กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

How The Economic Machine Works by Ray Dalio "สำรวจกลไกการทำงานของเศรษฐกิจ" Part 3

  • 0 replies
  • 728 views
*

admin

  • 80,660
How The Economic Machine Works by Ray Dalio
"สำรวจกลไกการทำงานของเศรษฐกิจ"
Part 3



จากวัฏจักรของหนี้ระยะสั้นที่สะสมต่อมาเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ช่วงวัฏจักรหนี้ระยะยาว ซึ่งแม้แต่การลดอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางก็ไม่อาจช่วยอะไรได้อีก มาจนถึงตอนนี้กระบวนการลดหนี้คือหนทางสำคัญที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจยังคงไปต่อได้อีก

7.   การลดค่าใช้จ่าย

โดยปกติแล้วแนวทางนี้มักจะถูกนำมาใช้เป็นอันดับแรก จากที่ภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ, ภาคธนาคาร และภาครัฐต่างพากันการลดการใช้จ่ายเพื่อให้สามารถมีเงินไปชำระหนี้ได้ ซึ่งเรามักเรียกกันว่า "มาตรการรัดเข็มขัด"

หลายคนอาจคิดว่าหลังเริ่มมีการชำระหนี้เก่าจะทำให้ภาระหนี้ลดลง แต่มันมักจะกลับกลายเป็นตรงกันข้ามเนื่องจากการใช้จ่ายที่ลดลงก็ทำให้รายรับในภาพรวมลดลงตามไปด้วย ซึ่งมันจะลดลงเร็วกว่าปริมาณหนี้ที่ถูกชดใช้ไปและทำให้สถานะของหนี้สินยังคงล่อแหลมอยู่



ภาวะเงินฝืดที่เกิดจากการรัดเข็มขัดจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่ต้องลดต้นทุน จนทำให้การจ้างงานลดลงและกลายเป็นปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นด้วยวิธีนี้เพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้สินได้

8.   ปรับโครงสร้างหนี้

แม้หลายฝ่ายจะพยายามช่วยกันรัดเข็มขัด แต่เมื่อผู้ยืมหลายคนเริ่มไม่สามารถจ่ายคืนหนี้ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ของผู้ให้ยืมที่มักจะเป็นธนาคาร ก็ทำให้ผู้คนเริ่มเป็นกังวลว่าธนาคารจะไม่สามารถคืนเงินฝากให้กับพวกเขา

จึงทำให้เกิดการแห่กันไปถอนเงินออกมาและทำให้ธนาคารถูกบีบคั้นขึ้นไปอีก จากนั้นทั้งภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ และธนาคารต่างก็ทยอยผิดนัดชำระหนี้ไปตาม ๆ กัน ซึ่งอาจนำไปสู่การหดตัวของเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่เรียกว่า "ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ"



ให้ลองย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับในบาร์อีกครั้ง เมื่อเราสั่งเบียร์โดยสัญญาว่าจะจ่ายค่าเบียร์ให้กับบาร์เทนเดอร์ทีหลัง เครดิตส่วนนั้นก็จะกลายเป็นสินทรัพย์ของบาร์เทนเดอร์ แต่หากเราผิดสัญญาสินทรัพย์ตัวนั้นก็จะไม่มีค่าในทันที

ในภาวะเช่นนี้ผู้ให้ยืมต่างไม่ต้องการให้สินทรัพย์ของตนเองสูญหายไปจึงตกลงที่จะปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งหมายถึงผู้ให้ยืมอาจยอมรับการชำระหนี้ในจำนวนที่ลดลงหรือขยายเวลาการชำระหนี้เพิ่มขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยลงจากที่เคยตกลงกันไว้ในทีแรก

ผู้ให้ยืมต่างยอมปรับเปลี่ยนสัญญาเพื่อการลดหนี้ โดยยินยอมที่จะได้รับเงินคืนลดลงหรือเพียงบางส่วนดีกว่าที่จะไม่ได้อะไรกลับคืนมาเลย แต่ถึงจะมีหนี้ที่หายไปบางส่วน แต่การปรับโครงสร้างหนี้ก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้รายรับและราคาของสินทรัพย์ลดลงยิ่งกว่า จึงทำให้ปัญหาภาระหนี้ย่ำแย่ลงไปอีก




เช่นเดียวกับการลดค่าใช้จ่าย การปรับโครงสร้างหนี้จะทำให้เกิดภาวะเงินฝืดซึ่งส่งผลกระทบต่อรัฐบาลกลางด้วยรายได้และการจ้างงานที่ลดลง เนื่องจากรัฐบาลจะเก็บภาษีได้น้อยลง

ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็จำเป็นต้องใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น เพราะส่วนใหญ่แล้วกลุ่มคนเหล่านั้นมักจะมีเงินออมไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ

นอกจากนี้รัฐบาลยังสามารถออกนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะที่สถานะกำลังชะลอตัวลง จึงทำให้การขาดดุลงบประมาณทะยานขึ้นสูงโดยเฉพาะในช่วงของการ Deleveraging เนื่องจากรายจ่ายที่มากกว่ารายได้จากภาษีที่เข้ามา



9.   กระจายความมั่งคั่ง

การหาเงินทุนท่ามกลางการขาดดุลงบประมาณ รัฐบาลจำเป็นต้องเก็บภาษีเพิ่มหรือกู้ยืมเงิน แต่ด้วยสถานการณ์ที่ย่ำแย่กันถ้วนหน้าเช่นนี้ แหล่งเงินทุนเพียงหนึ่งเดียวที่มีอยู่ก็คือกลุ่มคนร่ำรวย

จากที่รัฐบาลต้องการเงินเพิ่มและความมั่งคั่งที่กระจุกตัวอยู่ในมือของคนเพียงกลุ่มเล็ก ๆ รัฐบาลจึงต้องใช้วิธีการเก็บภาษีจากกลุ่มคนรวย เพื่อกระจายความมั่งคั่งสู่ระบบเศรษฐกิจ

ไม่เพียงแต่ฝั่งคนจนที่รู้สึกไม่พอใจคนรวยจากปัญหาความเหลื่อมล้ำ แต่ฝั่งคนรวยหลังจากการถูกกดดันจากเศรษฐกิจที่อ่อนตัว, ราคาสินทรัพย์ที่ลดลง และอัตราภาษีที่สูงขึ้นก็จะเริ่มไม่พอใจกลุ่มคนจนเช่นกัน



หากภาวะตกต่ำยังคงดำเนินต่อไป ความขัดแย้งในสังคมก็จะขยายตัวยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นเฉพาะภายในประเทศแต่ปัญหานี้อาจลุกลามไปถึงระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้

ด้วยสถานการณ์เช่นนี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่บางครั้งก็มีความรุนแรงมากกว่าที่คิด อย่างในช่วงยุคปี 1930 ที่ทำให้ ฮิตเลอร์ เข้ามามีอำนาจและเกิดสงครามในยุโรป หรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ

10.   การพิมพ์เงินเพิ่ม

ในขณะที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเงินก็คือเครดิตที่แท้จริง ดังนั้นเมื่อไม่มีเครดิตก็หมายถึงการที่ไม่มีเงินเพียงพอ และเมื่อทุกฝ่ายต้องการเงินมากขนาดนั้น ก็ถึงคราวที่ธนาคารกลางจะได้รับบทบาทสำคัญในการพิมพ์เงินเพิ่มเติมออกมา



หลังจากต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือศูนย์ ในเวลานี้ธนาคารกลางจะถูกบีบให้พิมพ์เงินออกมาเพิ่ม ซึ่งจะมีผลกระทบต่างจากวิธีการก่อน ๆ ที่จะส่งผลต่อการเกิดภาวะเงินฝืด แต่ในคราวนี้จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและการกระตุ้น

ด้วยสถานการณ์ที่ล่วงเลยมาจนถึงขั้นนี้ ทำให้ธนาคารกลางต้องพิมพ์เงินออกมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และใช้ไปกับการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินและพันธบัตรรัฐบาล อย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ

เหตุการณ์ดังกล่าวมาเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2008 เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) พิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนถึง $2 ล้านล้าน และทำให้ธนาคารกลางอื่น ๆ ทั่วโลกพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน



การนำเงินเหล่านั้นมาซื้อสินทรัพย์ทางการเงินเป็นการช่วยผลักดันราคาของสินทรัพย์และทำให้ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้คนคืนกลับมา ในขณะเดียวกับมันยังเป็นการร่วมมือกับรัฐบาลกลางด้วยการซื้อพันธบัตรของรัฐบาล

ซึ่งเปรียบเสมือนธนาคารกลางปล่อยเงินกู้ยืมให้กับรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และจะได้นำเงินเหล่านี้ไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชนเพื่อเป็นการส่งต่อรายได้ให้ถึงมือประชาชน

ด้วยการใช้จ่ายไปกับสินค้าและบริการผ่านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและสวัสดิการช่วยเหลือผู้ที่ว่างงาน จะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้คนและเพิ่มหนี้สาธารณะให้สูงขึ้น แต่มันก็จะเป็นการลดภาระหนี้โดยรวมของระบบเศรษฐกิจลงด้วย



นี่จึงเป็นช่วงเวลาที่เปราะบางอย่างยิ่ง กลุ่มผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องหาจุดสมดุลระหว่างแนวทางทั้ง 4 ที่ส่งผลต่อภาวะเงินฝืดและเงินเฟ้อในการลดภาระหนี้ลงเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

หากสามารถรักษาสมดุลได้อย่างถูกต้องก็จะกลายเป็น Beautiful Deleveraging หรือการลดหนี้ลงได้อย่างสวยงาม ซึ่งในสถานการณ์จริงการ Deleveraging อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในแบบสวยงามและแบบยับเยิน



How The Economic Machine Works by Ray Dalio



ติดตามชมเนื้อหา Part อื่นๆได้ที่นี่

สำรวจกลไกการทำงานของเศรษฐกิจ Part 1
สำรวจกลไกการทำงานของเศรษฐกิจ Part 2
"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"