กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การลงทุนไม่ได้ยาก หากมันยากก็อย่าลงทุนมันเลย

  • 0 replies
  • 1,558 views
  การลงทุนไม่ได้ยาก หากมันยากก็อย่าลงทุนมันเลย
ลิขสิทธิ์ Traderider.com
ผู้เขียน Numay


การลงทุนไม่ได้ยาก หากมันยากก็อย่าลงทุนมันเลย

    ในงานเขียนของผู้เขียน ผู้เขียนพยายามที่จะยกตัวอย่างให้สามารถเข้าใจได้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด เพราะว่าถ้าหากว่ามันไม่สามารถเข้าใจได้โดยใช้ตรรกะพื้นฐานแล้ว เราก็ไม่ควรจะไปใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนจนยากที่จะเข้าใจ ไม่มีที่มาที่ไปได้ ผู้เขียนได้มีโอกาสได้อ่านบทความของนักลงทุนชื่อดังในโลกออนไลน์หลายท่าน แต่ผู้เขียนเป็นผู้ที่ไม่เชื่อในตัวผู้อื่น หากว่าไม่ได้เห็นกับตาหรือหากว่าพิจารณาแล้วไม่มีความเชื่อมโยงของเหตุผล (คุณสมบัตินักลงทุนพึงมี จะกล่าวในบทต่อไปในช่วงของการเตรียมตัวในการเทรด Forex) หากมองแล้วว่าเป็นที่เล่าสืบกันมา ไม่มีมูลความจริง  ด้วยลักษณะนิสัยเหล่านี้ทำให้ผู้เขียน ไม่ค่อยเชื่อผู้อื่นและค่อนข้างจะลงมือค้นหาปฏิบัติหาคำตอบด้วยตัวเองมากกว่า  อย่างไรเสีย นี่ก็ไม่ได้เป็นการเขียนเล่านิสัยของผู้เขียนเอง

    ในการลงทุนนั้น ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านงาน บทความ หรือว่าแนวคิด ทัศนะ  ความเห็นต่าง ๆ มากมายที่ปรากฏอยู่ในรูปสื่อออนไลน์ ผู้เขียนจึงจะขอยกตัวอย่างเป็นเพียงบางตัวอย่างเท่านั้นที่ปรากฏอยู่ทั่วไป



การลงทุนเน้นคุณค่า

    ในความเป็นจริง การลงทุนเน้นคุณค่าไม่ได้เลวร้ายเลย สำหรับคนที่เข้าใจมันอย่างดี การเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์นั้นอาศัยเหตุและผลค่อนข้างชัดเจน แต่เป็นหน้าที่เรา ที่จะต้องพิจารณาอย่างมีเหตุและมีผล  คงไม่มีใครมาสอนเราได้ ไม่ว่าตำราหรือหนังสือเล่มไหนก็สอนไม่ได้ หากเราคิดไม่เป็น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของบทความทั่วไปที่กล่าวอ้างบ่อย ๆ เกี่ยวกับหลักการของการลงทุนเน้นคุณค่า เช่น การดู P/E ผู้เขียนคงยกตัวอย่างเดียว เนื่องจากมีเนื้อหาอื่นอีกจนไม่สามารถเขียนได้หมด ตัวอย่างของ P/E คือ Price per Earning หรือก็คือ ราคาหารด้วยกำไร  ราคาในที่นี้ก็คือราคาหุ้น ส่วนกำไรก็คือกำไรของบริษัท

     มีหลักการที่กล่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า การจะเลือกหุ้นต้องเลือกที่ P/E ต่ำ บางคนเลือกที่จะเชื่อ ณ จุดนี้ เอา P/E ต่ำไว้ก่อน บางคนสงสัยต่อว่า "ทำไมต้อง P/E ต่ำ?" มีหลักการอธิบายว่า ถ้ากำไรสูง ซึ่งเป็นตัวหารก็จะบอกได้ว่า อัตรากำไรต่อราคาหุ้นเทียบเป็นกี่เท่า นั่นคือ ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาท กำไรต่อปีเท่ากับ 2 บาท P/E ที่ออกมาเท่ากับ 5.0 หมายความว่า ถ้าซื้อหุ้นปีนี้ และมันทำกำไรได้ปีละ 2 บาทต่อหุ้นเฉลี่ย เราจะคืนทุนได้ในปีที่ 5  หลายคนเลือกที่จะเชื่อ ณ จุดนี้ เพราะมันฟังดูสมเหตุสมผลดี ขณะที่หลายคนเลือกที่จะไปต่อ แต่ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าจะมีซักกี่คนที่จะพยายามทำความเข้าใจกับเหตุผล  มันหมายความว่ายังไง? หรือว่า มันหมายความว่า ราคาหุ้นปัจจุบันนั้นสะท้อนมูลค่าสินทรัพย์ของมันอย่างนั้นหรือ?   กล่าวคือ ถ้าเราอยากจะลงทุนทำธุรกิจ 10 บาท และขายหุ้นให้ผู้ถือหุ้นราคาหุ้นละ 2 บาท จำนวน 5 หุ้น มูลค่าของหุ้นเท่ากับหุ้นละ 2 บาท ถ้าเราซื้อมา 1 หุ้น ในราคา 2 บาทและมันทำกำไรต่อหุ้นปีละ 0.4 สตางค์ เราจะได้คืนทุนทันทีในปีที่ 5   คำถามที่น่าสนใจมีดังนี้ กำไรที่เพิ่มขึ้นนั้น เขาได้จ่ายให้นักลงทุนเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่? ในการลงทุนยังมีส่วนอื่นต้องพิจารณาอีกเช่น หนี้สิน และสินทรัพย์ ซึ่งถ้าหากหนี้สินมีมากจนเกินไป กลายเป็นว่าทั้งกิจการที่เราลงทุนไป มีส่วนที่เป็นส่วนของเจ้าของอยู่ไม่กี่บาทเอง (สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ) ถ้าหากว่ากันอย่างนี้แล้ว P/E ที่ต่ำ ๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ราคาเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด สิ่งที่มันให้ชัดเจนเลยคือ กิจการประสบความสำเร็จ การดูปัจจัยเหล่านี้ ทำให้นักลงทุนเน้นคุณค่าต้องเลิกสนใจกับความผันผวนของราคา แต่มองถึงการลงทุนในตัวกิจการที่แท้จริงเท่านั้น

    ย้อนมาถึงตรงนี้ จะเห็นว่าหลักการในการลงทุนนั้น  คือการที่จะชวนผู้อื่นมาร่วมกิจการ โดยการขายหุ้น โดยเขาจะเสนอขายให้ผู้ร่วมลงทุน บุคคลสาธารณะ หรือเปิดให้ลงทุนเป็นเงินเท่าไหร่ ก็คือ ราคาหนึ่ง สำหรับราคาที่เสนอขายให้กับสาธารณะ คือ ราคา PO หรือ Public Offering นั่นคือราคาหุ้นเข้าตลาดหรือก็คือ ราคาหุ้น คูณด้วย จำนวนหุ้นที่ขายให้สาธารณะได้ จะกลายไปเป็นเงินทุนที่บริษัทใช้ดำเนินกิจการ ซึ่งกิจการก็จะเปิดดำเนินการไปแล้ว ส่วนต่างราคาซื้อขายที่เกิดจากการนำหุ้นเข้าไปในซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลการทำให้บริษัทมีทุนเพิ่มแต่อย่างใด หลายคนยังอาจจะงง ผู้เขียนขอยกตัวอย่างง่าย ๆ ตัวเลขกลมๆ ดังนี้

    นาย A อยากเปิดร้านทำผมมูลค่า 10,000 บาท แต่มีทุนอยู่แค่ 5,000 บาท ซึ่งไม่พอ จึงอยากระดมทุน โดยเอาต้นทุนทั้งหมดในการเปิดร้านทำผมมาแตกย่อย หุ้นละ 10 บาท รวม 1,000 หุ้น ตัวเอง ซื้อไว้ 500 หุ้นเนื่องจากมีทุนอยู่ 5,000 บาท แต่ว่ายังไม่พอขาดอีก 5,000 นาย A จึงไปชวนนาย B นาย C นาย D นาย E และ F โดยเขาได้ทำหนังสือชี้แจง  หนังสือประสบการณ์ในการทำธุรกิจ (หนังสือชี้ชวน) ว่าเขาสามารถทำธุรกิจได้ดีและจะได้กำไรได้อย่างไร นาย B,C,D,E,F ได้ฟังแล้วทราบซึ้งใจ จึงตกลงซื้อหุ้นคนละ 100 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 5,000 บาท นาย A สัญญาว่า ถ้าได้กำไรจะปันผลให้ 10 % ของกำไรที่จัดสรรไว้สำหรับปันผลแล้ว เวลาผ่านไป 5 ปีนาย A กำไรมากมายและทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่ม (Equity: เนื่องจากกำไรขาดทุนจะตัดไปเป็นกำไรสะสม ซึ่งจะจัดไปตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้น) ส่วนนี้เองที่ทำให้มูลค่าของส่วนของเจ้าของนั้นมีเพิ่ม จู่ ๆ นาย Y และ Z มารู้ว่า นาย A ทำธุรกิจได้กำไรเลยถามซื้อหุ้นจากนาย B,C,D,E ปรากฏไม่มีใครยอมขายหุ้นเลยเพราะนาย A ทำธุรกิจเก่ง แต่มีนาย F อยากจะขาย 50 หุ้นครึ่งหนึ่ง ณ ตอนนั้น ราคาหุ้นบริษัทของนาย A   ที่ทำกำไรจากกิจการได้ ทำให้มูลค่าของส่วนของเจ้าของเพิ่มจาก 10 บาทต่อหุ้นเป็น 15 บาทต่อหุ้น แต่นาย F อยากแบ่งขายให้นาย Y กับ นาย Z ลองเรียกราคามา  นาย Y อยากได้มาก จึงตั้งไปก่อนว่า 18 บาทละกัน นาย Z เห็นอย่างนั้น คิดว่า ตัวเองพอมีตังค์พอสู้ไหว ก็เลยเรียกไปที่ 20 บาท นาย Y เห็นท่าไม่ดี รีบตัดหน้าไป 25 บาทจนนาย Z คิดว่าไม่คุ้มแล้ว ไม่รู้เมื่อไหร่นาย A จะสามารถทำกำไรให้มูลค่ามันเพิ่มไป 25 บาท  นาย Z คิดว่าถ้าวัดตามสถิติเก่าลงทุนมา 5 ปี เพิ่มมา 5 บาท ถ้าจะต้องได้ทุนคืนที่ 25 บาทที่นาย Y ซื้อจะต้องรออีก 10 ปีเลย ซึ่งนานเกินไป หุ้นนี้จึงตกเป็นของนาย Y ในราคา 25 บาทต่อหุ้นจำนวน 50 หุ้น แต่มูลค่าของหุ้นอยู่ที่ 15 บาท

   คำถามสำหรับนักลงทุนที่ต้องคิดคือ ไอ้ส่วนต่าง 15 บาท (ราคาเริ่มแรก 10 บาท กับราคาขาย 25 บาท) นี่จะทำให้นาย A ได้ทุนเพิ่มตรงนี้ อีก 750 บาท(15x50) ไปลงทุนในกิจการหรือเปล่า?  คำตอบคือ ไม่มีทาง เงินส่วนต่างนี้ไปเข้ากระเป๋านาย F นู่น ที่นาย F ขายหุ้นส่วนต่าง แต่นาย A ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำงานต่อไป ผู้อ่านจะสังเกตุว่า มันแค่เปลี่ยนมือกันเฉย ๆ ราคามันจะไปที่ไหนก็ตาม มันขึ้นอยู่กับผลของจิตวิทยา ความรู้ระหว่างนาย Y กับ นาย Z ไม่ได้มีผลมาจากผู้ถือหุ้นก่อนหน้า ถ้าเราจะซื้อขายหุ้นแล้วหวังผลกำไรระยะสั้นที่กิจการจะสามารถทำได้ แล้วจะดู PE , ROE, ROA ,P/BV เพื่อ????  มันไม่ได้สะท้อนอะไรเลยต่างหาก  ผู้เขียนมีวิธีคิดแบบนี้ไม่ได้อ่านมาจากตำราเล่มไหน แต่มาจากการศึกษาระบบ การทำความเข้าใจกับตลาด ความสอดคล้องของเหตุผล จะสังเกตุว่า การซื้อขายระยะสั้นว่าด้วยการประมูลราคาหลักทรัพย์ล้วน ๆ เป็นเหตุผลว่า ทำไมผู้เขียนถึงตั้งชื่อหนังสือเล่มหนึ่งว่า "เกมส์ประมูลค่าเงิน"    ก่อนจะไปหัวข้ออื่นผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจว่าจะบอกว่า P/E ใช้ไม่ได้เพียงแต่ว่า การลงทุนที่เน้นคุณค่าของกิจการ คือการลงทุนในกิจการไม่ใช่การเก็งกำไรนั่นแหละ การคิดแบบนี้เชื่อมโยงกับหัวข้อย่อยต่อ ๆ ไปในบทนี้

ทฤษฎีการจ้างงานกับข่าว

    มีช่วงหนึ่งที่ผู้เขียนได้มีโอกาสสนทนากับผู้จัดการกองทุนชื่อดัง  ประเด็นหนึ่งที่เราพูดกันคือ เรื่องของ GLOBAL MACRO กับการเทรดและเรื่องของเศรษฐศาสตร์กับการเทรด คือ มันไม่ใช่ใช้ไม่ได้แต่ว่าใช้กันไม่ถูกหลัก  การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นการใช้ในระยะยาวที่มองกันในรอบ 5 – 10 ปีได้เลย แต่เห็น   เทรดเดอร์เราอ่านข่าวมาแล้วนี่ก็คือการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ข่าวประกาศตัวเลขการจ้างงาน ประกาศยอดขาย อัตราดอกเบี้ย ที่คิดว่าจะส่งผลในระยะยาวแต่เทรดเพียง 15 นาทีแรกที่ข่าวประกาศออกมามันยังไงอยู่

    การเทรดโดยใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจในตัวอย่างนี้ กล่าวถึงการจ้างงาน คือ มุมมองที่เทรดเดอร์จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าเงิน  ในหน่วยระบบเศรษฐกิจ ประเทศหนึ่งก็เปรียบได้ไม่แตกต่างกับบริษัทหนึ่ง ประเทศหนึ่งจะได้กำไรก็ต้องมาจากการที่มียอดขาย (Export) มากกว่ายอดซื้อ (Import) การมีการจ้างงานมากขึ้น ไม่แตกต่างกับการมีออเดอร์สั่งซื้อสินค้าเข้ามาและทำให้คนในโรงงานมีงานที่จะทำ  เมื่อมีงานทำเพิ่มขึ้นแน่นอนว่ามันไม่ได้สะท้อนออกมาเพียง 1 ปี เพราะในการทำธุรกิจต่างประเทศไม่ได้จะทำสัญญาซื้อขายสินค้าเดือนเดียวแล้วเลิกแล้วต่อกันเสียเมื่อไหร่? มันยังดำเนินต่อไปเป็นปีๆ ตามรอบของวัฎจักรเศรษฐกิจ

   เมื่อเป็นเช่นนี้มันไม่แตกต่างจากกรณีของการดูหุ้นโดยปัจจัยพื้นฐานเมื่อกี้เลย นั่นคือข่าวไม่ได้ส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานของค่าเงิน ที่มันส่งผลกระทบคือ จิตวิทยา ความรู้สึกของคนในช่วงที่ข่าวออก โดยเฉพาะ ความที่คนส่วนใหญ่ยึดติดว่ามันจะส่งผลกระทบกับราคา แน่นอนมันย่อมส่งผลเพราะคนเชื่ออย่างนั้นไปหมดแล้ว แต่มันหาใช่ความเชื่อมโยงจากปัจจัยเศรษฐกิจดีหรือไม่ดีข้างหน้าได้  ในวงการมักจะมีคำกล่าวอยู่เสมอว่า หุ้นมักจะนำตลาดภาค Real Sector  อยู่เสมอ ในความเป็นจริงมันไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยกับผลของกิจการเพราะยังไม่มีหลักฐานใด ๆ พิสูจน์จากงานวิจัยภาคการเงิน ไม่มีรอบการเกิดวิกฤติการเงิน เมื่อใดที่ตลาดหุ้นร่วงก่อน ถึงจะเกิดวิกฤติเสียด้วยซ้ำ  แล้วสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ ถ้าไม่นับการเทรดในระยะสั้น คืออะไร? มันคือผลของจิตวิทยารวมกับผลของปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงินรวมกันอยู่ถึง 3 ปัจจัยยังไงหล่ะ? นั่นคือ รายใหญ่เขาก็ต้องมีการซื้อขายค่าเงินในกรณีการซื้อขายสินค้าต่างประเทศ ธนาคารก็ต้องมีการสำรองเงินตรา แต่เขาคงไม่ได้เอาเงินทั้งก้อนมาซื้อ ให้ราคามันกระชากในวันเดียวหรอก เพราะจะทำให้เขาได้ราคาแพง นั่นคือตัวอย่างของปัจจัยพื้นฐาน  ในขณะที่ปัจจัยทางการเงิน เช่น กองทุนแห่งหนึ่ง ทำการซื้อเงินบาทไทยเพื่อนำมาลงทุนซื้อให้ผ่านโบรคเกอร์แห่งหนึ่งโดยมีนายหน้าตัวแทนเป็นคนไทยไว้(สมมุติ) พอเขาได้กำไรจากราคาหุ้นเขาจะขายหุ้นกลับ เขาก็ต้องแลก USD คืนและขายเงินบาททิ้ง ถ้าทำอย่างนี้หมดโลกพร้อมกัน ค่าเงิน USD ก็แข็งขึ้นได้ และไหนจะมีรายย่อย ๆ ของสถาบันการเงิน รายย่อยของ Investment Banking รายย่อยอย่างเรา ๆ ในตลาดอีก ตลาดค่าเงินจึงประกอบด้วยหลายปัจจัยมากของการเคลื่อนไหวของราคา

   ท้ายที่สุดแล้วสำหรับบทความนี้คือ หากว่าผู้อ่านเป็นคนที่จับนู่นโยงนี่ และไม่สามารถเชื่อมโยงความเข้าใจอย่างถูกต้องได้ ไอ้ความซับซ้อนของตลาดจะทำให้เราสับสนว่าความรู้ที่มีอยู่นั้นมันจะช่วยทำกำไรได้จริงหรือไม่  แต่ถ้าความรู้ที่ท่านผู้อ่านมีนั้นถูกต้อง จะทำให้ผู้อ่านได้ความมั่นใจทุกครั้งที่ผู้อ่านวิเคราะห์ได้ถูกต้อง ความมั่นใจจะทำให้ผู้อ่านมี Mind Set ที่ดีในการเทรดทุกครั้ง ไม่เพียงเท่านั้น ทำไมผู้เขียนถึงปูพื้นฐานสำหรับการเทรดไว้ยาวมาก ๆ เพราะว่า ถ้าหากผู้อ่านมีมุมมองที่ถูกต้องในการคิดวิเคราะห์จะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อหาทั้งเล่มนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นเลย ในเนื้อหาส่วนอื่น ๆ ของชุดบทความเล่มนี้ไม่ได้มีแค่เนื้อความล้วน ๆ อย่างแน่นอน บางส่วนประกอบด้วยการคำนวณ บางส่วนประกอบด้วยการสร้าง Indicator อย่างง่าย การจัดการทางการเงิน ซึ่งจะเพิ่มความซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ แต่ผู้เขียนจะทำให้มันเข้าใจได้ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้






ลิขสิทธิ์ Traderider.com
ผู้เขียน Numay