กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ CCI กับ price action

  • 0 replies
  • 1,041 views
การใช้อินดิเคเตอร์ CCI กับ price action
« เมื่อ: 06, มกราคม 2020, 06:57:16 PM »
การใช้อินดิเคเตอร์ CCI  กับ price action

อินดิเคเตอร์ CCI หรือชื่อเต็ม Commodity Channel Index เป็นอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมกันและใช้ง่าย เพราะ เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท momentum oscillator เป็นตัวบอกสถานะของการเคลื่อนไหวของราคาก็จะใช้สำหรับช่วยการยืนยัน price action ในการกำหนด trade setup เพื่อเทรดตามเทรนและเทรดสวนเทรน เพราะบอกถึงสถาณะ Overbought และ Oversold ของสินค้าที่จะเทรดด้วย [ในบทความนี้จะเน้นการใช้งานเป็นหลัก ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดวิธีการคำนวณของ CCI]

ข้อมูล CCI ยืนยัน price action


สิ่งสำคัญในการใช้อินดิเคเตอร์คือใช้เป็นตัวยืนยัน นั่นหมายความว่า ไม่แนะนำให้ท่านใช้อินดิเคเตอร์ CCI อย่างเดียวเป็นตัวกำหนด trade setup แต่ต้องมาจากการอ่าน price action ที่ท่านต้องการวิเคราะห์เพื่อกำหนด trade setup แล้วใช้ CCI ช่วยยืนยัน หรือกรองความเป็นไปได้ให้มากขึ้น เพราะอินดิเคเตอร์อ่านข้อมูลจากสิ่งที่เกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ CCI นำเสนอ ก็จะเป็นข้อมูลประเภทที่ช้าหรือ Lagging information เมื่อเทียบกับ price action แต่ถ้าเราใช้เป็นและเข้าใจจุดนี้ เลยแนะนำให้ใช้เป็นตัวยืนยัน นั่นเพราะ CCI เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator เป็นตัวบอกถึง momentum ในการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ดังนั้นการใช้ CCI เป็นตัวยืนยันใน 2 ส่วนคือ เบรคเทรดตามเทรนหรือ momentum ที่เพิ่งเริ่ม หรือเพื่อหาจังหวะเทรดสวนเทรนเบรคเห็นว่าข้อมูลที่ยืนยันบอกถึงความอ่อนของ momentum  การใช้ค่า default ก็เพียงพอที่จะตีความ โดยเฉพาะที่กำหนด level ที่ให้กำหนด -100 และ 100 สำหรับประกอบส่วนแสดงผลของอินดิเคเตอร์ การตีความง่ายๆ ให้ดูเส้น MA สัมพันธ์กับระดับ 100 และ -100 อย่างไร ส่วนตั้งแต่ 100 ขึ้นมา เป็นพื้นที่ OverBought ส่วนต่ำกว่า -100 ถือว่าเป็นพื้นที่ Oversold

เข้าใจสถานะ Overbought/Oversold


ก่อนจะตีความ CCI ยืนยัน price action อย่างไร ต้องเข้าใจส่วนประกอบของ CCI ก่อน โดยเฉพาะพื้นที่ๆ เรียกว่า Overbought/Oversold ท่านดูที่ CCI มีสิ่งหนึ่งที่ท่านต้องระวังคือ เมื่อเห็นหัวเบรคระดับ Overboght หรือ Oversold มันจะเกิดการเร่งของราคาไปทางนั้นๆ อย่างรวดเร็วเพราะเป็นพื้นที่มี liquidity สูง นั่นเลยบอกว่า แม้ว่า CCI บอกสถานะ Overbought/Oversold  แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้เวลาเปิดเทรดสวนทันที ดังนั้นการเทรดเลยจะเป็นต้องใช้ price action เป็นตัวนำหลักแล้วใช้ CCI เป็นตัวยืนยัน เพราะต้องไม่ลืมว่า CCI บอกถึง momenum oscillator ไม่ได้บอก trade setup ดังนั้น การที่จะใช้ CCI ท่านต้องอ่าน price structure เป็นแล้วใช้ CCI ยืนยัน momentum ว่าอยู่ข้างที่ท่านเปิดเทรด อย่างที่เลข 1 2 และ 3 จะเห็นว่าถ้าดู CCI จะเห็นว่าเส้นกำหนดมาเหนือ 100 บอกถึงพื้นที่ Overbought ที่บอกว่าได้มีการเปิด Buy มาถึงจุดเริ่มเยอะ อาจเป็นโอกาสที่จะเกิดราคาวิ่งสวนเทรน แต่สิ่งที่ท่านเห็นคือราคากลับเริ่มวิ่งเร็วกว่าเดิม แต่ถ้าท่านใช้ price action เพื่ออ่าน price structure ที่เกิดขึ้นและใช้ CCI เป็นตัวยืนยันการเทรดจะมองต่างออกไป  การตีความของ CCI ก็จะดูเส้น MA สัมพันธ์ระดับ 100 และ -100 อย่างไร

ใช้ CCI ยืนยัน price action เพื่อเทรนตามเทรน


เนื่องจาก CCI เป็น อินเคเตอร์ประเภท Oscillator ที่บอกถึง momentum หรือการเคลื่อนไหวราคาไปทางไหน เป็นตัวยืนยัน ถ้าอ่าน price structure เป็นว่าขาใหญ่เทรดทางไหนจะเพิ่มความเป็นไปได้เยอะมาก อย่างเช่น ดูว่าราคาทำอะไร ท่านจะเห็น Highger Lows เกิดมาต่อเนื่องสุดท้ายราคาเบรค แล้วราคาก็ consolidation ส่วนข้อมูลของเส้น CCI ก็หันลงล่างไปหา -100 พอราคาลงไปต่ำกว่านิดเดียวเริ่มหักหัวขึ้น  เพราะ momentum เริ่มกลับมา เพราะตอนที่ราคาทำ higher lows ต่อเนื่องตามด้วยเบรค บอกว่าขาใหญ่ทำอะไร พอมาที่เลข 1 อีกรอบ ราคาหลังเส้นจะเห็นว่ามีการเร่งพื้นที่นั้นต่อเนื่อง บอกถึงว่า momentum ที่เกิดก่อนที่ทำเทรนจะกลับมา  CCI เป็นเป็นตัวยืนยันอย่างดีในการเข้าเทรด  จุดที่เลข 2 ก็เช่นกัน จะเห็นว่าราคาได้เลยแนวรับลงมาแล้วราคาเด้งแต่พอราคากลับมาที่เลข 2 ราคาเด้ง ท่านจะเห็นว่า CCI อยู่ที่ Overbought และเริ่มหักหัวลง ก็เป็นตัวยืนยันให้เทรดตาม Momentum ที่เกิดขึ้นที่เลข 3 และเลข 4 ก็เช่นกัน ดังนั้นการเทรดตามเทรน สิ่งแรกที่ต้องอ่านให้ออกคือ ราคาทำเทรนด้วย Momentum หรือเห็นเป็น impulsive move แล้วท่านใช้ CCI เทรดตอนราคากลับมาเทส หรือยืนยัน corrective move จบก็จะเป็นการเทรดตามเทรนพอดี แต่ถ้าดูแต่ข้อมูลจาก CCI อย่างเดียว อย่างที่ A และ B ถ้าเปิดเทรดจะพลาดทันที นึ่คือความสำคัญของการใช้อินดิเคเตอร์ยืนยัน price action เพื่อกำหนด trade seutp

ใช้ CCI กับ price action เพื่อเทรด divergence


สิ่งหนึ่งที่นิยมใช้ CCI กันคือเพื่อเป็นการยืนยันว่าเทรนจบ เพื่อจะเทรดสวนเทรนตั้งแต่จุดเริ่มต้น  แต่ไม่อาจใช้ CCI อย่างเดียวต้องใช้กับ price action ด้วย เรื่องของการพัฒนาการ swing highs/lows หรือการทำเทรน ปกติถ้าราคาทำ High หรือ low ข้อมูลที่ได้จาก CCI ก็ต้องเป็นไปแบบเดียวกันเพราะอินดิเคเตอร์ใช้ข้อมูลจากราคาที่เปิดขึ้นแล้ว  เช่นอย่างภาพด้านบน ท่านจะเห็นว่าราคาหรือ price chart ที่จุด 1 ราคาทำ Higher High ตามด้วย Higher High ขึ้นไปได้แต่เบรค ท่านดู CCI ท่านจะเห็นว่าที่เลข 1 ราคาทำ Higher High ได้แต่ที่เลข 2 ราคาทำ Lower High นี่คือสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่าง price บอกและ CCI บอก เพราะ momentum ที่ตามมาไม่สามารถให้ข้อมูลได้แบบเดียวกับชาร์ตเปล่า

CCI เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่นิยมกันเพราะใช้ง่าย และทำงานได้ดีเมื่อดูประกอบ price action เป็นอย่างที่อธิบายมา แต่ไม่แนะนำให้ใช้ CCI เป็นตัวนำ แต่เป็นตัวเสริมหรือยืนยันอย่างที่อธิบายมา เพราะช่วงที่ Overbought หรือ Oversold มักจะเห็นราคาวิ่งอย่างแเรงไปต่อในช่วงนั้นประจำ  ถ้าอ่าน price structure ประกอบ ก็จะสามารถเทรดตาม momentum ที่เกิดในกรอบของ Overbought หรือ oversold ได้ง่ายด้วย