กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ Relative Vigor Index

  • 0 replies
  • 3,022 views
การใช้อินดิเคเตอร์ Relative Vigor Index
« เมื่อ: 26, มิถุนายน 2021, 01:52:16 PM »
การใช้อินดิเคเตอร์ Relative Vigor Index

หลักสำคัญของ Relative Vigor Index (RVI) คือว่า ถ้าเป็นเทรนขาขึ้น ราคาปิดของแท่งเทียนต้องปิดสูงกว่าราคาเปิด และถ้าเป็นแทรนลง ราคาปิดต้องต่ำกว่าราคาเปิด แนวความคิดคือว่า ความแข็งของเทรนกำหนดด้วยราคาจบตอนปิดที่ไหน การทำงานของ RVI จะคล้ายๆ กับ Stochastic Oscillator แตกต่างกันตรงที่ว่า RVI เปรียบเทียบความสัมพันธ์ราคาปิดกับราคาเปิด มากกว่าที่จะเป็นความสัมพันธ์ราคาปิดและราคาต่ำสุด

Relative Vigor Index เป็นอินเคเตอร์ที่มากับโปรแกรมเทรด Metatrader ที่จัดอยู่ในประเภท Oscillator ที่เป็นกลุ่มอินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการวัดและยืนยันการเคลื่อนไหวของราคา เช่นใช้ในการยืนยันเทรนที่เกิดขึ้น เพื่อดูว่าเทรนมีแรงพอที่จะไปต่อหรือเปล่าด้วยการดูค่า RVI จากการเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้น ซึ่งโปรแกรม Metatrader จะแบ่งอินดิเคเตอร์ออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ Trend, Oscillators, Volumes และ Bill Williams

การใช้งาน Relative Vigor Index


ค่าสำหรับกำหนด Indicator ตัวนี้มีแค่ค่าเดียวคือ Period ค่าที่กำหนดมาคือ 10 และ มีการกำหนด เส้นแสดงผล เส้นสีเขียว หรือเส้น RVI เป็นเส้นหลักสำหรับกำหนดทิศทาง [เป็นเส้น simple moving average จากช่วงเวลาที่กำหนด 10-Period ของการคำนวณ RVI] และอีกเส้นคือเส้นสัญญาณ (Signal line)  [เป็นเส้น weighted moving average จาก 4-Period] และการแสดงผล จะเป็นการเหนือกว่าและต่ำกว่าระดับ 0.00  แสดงผลของ RVI เป็นบวกหรือลบ

การตีความเพื่อสัญญาณการเทรดจาก RVI

เนื่องจาก 2 เส้นแสดงผล RVI คือเส้น RVI และเส้น Signal อาจมองง่ายๆ ได้แบบนี้ว่าเป็นเส้น long moving average (สำหรับเส้น RVI) และ short moving average (สำหรับ Signal line ที่มาจาก 4-period weighted moving average) ข้อแรก มองการตัดกันระหว่างเส้นบอกถึงการเปลี่ยนข้างการเคลื่อนไหวของราคา  ข้อสอง มองเส้นระยะห่างจากเส้นระดับ 0.0 บอกถึงว่าราคาได้วิ่งไปทางนั้นๆ มาก บอกนัยถึงภาวะ Overbought/Oversold


กรณีแรกใช้ RVI สำหรับสัญญาณ การเข้าและออกเทรด (Entry/Exit) สำหรับการใช้งาน ดูที่เลข 1 เห็นเส้นสีเขียว หรือเส้น RVI เหนือกว่าเส้นสีแดงหรือ Signal line บอกว่าการเคลื่อนไหวเปลี่ยนขึ้น หรือเกิดสัญญาณ Buy ในทางตรงกันข้าม ถ้าเส้นสีแดง หรือ Signal line อยู่เหนือกว่าเส้นสีเขียวบอกว่าราคาเคลื่อนลง อย่างที่ภาพเลข 2 หรือมองไปที่จุดที่เกิดสับกันหลายๆ จุดอื่น ระหว่างเส้นสีเขียวและสีแดง ก็จะเป็นจุดที่ยืนยันการเปลี่ยนข้างการเคลื่อนไหวของราคา การตัดกันระหว่างเส้น (crossovers) จะเห็นว่าใช้เป็นสัญญาณในการเข้าเทรดและออกเทรด


กรณีที่ใช้ RVI ในการกำหนด Overbought/Oversold เมื่อเส้น RVI และ Signal ได้วิ่งห่างจากเส้นระดับ 0.00 ที่เป็นเส้นหลักที่แยกระหว่าง ค่าบวก (Positive) ถ้าห่างออกมาก โอกาสที่จะเกิด Overbought มี เราก็ดูการตัดกันของเส้นตามกรณีแรกเพื่อยืนยันสถานะว่า เส้นสีเขียวตัดลงมาต่ำกว่าเส้นสีแดงหรือยัง หรือถ้าทั้งสองเส้นห่างจากเส้นระดับต่ำกว่า 0.0 ค่าเป็นลบ (Negative) มาก ก็ยิ่งบอกถึงสถานะที่เป็นไปได้ถึง Oversold การยืนยันว่าอาจจบ เราก็ดูการตัดกันขึ้นระหว่างเช่น สีเขียวมาเหนือกว่าเส้นสีแดงตอนไหน ก็จะเป็นจังหวะในการเปิดเทรดหลังจากเกิด Overbought/Oversold ได้
   

กรณีใช้ Relative Vigor Index สำหรับกำหนด Divergence เช่นเดียวกับอินดิเคเตอร์อื่นๆ ด้าน Divergence เช่น MACD ที่เลข 1 มองดูที่ชาร์ต จะเห็นว่าราคาทำ Higher High ต่อเนื่องกัน ขณะที่ค่าของ RVI กลับทำ Lower High การพัฒนการของ RVI ไม่ยืนยัน สิ่งที่ราคาเกิดขึ้น แต่กลับทำคนละอย่าง แบบนี้เรียกว่าสัญญาณ Divergence และดู market structure ที่เกิดขึ้นต่อมา จะเห็นว่าตรงที่เลข 2 ราคาได้สร้าง market structure เป็นรูปแบบ chart pattern แบบ Head and Shoulder ตรงที่เลข 2 คือพื้นที่ Right Shoulder ของรูปแบบชาร์ต HS ที่นิยมกันสำหรับการยืนยันในการเปลี่ยนเทรนดูได้จากราคาได้เด้งลงมา จะเห็นว่า RVI ได้ยืนยันจังหวะการเข้าเทรดตรงพื้นที่เลข 2 และตรงที่เบรค Low ที่เป็นพื้นที่ Neckline ของรูปแบบชาร์ตนี้ด้วย สัญญาณจาก RVI ก็ยังเห็นชัดเจน

หรืออีกรูปแบบชาร์ต ตรงที่เลข 2 จะเป็น Double Bottoms หรือรูปแบบ W ในการเทรดเปลี่ยนเทรนเช่นกัน สัญญาณจาก RVI เป็นตัวยืนยันรูปแบบที่เกิดขึ้นและยังบอกจุดเข้าเทรดด้วย

จะเห็นว่าการใช้งาน RVI สามารถใช้ได้หลากหลาย คือการตัดกันระหว่างเส้น บอกสัญญาณการเข้าเทรดและออกเทรด,  บอกถึง Overbought/Oversold และยังยืนยันจุดจบที่ส่งสัญญาณในการเข้าเทรดหลังจากการตัดกันระหว่างเส้น, บอกถึง Divergence ที่สามารถหาโอกาสเทรดตามด้วยการพัฒนาค่าที่เปลี่ยนและการตัดกันระหว่างเส้นบอกว่าจะเริ่มเทรดได้ตรงไหน และยังใช้ในการเทรด รูปแบบชาร์ตต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น  Double Tops, Double Bottoms, Head and Shoulders เป็นต้น

หลักการสำคัญของการใช้อินดิเคเตอร์ตัวไหนก็ตามในการเทรดคือ เข้าใจรูปแบบการนำเสนอ และใช้งานอย่างไร ยิ่งถ้าเราเข้าในเรื่องของการเคลื่อนไหวราคาขึ้นหรือลงเพราะความไม่สมดุลย์กันระหว่างออเดอร์ ก็จะทำให้เราใช้อินดิเคเตอร์เพื่อช่วยยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นการมองและเทรดด้วยความเข้าใจตลาดด้วย ไม่ใช่แค่เข้าใจการใช้งานอินดิเคเตอร์อย่างเดียว หรือถ้าเป็นการใช้หลาย Technical Analysis เสริมกัน เช่น สัก 2-3 อย่าง เช่นใช้ RVI กับ Stochastic Oscillator, หรือกับ RSI หรือกับ Moving Averages เป็นต้น ให้อินเคเตอร์ต่างช่วยยืนยันกันเอง ก็จะช่วยเพิ่มความเป็นไปได้สูงในแต่ละ trade setup อีกด้วย