กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

แนวคิดของการลงทุน

  • 1 replies
  • 3,329 views
แนวคิดของการลงทุน
« เมื่อ: 24, ธันวาคม 2016, 09:08:36 PM »
แนวคิดของการลงทุน 
ลิขสิทธิ์ Traderider.com
ผู้เขียน Numay


แนวคิดของการลงทุน

   หลังจากที่คราวก่อนเราได้อธิบายความแตกต่างของการลงทุน กับ การธุรกิจไว้ คราวนี้เราขอยกเรื่องธุรกิจไว้ก่อน ในคราวนี้เราจะกล่าวเฉพาะแนวคิดของการลงทุนอย่างเดียว จากการที่ผู้เขียนได้อธิบายแนวความคิดเกี่ยวกับการลงทุนไว้ว่า เป็นเรื่องของ "การให้เงินทำงาน" ซึ่งหากพิจารณาแง่นี้แล้ว บางทีการซื้อขายหุ้น หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ  การทำกำไรจากส่วนต่าง จะยังไม่ใช่การลงทุนแต่ผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่ได้คิดว่า "จะเป็นอะไรก็ช่างมันขอให้ฉันได้กำไรก็พอแล้ว" ซึ่งก็ไม่เป็นไร ลองมาฟังไอเดียของผู้เขียนเสียก่อน

   ในช่วงหลายปีก่อนธุรกิจการตลาดเครือข่าย (MLM) เป็นธุรกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์ของธุรกิจที่จูงใจด้วยการตลาดหลายชั้นทำให้มันขยายตัวอย่างรวดเร็ว คงไม่ต่างกับคนอื่น ๆ หลายคนที่ผู้เขียนก็โดนชักจูงเช่นกัน เพียงแต่สถานการณ์นั้นอาจจะต่างออกไป ยังจำได้ว่าน้องที่เข้ามาชักจูงได้บรรยายต่าง ๆ นานา ถึงการที่จะมีรายได้เข้ามาโดยไม่ต้องทำงาน โดยอาศัยค่าคอมมิชชั่นจากสมาชิกที่สมัครต่อในกลุ่มของเรา พวกเขาบอกว่ามันไม่ใช่การขายสินค้า เราไม่จำเป็นต้องไปขายของ สินค้าก็มีคุณภาพดีมาก ๆ แต่อาจจะราคาสูงกว่าท้องตลาดนิดหน่อย กลยุทธ์หนึ่งที่กลุ่ม MLM ใช้นำเสนอคือ เพียงเราเปลี่ยนมาเครื่องอุปโภคบริโภคพื้นฐานให้มาเป็นสินค้าของผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม MLM ก็จะได้รับเงินคืน ยิ่งกว่านั้นหากสามารถชักจูงคนอื่นเข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่มก็จะได้คอมมิชชั่นจากคนอื่นอีกต่อหนึ่ง ฟังดูแล้วมันอาจจะง่าย เมื่อร่ายยาวถึงขั้นตอนนี้เขาก็จะนำเสนอแผนงาน และค่าคอมมิชชั่นที่จะได้คร่าว ๆ หากสามารถชวนเพื่อนมาสมัครได้จำนวนคนเท่านั้นเท่านี้ เพียงแค่เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและชักชวนคนอื่นเท่านั้น หลังจากที่พวกกเขาอธิบายจนจบ ผู้เขียนก็ถามว่า ค่าสมัครเท่าไหร่? ในยุคนั้นค่าสมัครจึงเป็นเพียงหลักร้อยบาท ซึ่งผู้เขียนถึงกับ โหววววว! ต้นทุนสูงมาก น้องคนนั้นบอกว่า ไม่สูงลงทุนเพียงไม่กี่ร้อยบาท แป๊บเดียวก็ได้คืน เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้เขียนจึงได้อธิบายว่า  หากว่ากันอย่างนักลงทุน กว่าจะได้เงินมาที่เป็นค่า PV ผู้เขียนจะต้องยอมเสียเงินเพิ่มจากราคาส่วนต่างสินค้าที่แพงกว่าการตลาด ผู้เขียนจะต้องลงแรงที่ต้องออกไปชักชวนคนอื่น โน้มน้าว ซึ่งจะไม่ได้ค่าตอบแทนในส่วนนี้ หากต้องออกเดินทางไปหาสมาชิกใหม่แบบที่กำลังถูกชักชวนอยู่นี่แบบไม่ได้เงินแม้แต่บาทเดียว ก็ต้องคิดว่าถ้าเราไปทำงานร้านค้าปลีกชื่อดังยังได้เงินรายวันเลย แล้วไหนจะต้องวางแผนการตลาด วางแผนเอาชนะกลุ่มอื่น เอาชนะบริษัทอื่น เมื่อคิดเช่นนี้แล้วผู้เขียนเลยถามไปว่า น้องมีแผนการตลาดหรือเปล่าเราจะเอาชนะกลุ่มอื่นที่แทรกซึมอยู่ในตลาดอยู่แล้วได้อย่างไร แล้วไหนจะบริษัทหรือผลิตภัณฑ์คู่แข่งอีก ในวันนั้นน้องก็กลับไปแบบที่ยังไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเป็นสมาชิกแต่เธอสัญญาว่าจะมาใหม่พร้อมกับคำตอบ  ซึ่งผู้เขียนก็ชื่นชมในความพยายาม

   ถึงตรงนี้ผู้อ่านคงจะพอทราบอะไรอย่างหนึ่งแล้ว ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนที่ว่าเนี่ย คืออะไร? แนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนมันคือ การจัดการอย่างเป็นระบบ การวางหน้าที่ไว้ให้ชัดเจน การมีแผนการ การมี  กลยุทธ์ แล้วถึงจะสรุปได้ว่าเราจะกำไรหรือไม่  หากคุณผู้อ่านเป็นหนึ่งคนที่เทรดแบบเข้ามาในตลาดและคิดแค่ว่าทำกำไร? ลองมาพิจารณาแนวคิดเหล่านี้ดูสักหน่อย นายเอ เทรดค่าเงิน EURUSD ฝากเงินเข้าบัญชีทั้งหมด 100 เหรียญเทรดครั้งแรกนายเอได้กำไร 30 เหรียญ นายเอ ย่ามใจ เลยเทรดครั้งที่ 2 อีกปรากกฏว่าได้กำไรขึ้นมาอีก 40 เหรียญจนมีเงิน 170 เหรียญ นายเอจึงเพิ่มขนาดการเทรดอีกเพื่อที่จะได้กำไรมากขึ้น การเทรดของนาย A ได้กำไรตามที่เขาคิดอีก 60 เหรียญ รวมเป็น 230 เหรียญ วันนี้นายเอ หยุดเทรดและออกไปทานข้าวฝันว่าฉันจะรวยจากการเทรด ว่าวันแรกก็ทำเงินได้เป็นเท่าตัวแล้ว วันรุ่งขึ้นก็จะกลายเป็น 400 เหรียญ วันมะรืนอาจจะ 1,000 เหรียญ จากเงิน 3,000 บาท กลายเป็น 30,000 บาท ในสามวัน ระหว่างที่ฝันหวานอยู่ใน วันที่สองเริ่มขึ้นด้วยการเทรดขาดทุน 50 เหรียญ แทนที่จะลดขนาดการลงทุนลงกลับใช้เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นเพื่อจะเอากำไรคืน สุดท้าย โดนซะหมดพอร์ทการลงทุน 230 เหรียญ เหลือ 0 เหรียญ สิ่งที่ตามมาหน่ะหรือ? หลายคนยังข้องใจว่าตัวเองพลาดตรงไหนและพยายามอยากจะเอาคืนครั้งแล้วครั้งเล่าสุดท้ายก็ลงเอยแบบเดิม มันเป็นเพราะอะไร  มันเป็นเพราะว่าสิ่งนั้นเรียกว่าการพนันเสียมากกว่า  อย่างที่ได้กล่าว การลงทุนจะต้องเป็นการลงทุน ในกิจการที่มีการบริหารจัดการอย่างชัดเจน ในบทความเรื่องทำไมต้องลงทุน ผู้เขียนได้กล่าวถึง น้าคนหนึ่ง ซึ่งลงทุนในหลายกิจการที่ทุกเช้าเธอจะเดินทางไปเยี่ยมผู้จัดการร้านของเธอ ซึ่งก็หมายความว่า เราต้องแยกการลงทุน กับกิจการออกจากกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ การลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยนของเราก็ต้องแยกเป็นกิจการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน และเราในฐานะนักลงทุน ในฐานะนักลงทุนคงยังไม่สามารถอธิบายตอนนี้ได้แต่จะได้พบกับตอนต่อๆ ไปในบทความชุดนี้แน่นอน เรามาพูดถึงกิจการกันดีกว่า หากผู้อ่านนึกภาพว่ากิจการหนึ่ง ผู้อ่านคิดว่ากิจการควรจะมีหน่วยงานใดอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการกิจการก็จะมีหลัก ๆ ดังนี้

    ฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบหรือในธุรกิจบริการก็ต้องเป็นคนจัดหาบริการ ต้องมีฝ่ายบัญชีเพื่อบันทึกรายการสินค้าเข้าและออก ต้องมีฝ่ายขายและการตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้า หากเรามองกันแค่ระบบแค่นี้แล้วก็แบ่งได้เป็น 3 หน่วย  และอย่างที่ผู้เขียนได้ริเริ่มไว้ตั้งแต่บทที่แล้วว่าทุกอย่างเริ่มที่คำถาม  การตั้งคำถามที่ถูกต้องสำคัญกว่าการหาคำตอบมากนัก ผู้เขียนได้ลองยกการจัดกลุ่มที่ได้กล่าวมาเพื่อประยุกต์ใช้ในการเทรด Forex ตามเนื้อหาต่อไปนี้

    ฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบหรือบริการ – ในการเทรด Forex ย่อมไม่แตกต่างกันกับสินค้าประเภทอื่นที่ต้องมีการ เปิด Position ก่อน ไม่ว่าจะเป็น Long หรือ Short ก็ตาม คำถามก็คือ หากว่าเราจะลงทุนขายอะไรสักอย่างเราจะรู้ได้ยังไง? ว่าต้นทุนของสินค้าที่เราซื้อมานั้นถูก นี่เป็นคำถามแรกที่เราต้องใช้ในการเทรด Forex เช่นกัน การเปิด Position ณ จุดนั้นเรียกว่า ถูกหรือแพง? เราก็คงต้องไปหากลยุทธ์มาใช้ในการวิเคราะห์ แล้วราคาจะถูกเมื่อราคาเท่าไหร่? สิ่งเหล่านี้สามารถเห็นได้บ่อย ๆ ในตลาด ผู้อ่านอาจจะจำได้ว่าหลายปีก่อน น้ำมันพืชราคาแพงมาก ทำไมเราถึงใช้คำว่าแพงกับน้ำมันพืช เพราะว่ามันแพงกว่าอดีตมันจึงเป็นที่มาของการเปรียบเทียบกับราคาในอดีต และกลายมาเป็นกราฟราคาและมีเทคนิคการวิเคราะห์ราคาเต็มไปหมด ซึ่งแน่นอนว่ามันก็ย่อมใช้กับสิ่งที่มีราคาทุกประเภท  กว่าจะซื้อสินค้ามาได้ยากเย็นแสนเข็ญ ถ้าเกิดขายไม่ออกอีกก็เรียกว่าเสี่ยง ในการทำธุรกิจบริโภคสินค้าจะมีอายุค่อนข้างจำกัด เช่น บางร้านขายไข่ อายุก็ประมาณไม่กี่สัปดาห์หากขายไม่หมดก็ต้องรับความเสี่ยงเต็ม ๆ ธุรกิจอาหารปรุงสำเร็จไม่ว่าจะแช่แข็งหรือทำ ณ ตอนนั้น ธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเมื่อความเสี่ยงเพิ่มขึ้นผู้ขายก็ต้องเพิ่มอัตราส่วนกำไรที่มากขึ้นนี้ในราคาสินค้า แต่โชคดีที่ต้นทุนของการกิจการ    เทรดค่าเงินไม่ได้มีอะไรมาก เพราะมันไม่มีหน้าร้านและมันไม่เน่าตามกฏ  TOM (หรือ Tomorrow next) (ตามที่กล่าวอ้างใน (Dufey 2002, Strazisar 2012)) ซึ่งสินค้าที่เป็นค่าเงินจริง ๆ แล้วจะหมดอายุทุกวัน และจะต่อสัญญาในวันถัดไปซึ่งรวมทั้งวันหยุดด้วย นักเทรดบางท่านอาจจะเคยสังเกตุว่าทำไมวันพุธ Swap ถึงมีการคิดราคาสูงกว่าปกติถึง 3 เท่านั่นเพราะว่าคิดรวมวันเสาร์กับวันอาทิตย์ที่ตลาดปิดทำการไปด้วยนั่นเอง เราคงต้องพักเกร็ดความรู้ไว้กันก่อนและไปที่หัวข้อต่อไป

    การบันทึกบัญชีและการบริหารจัดการ – ในการบริหารจัดการนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือระบบบัญชี การจัดการสินค้า เมื่อมีการซื้อสินค้ามาเพื่อขายก็ต้องทำการบันทึกต้นทุนและหลักการจำหน่ายสินค้าออกตามหลักการ เช่น เข้าก่อนออกหลัง หรือเข้าก่อนออกก่อน (LIFO และ FIFO) จริง ๆ แล้วกฏการเข้าก่อนออกหลังสำหรับผู้ที่ไม่ได้คลุกคลีกับการเขียนระบบเทรดอัตโนมัติก็คงจะยังไม่ทราบว่า การปิดออเดอร์ของ Forex โดยคำสั่งอัตโนมัตินั้นเรียงตามลำดับการเปิดของออเดอร์ ออเดอร์ที่ถูกเปิดก่อนจะต้องปิดก่อน แต่ก็ยังไม่เกี่ยวข้องกับหลักการบริหารจัดการที่ผู้เขียนจะกล่าว ในทางปฏิบัติสินค้าหรือบริการที่จับต้องได้คงมีการบันทึกบัญชีไว้ชัดเจน แต่ใน Forex หล่ะ? ท่านได้ทำระบบบัญชีต่าง ๆ ไว้หรือไม่? ท่านได้ทำบัญชีการฝากเงินเข้าหรือไม่? ท่านได้ทำบันทึกต้นทุนที่เกิดขึ้นเช่น Spread ซึ่งเป็นต้นทุนขาย ท่านได้ทำการบันทึก Swap ที่จ่าย ท่านได้ทำบันทึกค่าธรรมเนียมการโอนเงินและที่สำคัญในฐานะผู้บริหารกิจการ ท่านได้ทำค่าตอบแทนของเทรดเดอร์ที่เทรดได้กำไรแต่ละเดือนหรือไม่ เพราะถ้าหากผู้อ่านไม่ได้ทำ ผู้อ่านก็ดำเนินกิจการไม่แตกต่างกับน้องคนที่มาชักชวนผู้เขียนทำธุรกิจ MLM โดยที่ไม่ได้คิดค่าแรงในการออกไปชักชวนคนนั้นคนนี้มาสมัคร จะเห็นว่าถ้าเราคิดเรื่องพวกนี้เข้าไปแล้ว เอาเข้าจริง ๆ ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาด Forex อาจจะไม่ได้มากมายอย่างที่คิดก็เป็นได้

    การขายและการตลาด- ในสินค้าที่จับต้องได้ผู้อ่านคงเห็นรูปแบบของกลยุทธ์การขายและการตลาดผ่านหลากหลายรูปแบบ สิ่งที่สำคัญคือ เราสามารถอ่านการสื่อสารความหมายของการตลาดตรงนั้นได้หรือไม่ ว่ามันกำลังบ่งบอกอะไร  กลยุทธ์การขายหรือการตลาดบางอย่างสามารถแทรกซึมให้เราโดยไม่รู้ตัว เช่น       กลยุทธ์อาศัยความโลภของเรา ตัวอย่างของผู้เขียนได้ไปร้านค้าปลีกยอดนิยมสีเขียวแดงของไทยใกล้ ๆ เพื่อนของผู้เขียนซึ่งเป็นคนที่ชอบสะสมสแตมป์ของร้านค้าปลีกดังกล่าวเพื่อนำไปแลกของรางวัล ในวันหนึ่งร้านค้าปลีกแห่งนี้ได้นำสินค้าสองชนิดมาขายประกอบกัน ซึ่งอาจจะเข้าใจว่าเป็นสินค้าที่ขายได้ยากของทางร้าน     นั้นคือ ผงซักฟอกกับน้ำยาปรับผ้านุ่ม ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเนื่องจากจำราคาได้ไม่แน่ชัดแต่จำความได้ สมมุติว่า ผงซักฟอก 1 ถุงราคา 20 บาท และน้ำยาปรับผ้านุ่มราคา 20 บาท ทางร้านได้นำสินค้าสองรายการมาขายประกอบกันแล้วลดราคาเหลือ 30 บาท แต่เมื่อซื้อสินค้าคู่นี้จะได้รับสแตมป์มูลค่า 9 บาท (3 บาท 3 ดวง) เพื่อนของผู้อ่านไม่เคยพลาดโปรโมชั่นดีดีอย่างนี้พร้อมกับได้ผงซักฟอกกับน้ำยาปรับผ้านุ่มมาใช้ หลังจากนั้นผู้อ่านได้ถามเพื่อนว่า "นี่ห้องแกผงซักฟอกหมดหรอ?" เพื่อนตอบอย่างทันควันว่า "เปล่า เค้าซื้อถุงใหญ่ไว้ ยังไม่หมดเลย" นั่นหมายความว่า เพื่อนของผู้เขียน ได้เสียเงินไปซื้อของที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้พร้อมกับได้ส่วนลด 19  บาท (ค่าส่วนลดของ 10 บาท + ค่าแสตมป์ 9 บาท) เอาจริง ๆ แล้วเพื่อนของผู้เขียนเอาเงิน 30 บาทไปแลกเงิน 9 บาท พร้อมกับผงซักฟอกกับน้ำยาปรับผ้านุ่มซึ่งไม่อยากได้ ไอ้ที่อยากได้จริง ๆ มูลค่า 9 บาทเท่านั้นเอง  ผู้อ่านเคยตกหลุมการตลาดอย่างนี้บ้างไหม? มันเหมือนจะมองหาได้ง่ายแต่ก็มีคนตกหลุมกันเยอะใช่ไหมหล่ะ?  ในโลกของ Forex ท่านจะมีความอยากซื้อเพราะคิดว่า มันลงมาเยอะแล้ว ลงมามากกว่าอาทิตย์ก่อนที่เราเคยเข้าซื้อครั้งก่อนแล้วกำไรเสียอีก ผู้อ่านอาจจะลืมฉุกคิดว่า "นี่เป็นกลยุทธ์การตลาดของใครซักคนที่เขาอยากให้เราซื้อหรือเปล่า เอาสินค้ามาลดราคา" แม้ในตลาดอย่างนี้เราก็ยังเจอกลยุทธ์ที่เหมือน ๆ กัน ถึงแม้เราจะมองอะไรไม่ออกนอกจากไอ้กราฟแท่งเทียนนั่น แล้วเราหล่ะจะมีกลยุทธ์การขายยังไง เราจะตั้งจุดทำกำไรไว้แน่นอนหรือว่าจะรอ ไม่ว่าตลาดไหน ๆ ก็มีพฤติกรรมทางการตลาดที่คล้ายคลึงกันนั่นแหละ

    ในพารากราฟสุดท้ายก่อนจะจากกันไปสำหรับสัปดาห์นี้ บทความเหล่านี้ยังอยู่ในช่วงของการเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดซึ่งเป็นส่วนที่ผู้เขียนให้ความสำคัญมากที่สุด  เพราะอะไรเราถึงอยากให้ท่านได้กำไร? เพราะเราอยากให้ท่านอยู่กับเรานาน ๆ และทำธุรกิจอัตราแลกเปลี่ยนที่ประสพความสำเร็จและเปลี่ยนตัวเองจากนักธุรกิจเป็นนักลงทุนได้นั่นเอง การจะเป็นนักธุรกิจที่ประสพความสำเร็จ จะต้องมองให้มากกว่าที่คนอื่นมอง เพราะถ้าเรื่องที่ผู้เขียนเล่ามานั้นคนอื่นก็สามารถคิดได้ แล้วเราจะมีอะไรที่ดีกว่าเขาที่จะสามารถทำกำไรจากเขาได้  ผู้เขียนพบว่าเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับกระบวนการที่ 1 และ ที่ 3 มาก คือกลยุทธ์การซื้อและขาย เพราะเป็นตัวกำหนดกำไรได้อย่างมาก จนลืมความสำคัญของการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะทำบันทึกการซื้อขาย (Trading Journal) การออกแบบระบบซื้อขาย การออกแบบระบบบัญชี ระบบการกระจายความเสี่ยง ระบบการพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร (Trader) หรือแม้แต่การพัฒนาวิจัยระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยลดต้นทุนการเทรดที่ต้องใช้คนอยู่ ซึ่งก็ไม่แตกต่างกับแนวคิดทางธุรกิจ การมองทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ผู้เขียนเพียงยกตัวอย่างในมุมมองของผู้เขียนเท่านั้นในความเป็นจริง ยังสามารถมองมุมอื่นได้อีกหลายแง่มุม ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้ของผู้อ่าน และยังพลิกแพลงได้อีกมากมาย


อ้างอิง
Dufey, G. (2002). "Foreign exchange markets and currency risk."
   
Strazisar, B. (2012). "Rolling Spot Forex Trading–Financial Problem or Ponzi?" Available at SSRN 1990526.

   



ลิขสิทธิ์ Traderider.com
ผู้เขียน Numay

*

Cambeiror

Re: แนวคิดของการลงทุน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 07, เมษายน 2017, 03:27:54 PM »
ถ้าคิดจะลงทุนยากมั้ยครับ