ถ้าเป็นรายย่อยไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีครับ ด้วยจำนวนเงินที่ไม่มากเกินไปทำให้มีช่องทางหลบหลีกภาษีมากมาย
เช่น การชำระราคาด้วย E-CURRENCY
แต่สำหรับผู้เล่นขนาดกลาง ตามหลักการแล้วต้องเสียภาษีเหตุเพราะ
การซื้อขาย forex เป็นธุรกรรมที่ไม่อยู่ในการรับรองของ ธปท.
ตามประกาศ ธปท. ประเภท"ประกาศเจ้าพนักงาน" ลงวันที่ 25 มิ.ย. 2556
ตราสารต่างประเทศที่อนุญาตให้ลงทุนได้สำหรับสำหรับผู้ลงทุนทั่วไป
1.หลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
2.หุ้น ทั้ง Common และ Preferred Shares
3.Exchange Traded Funds (ETFs), Exchange Traded Certificates (ETCs)
4.ใบสำคัญแสดงสิทธิ
5.พันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ
6.หลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทไทยที่ไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
7.ตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่มี Investment Grade (BBB)
8.สิทธิประโยชน์อันเกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น หุ้นเพิ่มทุน (PO) หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม
9.หลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (IPO)
10.หน่วยลงทุนนอกตลาด (OTC Unit Trust) ที่ลงทุนในตราสารข้างต้น
11.ตราสารอนุพันธ์ต่างประเทศ ที่ซื้อขายในตลาด (Futures, Options)
***จะเห็นได้ว่าไม่มีการอนุญาตสำหรับ forex และ Contract for Difference (CFDs)
เพื่อนผมที่เป็นนักการเงินบอกว่าคู่เงินที่เราเทรดกับโบรกประเภทนี้เช่น EURUSD XAUUSD จัดเป็น CFDs ชนิดหนึ่ง
ไม่ถือว่าเป็น Foreign Exchange
การคิดภาษีเงินได้สำหรับการลงทุนในต่างประเทศ คิดจาก
1.กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกำไรจากส่วนต่างของราคา (ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์แต่ละประเทศนั้นๆ)
2.เงินปันผล (หัก ณ ที่จ่าย)
3.ดอกเบี้ยรับ (หัก ณ ที่จ่าย)
เมื่อนำกำไรส่วนนี้กลับเข้าประเทศไทย มิต้องเสียภาษีให้แก่สรรพากรอีก หากนำเงินลงทุนและเงินได้ดังกล่าวกลับเข้ามาประเทศไทยในปีภาษีต่อไป
ตามสนธิสัญญา Double Tax Agreements (DTAs)
แต่ทั้งนี้!! ต้องลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์หรือกองทุนส่วนบุคคลในประเทศ เพื่อคุ้มครองนักลงทุนและสิทธิประโยชน์ด้านกฎหมาย (ประกาศฉบับที่9 ลงวันที่ 28 พ.ค. 2556)
เมื่อธุรกรรมการซื้อขาย forex มิใช่ธุรกรรมที่ถูกต้องตามประกาศของ ธปท. แล้ว ผู้ลงทุนขนาดกลางมีทางออกอย่างไรบ้าง ในประเด็นด้านภาษี?
1.จัดตั้งบริษัท nominees และจดทะเบียนในกลุ่มประเทศ Tax Haven Country
2.ลงทุนผ่านผู้ลงทุนสถาบัน หรือ กองทุนส่วนบุคคล แต่ทั้งนี้ต้องเป็นธุรกรรมประเภทอนุพันธ์ที่ไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเงินบาทแฝง
3.แต่งงานกับชาวต่างชาติ และแจ้งโอนโดยระบุเหตุผลเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์
4.แจ้งชำระภาษีเงินได้พึงประเมินตามประมวลกฎหมายรัษฎากร
สำหรับสามัญชนคนไร้เส้นแล้ว ข้อ4 ดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะนักลงทุนขนาดกลางการชำระราคาด้วย E-CURRENCY มีสภาพคล่องไม่เพียงพอ
พวกเขาจะเลือกวิธีการฝากเงินผ่าน Bank Wire Transfers สมมุติพวกเขามีกำไรมหาศาลจากธุรกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประกาศของ ธปท.
เมื่อเขาถอนกำไรนั้นกลับประเทศ เขาต้องแปลงกำไรนั้นให้ชอบด้วยกฎหมาย โดยอาศัยการเสียภาษีตามประมวลกฎหมายรัษฎากร
_ _ _ _ _ __ _ _ _ _ __ _ _ _ _ __ _ _ _ _ __ _ _ _ _ __ _ _ _ _ __ _ _ _ _ __ _ _ _ _ __ _ _ _ _ __ _ _ _ _ __ _ _ _ _ __ _ _
|หากเปรียบเปรยก็เหมือนนักพนันที่โอนเงินไปเล่นพนันในบ่อนการพนันที่ถูกกฎหมายในต่างประเทศ เมื่อโอนกำไรกลับเข้าประเทศ |
|หากแจ้งตรงๆว่าเป็นกำไรที่ได้จากการพนันมีหวังไปนอนคุก (ตาม พระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ประกอบกับ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 4-8) |
|ฉะนั้นเวลาได้กำไรมา (จำนวนมากในลักษณะที่ผิดปกติ) นักพนันเหล่านี้ก็จะฟอกเงินด้วยการแจ้งชำระภาษีตามประมวลกฎหมายรัษฎากร โดยแจ้งที่มาตามมาตรา40 |
- - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - -- - - - - - - - -- - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - -- - - - - - - - -- - - - - - - - -
กลับเข้าเรื่องต่อ เมื่อนักลงทุนขนาดกลางโอนกำไรจาก forex เข้าประเทศผ่านช่องทาง Bank Wire Transfers แล้วมีอุปสรรคอะไรบ้าง
1.การโอนเงินออกนอกประเทศกว่า 50,000$ ต้องยื่นแบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ
2.การฝากเงินกว่า 50,000$ ไปยังโบรก ต้องยื่นเอกสารรายงานแหล่งที่มาของเงินทุนตามกฎ Declaration of Source of Funds (DSF) แก่โบรก
3.การถอนเงินคิดค่าธรรมเนียมในการโอนตามหลักเกณฑ์ธนาคารแหล่งท้องที่ และคิดค่าธรรมเนียมอีกครั้งตามหลักเกณฑ์ธนาคารผู้รับโอน
3.1 ยื่นแบบรายงายอธิบายวัตถุประสงค์ของการโอนเงินแก่ธนาคารผู้รับโอน ในส่วนนี้นี่เองที่เราจะแปลงกำไรนั้นให้ชอบด้วยกฎหมาย โดยแจ้งวัตถุประสงค์ของการโอนเงิน
ให้เข้าข่ายตามประมวลกฎหมายรัษฎากร
นี่เป็นเพียงแทคติกด้านภาษีคร่าวๆเท่านั้น สำหรับแทคติกเชิงลึกไม่ขออธิบายเพิ่มเติมเพราะเป็นผลเสียต่อประโยชน์สาธารณะมากกว่าผลดี
ทั้งหมดเป็นการอธิบายว่านักลงทุนขนาดกลางจะนำกำไรจาก forex กลับเข้าประเทศไทยให้ถูกกฎหมายได้อย่างไร
สรุป
การเทรด forex ต้องเสียภาษี เนื่องจาก forex เป็นธุรกรรมที่ไม่ชอบตามประกาศของ ธปท. ฉะนั้นนักลงทุนขนาดกลางเวลานำกำไรกลับเข้าประเทศ
ต้องแจ้งวัตถุประสงค์ให้เข้าข่ายตามประมวลกฎหมายรัษฎากร เพื่อทำให้เงินถูกกฎหมาย การแจ้งวัตถุประสงค์แห่งการโอนนี่เองนำมาซึ่งการเสียภาษีส่วนเสริม
Contract for Difference (CFDs) คือ "สัญญาระหว่างผู้เล่นกับเจ้าของร้านสำหรับส่วนต่างของการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ทางการเงิน"
ซึ่งสามารถอ้างอิงได้ทั้ง อัตราแลกเปลี่ยน ดัชนีหุ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หรือ ราคาหุ้นรายตัว โดยสามารถเป็นได้ทั้งราคา Spot หรือ ราคา Futures ของสินทรัพย์เหล่านั้น
การซื้อขาย CFDs ปกติแล้วจะเป็นการซื้อขายแบบ Over-The-Counter หรือ OTC คือ เป็นการซื้อขายที่ผู้เล่นกับเจ้าของร้านตกลงกันเองโดยไม่ผ่านตลาดที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ
การซื้อขาย CFDs จะมีระบบการวางเงิน Margin คล้ายกับ Futures ในตลาดอนุพันธ์ทั่วไป กล่าวคือนักลงทุนต้องมีเงินจำนวนหนึ่งวางไว้กับเจ้าของร้าน เพื่อใช้เป็นเงิน Margin
แต่จะมีอัตราการ Leverage ที่สูงกว่า Futures ในตลาดอนุพันธ์ทั่วๆ ไป บางโบรกให้อัตราการ Leverage สูงถึง 1:2000
ข้อแตกต่างระหว่าง Futures กับ CFDs คือ เมื่อระดับเงินประกันของผู้เล่น Futures มีระดับที่ต่ำกว่าระดับ Margin ขั้นต่ำ ผู้เล่นต้องนำเงินมาวางภายในวันรุ่งขึ้นก่อนเปิดตลาด
แต่ในระบบของ CFDs เจ้าของร้าน CFDs จะไม่รอจนถึงวันรุ่งขึ้น แต่จะทำการขายตัดขาดทุน หรือ Cut Loss ให้ทันทีที่ระดับเงินในบัญชีตกลงมาต่ำกว่าระดับ Margin ขั้นต่ำ
หรือเรียกว่าการ Stop out นั้นเอง เจ้าของร้าน CFDs ทำกำไรจากส่วนต่างระหว่าง Bid-Offer ซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากการ Cut Loss บัญชีลูกค้า
ผมขอ อนุญาติ ในบทความของท่าน พยัคฆ์
Thailandforexclub.com มาตอบคำถามนี้นะครับ