กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทคนิคการใช้ Williams’ Percent Range เสริมการเทรด

  • 0 replies
  • 2,963 views
เทคนิคการใช้ Williams’ Percent Range เสริมการเทรด
« เมื่อ: 15, มิถุนายน 2021, 07:20:32 AM »
เทคนิคการใช้ Williams' Percent Range เสริมการเทรด

การใช้อินดิเคเตอร์ประกอบการเทรด ข้อดีคือแทบไม่มีช่องว่างการเรียนรู้ แค่เรียนรู้ว่าอินดิเคเตอร์ทำงานอย่างไร และใช้ในการตีความอย่างไร แต่ข้อเสียของอินดิเคเตอร์คือเป็นการอ่านจากข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว ข้อมูลที่ได้มาเลยถือว่าช้า (lagging information) แต่ข้อมูลแบบนี้กลับเป็นการยืนยันสิ่งที่ราคาเกิดขึ้น เหมือนการใช้อินดิเคเตอร์อื่นๆ คือการใช้ Williams ไม่ควรใช้ในการวิเคราะห์สัญญาณการเทรดอย่างเดียวแต่เป็นทูลเสริมกับ Technical Analysis อื่นๆ เช่น Trendline หรือ Price levels เน้นการเทรดแบบ Confluence เป็นหลักจะดี [บทความนี้เน้นไปที่การใช้งานอินดิเคเตอร์ตัวนี้เป็นหลัก

Williams' Percent Range บอกอะไร


อินดิเคเตอร์ Williams' Percent Range หรือเรียกย่อๆ ว่า Williams %R เป็นอินดิเคเตอร์ในหมวด Oscillator ถือว่าเป็นทูลพื้นฐานของโปรแกรมเทรด รวมทั้งใน Metatrader 4/5 ด้วย โดยหลักการเป็นการวัดการแกว่งตัวของราคาในกรอบ ดูจากภาพประกอบและจากค่า Default คือหาค่าจาก 14 Period หรือ 14 แท่งเทียน หลักการนำเสนอข้อมูลคืออินดิเคเตอร์ จะแสดงผลในกรอบ 0 ถึง -100  ถ้าค่าเส้นที่แสดงผลที่ได้อยู่ระหว่าง 0 ถึง – 20 ถือว่าเป็น Overbought และ  ถ้าต่ำกว่า-80 ถึง -100 ถือว่าเป็น Oversold รูปแบบการนำเสนอจะคล้ายๆ แบบ Relative Strength Index (RSI) ที่เทรดเดอร์รู้จักกันดีสำหรับช่วยกำหนด Overbought/Oversold  ดังนั้นหลักการของข้อมูลที่ได้คือ ใช้อินดิเคเตอร์ตัวนี้เพื่อดูว่าราคาได้วิ่งไปทางใดทางหนึ่งมากหรือยัง หรือที่เรียกว่า Overbought/Oversold เพื่อหาจุดเทรดสวนเทรน หรือดูว่าเทรนเพิ่งเริ่มต้น เพื่อเป็นการเทรดตามเทรน การเปิดเทรดแนะให้ดูการวิคราะห์อย่างอื่นประกอบเพื่อเป็นการยืนยัน เช่น chart pattern หรือ price action ประกอบ

Williams %R ใช้เสริมเทรดกับ Technical Analysis อื่นอย่างไร


เป็นที่รู้กันว่า แม้ว่าอินดิเคเตอร์ จะให้ข้อมูล เช่นอย่างเรื่องของการเทรดสวนเทรนด้วยการดู Overbought หรือ Oversold ไม่ได้หมายความว่า เมื่อ Williams %R บอก ท่านจะเปิดเทรดทันที จำเป็นต้องดูอย่างอื่นประกอบเป็น chart patterns หรือ price action เป็นต้นเพื่อเป็นการยืนยันอีกทีค่อยเปิดเทรด  เช่นกรณีการใช้ Williams %R ในการเทรดสวนเทรนขาขึ้น ท่านจำเป็นต้องเห็นราคาทำทรนหรือวิ่งไปทางขึ้นเป็นหลัก ก็จะทำให้อินดิเคเตอร์ประมวลผลออกมาเป็น Overbought ท่านก็รอ จนกว่าเห็นสัญญาณการกลับตัว เช่นรูปแบบ chart patterns ด้าน Reversals เช่น Double Topsหรือ Head and Shoulders และท่านควรเห็นรูปแบบ price action ที่บอกการยืนยันด้วย ค่อยหาโอกาสเปิดเทรด หรือบางท่านอาจใช้แค่หลักการการพัฒนาการ swing high/low เช่นราคาทำ Higher High แต่ส่วนของ Williams กลับทำ Lower High เป็นต้นที่เป็นสัญลักษณ์บอก Divergence แบบเดียวกันกับ RSI

ดูภาพประกอบ ก่อนที่จะมาดูที่เลข 1 ที่ Williams %R บอกสถานะเป็น Overbought ก่อนที่จะมาถึงตรงนี้ ราคาได้วิ่งขึ้นเป็นหลัก อาจดูจากได้เส้น Moving Averaging ค่า 14 ที่เป็นค่า default หรืออาจมองการพัฒนาการ swing highs/lows ก็ได้ สรุปสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ราคาวิ่งทางเดียวไปเป็นหลักและมาไกล เลยทำให้เกิด Overbought ในที่นี้ได้ใช้ MA เข้าไปประกอบเพื่อกำหนด Trendline  และดูเส้นที่บอก Williams และลากมาที่แท่งเทียน ท่านจะเห็นว่า ข้อแรก ราคาได้เบรค Trendline ลงมา และที่สำคัญราคาเบรคและปิดล่างได้ด้วย  ข้อสอง เมื่อมองการพัฒนา swing ท่านจะเห็นว่า market structure ก่อนที่จะเกิดการเบรคลงมา ราคาได้ทำ Higher High แต่ส่วนของอินดิเคเตอร์กลับทำ Lower High บอกความขัดแย้งกันระหว่างอินดิเคเตอร์แบบ Oscillator ที่เป็นตัวยืนยันการเคลื่อนของราคา แต่กลับไปคนละทาง บอกนัยถึง Divergence ที่บอกว่าอาจเป็นไปได้ที่ราคาอาจวิ่งสวนเทรนได้ ข้อสุดท้ายดู Price Action แม้ว่าแท่งเทียนที่เบรคลงเป็นแท่งเทียนต่อเนื่องกับแท่งเทียนก่อน แต่หลักสำคัญของการอ่านแท่งเทียน Price Action คือปริบทหรือแท่งเทียนต่อเนื่องกันจะสะท้อนว่าราคาบอกอะไรมากกว่าอ่านแท่งเทียนเดียว ถ้ารวมแท่งเทียนนี้กับแท่งเทียนก่อนดันลงมา บอกได้ว่าเป็น Engulfing ในหลักการของ Price Action บอกถึงการเข้าเทรดและเอาชนะอีกข้างอย่างชัดเจน แล้วค่อยเปิดเทรด


เมื่อเปิดเทรด สัญญาณการเปิดเทรดเกิดขึ้นเมื่อยืนยันด้วยราคาปิด หรือส่วนของ Price Action ที่ยืนยันเกิดขึ้น พอรูปแบบ Price Action เกิดขึ้น เราก็ดูพื้นที่ส่วนของรูปแบบ PA ตามภาพประกอบ ที่บอก Break + Price Action การกำหนด stop loss เหนือกว่าพื้นที่ตรงนี้เล็กน้อย ส่วน take profit ดูเรื่องของจุด swing high/low ประกอบ ก็จะตรงพื้นที่ตามภาพประกอบ


ตอนต่อมาหลังจากการเปิดเทรด Sell 1 ที่อธิบายก่อนนี้ มาดูที่บอก Sell 2 จะเห็นว่า market structure ได้เปลี่ยนไป ถ้ามองเป็นรูปแบบ chart patter บอกว่าเป็น Head and Shoulders ได้ตอนที่เปิด Sell ที่เลข 1 ก่อนนี้ ราคาก็ได้เบรค Support หรือส่วนที่เป็น Neckline ของรูปแบบ HS ลงมาจนถึง Support ด้านล่าง ราคาเด้งขึ้นไป ก็จะเห็นว่า Williams %R วิ่งขึ้นไปพื้นที่ Overbought อีกรอบ จาก market structure ที่เกิดรอบแรกเป็นไปได้ว่า ราคาอาจกลับมาทดสอบที่ HS level ตรงที่วงกลมสีฟ้า ที่ลากเส้น Resistance ต่อมาจากจุดที่เป็น Right Shoulder ของรูปแบบ HS รอให้ราคาบอกว่า Resistance จะบอกอย่างไรกับ market structure ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่ารูปแบบ Pin Bar – แบบ Reversal เกิดขึ้นพอดี แต่ถ้ามอง Williams ยังไม่ได้หักหัวลง จนกว่าแท่งเทียนต่อมาที่เป็นแท่งยาวๆ และเบรคและปิดต่ำกว่าเส้น Trendline ได้ นั่นคือราคาบอกว่า หลังจากเกิดการกดดันด้วยการเด้งออกอย่างแรงที่พื้นที่ HS Level แล้ว เรายังเห็นการยืนยันจากอินดิเคเตอร์  Trendline ได้โดนเบรคและ Williams ด้วย ถือว่าเป็นการเสริมกัน หรือเรียกว่าเป็นการเทรดแบบ Confluence

จากที่อธิบายมา จะเห็นว่า Williams %R เป็นทูลยืนยันราคาที่เกิดขึ้นได้อย่างดี แต่การใช้ไม่อาจใช้อย่างเดียว ต้องใช้ควบคู่หรือเสริม Technical analysis อย่างอื่นเพื่อเห็น Confluence ก็จะเพิ่มความเป็นไปได้ เช่นใช้กับ chart patterns และยังต้องยืนยันด้วย price action ด้วย แม้ว่าการเข้าเทรดราคาอาจได้วิ่งไปเยอะบ้างแล้ว แค่ความเป็นไปได้ยังสูง แนะให้ดูเรื่องของ Risk:Reward ประกอบ หรืออาจหา trade setup จาก timeframe ใหญ่เช่น H4 หรือ D1 ก็จะดี