กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ Momentum

  • 0 replies
  • 3,496 views
การใช้อินดิเคเตอร์ Momentum
« เมื่อ: 26, มิถุนายน 2021, 01:46:18 PM »
การใช้อินดิเคเตอร์ Momentum

อินดิเคเตอร์ Momentum เป็นอินดิเคเตอร์พื้นฐานที่มากับโปรแกรมเทรด Metatrader ที่อยู่ในกลุ่ม Oscillator ที่ยืนยันการเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้น ในโปรแกรมเทรด Metatrader แบ่งประเภทอินดิเคเตอร์อออกเป็น 4 ประเภทหลัก คือ Trend, Oscillator, Volumes และ Bill Williams โดยอินดิเคเตอร์ Momentum เป็นตัวที่บอกถึง Momentum ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของราคาว่าเปลี่ยนแปลงและเป็นอย่างไรในช่วงเวลาที่กำหนดในค่า Settings ตัวโปรแกรมนี้เป็นหนึ่งในหลายๆ อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการกำหนด Momentum คือ RSI, Stochastic, MACD แค่วิธีการจะแตกต่างกันออกไปเท่านั้น

การใช้งาน Momentum


การใช้งานก็เหมือนอย่างอินดิเคเตอร์ทั่วๆ ไป เมื่อท่านเปิดชาร์ตเปล่าขึ้นมา แล้วไปที่ Insert –> Indicators -> Oscillators และเลือก Momentum หน้าจอก็จะแสดงผลส่วนด้านล่างของชาร์ต ซึ่งมีสูตรในการหาค่าดังนี้

MOMENTUM = CLOSE(i)/CLOSE(i-N)*100 ที่ CLOSE(i) คือราคาปิดของแท่งเทียนปัจจุบัน และ CLOSE(i-N) คือ ราคาปิดของแท่งเทียนที่กำหนด ใน Period ของ Settings ดังนั้นค่า Momentum ที่ได้ก็จะแกว่งไปมารอบๆ ค่า 100 เลยแนะนำให้ท่านเพิ่ม Levels ตรงในส่วน Settings ของอินดิเคเตอร์เข้าไปด้วยการเพิ่ม Level ตามภาพประกอบ แล้วท่านจะได้ เส้นระดับ 100 ตรงกลางของอินดิเคเตอร์ขึ้นมาด้วย ซึ่งจะช่วยให้ท่านเข้าใจในการตีความได้ง่ายขึ้น

ค่า Period ที่กำหนดใน Settings คือ 14 ถือว่าเป็นค่ามาตรฐานที่นิยมใช้กัน แต่สามารถปรับเพิ่มหรือลดได้ [คำว่า Period ในที่นี้หมายถึง จำนวนแท่งเทียน] ถ้าปรับ Period น้อยลง สัญญาณก็จะเกิดขึ้นบ่อย แต่ปัญหาคือ ประสิทธิภาพในการทำงานของข้อมูลก็จะลดลง

การตีความและใช้ Momentum กับการเทรด



การตีความแบบง่ายๆ ให้ดูทิศทางแท่งเทียนปัจจุบันเทียบกับ Momentum ของแท่งเทียนก่อน ว่าสูงขึ้นหรือต่ำลง ไปทางไหน แสดงว่า Momentum ในการเข้าเทรดอยู่ทางนั้น แต่ถ้าเหนือหรือต่ำกว่าเส้น 100 ก็บอกนัยสำคัญคือ เมื่อเหนือกว่าเส้น 100 บอกว่า Momentum ทางฝ่าย Buyers เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และกำลังได้เปรียบ หรือถ้าเส้น Momentum ต่ำกว่า 100 บอกว่า Momentum ทางฝ่าย Sellers กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และได้เปรียบ ให้หาโอกาสเทรดทางนั้นๆ เป็นหลัก

หรือจะมองว่าเป็น Bullish Momentum หรือ Bearish Momentum ก็ด้วยการดูว่าเส้น Momentum เหนือกว่าหรือต่ำกว่าเส้น 100 ก็ได้

อีกอย่างที่เห็นคือเมื่อ Momentum พุ่งถึงค่าที่สูงสุดหรือต่ำสุดก่อนตามที่กำหนดช่วงในค่า Period-14 จะบอกนัยว่าแนวโน้มทางนั้นๆ จะไปต่อ ตรงส่วนนี้จะช่วยในการเทรดตามเทรนเป็นอย่างดี หรือ Trend-following ระดับของ Momentum ที่เกิดขึ้นบอกถึงแรงที่จะไปต่อได้จนกว่า Momentum จะลดลง ดูจาดภาพประกอบที่เลข 1 2 และ 3 ที่มีการตีเส้นแท่งเทียน  เห็นเส้นที่ตีจุดที่เป็นจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดเดิมแล้ว Momentum ได้เบรคแล้วราคาไปต่อทางนั้นๆ ที่เลข 2 และ 3 เห็นได้อย่างชัดเจน เพราะราคาไม่ได้วิ่งเข้าหาแนวต้าน การเปิดเทรดที่เลข 2 และ 3 จะชัดเจนเพราะ Momentum ที่เลข 2 ต่ำกว่า 100 แล้วรอดู price action แท่งเทียนต่อมาหาโอกาสเปิด Sell และที่เลข 3 รอ Momentum มากกว่า 100 ดู price action ประกอบ แล้วเปิดเทรด Buy


นอกจากนั้นแล้ว Momentum ยังช่วยบอกถึงราคาได้ถ้ามีการเข้าเทรดทางใดทางหนึ่งมากเกินไป หรือสถานะ Overbought/Oversold ที่อินดิเคเตอร์อื่นๆ ทำงาน เช่น RSI, MACD ที่ใช้ในการเทรด Divergence เมื่อราคาวิ่งไปถึงจุดที่สูงสุดหรือต่ำสุด ก็จะดีดกลับหรือเปลี่ยนเทรน ให้ดูการพัฒนาการของราคาและอินดิเคเตอร์ว่าไปทางเดียวกันหรือเปล่า ถ้าไม่ไปทางเดียวกัน บอกนัยสำคัญว่า การเปลี่ยนข้าง Momentum จะเกิดขึ้น

ดูที่เลข 1 มองดู market structure จะเห็นว่าราคาได้ทำ Lower Low ต่อเนื่องกัน แต่พอมองค่า Momentum จะเห็นว่า เริ่มทำ Higher Low พอ Momentum ได้ขึ้นมาเหนือกว่า 100 เป็นการยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นก็จะให้เปิด Buy ด้วยหลักการ Divergence ได้ การเปิดเทรดด้วยการดูรูปแบบ Price Action ประกอบ หลังจาก Momentum ยืนยันทิศทางเมื่อแท่งเทียนปิด แท่งเทียนต่อมา ราคาลงมาทดสอบ แล้วเกิด Lower wick ยาวๆ บอกถึงแรงเข้ามากทางฝ่าย Buyers เปิด Buy ในแท่งเทียนต่อมา

ที่เลข 2 ดูราคาทำ Higher High ที่ลูกศรชี้ แต่พอมองมาที่ Momentum กลับเห็นทำ Lower High เกิดการขัดแย้งกันระหว่างราคาและอินดิเคเตอร์ พอ Momentum ได้เบรค Low ก่อน และได้เบรคลงต่ำกว่า 100 บอกถึง Momentum เปลี่ยนข้างมาทางฝ่าย Sellers ก็จะเป็นโอกาสให้เปิด Sell ได้ ดูแท่งเทียนเห็นราคากลับมาทดสอบ ตรงที่ลูกศรชี้เห็น Upper wick พื้นที่เดียวกันบอกแรงต่อเนื่อง Momentum ทางฝ่าย Sellers เปิดเทรดด้วย Price Action ประกอบ เมื่อเห็น Bearish candlestick ปิดล่างได้หลังจากเกิดหางแท่งเทียนด้านบน

จากที่ยกตัวอย่างมา จะเห็นว่าการใช้งาน Momentum อาจแบ่งเป็นหลักๆ คือใช้เป็นตัวยืนยันเทรนเพื่อเทรดตามเทรนหรือ Trend following ให้ Momentum เป็นตัวยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดูราคาบอกค่อยเทรดตาม และใช้อย่างกรณีใช้เทียบกันกับการพัฒนาการ market structure และการพัฒนาการของอินดิเคเตอร์เพื่อบอกนัยการเทรดว่าเปลี่ยนเทรนหรือ Divergence แต่ต้องเข้าใจว่า เนื่องจากการทำงานของอินดิเคเตอร์นี้ใช้ข้อมูลจากแท่งเทียนที่เกิดขึ้นแล้ว ข้อมูลที่เกิดขึ้นจะเป็นประเภท Lagging information ให้เน้นว่าเป็นการยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้น ดูจากตัวอย่างสัญญาณในการเปิดเทรดจากตัวอย่างด้านบน จะเห็นว่าราคาได้วิ่งมาเยอะแล้ว Momentum ค่อยจะบอกสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องใช้ข้อมูลพวกนี้ให้เป็น และใช้กับ Technical Analysis อื่นประกอบด้วยยิ่งดี การเปิดเทรดให้ดู Price Action ประกอบจุดที่เปิด เพื่อจังหวะเข้าเทรดที่ดีและการกำหนด stop loss จะชัดเจนและแคบด้วย