุด 0.8 ได้ นี่คือสิ่งที่ต้องระวังในการใช้อินดิเคเตอร์ในการเปิดเทรด ต้องใช้ให้เป็น เพราะอินดิเคเตอร์ใช้ข้อมูลจากสิ่งที่เกิดขึ้นมาประมวลผล ดังนั้นมันจะยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้บอกสิ่งที่จะเกิดขึ้น พอราคาขึ้นไปถึงจุด 0.8 แล้วดันลงมาต่ำกว่า 0.7 ได้ นั่นคือนัยยะสำคัญแรกที่เราเห็น  แต่เราต้องดูว่าราคาบอกอย่างไรด้วย หรือดู market structure ประกอบ ไม่ใช่ใช้อินดิเคเตอร์อย่างเดียวในการเปิดเทรด ดูวงกลมที่ลูกศรชี้ เมื่อดู DeMarker ได้ทำ Lower Highs ลงมาจริง แต่ Price Action ที่เปิดโอกาสให้เทรด Sell อยู่ตรงที่วงกลมลูกศรบอก เพราะราคาเด้งออกตรงพื้นที่ Resistance พอดี และค่า DeMarker ต่ำกว่า 0.7 ต่อเนื่องจาก Overbought ลงมา


การใช้งานที่ 2 เป็นการเทรดตามเทรน หรือบอกว่าเทรดตาม Impulsive move ที่เพิ่งเกิดขึ้น  เพราะว่า DeMarker เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator ยืนยันการเคลื่อนของราคาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี ส่วนมากเรื่องอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator แม้มีวิธีการต่างกันออกไป  แต่จะเด่นด้านการบอกถึงแรงของการเคลื่อนไหวแรงๆ ไปทางใดทางหนึ่ง DeMarker ก็เช่นเดียวกัน ดูพัฒนาการก่อนถึงจุดเลข 2 ทั้งส่วนของ DeMarker และ Price บอกอะไร ตามที่ลูกศรสีขาวชี้ ดูราคาวางอยู่ในกรอบ ดูส่วนที่ราคาลงมาถึงพื้นที่ Support ด้านล่างสีแดง จะเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่จะถึง Oversold เมื่อมองมาที่ DeMarker พอมาถึงตรงที่ลูกศร จะเห็นว่า DeMarker ได้มีการทำ Higher Low ขึ้นตามลำดับ ทางราคาก็เช่นเดียวกัน นั่นบอกว่า DeMarker ยืนยันสิ่งที่ราคาเคลื่อนไหวว่ามีผลอย่างไร จนราคาได้เบรคพื้นที่ Resistance ด้านบนขึ้นไป ตรงนี้ราคาได้บอกว่า ได้เปลี่ยน market structure ด้วยการเบรคหรือ Impulsive move นี้ เราก็เห็นว่า Momentum เปลี่ยนไปทางไหน รอแค่พื้นที่เปิดโอกาสให้เทรดตาม  แม้ว่าตอนราคาได้เบรคขึ้นไป DeMarker ไปอยู่บนพื้นที่ Overbought ก็ตาม เราจะไม่เทรด Sell ตรงนี้ เว้นแต่ว่าเราได้เปิด Buy ก่อนที่ราคาจะเบรคขึ้นไปแล้วปิดทำกำไรตรงนี้ เพราะว่าถ้าเปิด Sell ตรง Overbought นี้จะเป็นการเปิดเทรดสวนเทรนหรือ Impulsive move ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เราจะเปิด Buy ตรงวงกลมจังหวะที่ DeMarker ได้ลงไปจนถึงระดับ Oversold แต่เด้งกลับขึ้นมา นี่คือการใช้ DeMarker เพื่อเทรดตามเทรน


กรณีใช้งาน 3 ที่ถือว่าเป็นส่วนที่เทรดเดอร์มักจะนำอินดิเคเตอร์แบบ Oscillator มาใช้กันคือกลยุทธ์การเทรดแบบ Divergence ตัว DeMarker ก็ใช้งานได้ดี หลักการเทรด Divergence คือดูว่ามีความขัดแย้งกันระหว่างการเคลื่อนของราคากับอินดิเคเตอร์เกิดขึ้นหรือเปล่า เพราะตามหลักการทำงานของอินดิเคเตอร์ที่เป็นตัวยืนยัน ใช้ข้อมูลราคาที่เกิดขึ้นแล้ว การแสดงผลต้องไปทางเดียวกันกับราคา แต่เมื่อเกิดขัดแย้งกันนั่นคือสัญญาณที่เป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนทาง หรือเปลี่ยนเทรนนั่นเอง ส่วนจังหวะการเปิดเทรดก็ดู Price Action ที่เกิดขึ้นพร้อมด้วย DeMarker แต่ละจุดเปลี่ยนที่เป็นส่วนสำคัญของ market structure ที่จะเกิด Divergence ประกอบว่าจะเปิดเทรดตรงไหน เช่นตามภาพประกอบ อาจเปิด Buy ที่เลข 1 หรือ 2 ก็ได้ แล้วแต่ว่าตอนที่ท่านเปิดชาร์ตมาตอนนั้นราคาอยู่ตรงไหน Stop loss กำหนดด้วยใช้ Price Action ตรงที่วงกลม ก็จะกำหนดได้แคบหรืออิง market structure สำหรับ Divergence ด้านล่างกรอบที่อยู่ใกล้เลข 1