กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

รวบรวมความรู้เรื่อง Bridge จากพี่ต้าน Mudley Group (6 Part)

  • 10 replies
  • 24,200 views
*

ball.aphiwat

*** Learning & Sharing ***
-------------
Mudley Live [ panot ไดอารี่ 15-31 Mar 2015 ]
-------------
** Bridge the Series Part 1 **
--------------
.
** Bar Chart : ก่อนจะรู้จัก Bridge ก็ต้องรู้จักกับ Bar Chart ก่อน..คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยรู้จัก Bar Chart จะรู้จักกันแต่ Candle Stick(แท่งเทียน) ...
.
Bar Chart มันก็ไม่ต่างอะไรจาก Candle Stick มีการใช้ Data ในส่วนของ Open , High , Low , Close ในการ Plot เป็นแท่งเหมือนๆกัน เพียงแต่ ข้อดีของ Bar Chart คือ ช่วยตัด หรือ ลดผลกระทบในเรื่องของ Emotion ในการเทรดลงได้!
.
เพราะ การใช้ Candle Stick มันทำให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ถูกชักจูงให้เกิด Emotion ได้ง่ายไม่ว่าจะเป็น ขนาดของแท่ง ประกอบกับ สีของแท่ง ทำให้เรามักจะมี Bias ในการตัดสินใจอาจจะรู้ตัว หรือ ไม่รู้ตัว!ก็ตาม~
.
-------------
** Bridge **
------------








.
Bridge : คือ Price pattern รูปแบบหนึ่งของ Bar Chart .. โดยที่รูปแบบของมันคือ..การที่ ราคาเปิด-ราคาปิด ของ Barchart อยู่ที่ระดับราคาเดียวกัน ทำให้เกิดการเรียงต่อกันเป็นเส้นตรง เหมือนกับ สะพาน! ซึ่ง การจะเป็น Bridge ที่สมบรูณ์ได้ จะต่อมีการเรียงต่อกันอย่างน้อย 4 แท่ง
.
Bridge เป็น แนวที่พวก Floor Trader กำลังต่อสู้กันด้วยเม็ดเงินมหาศาล..ทำให้เกิดความผิดปกติของราคา..ทำให้ราคา ถูก Manipulate ให้อยู่ในระดับราคาหนึ่งๆ...นอกจากนั้น Bridge ยังถูกสอนกันในหมู่พวก เทรดเดอร์ ที่อยู่ใน Fund ฝรั่ง! ทำให้แต่ละ Bridge ที่เกิด..มันมี นัยยะ!
.
ความสำคัญของ Bridge : Bridge เป็นพื้นฐานสำคัญในการ Trading เพราะ การเทรดด้วย Bridge มันทำให้เราได้"ระยะ" มันให้ Risk/Reward ที่ดี...หากเราเมื่อการฝึกจนเชี่ยวชาญ Winrate ที่ได้จากการ Trade Bridge ก็จะดีด้วยเหมือนกัน( ปกติก็เกิน 50% )
.
นอกจากนั้น Bridge ยังเป็นพื้นฐานที่ทำให้เราสามารถ ต่อยอด หรือ นำไปประยุกต์ใช้กับ Model ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Close System หรือ Option ! ได้
.
--------------
** การเทรดด้วย Bridge พื้นฐาน**
-------------
.
1.) รอให้เกิดการ Form ตัวเป็น Pattern Bridge ที่สมบรูณ์
.
2.) Target คือ Bridge คือ แนว Bridge ที่เคยสร้างและยังไม่ถูกทำลาย ( การทำลาย Bridge ต่อ part 2 )
.
3.) จุด Stoploss ที่ราคาต่ำสุดของ Bridge
.
4.) คำนวน Risk/Reward จะเทรดก็ต่อเมื่อ Bridge นั้นให้ Risk/ Reward ที่คุ้ม
.
5.) รอ Entry เมื่อมีการ Break Bridge ! ตั้ง TP & Stoploss
.
ปล. หากเราเชี่ยวชาญแล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดการ Break out ของ Bridge ถ้าเราเข้าใจ Vector ของแรง เข้าใจ Momentum ของเรา..เราก็จะสามารถคาดเดาได้ระดับหนึ่ง..ว่ามันจะไปทางไหน!
.
-------------
** ประเภทของนักลงทุน **
------------
.
Floor : ซื้อที่ Bridge ..แล้วรอขายตาม Target!
.
Scalper : รอ Confirm ว่า Bridge นั้นสามารถยืนได้! ก็จะเข้ามาเก็งกำไร..และ ออกก่อนพวก Floor
.
Fundamental : วิเคราะห์พื้นฐาน..วิเคราะห์ Global Macro รอเข้าซื้อในจังหวะที่มัน Discount
.
Technical : ซื้อตามหลังจากที่รอให้ทุกอย่าง Confirm...ใครเป็นไม่สุดท้ายของ Technical ก็....
.
------------
#mudleylivebyJatuphon


credit:พี่ต้าน Mudley Group
เรียบเรียงและสรุปโดย : Jatuphon Tungsiriwattanawong
ขอขอบคุณ :พี่ตะวัน Road To Trader Group

*

ball.aphiwat

Re: รวบรวมความรู้เรื่อง Bridge (6 Part)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 26, มีนาคม 2017, 02:55:07 PM »
*** Learning & Sharing ***
------------
MudleyLive [ panot ไดอารี่ 15-31 Mar 2015 ]
-------------
** Bridge the Series Part 2 **
--------------
**แนวรับ-แนวต้านจาก Bridge
--------------
.
เมื่อเราเทรดด้วย Bridge เมื่อมีการ Break Bridge เป้าหมาย( Target point ) คือ Bridge ก่อนหน้า..ซึ่งโดยปกติแล้วมันจะมีแรงจูงใจจากพวก Floor หรือ เทรดเดอร์ที่เทรดด้วย Bridge มา Drive ราคาให้ไปถึงแนวนั้นเสมอๆ
.
นอกจาก แนว Bridge เดิมจะถูกใช้เป็น แนวต้าน หรือ Target Point แล้ว..ยังสามารถใช้เป็น แนวรับ ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น การมาเปิด Order ที่แนวรับโดยที่ไม่รอให้เกิดการสร้าง Bridge ใหม่นั้น ต้องมีการวาง Money Management ที่ดีก่อน!
.
------------
** Bridge ที่โดนทำลาย **
------------
.
Bridge ที่สามารถใช้เป็น แนวรับ-แนวต้าน ได้นั้นจะต้องเป็น Bridge ที่ยังไม่ถูกทำลาย...!!!
.
Bridgeที่ถูกทำลาย : คือ เริ่มจากมีการสร้างแนว Bridge ขึ้นมา..จากนั้นเกิดการ Break Bridge สมมุติว่า Break ขึ้นไป..อาจจะถึง Target หรือ ไม่ก็ตาม..สุดท้าย ราคากลับลงมาทำ Failed Break !! ก็จะถือว่า Bridge นั้นถูกทำลาย..
.
Bridge ที่ถูกทำลายจะถือว่าเป็น Bridge ที่ไม่มีนัยสำคัญ เพราะ ต้นทุนของพวก Floor บริเวณนั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว!
.
------------
** Bridge ซ้อน**
------------
.
Bridge ซ้อน : คือการที่เกิดแนว Bridge ซ้อนอยู่ใกล้ๆกัน หรือ เกิด Bridge ที่อยู่ใกล้แนวต้านเกินไปทำให้ Risk/Reward ไม่คุ้ม..
.
ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่เกิด Bridge ซ้อน..การเทรดด้วย Bridge ควรจะ Entry เมื่อมีการ Break Bridge ทั้งหมด! ...เพื่อให้มี Room ในการเก็บระยะ...
.
------------













#MudleylivebyJatuphon

credit:พี่ต้าน Mudley Group
เรียบเรียงและสรุปโดย : Jatuphon Tungsiriwattanawong
ขอขอบคุณ :พี่ตะวัน Road To Trader Group

*

ball.aphiwat

Re: รวบรวมความรู้เรื่อง Bridge (6 Part)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 26, มีนาคม 2017, 03:02:35 PM »
*** Learning & Sharing ***
------------
MudleyLive [ panot ไดอารี่ 15-31 Mar 2015 ]
-------------
** Bridge the Series Part 3 **
--------------
** Model Bridge **
-------------
-------------
1.) Scalping Model
------------
.
การเทรด Bridge ในฐานะ Scalper เราจะเทรดก็ต่อเมื่อเห็นการสร้างตัวของ Bridge แล้วเท่านั้น!!
.
- รอให้เกิดการสร้าง Bridge ที่สมบรูณ์(มีการเชื่อมต่อของสะพานครบ 4 แท่ง )
.
- รอการ Breakout แนว Bridge เพื่อให้เกิด Entry Signal.. หรือ... เมื่อมันสร้าง Bridge เสร็จเราก็พิจารณา Momentum ของแรงว่ามันมีแรงดันไปในทิศทางไหน! ก็ Entry ได้เลยโดยไม่ต้องรอการ Breakout Bridge
.
- Momentum ที่ดี..ไม่ใช่การกระชากของราคา..แต่ Momentum คือ แรงเฉื่อยที่ค่อยๆมีการผลักดันราคาขึ้นมา..การจะมอง Momentum ของราคาออกเราต้องฝึกเทรดจน Master Bridge ซ่ะก่อน
.
- เมื่อ Entry แล้วก็ตั้ง Target Point ( TP ) และ Stoploss เอาไว้...พยายามพิจารณา Risk/Reward ให้เหมาะสม ...ขั้นต่ำคือ 1:1 เพราะ การเทรดด้วย Bridge โอกาสถูกมันเกิน 50 %
.
- TP อาจจะกำหนดไปที่แนวต้าน Bridge ก่อนหน้า..หรือ กำหนดตามสัดส่วนเทียบกับจุด Stoploss เช่น จากกราฟ Stoploss 1 บล็อก ก็อาจจะ Set TP ไว้ 2-3 บล็อก
.
- สิ่งสำคัญของการเทรด Scalping คือ เราต้องรู้จักที่จะเก็บ Stat การเทรดของตัวเองก่อนว่า Model ที่เราใช่มันมี Max.DD , Risk/reward , Winrate เท่าไหร่ ...เมื่อเรารู้ Stat ของตัวเองเราก็ควรจะ Set Money Management ให้เราสามารถเทรดกับ Model นี้ให้ได้นานที่สุด! ( เช่น เทรดด้วย Bridge ผิดได้ 50-100 ครั้งก็ไม่เจ้ง )
.
------------
2.) Money Management Model ( KZM )
------------
.
Concept ของ KZM หรือ Close system ก็คือ Model ที่อยู่รอดในตลาดได้โดยที่ ไม่จำเป็นต้องเติมเงินเพิ่มเข้าไป และยัง สามารถ Generate Cashflow ออกมาได้อย่างสม่ำเสมอ.. ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ การวาง Money Management ที่ทำให้เราไม่มีวันตายออกไปจากตลาดนั้นเอง! ( No leverage )
.
Close System แบบปกติที่เรารู้จักกัน คือ การคำนวนเงินทุน..จากนั้นก็ set zone ซื้อ-ขาย ตามระดับราคาที่เหมาะสม ( เหมาะสม?? ก็ขึ้นอยู่กับเงินทุนของเรา..และการแกว่งตัวของ Product )
.
- การประยุกต์ใช้ Bridge เข้ามาใน Kzm ก็คือการวาง Zone ซื้อตามแนว Bridge เดิมของราคานั้นเอง... หรือ ...
.
- เราจะเข้าซื้อ..ก็ต่อเมื่อ เกิดการสร้าง Bridge ใหม่ขึ้นมาเท่านั้น ... เช่น ราคาลงเป็น Downtrend เราจะไม่เข้าไปซื้อถ้ายังไม่เกิด Bridge!!
.
- การเทรด Kzm ตามแนว Bridge สิ่งสำคัญคือ เมื่อเราวางเงินไว้ทั้งหมดแล้ว..เรารู้กระสุนที่เราสามารถเทรดหรือรับของได้ทั้งหมดแล้ว..ถ้ามันหลุด Zone หรือ กระสุนเราหมด! เราก็ต้องรู้จัก " หยุด " อย่าไปฝืน!
.
- การเอา Bridge เข้ามาประยุกต์ใช้กับ Kzm model มันจะทำให้การวาง Zone มีประสิทธิภาพมากขึ้น..ช่วยลด Drawdown ของ Model ได้ดี...
.
------------
3.) Option Model
------------
.
การประยุกต์ใช้แนว Bridge กับ Option ... คือ การที่เราใช้ Bridge เป็นแนวในการ ซื้อ-ขาย Option!
.
- เมื่อเรามอง Product หนึ่งๆว่ามัน UnderValue สิ่งที่เราต้องทำคือ การเข้าไปซื้อ Long call option ... ถึงมันจะถูกมาก! แต่เราก็ไม่รู้ว่า..ราคามันจะลงไปอีกขนาดไหน การใช้ Option มันก็คือการ Limit Risk นั้นเอง
.
- แล้วเราจะซื้อ Option ตอนไหนหล่ะ!? : ราคาของ Option มันแปรผันตาม Volatility ดังนั้น แนว Bridge เป็น แนวที่มี Volatility ต่ำ...ทำให้ ราคาของ Option อยู่ในราคาที่เหมาะสม! ( เปิด Long call option เมื่อเกิด Bridge )
.
- Strike price สำหรับ Call option เราควรจะพิจารณาตามแนวต้าน Bridge เดิมที่ Out of the money ... การที่เรา Set Strike price ไปที่แนว Bridge เพราะ ณ.ระดับราคานั้นๆ มันมีแรงจูงใจที่จะถูก Drive ไปให้ถึง...มันจะทำให้เราได้ใช้ประโยชน์จาก Gearing เมื่อราคาวิ่งเข้าใกล้ Strike Price !
.
-------------
4.) Swing Trade Model
------------
.
คือการ เล่น Swing รอบแนวแกนของ Bridge! ... แนว Bridge คือแนวที่ ต้นทุนของคนส่วนใหญ่ในตลาดมากองรวมกัน!! ดังนั้น บางครั้งการ Swing ตัวออกจากแนว Bridge ก็เผื่อออกไปกิน Stoploss ของอีกฝั่ง..จากนั้นราคาก็จะ Drive กลับมาที่แกนกลางของ Bridge เช่นเดิม
.
- การเล่นแบบ Swing เล่น Bias หน้าเทรดตาม Trend หรือ ตาม Macro view ของ Product นั้นๆ
.
- แบ่งไม้เปิด Position ตามแนวการเหวี่ยงตัวของ Swing ! ... หากราคาวิ่งกลับมาทางที่เรามองก็แบ่งปิด Position ตามแนว Swing ! เช่นกัน
.
- หากผิดทางต้องหยุด! !
.
การเล่น Swing trade แบบนี้เราต้องมี ประสบการณ์ ถ้าเราไม่ Master Bridge จริงๆเราจะไม่สามารถแยกแยะออกว่า... Bridge ไหนควรจะเล่นแบบ Swing .. Bridge ไหนควรจะเล่นแบบ ปกติ!
.
------------
#mudleylivebyJatuphon













credit:พี่ต้าน Mudley Group
เรียบเรียงและสรุปโดย : Jatuphon Tungsiriwattanawong
ขอขอบคุณ :พี่ตะวัน Road To Trader Group


*

ball.aphiwat

Re: รวบรวมความรู้เรื่อง Bridge (6 Part)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 26, มีนาคม 2017, 03:06:41 PM »
*** Learning & Sharing ***
----------
MudleyLive [ panot ไดอารี่ 15-31 Mar 2015 ]
-------------
** Bridge the Series Part 4 **
--------------
** นัยสำคัญของ Bridge **
-------------
.
ให้ความสำคัญกับ Bridge ที่อยู่ใน Time Frame ใหญ่ๆมากกว่า Time Frame ย่อย เช่น Bridge (Day) : การที่ใครบางคนกำลังพยายาม Manipulate ราคาให้อยู่ ณ.ระดับราคานั้นๆ เป็นเวลานาน(1-2) วัน..มันจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลในการ Manipulate... ทำให้แต่ละ Bridge ที่เกิดขึ้นใน Time Frame ใหญ่...มักจะมีนัยสำคัญเสมอๆ ต่างกับ Bridge รายนาทีที่มันจะมี Noise ค่อนข้างเยอะ!!
.
ดังนั้น การเทรดด้วย Bridge ที่ดีต้องเริ่มจากการมอง Bridge ใน Time frame Day ก่อน..ว่ามันกำลังฟอร์มตัวไปในทิศทางไหน..จากนั้นค่อยเข้าไปหาจังหวะเทรดใน Time Frame ย่อย ( 1 Hr. 30 min. 15 min. )
.
------------
** Scalper Bridge **
------------
.
ในฐานะ Scalper หากไม่มี Bridge ไม่เทรดแน่นอน..เพราะ มันยังไม่เกิดความชัดเจน...การเทรดเราต้องรู้จัก"รอ"ให้เกิดจังหวะที่เราได้เปรียบก่อนเสมอ!!
.
บ่อยครั้งที่เราไม่สามารถหยุดรอจังหวะเทรดได้..เพราะ..คนส่วนใหญ่มักจะโดน Drive Emotion ได้ง่าย..กลัวตกรถบ้างหล่ะ..กลัวขายหมูบ้างหล่ะ..!
.
ดังนั้น ถ้าไม่มี Pattern Bridge เกิดขึ้นเราก็ไม่เทรด!! ..การไป Follow ราคาตอน Breakout เรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่.."ตัวเรามีโอกาสที่จะเป็นไม้สุดท้ายเสมอ"
.
นอกจาก..รอจังหวะให้เกิดแนว Bridge แล้วสิ่งสำคัญของ Scalper คือ..รู้จักเลือกสงครามที่เราได้เปรียบ! ก่อนจะเปิด Position ทุกครั้งต้อง พิจารณา Risk/Reward ก่อนเสมอ! ( Bridge ใกล้กันมันก็ไม่น่าเทรด )
.
** Bridge เป็น Model ที่ให้ Risk/reward สูง!! เพียงแต่เราต้อง Stable มันให้ได้
.
-------------
**trick**
------------
.
- การเทรดด้วย Bridge ไม่จำเป็นต้องดูข่าว! เพราะ พวก Floor เวลาเทรดก็ไม่มีเวลาดูข่าว เหมือนกัน!
.
- ในบางครั้งถ้าเราเทรดด้วย Bridge Day แต่ราคายังวิ่งไปไม่ถึง Target point ...แต่มันเกิดการสร้าง Bridge ใน 1 Hr. เราก็อาจจะ Take Profit ออกมาก่อนก็ได้ ...ถ้าพอร์ตเรายังเล็กการเก็บ Buffer ให้ได้ก่อนเป็นสิ่งสำคัญ! แต่ถ้าเรามี Buffer เยอะแล้วการถือกินระยะก็จะทำได้ง่ายขึ้น!
.
- การ Take Profit หากเราตั้ง Target Point ไว้ที่แนวต้าน Bridge ก่อนหน้า! สิ่งสำคัญคือ เราต้องรู้จักที่จะแบ่ง Take position ก่อนถึงแนว Bridge เพราะ! เทรดเดอร์ใน Fund ที่ใช้ Bridge เค้าก็เห็นเหมือนเรา เค้าก็จ้องที่จะ Take position เหมือนเรานี่หล่ะ!
.
------------
** การฝึก Bridge **
-----------
.
การเทรดด้วย Bridge ถ้าไม่มีการ "ฝึกซ้อม" มันก็ไม่มีทางที่จะเทรดได้ดีได้หรอก! เทรดเดอร์ไม่ต่างอะไรกับนักกีฬา..ถ้าไม่ซ้อม..ไม่ฝึกฝน..ก็แพ้!
.
เทรดเดอร์ของ Fund United trader( UT ) มีการกำหนดให้เทรดเดอร์ ต้องฝึกเทรดด้วย Bridge อย่างเดียวขั้นต่ำ วันละ 6 Hr. ! ซึ่ง ก็จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึงจะ Master Bride ได้!
.
ถ้าเราอยากเก่งเราก็ต้องฝึก! ถ้าเราอยากเก่งกว่าคนอื่นเราก็ต้องฝึกมากกว่าคนอื่น!!
.
-------------
** Step การฝึก **
------------
.
1.) เริ่มจากการมองหา Bridge ใน Time Frame Day
.
2.) Zoom ย่อยเข้ามาหาจังหวะเทรดใน 1 Hr.
.
3.) มองหา Bridge ที่สมบรูณ์
.
4.) Bet ใน Bridge ที่ Risk/reward <= 1
.
5.) เก็บ Stat การเทรด!
.
6.) ถ้าเราฝึก Bridge เกิน 250 Hr. เราก็จะเริ่มเห็นอะไรบางอย่าง..เริ่มเข้าใจ Model มากขึ้นๆ
.
------------
#MudleylivebyJatuphon


credit:พี่ต้าน Mudley Group
เรียบเรียงและสรุปโดย : Jatuphon Tungsiriwattanawong
ขอขอบคุณ :พี่ตะวัน Road To Trader Group


*

ball.aphiwat

Re: รวบรวมความรู้เรื่อง Bridge (6 Part)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 26, มีนาคม 2017, 03:13:31 PM »
*** Learning & Sharing ***
------------
MudleyLive [ panot ไดอารี่ 15-31 Mar 2015 ]
-------------
** Bridge the Series Part 5 **
------------
** Square Position **
-----------
.
Square Position : คือ การเปิด Order สวนทางกับ Order ที่เรามีอยู่แล้ว เช่น เรา Long ทอง แล้วมันผิดทาง...เราก็ไป Sell ทอง ด้วยจำนวน lots ที่เท่ากัน!
.
การ Square Position ...มันก็ไม่ได้ต่างอะไรจากการ ปิดPosition หรือ Stoploss.. เพียงแต่..สำหรับคนที่ยังไม่ Master Mind และ ยังไม่ Master Bridge การเทรด Bridge ในช่วงแรกอาจจะโดน Stoploss บ่อยๆ ซึ่ง การโดน Stoploss บ่อยๆมันทำให้ Mental เราพังได้!!
.
ดังนั้นการ Square position อีกทางเลือกหนึ่งเมื่อมันผิดทาง..แต่!! การเทรดแบบ square position มันซับซ้อนกว่าการ Stoploss ...คนจะใช้ Square ได้ดีก็ต้องมีการฝึก..มีประสบการณ์ ( พอร์ต Demo ก็มีให้ใช้ทำไมเราไม่เคยที่จะฝึกกันจริงๆจังๆ )
.
------------
**ตัวอย่างการ Square position**
------------
.
1.) เราเข้าไป Scalping ด้วย Bridge แล้วมันผิด! ( เปิด Short แล้วมันเด้ง! )
.
2.) เปิด Square Position เมื่อมันผิดทาง!( เปิด Long เพื่อ Lock loss ) ... จะ Square ตรงไหนก็ขึ้นอยู่กับ Model ของเรา..ห้าม Square เกิน Buffer ที่เรามี!!
.
3.) หากราคาวิ่งขึ้นไปสร้างแนว Bridge ใหม่..เราก็สร้างปิด Long ที่เรา Square ไว้..เพื่อเอา Cashflow มาลดต้นทุนของ Short position !
.
4.) ถ้าราคามันตีกลับลงมาเราก็จะสามารถ Cover loss ได้เร็วขึ้น!! แต่ถ้าราคาไม่ลงเราก็ต้องทำ Square อีกครั้งเพื่อปรับต้นทุน... ( การทำ Square position เราต้องรู้จัก Adjusted ต้นทุนให้เป็น )
.
5.) การใช้ square position ในการแก้พอร์ต..สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ Global Macro ของ Product นั้นๆ ถ้า Position ของเรามันสวน Global Macro การแก้พอร์ตอาจจะยิ่งทำให้มันแย่ขึ้นไปอีก!
.
ปล. เทคนิคการ Square position ทำได้หลากหลายขึ้นอยู่กับ สถานการณ์...! การแก้พอร์ตขอแค่ Cover loss ได้ก็ดีแล้ว..ถ้าเราโลภสุดท้ายเราก็จะแก้พอร์ตไม่ได้!
.
------------
**ปัญหาของคนที่เทรด Bridge**
------------
.
ปัญหาอย่างหนึ่ง..ของคนที่เทรด Bridge หรือ เทรดด้วย Model อะไรก็ตามแล้วไม่ Success คือ คนเหล่านั้นไม่สามารถ Control ความโลภ ของตัวเองได้!! (คิดจะเอาแต่ได้..สุดท้ายเราก็จะเสียทุกอย่างไป)
.
คนส่วนใหญ่มักจะตัดสินใจ..ในทางเลือกที่..ตัวเองจะต้องได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุดเสมอ! ถ้าเราเป็นคนที่มองแต่ Maximize Return เหมือนกับ คนส่วนใหญ่ แล้วเราจะได้ Maximize return จริงๆหน่ะเหรอ!?
.
การเทรดมันคือ Compettitive Game ..ถ้าเราเลือกที่จะ Take แค่ Average ในท้ายที่สุดแล้วเราก็จะได้ Maximize Payoff ตามหลักของ "Game Theory "
.
เพราะ เมื่อไหร่ที่เรากำลังเล่นอยู่มนเกมส์ของการแข่งขัน..คนส่วนใหญ่ในเกมส์มักจะตัดสินใจให้ตัวเองได้ Maximize Return (โอกาสเกิดขึ้นยาก! )
.
ดังนั้น หากเราตัดสินใจแค่ Average ( โอกาสเกิดขึ้นง่าย! ) เราก็จะได้เปรียบคนอื่น...
.
** ลองเลือกที่จะ Take profit ในจุดที่เป็น Average ดูบ้าง...สุดท้ายเราก็จะเป็นคนที่ได้ Maximum Return เองหน่ะแหละ **
.
------------
** Triangle Bridge **
------------
.
เป็น Pattern Bridge ที่เกิดขึ้นได้ยาก..การเกิด Pattern แบบนี้มันแสดงให้เห็นว่ากำลังมี Big player เข้ามาสะสมหุ้นตัวนั้นๆ....เราต้องเก็บหุ้นตัวนี้ไว้ใน Watch list!
.
ปล. เทรด Bridge ตรงอย่างเดียวให้ Master ให้ได้ก่อนค่อยไปสนใจ Bridge อื่น!! เราต้องรู้จักฝึก พื้นฐานให้แน่นก่อน ไม่งั้นเราก็จะต่อยอดไม่ได้!
---------------
#mudleylivebyJatuphon








credit:พี่ต้าน Mudley Group
เรียบเรียงและสรุปโดย : Jatuphon Tungsiriwattanawong
ขอขอบคุณ :พี่ตะวัน Road To Trader Group

*

ball.aphiwat

Re: รวบรวมความรู้เรื่อง Bridge (6 Part)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 26, มีนาคม 2017, 03:16:54 PM »
*** Learning & Sharing ***
-----------
MudleyLive [ panot ไดอารี่ 15-31 Mar 2015 ]
-------------
** Bridge the Series Part 6 **
------------
**พื้นฐานของการฝึก**
-----------
.
1.) เทรดเดอร์ไม่ต่างอะไรกับนักกีฬาต้องมีการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ..การอ่าน หรือ การเรียนรู้จากคนอื่นเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ตัวเราพัฒนาขึ้นไปได้!
.
2.) พยายามเอาพื้นฐานทักษะที่เราฝึกฝนจนชำนาญ..มาประยุกต์ให้มันดีขึ้นในแบบของเราให้ได้!
.
3.) การทำสิ่งเดิมๆซ้ำๆแน่นอนหล่ะมันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ..แต่การทำอะไรซ้ำๆสุดท้าย..เราก็จะ Master มันได้! เราจะอดทนทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้..ได้รึเปล่าหล่ะ!
.
4.) สิ่งที่เราจะได้จากการฝึก Bridge ซ้ำๆกันเป็นเวลานานคืออะไร!? ... มันก็คือ การมองเห็น Momentum ของราคา...เราจะมองเห็นโอกาสว่า..การเกิด Bridge ครั้งนี้ มันมีโอกาสที่จะไปทางไหนมากกว่ากัน! ( Momentum ในแต่ละ Product ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป )
.
5.) ในเกมส์การเทรด..การรู้ทิศทางไม่ใช่เรื่องที่สำคัญเลย..คนเราไม่สามารถที่จะไป Predict อนาคตอะไรได้อยู่แล้ว..สิ่งสำคัญคือ กลยุทธ์ ที่เราคิดเอาไว้ตั้งแต่แรกต่างหาก! ...หากเรามัวแต่ยึดติดกับ"ทิศทาง" เราก็ไม่มีทางที่จะเห็นอะไรอย่างอื่นได้หรอก! การเทรดมันมีอะไรมากกว่าแค่ ขึ้น! กับ ลง!
.
------------
**ความจริง + ความฝัน**
-----------
.
เทรดเดอร์ต้องรู้จักแยกแยะระหว่าง..ความจริง กับ เป้าหมายในฝัน! ในแง่ของการเทรด..เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะสุดโต่งเกินไปที่จะต้องเลือกระหว่าง การ Take profit หรือ Runtrend !
.
แต่ละอย่างมันก็มีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน ..เราสามารถประยุกต์ทั้ง 2 อย่างเข้าด้วยกันได้หนิ!
.
ในบางครั้งเราก็ต้องเลือกที่จะคว้าอะไรที่เราจับต้องได้เอาไว้ก่อน( Take Profit บางส่วน ) ...ส่วนเป้าหมายในฝัน มันจะไปถึงรึเปล่า..ก็อีกเรื่องมันเป็นเรื่องของ อนาคต!
.
ในแง่ของ Game Theory ...เมื่อคนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะสุดโต่งเกินไป..เพราะ อยากได้ แต่ Maximize return ..สุดท้าย..มันก็ทำให้คนที่รู้จักแยกแยะระหว่าง ความจริง+เป้าในฝัน...จะกลายเป็นคนที่ Action ในจุดที่ดีที่สุดตาม Game theory
.
------------
** การทำ Kzm ตามแนว Bridge **
------------
.
1.) ถ้าเรามีสายป่านที่ยาวพอ..เราก็สามารถวาง Zone ตามแนวรับ-แนวต้านของ Bridge เดิมได้! แต่ ถ้าเราไม่มีเงินมากขนาดนั้น สิ่งสำคัญคือ คำนวนกระสุนที่เราสามารถเทรดได้! แล้วรอ..จนกว่ามันจะสร้าง Bridge ใหม่ขึ้นมา!
.
2.) เมื่อซื้อตามแนว Bridge แล้วสิ่งสำคัญคือ! อย่าให้ Order ที่เราเข้าแต่ละครั้งมัน ซ้ำ Zone กัน...
.
3.) ก่อนจะวาง Zone ตั้งรับตามแนว Bridge เดิม..อย่าลืมพิจารณาว่า Bridge นั้นๆ ถูกทำลายไปแล้วรึยัง!
.
4.) การ Roll over ใน Tfex ไม่ค่อยส่งผลกระทบต่องการทำ Kzm model เท่าไหร่..หากเราเล่นหน้า Long เป็นหลัก! เพราะ สัญญาระยะไกล..มักจะมี Discount อยู่เสมอๆ
.
5.) การวาง Zone ตามแนว Bridge มันง่าย...แค่เรารู้จักการวาง Money Management แบบ Close system ! เราก็ไม่จำเป็นต้องสนใจ Stat เลย...ต่างกับการ Scalping...เราจะต้องมีการเก็บ Stat ของ Model ก่อนเสมอ
.
------------
** Bridge Scalper **
-----------
.
หลายคนมักจะมีความเชื่อว่า..การเป็น Scalper จะต้องเข้าด้วย Position หนักๆ แล้วออกเร็ว..การจะทำอย่างนั้นได้..สิ่งสำคัญคือ การเก็บ Stat!
.
การจะเทรด Scalping ตาม Bridge สิ่งสำคัญคือ การเก็บ Stat ของตัวเองก่อน..อาจจะใช้ Demo Port หรือ Micro Port ก็ได้! ..เราต้องรู้ Risk/reward ..winrate..Max.Drawdown! ของ Model ก่อน
.
หากเราเก็บ stat จนมัน Stable แล้วการจะไปเล่น Leverage มันก็ไม่ใช่เรื่องผิด! ..ใช้ Leverage ตาม Max.Drawdown ของ Model เรา..ถ้าเราทำมันได้ดีพอร์ตเราก็จะโตขึ้นไปได้เอง
.
-------------
**เทรด Bridge แล้วโดน ตลอด..!**
------------
.
1.) เราต้องเริ่มจาก Basic ก่อน...การเทรด Bridge ของเรา..เราได้เริ่มมองจาก Bridge Day ก่อนรึเปล่า? ... การเทรด Bridge ใน Time Frame Day มันมีโอกาสที่จะถูก..และได้ ระยะ มากกว่า!
.
2.) เราต้องเริ่มจากกาารอ Confirm..ด้วยการ Breakout Bridge ก่อนแล้วถึงจะ Follow! ..เมื่อมีการ Breakout Bridge มันมีโอกาสที่จะ Drive ไปในทิศทางนั้นสูงมาก! ( การเข้าก่อนการ Breakout ด้วยการดู Momentum ของราคาเราต้อง ฝึก! )
.
------------
#mudleylivebyJatuphon


credit:พี่ต้าน Mudley Group
เรียบเรียงและสรุปโดย : Jatuphon Tungsiriwattanawong
ขอขอบคุณ :พี่ตะวัน Road To Trader Group

*

ส้มหมาแงว

Re: รวบรวมความรู้เรื่อง Bridge จากพี่ต้าน Mudley Group (6 Part)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 05, เมษายน 2017, 10:14:23 AM »
ขอบคุณครับ  (TH)** (TH)** (TH)** (TH)** (TH)**

Re: รวบรวมความรู้เรื่อง Bridge จากพี่ต้าน Mudley Group (6 Part)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 31, กรกฎาคม 2018, 12:30:11 PM »
: D

*

trp77

  • 211
Re: รวบรวมความรู้เรื่อง Bridge จากพี่ต้าน Mudley Group (6 Part)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 10, พฤศจิกายน 2018, 12:41:07 PM »
ขอบคุณครับ  ็Hea** ็Hea** ็Hea**

*

sorana

Re: รวบรวมความรู้เรื่อง Bridge จากพี่ต้าน Mudley Group (6 Part)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 10, พฤศจิกายน 2018, 01:12:15 PM »
 (TH)** Ha)**

*

natfx

  • 257
Re: รวบรวมความรู้เรื่อง Bridge จากพี่ต้าน Mudley Group (6 Part)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 11, พฤศจิกายน 2018, 10:34:56 AM »
ขอบคุณครับ
วินัย-MM-TREND-R/S