กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Support and Resistance Levels

  • 0 replies
  • 2,154 views
Support and Resistance Levels
« เมื่อ: 23, ธันวาคม 2016, 01:17:28 AM »
Support and Resistance Levels
ลิขสิทธิ์ Traderider.com
ผู้แปล Numay


อะไรทำให้แนวคิดนี้เป็นเครื่องมือที่ตอบสนองราคาที่ดีที่สุด ?

    เมื่อคุณพยายามทำความเข้าใจคำว่า  support/resistance  มันหมายความว่า ราคานั้นแกว่งตัวอยู่ระดับราคา ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เพราะว่ามีระดับที่ราคาไม่สามารถผ่านไปได้ในอีตดและอาจจะเป็นเช่นนั้นในอนาคต ที่คุณจะไว้ใจมันได้

เพื่อให้เข้าใจแนวคิดมากขึ้น ลองพิจารณาว่าใครคือรายใหญ่ในตลาดและมันทำให้ราคาเคลื่อนไหวได้อย่างไร

รายใหญ่ในธนาคารหรือสถาบันการเงินไม่เหมือนกับเทรดเดอร์รายย่อย ซึ่งพวกเขาจะจ้างเทรดเดอร์หลายร้อยคนในการเทรด :


The UBS Monster Trading Room ที่เต็มไปด้วยเทรดเดอร์มืออาชีพ !


    เนื่องจากเทรดเดอร์แต่ละคนจะเทรดในวิธีที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ธนาคารต้องกระจายความเสี่ยงในวิธีการที่แตกต่างกันและต่าง Time Frame
และแน่นอน การที่เทรดเดอร์จำนวนมหาศาลเหล่านั้นเทรดในตลาดทำให้ตลาดเคลื่อนไหว ซึ่งแตกต่างจากรายย่อยอย่างเราไม่สามารถทำได้

เทรดเดอร์ของธนาคารจะเทรดบนระดับราคาเหล่านี้ พวกเขาจะมีราคาอยู่ในใจ และบางทีอาจจะมีหน่วยงานวิจัยของธนาคารที่คอยบอกว่า จุดไหนคือจุดที่มีนัยสำคัญในการเฝ้าระวังตลาด ซึ่งคุณสามารถเจอได้ในรายงานของธนาคาร 

นี่เป็นตัวอย่างที่แกะจากรายงานของธนาคาร :
Daily Technicals

EURUSD – BULLISH

การทะลุราคา 1.2824 จะเคลื่อนไหวต่อเนื่องไปยัง 1.2935 ซึ่งแนวรับคือ 1.2626

USDJPY – BEARISH
มีโอกาสที่จะทดสอบแนวรับที่สำคัญ ที่บริเวณ  77.91-77.66 และแนวต้านคือ 79.03

GBPUSD – BULLISH
แนวต้านที่สำคัญ คือ 1.6052 –  การทะลุราคานี้จะทำให้เกิดเทรนด์ขาขึ้น
แนวรับ Support คือ ราคา  1.5930 แนวต่อไปคือ  1.5882
...และแนวต่อ ๆ ไป

    ดังนั้นพวกเทรดเดอร์ธนาคารจะต้องระวังแนวรับแนวต้านเหล่านี้ พวกเขาจะส่งออเดอร์สำหรับลูกค้าในระดับราคาเหล่านี้ ซึ่งนี่เป็นธรรมชาติของหน้าที่ในการเทรดของพวกเขา ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจจะซื้อหรือขายในปริมาณมหาศาลต่อยอดขายรถยนต์ของญี่ปุ่น

    เทรดเดอร์จะพยายามให้ได้ราคาดีที่สุด และคุณอาจจะต้องใส่ใจรายละเอียดกับราคาเข้าให้มาก ซึ่งขึ้นอยู่กับเวลาที่คุณเทรดอยู่
ซึ่งเทรดเดอร์เหล่านี้อาจจะต้องใส่ใจกับ ระดับราคาในช่วงสั้น ๆ ที่พวกเขาดูอยู่ เมื่อราคาเข้าใกล้แนวที่วางไว้แล้วต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ แน่นอนว่า  ราคาอาจจะเป็นระดับราคาที่ว่านี้อาจจะเป็นจุดที่สอดคล้องกับออเดอร์ซื้อขายรถยนต์ของญี่ปุ่น

    ซึ่งบางกรณี เทรดเดอร์อาจจะส่งออเดอร์ทำให้ราคาแกว่งตัวขึ้นลง ณ ระดับราคานี้ขึ้นอยู่กับว่า Order เป็น Buy  หรือ Sell  นี่เป็นเหตุผลภายใต้การเคลื่อนไหวราคาขึ้นลง ต่อจุดที่มีนัยสำคัญ เนื่องจากเทรดเดอร์กลุ่มใหญ่กำลังเฝ้าระวังราคาเหล่านี้


ซึ่งมันมีหน้าตายังไงในกราฟ นี่เป็นตัวอย่าง :
คุณไม่จำเป็นต้องใช้ Indicator ในการวาดเส้นเหล่านี้

    เราจะเห็นว่าราคาร่วงจนสุดก้นจอ เส้นสีน้ำเงินเป็นแนวรับที่สำคัญ ซึ่งเมื่อราคาเทรดทะลุข้างล่าง มันทดสอบระดับราคา (ลูกศรแรก) และร่วงอีกครั้ง ต่อมาราคาถึงจุดต่ำสุดและเริ่มปรับตัว

    เมื่อราคาถึงเส้นสีน้ำเงิน (แนวต้าน) มันร่วงลง 3 ครั้งก่อนที่ท้ายที่สุดมันจะสามารถเบรคทะลุไปด้านบนได้ นี่คือสัญญาณแรกที่บอกว่าแนวราคาเก่านั้นคือแนวรับแนวต้าน

    หลังจากนั้นราคาดีดตัวออกห่างจากเส้นสีน้ำเงิน ก่อนที่จะกลับมาทดสอบมันอีกครั้ง นี่เป็นพฤติกรรมราคาแบบปกติ และทำให้เกิดแนวรับแนวต้านในการเทรดให้เทรดเดอร์

    สังเกตุว่าราคาได้ทดสอบพื้นที่รอบ ๆ เส้นสีน้ำเงินสองครั้งและเคลื่อนตัวออกไปข้างบน นี่เป็นสัญญาณยืนยันระดับราคาที่เส้นสีน้ำเงินเป็นแนวรับแนวต้านที่สำคัญ เทรดเดอร์ต้องให้ความสำคัญกับมัน!

    มีหลายเหตุผลที่ระดับราคาเหล่านั้นกลายมาเป็นแนวรับแนวต้าน ปัจจัยเหล่านี้มีหลายแบบ เช่น ตัวเลขกลม ๆ หรือว่า Pivot point ก็มีความสำคัญ หรือบางทีมันอาจจะเป็นเพราะปริมาณการเทรดในช่วงราคาดังกล่าวมีสูง ซึ่งทำให้ตลาดรับรู้ว่าราคานี้และจะกลับมาทดสอบระดับราคาเหล่านั้นอีก

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น ?

    สมมุติว่าคุณได้ Sell  AUDUSD  จำนวนมากที่ราคา 0.9590 cents หมายความว่าคุณกำลังเดิมพันกับราคาว่าจะไม่เกินระดับนี้ขึ้นไป และปรากฏว่าคุณผิดและราคาทะลุไปที่ 0.9650

    คุณขาดทุน 60 จุด ถ้าคุณยังรักษาออเดอร์ไว้ หมายความว่าคุณจะต้องเจ็บตัวอย่างหนัก และคุณอาจจะหวังว่าราคาจะกลับมาที่ราคาที่คุณเข้าเทรด 0.9590 ซึ่งคุณสามารถออกจากการเทรดโดยไม่ขาดทุน  ซึ่งนี่เป็นหลักการที่อธิบายการทำงานของ แนวรับแนวต้าน

    สมมุติว่าราคาลงไปถึงจุดที่คุณเข้าเทรดไว้ แล้วอย่างไรต่อ?  เราจะทำการ Buy ราคานี้ ถ้าออดอร์ Buy ของคุณมีขนาดใหญ่พอจะทำให้ราคาเคลื่อนกลับด้านบน ซึ่งจะทำให้ราคาดีดตัวออกจากแนวต้านนั้น และแนวต้านนั้นจะกลายเป็นแนวรับ ซึ่งเป็นหลักการง่าย ๆ แต่ได้ผลดีมาก

    แนวรับแนวต้านถือเป็น Indicator ที่ได้ผลดีในการเทรดแบบ Price Action ซึ่งคุณต้องเข้าใจพื้นฐานอย่างง่ายนี้ในการที่จะก้าวต่อไปในฐานะเทรดเดอร์ในตลาด Forex




Forex Pivot Points
เครื่องมือที่ทรงพลังที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในหมู่เทรดเดอร์ ซึ่งทำให้การเทรด Forex มีความได้เปรียบ...

ช่วงก่อนเปิดตลาดของตลาดหลักทรัพย์ New York Stock Exchange

    Pivots เกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ของตลาดธัญพืช ก่อนที่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ในตลาดเสียอีก

    ซึ่งพวกเทรดเดอร์ใช้ การแกว่งตัวของช่วงราคาในช่วงเวลาการเทรดก่อนหน้า วาดระยะราคาเคลื่อนไหวของวันก่อนเอาไว้อ้างอิงในการเทรด

    วิธีการนี้พยายามทำนายพฤติกรรมราคาที่เกิดขึ้นในระดับที่แน่นอน ซึ่งปรากฏกว่าประสบผลสำเร็จและเทรดเดอร์คนอื่น ๆ นำไปใช้ หลังจากนั้นการใช้ Pivot point ในการเทรดได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

    N.B. ผมใช้เวลากว่า 2 ปีในการที่จะหา Pivot Point ที่ดีที่สุดสำหรับ MetaTrader ตอนนี้ผมได้รวมมันในชุด Indicator AuthenticFX Paleo Indicator

    ซึ่งหลักการนี้ทำให้เครื่อง Pivot Point นั้นทรงพลังเนื่องจากเทรดเดอร์หลายคนใช้มัน และพร้อมที่จะส่งออเดอร์ถ้าราคาเข้าใกล้ระดับนั้น

    ระบบนี้จะทำการพล็อต ราคากึ่งกลางของแต่ละวัน  daily central price level  และระดับราคาที่ดีดตัวออกจากระดับนั้น  Forex pivot point เป็นระดับราคาสำหรับเวลาปัจจุบันที่มีฐานอยู่ราคา High Low ของวันก่อนหน้า

(หมายเหตุ: นิยามของ Pivot point มีอันเดียวคือ จุดกึ่งกลางของวันก่อนหน้า ซึ่งระดับอื่น ๆ นั้นล้วนแต่ประยุกต์จากระดับ Central pivot point)

การคำนวณในการที่จะได้ Central Pivot point คือ การใช้ราคา High Low และราคาปิด  แล้วหารด้วย 3 ดังนี้ :

Central Pivot = (HIGH+LOW+CLOSE) / 3
ระดับราคาที่พิจารณาเป็นแนวต้าน คือ ระดับ  – R1, R2  หรือ  แนวรับ  – S1, S2  ไปเรื่อย ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะใช้ระดับไหนในการเป็นจุดเข้า โดยส่วนตัวผมมักจะใช้ไม่เกิน ระดับ 2 ทั้งแนวรับแนวต้าน
การคำนวณระดับแนวรับแนวต้านนั้นง่ายและมีขั้นตอนดังนี้ :
R2 = (Central Pivot-S1)+R1
R1 = (Central Pivot+(Central Pivot-LOW))
Central Pivot = (HIGH+LOW+CLOSE) / 3
S1 = (Central Pivot-(HIGH-Central Pivot))
S2 = (Central Pivot-(R1-S1))


โดยที่กราฟจะมีหน้าตาดังนี้:


จะมีระดับราคาแนวรับแนวต้าน ซึ่งเรียกว่า Mid-Point Pivots การคำนวณนั้นเป็นดังต่อไปนี้ :

R2 = (Central Pivot-S1)+R1
M4= (R1+R2)/2
R1 = (Central Pivot+(Central Pivot-LOW))
M3 = (Central Pivot+R1)/2
Central Pivot = (HIGH+LOW+CLOSE)/3
M2 = (Central Pivot+S1)/2
S1 = (Central Pivot-(HIGH-Central Pivot))
M1 = (S1+S2)/2
S2 = (Central Pivot-(R1-S1))


    บางคนอาจจะคำนวณแตกต่างจากนี้ แล้วแต่คน บางคนอาจจะใช้ราคาเปิดร่วมด้วย แต่กระบวนการที่อธิบายที่ผ่านมาเป็นกระบวนการที่นิยมใช้กัน แต่กระบวนการ M Level มักจะไม่ค่อยมีคนใช้ (แม้จะทรงพลังแต่ก็ไม่แตกต่างกัน )

Indicator ที่ผมใช้ในเพื่อแสดง Pivot Point สามารถเปิดและปิด Mid-point ได้หรือว่าปิด Level 1 ได้ ซึ่งสามารถดูได้จากกราฟข้างล่างนี้:



    ผมได้ให้มันแสดงการตั้งค่าการแสดงผล เพื่อให้แสดงผลได้ครบ ปกติผมจะปิดไว้ทั้งหมด  ปกติผมยังใช้ Daily Central point ในการเทรด เพื่อให้สัญญาณเทรดชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากว่าผมจะเทรดโดยใช้ระบบ Daily All Pivot Scalp Trade ซึ่งต้องใช้ทุกแนวรับแนวต้าน

    Pivot levels ยังสามารถ Plot ในกราฟ weekly, monthly หรือ yearly pivots กราฟรายสัปดาห์กับรายเดือนเป็นจุดที่น่าสนใจ เพราะว่าสามารถเชื่อถือได้ว่าราคาจะเคลื่อนไหวมาจุดนี้บ่อย ในตัวอย่างข้างล่าง กราฟรายวันแสดงเส้นสีเหลือง และรายสัปดาห์เส้นสีนำเงิน รายเดือนเส้นสีเขียวและรายปีแสดงเส้นสีแดง




    เทรดเดอร์ Forex ต้องทำการฝึกความชำนาญในการใช้ Pivot Level ในการเทรด ถ้ายังไม่เคย การใช้ในกราฟ รายสัปดาห์รายเดือน ทำให้มันทรงพลังมากขึ้น ลองดูกราฟ AUDUSD แล้วดูว่าราคาทดสอบจุดนี้กี่ครั้ง :


    ในตัวอย่างข้างบนผมได้แสดง สถิติย้อนหลังสำหรับกราฟ Pivot ซึ่งทำให้เห็นมันย้อนหลังไปหลายสัปดาห์ โดยคุณสามารถเลือกประเภทแต่ละประเภทได้ เช่น เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน ก็มีความเหมาะสมในการทำการทดสอบ


ลิขสิทธิ์ Traderider.com
ผู้แปล Numay