กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

How The Economic Machine Works by Ray Dalio "สำรวจกลไกการทำงานของเศรษฐกิจ" Part 4

  • 0 replies
  • 1,997 views
*

admin

  • 80,404
How The Economic Machine Works by Ray Dalio
"สำรวจกลไกการทำงานของเศรษฐกิจ"
Part 4



แม้ Deleveraging จะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่การตั้งใจรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ก็อาจเป็นหนทางที่ดีที่สุดของการลดหนี้ได้อย่างสวยงาม และดีกว่าการปล่อยให้เศรษฐกิจขยายตัวเกินด้วยการก่อหนี้มากมายโดยไม่รู้ตัว

11.   วัฏจักรเศรษฐกิจ

การทำให้เกิด Beautiful Deleveraging หนี้สินที่ลดลงจะต้องสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของรายรับและอัตราการเติบโตที่แท้จริง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็ไม่ได้สร้างปัญหาใด ๆ

มันคือการสร้างสมดุลที่ถูกต้องระหว่างการลดค่าใช้จ่าย, การปรับโครงสร้างหนี้, การกระจายความมั่งคั่ง และการพิมพ์เงินเพิ่ม เพื่อให้เสถียรภาพของเศรษฐกิจและสังคมยังคงเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย



อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่าการพิมพ์เงินเพิ่มจะไม่ทำเกิดภาวะเงินเฟ้อหรือ? คำตอบก็คือตราบใดที่มันเข้ามาช่วยชดเชยเครดิตที่หายไปก็จะไม่เป็นปัญหา เนื่องจากการใช้จ่ายคือประเด็นที่สำคัญดังนั้นทุก ๆ มูลค่าของการใช้จ่ายด้วยเงินที่เพิ่มเข้ามาจึงมีผลเท่ากับการใช้จ่ายด้วยเครดิต

การพิมพ์เงินเพิ่มของธนาคารกลางเท่ากับการเติมเต็มเครดิตที่หายไป นอกจากนี้ยังต้องโฟกัสไปที่อัตราการเติบโตของรายได้ให้สูงกว่าการเติบโตของหนี้ที่สะสมอยู่

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนลองนึกถึงประเทศหนึ่งที่กำลังอยู่ระหว่างการ Deleveraging และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้อยู่ที่ 100% ซึ่งหมายถึงตลอด 1 ปีมีการสร้างหนี้สินในปริมาณที่เท่ากับรายได้แบบพอดิบพอดี



ต่อมาในกรณีที่การเติบโตของหนี้สินอยู่ที่ 2% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ย และการเติบโตของรายได้กลับอยู่แค่ 1% เราก็จะไม่มีวันลดภาระหนี้ลงได้ ซึ่งหนทางแก้ไขก็คือการพิมพ์เงินออกมาให้มากพอสำหรับการเติบโตของรายได้ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ย

อย่างไรก็ตามการพิมพ์เงินก็อาจถูกมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่มักง่าย เพราะกระทำได้โดยไม่ยากและผู้คนก็มักจะเลือกใช้มันมากกว่าแนวทางอื่น ซึ่งประเด็นหลักก็คือเราต้องหลีกเลี่ยงการพิมพ์เงินออกมามากเกินไปจนกลายเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับเยอรมนีในช่วงทศวรรษ 1920

หากสามารถควบคุมความสมดุลทุกอย่างได้ดี ช่วงเวลาของการ Deleveraging ก็จะไม่น่ากลัว แม้อัตราการเติบโตต่ำแต่ภาระหนี้ก็ลดลง Beautiful Deleveraging ที่หลายคนต้องการก็จะเกิดขึ้นตามมา




เมื่อรายได้ฟื้นตัว ผู้ยืมก็จะเริ่มได้รับความน่าเชื่อถือทางการเงินกลับคืนมา ผู้ให้ยืมก็พร้อมปล่อยกู้อีกครั้ง ภาระหนี้สินก็จะเริ่มลดลง เมื่อยืมเงินได้ผู้คนก็จะเริ่มใช้จ่ายอีกครั้ง และทำให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้งในท้ายที่สุด

ถึงตอนนี้ก็จะเริ่มเข้าสู่ช่วง Reflation หรือภาวะที่อัตราเงินเฟ้อกลับมาสูงขึ้น ซึ่งเป็นช่วงของการฟื้นตัวหลังผ่านภาวะถดถอย และจบวัฏจักรหนี้ระยะยาว โดยกระบวนการ  Deleveraging มักจะมีช่วงระยะเวลาประมาณ 1 ทศวรรษหรือมากกว่านั้น

ในท้ายที่สุด เรย์ ก็ได้สรุปกฎ 3 ข้อตามหลักการของเศรษฐกิจที่ทุกคนควรนำไปใช้

1. อย่าให้หนี้พอกพูนเกินกว่ารายรับ เพราะภาระหนี้เหล่านั้นจะสร้างปัญหาให้กับเรา
2. อย่าให้รายรับโตเกินกว่าผลิตภาพ ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีควรจะสัมพันธ์กันระหว่างรายรับและกำลังการผลิต หรืออธิบายง่าย ๆ ว่ารายรับควรจะสูงขึ้นตามปริมาณผลงานที่ผลิตออกมาจริง ๆ
3. ทำทุกอย่างเพื่อให้ผลิตภาพสูงขึ้น เพราะหมายถึงการเติบโตอย่างแท้จริงในระยะยาว



How The Economic Machine Works by Ray Dalio



ติดตามชมเนื้อหา Part อื่นๆได้ที่นี่

สำรวจกลไกการทำงานของเศรษฐกิจ Part 1
สำรวจกลไกการทำงานของเศรษฐกิจ Part 2
สำรวจกลไกการทำงานของเศรษฐกิจ Part 3
"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"