Search

ราคาทองคำวันนี้ ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

ประจำวันที่ 00 x.x. 00
ครั้งที่ 0

ราคาทองคำแท่ง 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.

ทองรูปพรรณ 96.5%

ราคาเปิดราคาล่าสุดเปลี่ยนแปลง
00,00000,000
0
(0)
หน่วย THB บาทอัปเดตล่าสุด 00 x.x. 00 เวลา 00:00 น.
ดูราคาทองเพิ่มเติม

สิ่งที่คุณอาจสนใจ

[widget_lastupdate_spdr]

โบรกเกอร์ที่แนะนำ

Recommend Broker

ทำไมต้องเสียค่ากำเหน็จทอง 1 บาทก่อนซื้อสร้อยคอทองดี ๆ สักเส้น คิดคำนวณยังไงพร้อมตัวอย่าง

ค่ากำเหน็จทอง คืออะไร ทำไมต้องจ่าย

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมทองคำรูปพรรณราคาถึงแพงกว่าทองคำแท่ง แม้ว่าน้ำหนักเท่ากัน เพราะว่าทองรูปพรรณวันนี้ไม่ว่าจะเป็น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวนต่าง ๆ จะมีค่ากำเหน็จที่ต้องคำนวณเพิ่มเข้าไปด้วย นอกจากมูลค่าทองคำ ณ ช่วงเวลานั้น ดังนั้นการซื้อเครื่องประดับทองสักชิ้นเตรียมเพียงแค่จำนวนเงินตามมูลค่าทองนั้นไม่ได้ แล้วค่ากำเหน็จคืออะไร ทำไมต้องเสียก่อนซื้อด้วย เราสามารถคำนวณเงินอย่างไร ต้องจ่ายอะไรเพิ่มเติมบ้างเพื่อไม่ให้เสียโอกาสซื้อทองในราคาที่ดีที่สุด วันนี้มีคำตอบ  

รู้จักกับค่ากำเหน็จทอง คืออะไร  

ค่ากำเหน็จทองคือ ค่าแรงหรือค่าจ้างช่างในการขึ้นรูปทองแท่งให้เป็นทองรูปพรรณรูปแบบต่าง ๆ หรือเรียกภาษาบ้าน ๆ ว่า “เครื่องประดับทอง” ที่สามารถเห็นได้ตามร้านทองทั่วไป ซึ่งราคาค่ากำเหน็จจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแบบในการขึ้นรูปทองรูปพรรณ รวมถึงลวดลายต่างๆ ด้วย  

ในปัจจุบันค่ากำเหน็จทองอยู่ที่ประมาณ 500-800 บาท ต่อน้ำหนักทอง 1 บาท ขึ้นอยู่กับร้านทองเป็นผู้กำหนด หากแบบในการขึ้นรูปค่อนข้างยาก ต้องใช้ฝีมือความชำนาญสูง จะทำให้ค่ากำเหน็จสูงตามไปด้วย อาจจะถึงหลักพันได้เช่นกัน ดังนั้นช่วงราคาจะแบ่งได้ 2 แบบ นั่นคือค่ากำเหน็จทอง 1 บาท สำหรับแบบทองรูปพรรณมาตรฐานทั่วไป อยู่ที่ 500 -800 บาท  และค่ากำเหน็จทอง 1 บาท สำหรับแบบทองรูปพรรณกรณียากซับซ้อน อยู่ที่ 1,000 -3,000 บาท  

เมื่อตีความจากค่าการตลาดของผู้ประกอบกิจการร้านทอง ก็สามารถรวมถึง ค่าใช้จ่ายบริหารร้าน ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพนังาน ค่าความปลอดภัย ค่าเช่าสถานที่ และค่าเบ็ดเตล็ดอื่นๆภายในร้าน เป็นต้น  

มาถึงจุดที่ทราบถึง “ค่ากำเหน็จ” แล้ว เราคงเข้าใจมากขึ้นเมื่อไปซื้อสร้องคอสักเส้นจากร้านทอง โดยราคาทองรูปพรรณวันนี้ ประกอบไปด้วย ราคาทองคำแท่งขายออกบวกกับค่ากำเหน็จเข้าไป  

วิธีคิดคำนวณค่ากำเหน็จทอง 1 บาท คิดยังไง 

จากสูตรการคำนวณค่ากำเหน็จทอง  ราคาที่ต้องจ่าย = (ราคาทองคำ x น้ำหนักทองคำ) + (ค่ากำเหน็จต่อน้ำหนักทอง 1 บาท) 

ตัวอย่าง “ราคาทองรูปพรรณ ขายออกอยู่ที่บาทละ 41,150  (อ้างอิงจากสมาคมค้าทองแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 24/04/2024)  ณ ร้านทองแห่งหนึ่งมีค่ากำเหน็จบาทละ 800 บาท 

ลูกค้าซื้อ 

สร้อยทอง 1 บาท ราคาที่ต้องจ่ายเท่ากับ (41,150  x 1) + 800 = 41,950บาท 

สร้อยทอง 2 บาท ราคาที่ต้องจ่ายเท่ากับ (41,150  x 2) + (800 x 2) = 83,900 บาท 

แหวนทอง 1 สลึง ราคาที่ต้องจ่ายเท่ากับ (41,150  /4) + 800* = 11,087.5 บาท 

หมายเหตุ: 1 สลึง เท่ากับ 1 /4 ของทองคำหนัก 1 บาท โดยค่ากำเหน็จคิดขั้นต่ำตามทองคำน้ำหนัก 1 บาท ดังนั้น แม้จะซื้อทอง 1 สลึง ก็เสียค่ากำเหน็จ 800 บาทเท่าทองคำหนัก 1 บาท  

หากต้องการซื้อสร้อยคอ 1 เส้น หรือแหวน 1 วง ต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง ค่ากำเหน็จทองคิดอย่างไร 

สรุปแล้วจะซื้อสร้อยทองสักเส้นหรือแหวนสักวง เราก็ต้องเตรียมเงินสำหรับจ่าย 

  1. มูลค่าเนื้อทองคำ ณ เวลานั้นหรือน้ำหนักทองตามราคาขายทองรูปพรรณ 
  1. ค่ากำเหน็จหรือค่าแรงช่าง 

หากซื้อทองน้ำหนักน้อยกว่า 1 บาท เช่น 2 สลึง, 1 สลึง, ทองครึ่งสลึง หรือทอง 1 กรัม ค่าแรงต่อชิ้นก็ร้านห้างทองมักมักคิดค่ากำเหน็จเท่ากับทอง 1 บาททั้งสิ้น  

อย่างไรก็ตาม ร้านทองรายย่อยหรือร้านทองต่างจังหวัดอาจจะมีค่าขนส่ง ค่าจ้าง ค่าประกันสินค้าเข้าไปด้วย เพราะซื้อทองจากร้านทองรายใหญ่มาอีกที ทำให้ราคาสูงกว่าร้านในกรุงเทพ  

'ค่ากำเหน็จทอง' สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อทอง

ทำไมเวลาขายทองรูปพรรณคืนร้านทองถึงได้จำนวนน้อยกว่าราคาซื้อมา ไม่คิดค่ากำเหน็จทองเข้าไป 

เวลาขายคืนร้านทอง ร้านทองจะให้ตามราคาตามน้ำหนักทองที่ชั่งได้เท่านั้น ไม่บวกค่ากำเหน็จเหมือนตอนที่เราซื้อมา แล้วนี่คือจุดเสียเปรียบที่ทำให้ร้านค้าสามารถกดราคาทองได้  

ตัวอย่าง ทองรูปพรรณ (ราคาอ้างอิงตามสมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 24/04/2024) 

ราคาขายออก บาทละ 41,150.00 บาท 

ราคารับซื้อ บาทละ  39,825.32 บาท  

ร้านห้างทองมีค่ากำเหน็จบาทละ 800 บาท 

เราซื้อสร้อยทอง 1 บาท ราคาที่ต้องจ่ายเท่ากับ (41,150  x 1) + 800 = 41,950 บาท  หลังจากเรากลับบ้านมา ไม่ชอบแล้ว ไปขายคืนร้าน ณ วันนั้นเลย ซึ่งราคาซื้อและขายยังไม่เปลี่ยนแปลง 

ร้านห้างทองแห่งหนึ่งจะตรวจสอบสร้อยก่อนว่ายังเป็นทองคำแท้หรือไม่ เพราะอาจนำไปสลับกับทองปลอมได้ เมื่อตรวจสอบแล้วว่าเป็นทองคำแท้ถูกต้องก็จะชั่งน้ำหนักว่ายัง 1 บาทอยู่ไหม หากยังน้ำหนัก 1 บาทสมบูรณ์ ไม่มีการสึกหรอหรือเกิดการชำรุดใดๆ จากการใช้งาน ทางร้านห้างทองแห่งหนึ่งก็จะซื้อราคารับซื้อ บาทละ 39,825.32 บาท ไม่คำนวณค่ากำเหน็จเข้าไปเหมือนตอนขาย 

สรุป  

อย่างไรก็ดี เมื่อต้องซื้อขายทองรูปพรรณในน้ำหนักต่าง ๆ ต้องมีการแสดงน้ำหนักหน้าร้านที่ชัดเจน ควรมีการสอบถามรายละเอียดกับผู้ประกอบกิจการทุกครั้งเกี่ยวกับค่ากำเหน็จและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม รวมถึงร่วมกันตรวจสอบน้ำหนักทองและสังเกตการสึกหรอหรือชำรุดต่างๆ เพื่อไม่ให้ถูกกดราคาจากการขายให้มากที่สุด เราจะเห็นได้ว่าราคาขายกับราคาซื้อมามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แต่เราสามารถรักษาสิทธิประโยชน์ในการซื้อขายได้หากเรามีความรู้และความเข้าใจมากพอ จะทำให้ไม่ถูกหลอกขายได้ง่าย สำหรับทองรูปพรรณต้องมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 15.16 กรัม  หากเจอร้านค้าที่แสดงรายการไม่ชัดเจน ก็ควรพึงระวังไว้ก่อนตัดสินใจซื้อหรือตรวจสอบได้ผ่านสมาชิกสมาคมค้าทองคำได้ที่นี่  

ทั้งนี้ก่อนจะทำการซื้อสร้อยคอทุกครั้ง เราแนะนำให้ดูราคาทองคำวันนี้ให้ดีเสียก่อน จะไม่เสียท่าร้านทองง่าย ๆ เพราะการกดราคาเป็นใครโดนก็เจ็บ ถ้าคุณไม่อยากกดราคาทองคำเวลาไปขาย อ่านบทความเทคนิคขายทองคำได้เลย  

หรือกดติดตาม Traderrider ช่องทางอื่น ๆ ได้เลย 

Facebook : Traderrider Corp 

Youtube : Traderrider ช่องคนเทรด ทองคำ Forex 

 

Relate Post