กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

✅💟วิเคราะห์กราฟ EUR/USD พฤหัสบดี 23 มิถุนายน 2565 ยืนหล่อๆ วันนี้ขอ รอ Buy ลึกๆ🔻✅

  • 27 replies
  • 4,038 views
อ้างจาก: admin ที่ 23, มิถุนายน  2022, 02:48:19 PM
ถ้าตาม signal ก็ต้อง buy ตามแผนแล้วล่ะครับมีการเด้งเคารพแนวรับแล้วจะเด้งเลยหรือไม่ลุ้นกัน
**Hip** **Hip**

ไม่เด้งเลยค่ะ สงสัยจะลงมาอีกแนว
รอถ้าแนวล่างยังไม่เด้งอีก สงสัยจะได้คัททิ้ง 555555555+
ทีเมื่อวานรอให้ลงน้องวิ่งขึ้น วันนี้รอให้ขึ้นน้องวิ่งลง
น่าเอาไม้เรียวมาตี

*

admin

  • 80,397
อ้างจาก: แมงเม่าบินเข้าป่าทอง ที่ 23, มิถุนายน  2022, 03:50:40 PM
อ้างจาก: admin ที่ 23, มิถุนายน  2022, 02:48:19 PM
ถ้าตาม signal ก็ต้อง buy ตามแผนแล้วล่ะครับมีการเด้งเคารพแนวรับแล้วจะเด้งเลยหรือไม่ลุ้นกัน
**Hip** **Hip**

ไม่เด้งเลยค่ะ สงสัยจะลงมาอีกแนว
รอถ้าแนวล่างยังไม่เด้งอีก สงสัยจะได้คัททิ้ง 555555555+
ทีเมื่อวานรอให้ลงน้องวิ่งขึ้น วันนี้รอให้ขึ้นน้องวิ่งลง
น่าเอาไม้เรียวมาตี

น้องไม่ค่อยตามแผนเท่าไหร่ ครับ
x*/2 x*/2
"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"

อ้างจาก: admin ที่ 23, มิถุนายน  2022, 04:14:33 PM
อ้างจาก: แมงเม่าบินเข้าป่าทอง ที่ 23, มิถุนายน  2022, 03:50:40 PM
อ้างจาก: admin ที่ 23, มิถุนายน  2022, 02:48:19 PM
ถ้าตาม signal ก็ต้อง buy ตามแผนแล้วล่ะครับมีการเด้งเคารพแนวรับแล้วจะเด้งเลยหรือไม่ลุ้นกัน
**Hip** **Hip**

ไม่เด้งเลยค่ะ สงสัยจะลงมาอีกแนว
รอถ้าแนวล่างยังไม่เด้งอีก สงสัยจะได้คัททิ้ง 555555555+
ทีเมื่อวานรอให้ลงน้องวิ่งขึ้น วันนี้รอให้ขึ้นน้องวิ่งลง
น่าเอาไม้เรียวมาตี

น้องไม่ค่อยตามแผนเท่าไหร่ ครับ
x*/2 x*/2

ตอนนี้บายไว้ที่ 1.05142 ค่ะ ปล่อยไปเรื่อยๆเดี๋ยวต้องขึ้นมาสักวัน 55555+

*

admin

  • 80,397
อ้างจาก: แมงเม่าบินเข้าป่าทอง ที่ 23, มิถุนายน  2022, 05:02:25 PM
อ้างจาก: admin ที่ 23, มิถุนายน  2022, 04:14:33 PM
อ้างจาก: แมงเม่าบินเข้าป่าทอง ที่ 23, มิถุนายน  2022, 03:50:40 PM
อ้างจาก: admin ที่ 23, มิถุนายน  2022, 02:48:19 PM
ถ้าตาม signal ก็ต้อง buy ตามแผนแล้วล่ะครับมีการเด้งเคารพแนวรับแล้วจะเด้งเลยหรือไม่ลุ้นกัน
**Hip** **Hip**

ไม่เด้งเลยค่ะ สงสัยจะลงมาอีกแนว
รอถ้าแนวล่างยังไม่เด้งอีก สงสัยจะได้คัททิ้ง 555555555+
ทีเมื่อวานรอให้ลงน้องวิ่งขึ้น วันนี้รอให้ขึ้นน้องวิ่งลง
น่าเอาไม้เรียวมาตี

น้องไม่ค่อยตามแผนเท่าไหร่ ครับ
x*/2 x*/2

ตอนนี้บายไว้ที่ 1.05142 ค่ะ ปล่อยไปเรื่อยๆเดี๋ยวต้องขึ้นมาสักวัน 55555+

รอปรับดอกครับ น่าจะมาให้ แหละ ถ้าไม่ new low ก่อน นะ
**Hea** **Hea**
"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"

*

admin

  • 80,397
ดีดมาตามแผนจะถึงเป้าตามแผนมั้ยนะ
Ha)** Ha)**
"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"

*

CASE Forex

  • 16,932
อ้างจาก: admin ที่ 23, มิถุนายน  2022, 08:12:13 PM
ดีดมาตามแผนจะถึงเป้าตามแผนมั้ยนะ
Ha)** Ha)**
ดีดได้ดีดไปเลยปิดหนีแล้วไม่อยู่แล้ว  **11 **11 **11
"...มนุษย์บางคนมีปากเหมือนท่อไอเสีย
เขาจำเป็นต้องระบายของเสียในสมองออกมาทางปาก
ไม่เช่นนั้นเขาจะรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปข้างหน้าได้
โปรดอย่ารับไอเสียจากท่อนั้นมาใส่ใจ
ไม่งั้นเราเองจะเป็นมะเร็ง..."

*

admin

  • 80,397
อ้างจาก: CASE Forex ที่ 23, มิถุนายน  2022, 08:30:28 PM
อ้างจาก: admin ที่ 23, มิถุนายน  2022, 08:12:13 PM
ดีดมาตามแผนจะถึงเป้าตามแผนมั้ยนะ
Ha)** Ha)**
ดีดได้ดีดไปเลยปิดหนีแล้วไม่อยู่แล้ว  **11 **11 **11

บินมาสวยๆ ช่วยไป New high ให้ที
**Hip** **Hip** **Hip**
"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"

*

PoNgPk

  • 6,071
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กิจกรรมทางธุรกิจของสหรัฐชะลอตัวลงอย่างมากในเดือนมิ.ย. เนื่องจากเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในวงกว้าง ซึ่งส่งผลให้ยอดสั่งซื้อใหม่หดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี


เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยในวันนี้ (23 มิ.ย.) ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 51.2 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 5 เดือน โดยลดลงจากระดับ 53.6 ในเดือนพ.ค.

อย่างไรก็ตาม ดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่า ภาคเอกชนยังคงมีการขยายตัว แม้เศรษฐกิจสหรัฐกำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี ซึ่งกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 0.75% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ดัชนียอดสั่งซื้อรวมขั้นต้นร่วงลงสู่ระดับ 47.4 โดยหดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2563 จากระดับ 54.9 ในเดือนพ.ค. และยอดสั่งซื้อคงค้างลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2563


สำหรับดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นต้นของสหรัฐ ลดลงสู่ 52.4 ในเดือนมิ.ย.จาก 57.0 ในเดือนพ.ค. และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ 56.0

ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการขั้นต้น ลดลงสู่ระดับ 51.6 ในเดือนมิ.ย. จาก 53.4 ในเดือนพ.ค.



โดย กัลยาณี ชีวะพานิช
TRADE RIDER

*

admin

  • 80,397
ไปไม่ถึง ดวงจันทร์อีกแล้ว
%%22 %%22
"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"

*

PoNgPk

  • 6,071
ยิ่งเฟดขึ้นดอกเบี้ย ยิ่งกดดันตลาดพันธบัตรของเอเชีย

การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กำลังกดดันตลาดพันธบัตรของหลายประเทศในเอเชียว่า อาจจะกำลังเข้าสู่ช่วงถูก "ขายออก (sell-off)" หรือก็คือ ช่วง "ดอกเบี้ยขาขึ้น" 

หมายเหตุ: อัตราผลตอบแทนแปรผกผันกับราคาพันธบัตร การที่พันธบัตรถูกขายออกมาก จะทำให้ราคาพันธบัตรถูกลง และอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น

ที่เป็นแบบนี้ เพราะว่า โดยปกติแล้ว อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรจะถูกกำหนดจากความเสี่ยงของมัน ยิ่งเสี่ยงมากก็ยิ่งต้องให้ผลตอบแทนมาก

ซึ่งคนในตลาดก็มักจะเชื่อมั่นกันว่า พันธบัตรที่มีความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด คือ พันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่ออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นตามดอกเบี้ยนโยบายที่สูงขึ้น ก็ทำให้มีแรงกดดันต่อ "อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรประเทศอื่นๆ ที่ต้องปรับตัวขึ้นตามนั่นเอง"

📌 โลกกำลังเข้าสู่ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น??

โดยหลายประเทศก็เริ่มเข้าสู่ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นกันแล้ว อาทิ อังกฤษ สหภาพยุโรป หรือแม้แต่สวิสเซอร์แลนด์ที่ไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมานาน ก็ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 15 ปีไปแล้ว

แต่เมื่อหันกลับมาดู ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย หลายประเทศยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายค่อนข้างต่ำ

โดยอ้างอิงจาก Bloomberg "ผลต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบอย่างน้อย 14 ปี เกือบทุกประเทศในภูมิภาคเลย"

ซึ่งมันก็สะท้อนต่อเนื่องไปยังอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ที่อัตราผลตอบแทนของประเทศเอเชียมีความดึงดูดน้อยลงเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ

อันที่จริง เมื่อเปรียบเทียบพันธบัตรอายุไถ่ถอน 10 ปี ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่า ผลตอบแทนพันธบัตรของหลายประเทศในเอเชียติดลบแล้วเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ

ซึ่งถ้าคนมองกันว่า พันธบัตรของกลุ่มประเทศเอเชียยังมีความเสี่ยงเท่าเดิม เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ก็มีโอกาสที่จะเกิดการเทขายพันธบัตรออก เพื่อปรับให้ผลต่างอัตราผลตอบแทนกลับไปสู่จุดเดิม

📌 เงินเฟ้อที่สูงยิ่งกดดันการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย

แรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอย่างเดียวว่าหนักแล้ว ยังมีแรงเสริมจากสภาวะเงินเฟ้อที่สูงจากภาวะสงครามในยูเครนอีก ที่อาจจะกดดันให้ประเทศในกลุ่มเอเชียต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลต้องปรับสูงขึ้นด้วย

โดยตอนนี้ เมื่อดูอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ที่คำนวณมาจากดอกเบี้ยนโยบายลบด้วยอัตราเงินเฟ้อ จะเห็นได้ว่า  หลายประเทศเจอกับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบแล้ว โดยหนึ่งในนั้น ก็คือ ประเทศไทยเองที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง คำนวณจากเงินเฟ้อเดือนล่าสุด ติดลบมากกว่า 6% แล้ว

ซึ่งปัจจัยนี้ก็จะเป็นแรงกดดันให้ธนาคารกลางของประเทศในเอเชีย ต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อสู้เงินเฟ้อในอนาคต

ซึ่งถ้าตลาดคาดการณ์ไปแล้วว่า ในอนาคตต้องมีการปรับดอกเบี้ยแน่ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ "พวกเขาจะปรับราคาของสินทรัพย์ที่อิงกับดอกเบี้ยตั้งแต่วันนี้เลย" ซึ่งสินทรัพย์หลักที่ได้ผลกระทบ ก็คือ "พันธบัตร" ที่มีโอกาสจะถูกเทขาย

และปัญหาการถูกเทขายแบบนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงกับแค่ประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น อันที่จริง ประเทศใหญ่อย่างญี่ปุ่นก็กำลังเจอการเทขายพันธบัตรรัฐบาลจากนักลงทุนชาวต่างชาติอยู่

โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น ก็ยังคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นต่อไปอีกสักระยะ

แต่ญี่ปุ่นก็สามารถทำได้ง่ายกว่าหลายประเทศเล็กน้อย หากพิจารณาในแง่ของเงินเฟ้อ ที่ประเทศเขายังอยู่ในระดับที่ถือว่าไม่สูงมากเท่าคนอื่น และธนาคารกลางญี่ปุ่นก็ยังรอสัญญาณเงินเฟ้อที่มาจากภาคการบริโภคที่ชัดเจนกว่านี้

โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา (สัปดาห์เริ่ม 17 มิถุนายน) ถือเป็นสัปดาห์ที่มีปริมาณการขายสุทธิในพันธบัตรญี่ปุ่นโดยชาวต่างชาติ (Non-residents' net investment in Japan bonds) สูงเป็นประวัติการณ์ ที่ระดับ 4.8 ล้านล้านเยน (ประมาณ 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ซึ่งทางธนาคารกลางญี่ปุ่น ก็ยังพยายามควบคุมอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรญี่ปุ่นอยู่ ผ่านการเข้าซื้อในด้านตรงข้ามกับที่ชาวต่างชาติขายออก เพื่อให้ต้นทุนการกู้ยืมผ่านพันธบัตรยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายต่อไป

ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า ทิศทางในตลาดพันธบัตรจะเป็นอย่างไร และธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะมีทิศทางแบบไหนเพื่อจัดการดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจของประเทศตัวเอง ในภาวะที่ถูดดันจากตลาดแบบนี้...

ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
TRADE RIDER

อ้างจาก: admin ที่ 23, มิถุนายน  2022, 10:05:53 PM
ไปไม่ถึง ดวงจันทร์อีกแล้ว
%%22 %%22
แต่ก็ยังบวกอยู่ครับ 

*

admin

  • 80,397
อ้างจาก: momoro505 ที่ 23, มิถุนายน  2022, 10:32:51 PM
อ้างจาก: admin ที่ 23, มิถุนายน  2022, 10:05:53 PM
ไปไม่ถึง ดวงจันทร์อีกแล้ว
%%22 %%22
แต่ก็ยังบวกอยู่ครับ 

วันนี้ เอา stop loss มากั้น หน้า แล้ว ราตรีสวัสดิ์ ครับ
**Hea** **Hea**
"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"

*

PoNgPk

  • 6,071
นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยในวันนี้ (23 มิ.ย.) ว่า ความมุ่งมั่นของเฟดในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีนั้น "ไม่มีเงื่อนไข" แต่ก็จะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่การว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นด้วย

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายพาวเวลได้แถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในวันนี้ว่า เฟดมีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับเงินเฟ้ออย่างไม่มีเงื่อนไข ขณะที่เงินเฟ้อพุ่งขึ้นมากกว่า 3 เท่าจากเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%

"เราจำเป็นต้องฟื้นฟูเสถียรภาพด้านราคาจริง ๆ ? เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น เราก็จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการจ้างงานสูงสุดได้อย่างยั่งยืน ซึ่งภาวะนั้นจะทำให้ผลประโยชน์กระจายไปได้อย่างกว้างขวาง เป็นสิ่งที่เราต้องทำ" เขากล่าว
ทั้งนี้ นายพาวเวลแถลงต่อสภาคองเกรสเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน โดยเขาได้ถูกซักถามเกี่ยวกับความพยายามของเฟดที่จะควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างรุนแรงหรือภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงอัตราการว่างงานที่พุ่งขึ้นอย่างมาก

เมื่อวันพุธ (22 มิ.ย.) นายพาวเวลแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาว่า เฟดพยายามจะไม่ทำให้เกิดภาวะถดถอย แต่ก็ระบุว่า อาจเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะดังกล่าว ขณะที่สถานการณ์โลกที่อยู่เหนือการควบคุมในช่วงที่ผ่านมาทำให้เป็นเรื่องยากมากขึ้นที่จะลดแรงกดดันด้านราคาโดยไม่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว


นายพาวเวลยังกล่าวในวันนี้ด้วยว่า มีความเสี่ยงที่การดำเนินการของเฟดอาจจะทำให้อัตราว่างงานเพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราว่างงานอยู่ที่ 3.6% ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา



โดย กัลยาณี ชีวะพานิช
TRADE RIDER