กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เม่าใหม่ หัดสร้าง ระบบการเทรด ด้วยตัวเอง

  • 0 replies
  • 2,469 views
ลองมาสร้าง ระบบการเทรดครั้งแรก ของตัวนักเทรดหน้าใหม่ ด้วยตัวเองกัน (เม่าใหม่ หัดสร้างระบบเทรด)

          นักเทรดหน้าใหม่ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการเรียนรู้กลยุทธ์ระบบการเทรดการซื้อขาย ของนักเทรดรายอื่น ๆ ไม่ว่าจะจาก อาจารย์ จาก กูรู หรือ เทพนักเทรดต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ แต่บทความนี้ เราจะมาเป็นนักเทรดที่ การสร้างระบบการเทรด ด้วยตัวเอง เป็นครั้งแรก (เป็นการผสมผสานจากเทพทั้งหลายมาเป็นระบบของเรา)

          ก่อนอื่น ขอบอกนักเทรดหน้าใหม่ ก่อนว่า มีทั้ง ข่าวดี และ ข่าวร้าย
                    ข่าวดี คือ การสร้างระบบการเทรดเป็นเรื่องง่าย
                    ข่าวร้าย คือ การสร้างระบบการเทรดที่ทำกำไร ทำได้ยาก

          เคยสงสัยบ้างไหม? ว่า ทำไม หลายครั้งนักเทรด อาจใช้ระบบ ของเทพนักเทรดต่างๆ แต่ทำไม ยังไม่ประสบความสำเร็จ? นักเทรดต้อง เริ่มต้นด้วยความคิดที่ถูกต้อง การสร้างระบบการเทรดเป็นเรื่องง่าย เรียนรู้เครื่องมือและ Indicators ต่างๆ เพียงไม่กี่ตัว นักเทรดก็จะสามารถสร้างระบบได้ แต่แนวทางที่ดีและยั่งยืนที่สุด คือการพัฒนากลยุทธ์ระบบการเทรด อยู่ตลอดเวลา ให้ตัวนักเทรดสามารถอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืน

ลองคิดและทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อจะสร้างกลยุทธ์ระบบเทรดครั้งแรก :

ขั้นตอนที่ 1: สร้างนิสัย การมองการตลาดของ ตัวนักเทรดเอง (มองให้ง่าย)

          จริง ๆ แล้วตัวนักเทรดเอง อาจมองอะไรที่ไม่ซับซ้อนมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป นักเทรดจะพบกับ การอ่าน PDF File, Ebook ที่มากมายจาก กูรู หรือ จากเทพต่างๆ จากคลิปวีดีโอการสอนใน Social ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ ยิ่งสร้างความสับสนในตัวนักเทรด ลองมองให้ง่ายแล้ว คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทดลอง วัดผล แล้ว ทดลองซ้ำ และ วัดผลซ้ำ การที่นักเทรดไม่ถูกครอบงำ ด้วยกลยุทธ์ที่ซับซ้อนตั้งแต่เริ่มต้น จะทำให้นักเทรดมองอะไร ง่ายขึ้น

ขั้นตอนที่ 2 : เลือกคู่เงิน สำหรับการสร้างระบบการเทรด

          การ " รู้นิสัยกราฟ " หลายท่าน คงเคยได้ยินคำนี้มากก่อน ที่จริงการรู้นิสัยกราฟ หรือ แท่งเทียน คือ นิสัยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มักมาเทรดคู่เงินนั้น ๆ ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงนิสัยคน เป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงยาก จึงทำให้เกิด พฤติกรรมซ้ำๆ ทำให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำๆ เหมือนเรารู้นิสัยกราฟ นั่นเอง

ขั้นตอนที่ 3 : เลือกกรอบเวลา

          ช่วงเริ่มแรก ของนักเทรดหน้าใหม่ มักสับสนเรื่องเวลา การตัดสินใจในเลือกกรอบเวลาของการซื้อขายเป็นเรื่องยาก เพราะนักเทรดจะไม่ทราบว่า ช่วงเวลาแบบไหนที่เหมาะสมกับตัวเอง สามารถทนแรงกดดันได้ ขนาดไหน? หรือมีเวลา เทรดมากเท่าไหร่ อาจทดลองด้วยการเทรดในช่วงเวลาสั้นๆ ที่นักเทรดว่าง โดยทดลองหาคู่เงินที่มีการเคลื่อนไหวในช่วงเวลานั้น ๆ ด้วย หรือ ทดลองเทรดระยะยาว ด้วยการวิเคราะห์กันเป็น รายสัปดาห์ โดยยังคงยึดกับระบบแผนที่นักเทรดจะวางไว้ แน่นอนว่า ต้องสอดคล้องกันหลายอย่างเพราะบางครั้งการเข้าเทรดที่ตั้งใจไว้ว่า ช่วงเวลาสั้น ๆ มันไม่ได้สั้นอย่างที่คิด ช่วงเวลาที่คิดว่ายาว ก็อาจไม่ได้ใช้เวลายาว อย่างที่คิดเช่นกัน





ขั้นตอนที่ 4 : เลือกเครื่องมือเพื่อกำหนดแนวโน้ม (Indicators) ใส่ในระบบของเรา

          ตัดสินใจเลือกเครื่องมือเพื่อช่วยในการตัดสินในการเข้าตลาด เช่น เส้น Moving Average สองเส้นค่าเฉลี่ยต่างกัน ถ้าเส้นที่หนึ่ง ตัดเส้นที่สองขึ้น ให้เข้าออเดอร์ซื้อ หรือ ถ้าเส้นตัดลง ให้เข้าออเดอร์ขาย , Bollinger Bands ถ้าแท่งเทียน แตะเส้นบน เป็นสัญญานให้เข้าออเดอร์ขาย หรือ แตะเส้นล่าง ให้เข้าออเดอร์ซื้อ เป็นต้น ยังมี Indicator อีกมากมากใน นักเทรดทดลองก่อนการ กำหนดให้ออกมาเป็นระบบของตัวเอง




ขั้นตอนที่ 5 : ดูทุกอย่างใน กราฟราคา เป็นหลักหรือเป็นองค์ประกอบ

          ไม่ว่าจะเป็น แท่งเทียน , Price Action , Price Pattern , Trend line ทุกอย่างจะช่วยให้นักเทรดเข้าสู่ตลาดได้โดยไม่ลังเลใจ อาจเลือก หนึ่งอย่างมาเป็น พื้นฐานก่อนการเข้าใช้ระบบที่ตัวนักเทรดคิดค้นขึ้น

ขั้นตอนที่ 6 : กำหนดความเสี่ยง และหาทางออกเผื่อไว้ กรณี ผิดแผน

          นักเทรดต้องอย่าลืม การวางแผนที่จะออกจากตลาด เมื่อมีสิ่งที่ผิดพลาดเกิดขึ้น ตลาดนี้สามารถทำให้เกิดสูญเสียเกินจินตนาการของนักเทรดได้ ต้องมีการหยุดการขาดทุนเป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่างเดิม เช่น เส้น Moving Average สองเส้นค่าเฉลี่ยต่างกัน ถ้าเส้นที่หนึ่ง ตัดเส้นที่สองขึ้น ให้เข้าออเดอร์ซื้อ แต่ถ้ากราฟวิ่งผิดทาง หลังจาก Indicators ส่งสัญญานมาแล้ว ให้นักเทรดกำหนดไว้ด้วยว่า จะออกจากออเดอร์  ถ้ากราฟวิ่งผิดทางไปที่กี่จุด หรือ ที่แนวรับต้านถัดไป เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 7 : จดบันทึก หลังทำตาม กฎการเข้าเทรดตามระบบ

          ในขั้นตอนนี้เป็น การวางแผนการซื้อขายเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้มั่นใจว่ามีระเบียบวินัยและมีความสม่ำเสมอ

ขั้นตอนที่ 8 : วางแผนที่จะปรับปรุงยุทธศาสตร์ ระบบการเทรด เสมอ

          กลยุทธ์ระบบเทรดการซื้อขายในครั้งแรก อาจจะไม่เกิดผลกำไร แต่ด้วยประสบการณ์ , การเฝ้าดู , ปรับแต่ง , ทดสอบ และความรู้ที่เพิ่มขึ้น กลยุทธ์ระบบเทรดจะถูกปรับปรุงขึ้นเรื่อย ๆ และจะแม่นยำขึ้น จนถึงจุดที่นักเทรดพอใจ สำคัญมากคือ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ระบบ ก่อนเวลาอันสมควร

          โปรดจำไว้ว่าเป้าหมายของการ สร้างระบบเทรด คือการบรรลุความคาดหวังในเชิงบวกกับการค้าทุกครั้ง ทำตามขั้นตอนข้างต้น อย่าเปลี่ยนแนวคิด หรือ เปลี่ยนระบบบ่อยเกินไป เพราะมีหลายครั้งมากที่นักเทรด เปลี่ยนไป เปลี่ยนมา บ่อยครั้ง ระบบที่นักเทรดคิดขึ้นใช้งานได้ดี แต่โดนปัจจัยภายนอกทำให้เกิดการผันผวน เช่นเกิดข่าวสงคราม ข่าวการเลือกตั้ง หรือปัจจัยรอบด้านที่ส่งผลกระทบกับคู่เงินที่นักเทรดเลือกใช้ ให้คงระบบที่คิดค้นไว้ อย่างน้อยควรจะ 3 เดือนขึ้นไป ถ้าสถิติ Win มากกว่า Loss ให้ทดสอบให้นานขึ้น

          ด้วยความที่ ระบบ แต่ละ ระบบ อาจต้องใช้เวลาพอสมควร ดังนั้น ตัวนักเทรดเอง อาจมีหลายระบบในช่วงเริ่มต้น เรียกว่า ทดสอบไปพร้อม ๆ กัน ทีเดียวหลายระบบ อย่าลืมจดบันทึก จะได้ไม่สับสน

          สร้างระบบ ทดสอบ บันทึก แก้ไข ปรับปรุง ทำวนไปเรื่อย ๆ แล้วคุณจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ



แปลและเรียบเรียงจาก :https://www.tradingsetupsreview.com