กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Stop Loss ตรงไหนดี? คำถาม Classic

  • 0 replies
  • 2,505 views
Stop Loss ตรงไหนดี? คำถาม Classic
« เมื่อ: 27, พฤษภาคม 2017, 01:35:04 AM »
Stop Loss ตรงไหนดี?  คำถาม Classic

Stop Loss (SL) ในกราฟ Forex เป็นอะไรที่ สำคัญและควรจะมีเป็นอย่างมาก ในทุกๆ การออก ออเดอร์  เพราะ Stop Loss คือเครื่องมือที่ทำให้ นักเทรดไม่ขาดทุนหนัก หรือ อาจจะเปลี่ยนจากการ ขาดทุน ไปเป็น รักษาต้นทุน ได้เลยทีเดียว  ถ้านักเทรดไม่มี Stop Loss แล้ว  ในการขาดทุน 1 ครั้ง อาจทำให้นักเทรด ล้างพอร์ตเลยก็เป็นได้  DOY**

Stop Loss ทำให้นักเทรดสามารถวางแผนการเทรดได้อย่างชัดเจน และเป็นสิ่งที่ นักเทรดระดับแนวหน้า ทุกคน พูดตรงกันว่า ต้องมี

นักเทรดที่ดี จะทำกำไรได้ในระยะยาวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า วาง Stop Loss ถูกจุดหรือไม่

ลองมาดู วิธีการกำหนดจุด Stop Loss ที่เหล่า นักเทรดระดับแนวหน้า  นิยมใช้

วิธี ที่ 1  การกำหนด Pips แบบ ไม่เดาสุ่มหรือเดามั่ว เมื่อจะตั้ง Stop Loss  j)*/

นี่คือข้อแรกที่สำคัญมาก แต่นักเทรดส่วนใหญ่ชอบตั้ง Stop Loss โดยกำหนด Pips แบบเดาสุ่ม เช่นว่า เทรดคู่เงิน GBPUSD แล้วกำหนดไปว่า ตั้ง Stop Loss ที่ 50 pips โดยไม่มีที่มาที่ไปที่อธิบายได้อย่างมีเหตุผลว่าทำไมถึงตั้ง Stop Loss ที่จุดนี้ จากการสอบถามนักเทรดมือใหม่หลายคน ส่วนใหญ่จะตอบว่า คิดว่าราคาไม่น่าวิ่งมาถึงจุดนี้  แต่ ธรรมชาติของตลาด Forex ตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตอบได้เลยว่า ราคาวิ่งไปได้ทุกที่ ที่มันอยากจะไป สำหรับนักเทรดมือใหม่ จำไว้เลยว่า อย่าตั้ง Stop Loss เพราะ ตัวเองคิดว่าราคาไม่น่าวิ่งมาถึงจุดนี้ เป็นอันขาด จุด Stop Loss ที่ตั้ง ต้องมีเหตุผล ได้ชัดเจน ไม่ใช่เกิดจากการคาดเดา ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ ไม่อย่างงั้น นักเทรดมือใหม่จะโดน Stop Loss บ่อย หลายๆครั้งเข้า จนขาดทุนหนักแล้วจะจิตตก สับสน จนกระทั้งทำให้ไม่มีสมาธิในการเทรดต่อไปได้



วิธี ที่ 2 : ใช้ตลาด เป็นตัวกำหนดจุด Stop Loss

นักเทรดต้องให้ตลาดเป็นตัวกำหนดจุด Stop Loss ตลาดจะเป็นตัวบอกคุณเองว่า คุณควรจะตั้งจุด Stop Loss ตรงไหน เพราะ ราคาที่เคลื่อนไหวในตลาด ก็คือ ผลจากการกระทำของนักเทรดรายอื่นๆ เช่นกัน ดังนั้น การ ให้ตลาดเป็นตัวกำหนดจุด Stop Loss ก็คือ ตั้งตามเส้นแนวรับ-แนวต้าน นั่นเอง

เส้นแนวรับ-แนวต้าน  คือ ร่องรอยจากการกระทำที่นักเทรดคนอื่นๆ ทำไว้ เป็นจุดที่นักเทรดเหล่านั้นตัดสินว่า จะไม่ให้ราคาวิ่งเกินจากจุดนั้น ตลาดบอกไว้แล้ว ดังนั้นนักเทรดสามารถใช้จุดเหล่านี้ เป็นจุดตั้ง Stop Loss ได้เลย โดยที่ไม่ต้องคาดเดาเอาเองเลย 


วิธี ที่ 3 : Risk & Reward (RR)

เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องสำคัญที่นักเทรดอย่างเรา ๆ ต้องรู้ เพราะ นักเทรดระดับแนวหน้าไม่เคยมีใคร ไม่พูดถึงเรื่อง Risk & Reward เลย แม้แต่คนเดียว!!

Risk & Reward (RR) แปลเป็นไทยว่า ผลตอบแทนต่อความเสี่ยง มักเทียบเป็น จำนวนเท่าของความเสี่ยง เช่น ออเดอร์ นี้มี Risk & Reward ที่ 1:2 หมายความว่าถ้า ออเดอร์ นั้น ชนะ จะได้กำไรเป็น 2 เท่าของความเสี่ยงนั้นๆ

Risk (ความเสี่ยง) มักจะเป็นจำนวนเงินที่ได้จากแนวคิดเรื่อง Money Management

Risk per Trade เช่น พอร์ต $1,000 มี Risk per Trade = $50 หมายความว่าทุกครั้งที่เทรดจะเสี่ยง เท่ากับ $50 เสมอ
โดยปรกติ แล้วนักเทรด ควรจะตั้ง Risk & Reward (RR) ไม่ต่ำกว่า 1:2 หมายความว่า ทุกความเสี่ยงที่จะเสียเงินทุน $50 ของคุณในแต่ละออเดอร์ คุณควรมองเห็นการได้กำไรในออเดอร์นั้น อย่างน้อย $100 (2 เท่าของ $50)  เสมอ การคิดในทำนองนี้ ทำให้นักเทรดควบคุมผลตอบแทนและความเสี่ยงได้ง่ายขึ้นมาก

อย่าลืมว่าทุกครั้งที่จะออกออเดอร์ การตั้ง Stop Loss ทุกครั้ง ทั้งจุดเข้า จุดออก และจุด Stop Loss ต้องสัมพันธ์กัน หมายความว่า คุณต้องวางแผนทุกอย่างไว้ในหัวสมองก่อนเข้าเทรดนั่นเอง

วิธี ที่ 4 : ตั้ง Stop Loss ตามเวลา

วิธีการหาจุด Stop Loss อีกวิธีที่เหมาะสมคือ ตามกำหนดเวลาที่นักเทรดตั้งไว้ในการเทรดแต่ละครั้ง เช่นอาจจะกำหนดเวลาเป็น ชั่วโมง เป็นวัน เป็นสัปดาห์ โดยเฉพาะช่วงเวลาทำการของตลาด หรือ ช่วงมีการซื้อขายมากๆ หลายครั้ง นักเทรดก็ไม่อยากให้เงินจมอยู่กับตลาดในช่วงเวลา ที่ตลาดไม่มีการเคลื่อนไหว ในเมื่อนักเทรดสามารถทำกำไรได้จากตลาดที่มีการเคลื่อนไหวอยู่แล้ว จะเสียเวลากับตลาดที่ไม่มีการเคลื่อนไหวทำไม?  xc8*

ว่ากันตามกฎในการเทรด หากนักเทรดเป็น นักเทรดแบบ Day Trade ก็มักจะไม่ชอบถือออเดอร์ ข้ามวัน มักจะปิดออเดอร์ เมื่อตลาดปิดหรือ ตั้ง Stop Loss ไว้ แล้วค่อยเริ่มเทรดใหม่ในวันต่อไป


การที่นักเทรดปล่อยให้ มาจิ้นติดอยู่กับออเดอร์ ที่ไม่ทำกำไร เป็นการลดโอกาสในการเปิดออเดอร์ใหม่ ซึ่งอาจมีโอกาสที่จะทำกำไรทีดีได้มากกว่า ดังนั้นควรกำหนดระยะเวลาในแต่ละออเดอร์ ด้วย และควรตัดออเดอร์ ที่ไม่มีประโยชน์และถ่วงมาจิ้น ทิ้งไป เพื่อโอกาสในการทำกำไรที่ดีกว่า   xc4*

วิธี ที่ 5 : ตั้ง Stop Loss ตามเงินที่มีในพอร์ต

วิธีนี้อาจจะแปลกสักหน่อย แต่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธี คือ สมมุติมีเงินในพอร์ต $200 ก็เข้าออเดอร์ไปตามปรกติ แต่ถ้าเมื่อใดที่กราฟวิ่งผิดทางจากที่นักเทรดเข้าออเดอร์ ก็จะยอมที่หมดพอร์ต คือหมดที่ $200 ไปเลย แต่ถ้าถูกทางที่นักเทรดเข้าออเดอร์ ก็อาจจะได้กำไรไปมากๆ โดยไม่มีความเครียดอะไร เพราะนักเทรดจะยอม Stop Loss ที่เงินในพอร์ตมี

ข้อระวังสำคัญอีกอย่าง ที่นักเทรดไม่ควรทำอย่างยิ่งในการ ตั้ง Stop Loss คือ การย้าย จุด Stop Loss ซึ่งโดยมาก มาจากการใช้ อารมณ์นั้นเอง นักเทรดที่ไม่มีวินัย มักคิดว่า เลื่อนอีกนิด เผื่อมันเหวี่ยงลงมาอีกนิด โดยมักจะขยับหนี ขยับหนี ไปเรื่อยๆ แม้จะเห็นว่า กราฟเริ่มวิ่งผิดทางแล้ว เรียกว่าใช้อารมณ์มากกว่า เหตุผลหรือมากกว่าวินัย นั่นเอง ปัจจุบันมักมีนักเทรดหลายคนพูดคำว่า ทนขาดทุนได้ ทนกำไรไม่ค่อยได้ เพราะพอกราฟเริ่มวิ่งผิดทาง ก็ขยับหนีไปเรื่อยๆ พอวิ่งเข้าทางเดิม บวกไปนิดหน่อย ปิดออเดอร์ทันที ด้วยความรู้สึกว่า รอดตายแล้ว  xc6*  ^^