กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Trading Strategies กลยุทธ์การเทรด EP. 4 "Opening Range Breakout "

  • 0 replies
  • 1,719 views
*

admin

  • 80,624
Trading Strategies กลยุทธ์การเทรด EP. 4 "Opening Range Breakout "
« เมื่อ: 13, กรกฎาคม 2022, 07:03:56 PM »
เริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับการเทรด Forex
Trading Strategies
กลยุทธ์การเทรด EP. 4
"Opening Range Breakout "



Breakout เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการเทรดที่สามัญสุด ด้วยความเกี่ยวโยงไปถึงการระบุระดับราคาสำคัญที่ถูกคาดหมายว่าจะถูกฝ่าทะลุแนวรับ-แนวต้านเหล่านั้นไปได้ ก่อนจะทำการเปิดออเดอร์ Buy หรือ Sell ตรงจุดนั้นเพื่อเก็บเกี่ยวผลกำไร

โดยปกติแล้วการใช้แผนการ Breakout จะเกิดขึ้นเมื่อตลาดอยู่ในระดับที่สูงหรือต่ำกว่าช่วงที่ผ่านมาไม่นานอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อตลาดมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนตัวไปในทิศทางหนึ่งอย่างมั่นคง การเทรดแบบ Breakout จะช่วยรับรองว่าเราจะไม่พลาดตกขบวนในครั้งนี้

หนึ่งในกลยุทธ์ประเภทนี้ที่มักถูกพูดถึง ได้แก่ Opening Range Breakout หรือการเทรดในช่วงการเปิดตลาดของฝั่งยุโรป โดยแผนการนี้มักจะโฟกัสไปที่คู่เงิน EUR/USD แต่ก็ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสกุลเงินหลักตัวอื่นในยุโรปอย่าง CHF และ GBP

ในขณะที่ตลาด Forex เปิดทำการ 24 ชม.ต่อวันนับตั้งแต่ช่วงเช้ามืดวันจันทร์ไปจนถึงช่วงก่อนสว่างของเช้าวันเสาร์ กิจกรรมของคู่เงินต่าง ๆ ก็ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดทุกช่วงเวลาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วตลาด Forex จะถูกแบบออกเป็น 4 เซสชั่นหลักดังต่อไปนี้



ขั้นตอนการเทรดในช่วงเปิดตลาดยุโรป

1.   เริ่มต้นด้วยการระบุจุดต่ำสุดและสูงสุดระหว่างครึ่งชม.ก่อนหน้าการเปิดตลาดลอนดอน (7:30-8pm GMT)

2.   มองหาการ Breakout ของช่วงดังกล่าวในระยะ +/- 10 pip หรือ 1/10 ของค่า Average True Range (ATR) แบบรายวัน เพื่อรักษาระยะต่ำสุดและสูงสุดของระดับนี้ไว้สำหรับ 10-15 นาที นี่ยังเป็นความพยายามในการตรวจหาทิศทางของแนวโน้มสำหรับช่วงเวลาที่เหลือของวัน

3.   พยายามจัดการกับแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงดังกล่าวโดยการโฟกัสไปที่ TF M1, M2 หรือ M5 และใช้การผสมผสานกันของเส้นค่าเฉลี่ยต่าง ๆ (13-SMA, 144-EMA & 169 EMA) ร่วมกับกลุ่มเครื่องมือ Oscillator (RSI, Stochastics & CCI)

ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องนำมาพิจารณา ได้แก่ การประกาศข่าวสำคัญ ซึ่งมักใช้สำหรับหลีกเลี่ยงการเทรด รวมถึงจังหวะเวลาของวัน เช่น ช่วงเปิด/ปิดตลาด, ช่วงเวลาหมดสัญญา หรือช่วงอัตราแลกเปลี่ยนคงที่




ในกรณีที่ค่า ATR ไปถึงเป้าหมายในช่วงต้นสัปดาห์ โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ซ้ำ 2 ครั้งภายในสัปดาห์เดียวกันก็จะลดลงอย่างฮวบฮาบ แต่หากมันยังคงเกิดขึ้นก็มักจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม

ในฐานะเทรดเดอร์ Forex หากมีความผันผวนของค่าเงินเกิดขึ้น ทุกคนต่างก็ต้องการที่จะเข้าเทรดอยู่เสมอ ดังนั้นหากค่า ATR ตามกลยุทธ์นี้ยังไปไม่ถึงเป้าหมายในวันจันทร์, อังคาร หรือพุธ ก็ควรจะตามเกาะติดสถานการณ์ต่อไปในวันพฤหัสบดีและศุกร์

ในทางตรงกันข้าม หากค่า ATR ไปถึงเป้าหมายตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ มันอาจเป็นการรอบคอบกว่าที่จะคอยตื่นตัวไปกับโอกาสสำหรับความผิดพลาดของตลาดในช่วงวันที่เหลือของสัปดาห์ จากที่มันอาจกลายเป็นการ Breakout หลอกหรือเกิดเป็นสัญญาณกลับตัว

โดยหลักการแล้ว หากราคายังคงดิ้นรนอยู่ใกล้กับช่วงเวลาที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ซึ่งโดยปกติจะปรากฏเป็น Bullish/Bearish Divergence บนเครื่องมือ Oscillator มันก็อาจเป็นการดีกว่าที่จะลดขนาดของสถานะลงก่อนจะถึงเวลาเหล่านั้น




ด้วยวิธีการนี้อาจเป็นการช่วยลดปัจจัยทางด้านอารมณ์ในการเทรด เนื่องจากมีจุดที่ช่วยระบุได้ว่าเรากำลังทำผิดพลาดตรงไหน ในกรณีที่มีการขยับตัวไปตรงกันข้ามกับการ Breakout ที่คาดไว้

จากตัวอย่างด้านล่าง กราฟ EUR/USD ขยับตัวลงต่ำอย่างชัดเจนในช่วง 2:30-3am ET (7:30-8pm GMT) โดยเกิดขึ้นตามหลังสัญญาณ Bullish Divergence จากเครื่องมือ RSI ก่อนจะดีดตัวสูงขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน

กราฟ EUR/USD สามารถลอยตัวอยู่เหนือเส้น 144/169-EMA บน TF M2 ในขณะที่เส้น 13-SMA ก็ทรงตัวอยู่เหนือเส้น EMA โดยที่ RSI ยังแสดงถึงแนวรับตรงบริเวณสำคัญที่ระดับ 40/45 อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุฉะนี้จึงไม่มีเหตุผลที่จะหันเหไปจากมุมมองขาขึ้นภายในระหว่างวัน




จากที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพึงระลึกไว้ระหว่างวันก็คือ บรรดาเทรดเดอร์ในตลาดลอนดอนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะปิดสถานะระหว่าง 11am-12pm ET (4-5pm GMT) ในขณะที่เทรดเดอร์ในตลาดนิวยอร์กจะปิดออเดอร์ระหว่างช่วง 4-5pm ET (9-10pm GMT)

ดังนั้นบ่อยครั้งที่เรามักจะเห็นแรงผลักดันในช่วงท้ายของวัน ตามมาด้วยการเก็บทำกำไรที่มักจะถูกพบเห็นได้ในรูปแบบ Bullish/Bearish Divergence โดยเครื่องมือ Oscillator ตอนใกล้ช่วงเวลาเหล่านี้ของวัน

นอกจากนี้ยังสังเกตได้ว่า หลังช่วงเวลา 11am ET (4pm GMT) กราฟ EUR/USD ได้ถูกผลักดันขึ้นอีกครั้งจนไปถึงระดับเป้าหมายระหว่างวันของค่า ATR ที่ 1.2927 ในท้ายที่สุด ก่อนจะตามมาด้วยสัญญาณ Bearish Divergence จากเครื่องมือ RSI ก่อนหน้าเวลา 12pm ET (5pm GMT)


"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"