กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Copy Trading โบรกไหนดีที่สุด เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียให้เห็นกันชัดๆที่นี่

  • 0 replies
  • 2,361 views
Copy Trading โบรกไหนดีที่สุด เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียให้เห็นกันชัดๆที่นี่

     
การบริการคัดลอกการเทรดหรือ Copy Trding หรือ Social Trading เป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีประโยชน์ทั้งต่อเทรดเดอร์ที่เทรดทำกำไรได้ต่อเนื่องให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นได้อีกช่องทางหนึ่ง และเทรดเดอร์ที่คัดลอกตามอาจเพราะยังเทรดทำกำไรไม่ได้ตามที่ต้องการหรือเพราะยังใหม่ต่อตลาด แต่เห็นว่าตลาดทำกำไรได้จริงถ้าหาเทรดเดอร์ที่เทรดได้กำไรได้จริงแล้วคัดลอก ก็แค่ไปคัดลอกการเทรดของเขา ใช้ความรู้ในการศึกษาตัวแปรที่บอกประสิทธิภาพของแต่ละเทรดเดอร์ที่ตัวเองจะคัดลอกหรือ Trading Performance  แค่ยอมเสียค่าบริการบางส่วนเท่านั้น ในส่วนของโบรกเกอร์ถ้าเทรดเดอร์เทรดที่โบรกของตัวเองมากขึ้นหรือมี trading trasactions มากขึ้นรายได้ก็มากขึ้น และยังเป็นการรักษาลูกค้าให้อยู่กับตัวเองและเป็นบริการเสริมได้อีกทางหนึ่งด้วย ทั้ง 3 ฝ่ายต่างได้ประโยชน์ทั้งหมด เลยทำให้เรื่องของ CopyTrading นิยมขึ้นเรื่อยๆ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการบริการของ FBS, Exness, HotForex, Fullerton และ NAGA มาประกอบ  เพราะทั้ง 5 โบรกเกอร์นี้ถือว่าเป็นโบรกเกอร์ที่เทรดเดอร์คนไทยเข้าถึงได้ง่าย และฝาก-ถอนง่ายผ่านธนาคารออนไลน์ในไทยได้หมด

หลักการทั่วไป CopyTrading


จริงๆ การคัดลอกการเทรดไม่ใช่เรื่องใหม่เท่าไร เพราะเทรดเดอร์เองสามารถทำได้ที่เครื่องพีชี มีการใช้ software ประกอบและคัดลอกการเทรดหลายๆ บัญชีเทรด อย่างกรณีของ Metatrader แต่ที่เป็นที่นิยมขึ้นมาเร็วเพราะโบรกเกอร์เองให้บริการการคัดลอกผ่าน trading server เลย โดยโบรกเกอร์สร้างสิ่งแวดล้อมขึ้นมาทำส่วนนี้ให้กับลูกค้าตัวเองทั้งส่วนที่ต้องการให้เทรดเดอร์อื่นคัดลอกการเทรด และเทรดเดอร์ที่คัดลอกการเทรดของคนอื่น ทางโบรกเกอร์ก็ได้ใช้ทรัพยากรที่ตัวเองลงทุนเต็มที่ ตัวเทรดเดอร์ที่ให้บริการการเทรดเองก็มีแหล่งรายได้เพิ่ม ตัวเทรดเดอร์ที่คัดลอกเองก็ไม่ต้องไปหา strategy providers ที่อื่นใช้ โบรกเกอร์จะสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกำหนดเงื่อนไขต่างๆ  เช่น เทรดเดอร์ที่เป็นผู้ให้บริการการคัดลอก และเทรดเดอร์ที่คัดลอกก็จะมีตัวแปรอื่นๆ เช่นค่าคอมมิสชั่นสำหรับการคัดลอกเป็นแบบไหน การเปิดบัญชีเทรดเป็น Strategy provider หรือ investor แบบไหน ทางโบรกเกอร์มีตัวแปรช่วยเป็นกรอบในการคัดเลือกว่าจะคัดลอกเทรดเดอร์คนไหนมากพอหรือเปล่า ในฐานะที่เป็นเทรดเดอร์คัดลอกต้องมีค่าใช้จ่ายอย่างไรและตรงไหนบ้าง

CopyTrading และโบรกเกอร์

ทาง FBS เรียกส่วนนี้ของตัวเองว่า FBS CopyTrade

Exness เรียกว่า Exness Social Trading

HotForex เรียกว่า HFcopy

Fullerton เรียกว่า CopyPip

NAGA เรียกชื่อตามโบรกเกอร์ตัวเองเลยว่า NAGA Social Trading platform

ทั้ง 4 โบรกเกอร์แรก (FBS, Exness, HotForex, Fullerton) ลักษณะรูปแบบ CopyTrading ไม่ต่างกัน เป็นส่วนขยายของโบรกเกอร์เพื่อตอบสนอง Social Trading หรือ Copy Trading ที่กำลังเป็นที่นิยมเพราะโบรกเกอร์พวกนี้ให้บริการการเทรดมาตั้งแต่แรกแล้ว เงื่อนไขก็แตกต่างกันออกไปแล้วแต่โบรกกำหนด เช่นเรื่องตัวกรองของเทรดเดอร์ที่จะเป็น Strategy provider หรือ Master หรือ Leader แล้วแต่โบรกจะเรียก ก็คือเทรดเดอร์ที่ยอมให้เทรดเดอร์อื่นๆ คัดลอกการเทรดนั่นเอง เงื่อนไขก็จะเป็นการคิด performane fee ค่าธรรมเนียมจากผลการเทรดเป็นหลัก และรูปแบบการคัดลอกว่าเป็นแบบไหน ส่วนโบรกเกอร์ NAGA นั้นต่างออกไป แม้ว่าส่วนของการ CopyTrading จะทำงานไม่ต่างกัน แต่ NAGA ไม่ได้คิดแบบ performance fee แต่เป็นการคิดแบบ copying fee หรือคิดค่าธรรมเนียมจากการคัดลอก และ NAGA ยังได้สร้าง Social Trading สำหรับเทรดเดอร์ขึ้นมาเพราะเทรดเดอร์ที่อยู่ใน NAGA ไม่ได้แค่ได้ copytrading เท่านั้นแต่ได้สิ่งแวดล้อมที่เป็น Social ด้วยเช่น Feed, Block, Markets (ส่วนเทรด) My Trades (ส่วนรายการและสถานะการเทรด)  Top Traders (ส่วนของ CopyTrading) Auto-Invest, Academy, Messager และ Crypto-Waller (อาจมองเทียบได้กับ Facebook ก็น่าจะว่าได้) จะเปรียบเทียบบางรายการหลักดังนี้

การเปิดบัญชี Investor

การเปิดบัญชีสำหรับคัดลอกเป็นทางที่ทำง่ายที่สุด แต่หลายๆ โบรกเกอร์อาจง่ายต่างกันออกไป เริ่มที่ FBS ก็จะมี FBS Copy Trade สำหรับ Andriod และ iOS และ Exness ก็จะมี Exness Social Trading สำหรับ Andiriod และ iOS  ส่วนอีก 3 โบรกเกอร์คือ HotForex ใช้ชื่อเรียกว่า Hfcopy, Fullerton เรียกว่า CopyPip ส่วน NAGA เรียกเป็นชื่อตามโบรกเลยเพราะเป็น Social Trading Broker อยู่แล้ว เนื่องจาก FBS และ Exness ได้มีแอพพลิเคชั่นสำหรับ Andriod และ iOS เลยทำให้เทรดเดอร์เข้าถึงได้ง่ายและเงื่อนไขการเป็น Investor ง่ายมากแค่ลงแอพพลิเคชั่น ส่วน HotForex, Fullerton และ NAGA ต้องทำผ่านเบราเชอร์เป็นหลัก แม้ว่าโบรกเกอร์ทั้ง 5 ที่ยกมาประกอบมีการให้ฝาก-ถอนผ่านธนาคารไทยออนไลน์ได้ทั้งหมด แต่เนื่องจาก FBS และ Exness มีแอปเลยยิ่งให้มีการฝากถอนเร็วกว่าอีกเพราะทำได้โดยตรงจากแอปเลย เลยทำให้ FBS และ Exness เป็นโบรกเกอร์ที่เทรดเดอร์ที่สนใจการคัดลอกการเทรด เข้าถึงได้ง่ายและเร็วกว่าอีก 3 โบรก

การเปิดบัญชี Strategy Provider หรือ Master

การเปิดบัญชีส่วนนี้ไม่ต่างกันเพราะเป็นส่วนของเทรดเดอร์ที่ให้คัดลอกการเทรด ก็จะทำผ่านหน้าข้อมูลลูกค้าแต่ละ โบรกเกอร์เป็นหลัก ก็จะเป็นเทรดเดอร์ที่เทรดโบรกนั้นอยู่แล้ว โดยจะมีส่วนนี้ขึ้นมาว่าจะกำหนดเงื่อนไขการคัดลอกและคิดค่าธรรมเนียมจากการเทรดอย่างไร ส่วนมากจะเป็นเปอร์เช็นต์จาก performance fee จากออเดอร์ที่เปิดเทรดและปิดทำกำไรได้เท่านั้นจากเทรดเดอร์ที่คัดลอก แต่ส่วนของ NAGA ต่างออกไปเนื่องจากเป็น Social Trading platform ทางโบรกนี้มีการจ่ายเป็น copying fee สำหรับการคัดลอก และเงื่อนไขในของแต่ละโบรกเกอร์ในการเป็น Strategy provider ก็ต่างกันออกไปดังนี้ FBS ทุนขั้นต่ำ 100 ดอลลาร์, Exness ทุนขั้นต่ำ 500 ดอลลาร์ สำหรับบัญชี Mini และ 2000 ดอลลาร์ สำหรับบัญชี Classic, HotForex ทุนขั้นต่ำ 500 ดอลลาร์ และยังต้องมีประวัติการเทรดด้วย, Fullerton ทุนไม่ได้จำกัดแต่ต้องเปิดบัญชีอย่างน้อย 1 เดือน เทรดไม่ต่ำกว่า 50 ออเดอร์ ส่วนทาง NAGA ถ้าต้องการเป็น Strategy provider ก็มีเงื่อนไขเช่น ต้องเปิดบัญชีอย่างน้อย 3 เดือน ต้องเป็นเทรดเดอร์ระดับ Silver ต้องทำกำไรไม่ต่ำกว่า 70% เป็นต้น แต่ละโบรกเกอร์ก็จะกำหนดเงื่อนไขขึ้นมาเพื่อกรองเทรดเดอร์ที่จะเป็น Strategy Provider จะเห็นว่าเงื่อนไขของโบรกเกอร์ FBS ง่ายกว่าพวกตามมาด้วย Exness ที่ต้องการทุนขั้นต่ำมากขึ้นมาเท่านั้นเอง ส่วนตัวแปรอื่นๆ ที่รายงานประสิทธภาพของ Strategy Providers ต่างๆ ทุกโบรกเกอร์ก็มีให้หมดเพื่อให้ Investors ดูว่าจะคัดลอกเทรดเดอร์รายไหนดี

การคิดค่าคอมมิสชั่นสำหรับการคัดลอกการเทรด

ส่วนที่สำคัญอย่างเรื่องค่าคอมมิสชั่นที่เทรดเดอร์ที่ให้บริการจะได้รับ และเทรดเดอร์ที่คัดลอกต้องจ่ายอย่างไร จะเห็นว่าทั้ง 4 โบรกเกอร์แรกคือ FBS, Exness, HotForex, Fullerton การคิดค่าคอมมิสชั่นไม่ต่างกันคือเป็นแบบ Performance fee ค่าธรรมเนียมจากการดำเนินการเทรด จะเกิดขึ้นกับออเดอร์ที่เปิดและปิดทำกำไรเท่านั้น การกำหนดค่าธรรมเนียมก็จะต่างกันออกไปเช่น FBS ทางระบบของโบรกจะกำหนดให้เองคือ 5% (ในขณะที่โบรกอื่นๆ ให้เทรดเดอร์กำหนดเองได้) Exness เทรดเดอร์ที่เป็น Strategy provider สามารถกำหนดเองได้ตั้งแต่ 0%-50% ของ HotForex เทรดเดอร์ก็สามารถกำหนดได้ ตั้งแต่ 0%-50% ของ Fullerton CopyPip มีค่าธรรมเนียมเริ่มต้นที่ 20 % ของ performance fee ส่วนของ NAGA ไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมแบบ Performance fee แต่เป็น Copying fee ถ้าท่านเปิดเทรดแล้วมีเทรดเดอร์อื่นๆ คัดลอกท่าน ท่านก็มีรายได้ค่าธรรมเนียมการคัดลอก และเทรดเดอร์ที่คัดลอกการเทรดท่านไปถ้ามีเทรดเดอร์อื่นมาคัดลอกอีกทอด เขาก็มีค่าธรรมเนียมจากการคัดลอกเหมือนกัน แต่ถ้าต้องการเป็น Strategy provider โดยตรงก็มีเงื่อนไขเข้ามากรองเพิ่มอีก แต่หลักการค่าธรรมเนียมมาจาก copying fee เหมือนกัน