(Nov 21) เปิดรายงานการประชุมเฟดครั้งล่าสุดพบกรรมการส่วนใหญ่มองศก.สหรัฐยังแข็งแกร่ง แต่ยังคงมีความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์การเมือง : FOMC Minutes ของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 29–30 ต.ค. ซึ่งคณะกรรมการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps สู่ร้อยละ 1.50–1.75 ด้วยมติไม่เป็นเอกฉันท์ มีเหตุผลในการตัดสินใจคล้ายกับการประชุมครั้งก่อนหน้า ได้แก่ (1) เป็นการบริหารความเสี่ยงภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน และ (2) ความกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในอนาคต โดยยังคงดำเนินนโยบายในลักษณะ data–dependent นอกจากนี้ คณะกรรมการเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ร้อยละ 1.50–1.75) เป็นระดับที่เหมาะสม ตราบเท่าที่ภาพรวมเศรษฐกิจสอดคล้องกับคาดการณ์
1. ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ
คณะกรรมการมีมุมมองเชิงบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ต่างจากการประชุมในเดือนก่อนหน้า อย่างมีนัยสำคัญ แต่ระบุถึงการลงทุนของภาคธุรกิจและการส่งออกที่ยังคงอ่อนแอ และกังวลต่อความเสี่ยงด้านต่ำจากความไม่แน่นอนต่างๆ ได้แก่ ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศและความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์การเมือง แม้ว่าสถานการณ์จะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่ยังคงต้องติดตามความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด
- ภาคธุรกิจ: ยังได้รับปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนข้างต้นซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในภาคการผลิตและการเกษตร ขณะที่การประท้วงของแรงงานในบริษัท General Motors ส่งผลกระทบเชิงลบต่อยอดการผลิตรถยนต์
- ภาคครัวเรือน: การบริโภคขยายตัวแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง รายได้ที่ปรับสูงขึ้น และภาวะการเงินที่ผ่อนคลาย นอกจากนี้ ยังเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของภาคการลงทุนในที่อยู่อาศัย
ด้านตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง โดย labor force participation ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอัตราว่างงานอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี การปรับเพิ่มขึ้นที่ลดลงของการจ้างงานในช่วงที่ผ่านมา อาจสะท้อนถึงภาวะตลาดแรงงานที่ใกล้เข้าสู่ full employment สอดคล้องกับอัตราการเพิ่มขึ้นของตำแหน่งงานที่ปรับตัวลดลง
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ที่ระดับต่ำกว่าระดับเป้าหมายร้อยละ 2 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ "several participants" เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์มีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่อง หากไม่มีการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดย "few participants" คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 อย่างต่อเนื่อง และ "a couple of participants" แสดงความกังวลต่อคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ซึ่งกดดันอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวอย่างในกรณีของญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ขณะที่ "a couple of participants" เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสามารถปรับขึ้นสูงกว่าระดับเป้าหมายเป็นระยะเวลาสั้นๆ ได้ในช่วงต้นปี 2020 อันเนื่องมาจากผลของการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้า
2. Financial Conditions and Financial Stability
"Most participants" ที่ยกประเด็นเรื่องเสถียรภาพระบบการเงินขึ้นมาหารือยังคงกังวลเรื่องหนี้ภาคเอกชน และ valuation ของสินทรัพย์เสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง ทั้งในหลักทรัพย์และหุ้นกู้ภาคเอกชน โดย "several participants"เห็นว่าหนี้ภาคเอกชนอยู่ในระดับที่ไม่สมดุลกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทั้ง credit quality ยังปรับลดลง ส่วน "several participants" กังวลต่อการที่ธนาคารพาณิชย์ปรับลดขนาด capital buffer ลงในภาวะที่ควรเพิ่ม capital buffer
4. Monetary Policy
คณะกรรมการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps สู่ร้อยละ 1.50–1.75 ด้วยมติไม่เป็นเอกฉันท์ ด้วยเหตุผลหลัก 2 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อบริหารความเสี่ยงภายใต้ความไม่แน่นอน จากนโยบายการค้าระหว่างประเทศและการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ และ (2) เพื่อสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อเร่งกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมาย ขณะที่คณะกรรมการผู้สนับสนุนการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มีมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ ในระยะต่อไป คณะกรรมการเห็นร่วมกันว่าควรดำเนินนโยบายในลักษณะ data–dependent
ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นควรให้ปรับเนื้อหาใน forward guidance เล็กน้อยจาก "act as appropriate" สู่ "assess the appropriate path of the target range." เนื่องจากพอใจต่อ stance ของนโยบายการเงิน ณ ปัจจุบัน ตราบเท่าที่ภาพรวมเศรษฐกิจสอดคล้องกับคาดการณ์
ทางด้านการหารือเกี่ยวกับเครื่องมือการดำเนินนโยบายการเงิน แบ่งเป็น 3 ประเด็น ได้แก่
(1) Forward guidance: ควรใช้ทั้งแบบ qualitative– dated– และ outcome–based ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ โดย "several participants" เห็นว่าคณะกรรมการควรเพิ่มความชัดเจนในการสื่อสาร เรื่องผลกระทบจากนโยบายการเงินต่อเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันผลกระทบจาก adverse feedback loop
(2) Balance sheet: "some participants" เห็นว่าประสิทธิภาพของนโยบายดังกล่าวมีแนวโน้มปรับลดลงในระยะต่อไป เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง โดย participants หารือเกี่ยวกับ (a) flow–based asset purchase program ที่ดำเนินการได้ง่ายและตรงไปตรงมา แต่อาจส่งผลให้ balance sheet มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น รวมถึง (b) interest rate cap เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและภาคเอกชน โดย "a majority of participants" สนับสนุนการใช้พันธบัตรระยะสั้นมากกว่าระยะยาว
(3) Negative Interest Rate: ปัจจุบัน "all participants" ไม่สนับสนุนการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ เนื่องจากหลักฐานเชิงประจักษ์ยังไม่ชัดเจน และอาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลในระบบการเงิน
อนึ่ง "many participants" เห็นควรให้มี standing fixed–rate facility เพื่อเป็น backstop หากเกิดความเสี่ยง และสนับสนุนให้มีบทวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบ facility ดังกล่าว
Source: BOTSS