กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

วิเคราะห์ตลาดแบบรายละเอียด จะเทรดตามเทรนหรือสวนเทรนดี

  • 0 replies
  • 948 views
วิเคราะห์ตลาดแบบรายละเอียด จะเทรดตามเทรนหรือสวนเทรนดี

การวิเคราะห์ตลาดแบบเชิงเทคนิคหรือ Technical Analysis แบบลงรายละเอียดหลายมิติเพื่อเห็นการเคลื่อนไปทางเดียวกัน เพื่อหาความเป็นไปได้ในการเทรด หลักการทั่วไปสำหรับการวิเคราะห์แบบนี้ ก็จะเกี่ยวกับ 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ การวิเคราะห์ภาพรวมของการเคลื่อนตลาดที่ต้องการเทรด (overall market structure) ในที่นี้คือกำหนดเทรน เช่น อย่าง กำหนดเทรนจาก H4, D1 หรือ W1 ตามด้วยการวิเคราะห์หาพื้นที่จะเข้าเทรดตามเทรน (trading level) เช่นหา Support/Resistance, Supply/Demand สัมพันธ์กับข้อแรกที่เรามองภาพรวมของการเคลื่อน และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการ หาพื้นที่เข้าเทรด ด้วยการเห็นการยืนยันว่าราคาโต้ตอบข้อสองอย่างไรและเป็นไปตามข้อแรกหรือไม่ (lower timeframe confirmation) แล้วหาโอกาสเทรด


ภาพประกอบด้านบนชาร์ต GBPUSD H4 เมื่อวิเคราะห์แบบละเอียด จะเห็นว่าโอกาสการเปิดเทรด มีทั้งเทรดตามเทรนและเทรดสวนเทรน แม้ว่าการเทรดตามเทรนเป็นการเทรดที่ปลอดภัย เพราะเทรดตามเทรนที่กำลังลังเกิดขึ้น แต่การเทรดสวนก็เปิดโอกาสสะสมกำไรได้เช่นกัน เมื่อเข้าใจและวิเคราะห์ตลาดเป็น

สิ่งแรกคือ timeframe ในการวิเคราะห์เป็น H4 ที่มีการเคลื่อนระยะระหว่างที่ราคาพัฒนา Swing highs/lows สำหรับการเคลื่อนไหวไปทางใดทางหนึ่งระยะ Pips มากพอ ถือว่าเป็นภาพรวมของการเคลื่อนที่ต้องการวิเคราะห์ อาจเป็นชาร์ต D1 หรือ W1 ก็ได้ ที่เห็นภาพรวมของการเคลื่อนชัดเจน มองดูที่บอกว่าเทรนลงด้วยการทำ Lowers ตามด้วย Lower Highs ราคาแม้ทำเทรนเพราะว่าการพัฒนาการของ Swing highs/lows ไปทางเดียวกัน แต่ราคาไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรง วิ่งขึ้นและลงเป็น Zigzag เพราะการทำงานของออเดอร์ที่เกิดจากการเทรด และการจัดการการเทรด จะเห็นว่า Structure ที่วาดภาพประกอบ จุด Highs/Lows ที่ตีเส้นประกอบมีระยะห่างมากพอที่จะเทรดทำกำไรได้ เช่นที่จุดเลข 1 ราคาวิ่งกลับขึ้นมา 80 pips ได้ จุด 2 ราคาวิ่งขึ้นมา 140 pips ได้ และจุด 3 ราคาวิ่งขึ้นมา 130 pips ได้ ด้วยโครงสร้างการเคลื่อนราคาแบบนี้ โดยเฉพาะมาจากการวิเคราห์จาก Timeframe ใหญ่ เช่น H4, D1, W1 และยิ่งเป็นคู่ที่มีการเคลื่อนไหวเยอะด้วยเช่น GBPUSD, GBPJPY หรือ XAUUSD เป็นต้น ระยะห่างระหว่างจุด Swing ยิ่งเยอะเพราะคู่พวกนี้มี Liquidity สูง ดังนั้นเมื่อเห็นภาพรวมของ market structure แบบนี้เป็นเรื่องปกติ เมื่อท่านวิเคราะห์แบบละเอียดลงไป โอกาสการเทรดจะเป็นการเทรดสวนเทรนหรือตามเทรนก็ได้หมด ให้ดูตัวกรอง Trade setup แต่ละความเป็นไปได้ประกอบ


ย้อนกลับไปหลักการ 3 ข้อเพื่อกำหนดเบื้องต้นในการวิเคราะห์แบบลงรายละเอียด ข้อ 1 ภาพรวม (overall market structure) ข้อ 2 พื้นที่เข้าเทรด (trading level) และข้อ 3 จุดเข้าเทรด (lower timeframe confirmation)  มามองดูที่ชาร์ตเดิม ต่อเนื่องจากภาพด้านบนว่าเมื่อท่านวิเคราะห์แบบลงรายละเอียดเป็น จะเทรดตามเทรนหรือสวนเทรนก็ได้หมด ดูการเทรดตามเทรนก่อน ที่เลข ชุด 1 2 3 สีแดง จะมี 2 ชาร์ตที่แสดง คือชาร์ต H4 เป็นชาร์ตหลักกำหนดภาพรวมของ market structure จะเห็นว่าตอนที่ลงมาเลข 1 ก็จะเป็นช่วงเปลี่ยนเทรน และพอมาเลข 2 จะเห็นการพัฒนาการของเทรนลงชัดเจนขึ้น  ดูการเทรดตามเทรนก่อน จะเห็นว่าเมื่อราคาทำ Lower Low ได้ สิ่งที่เห็นชัดเจนคือว่าราคาได้เบรคพื้นที่แนวรับด้วย การเบรคเป็นส่วนหนึ่งของ Market structure ของ H4 เมื่อราคาทำการพัฒนาและได้เบรคด้วย ตรงพื้นที่ราคาเบรค ใช้มาเป็นข้อสอง สำหรับการหาจุดเข้าเทรดได้  ถือว่าเป็นพื้นที่ SWAP คือจากแนวรับกลายมาเป็นแนวต้าน หรือเรียกว่า Flip zone แล้วแต่จะเรียก ก็เหลือแค่ข้อ 3 คือจุดเข้าเทรด ก็จะใช้ timeframe ย่อยลงไปคือ กำหนดเทรนจาก H4 หาพื้นที่ Trade setup จาก H1/M30  และหาพื้นที่เข้าเทรดจาก M1/M5/M15 การหาจุดเข้าเทรดก็จะเป็นการดูว่าราคาโต้ตอบพื้นที่เลข 2 อย่างไร ก็จะดูการเด้งออกหรือ Rejection  ถ้าเป็นการเทรดตามเทรน หรือดูรูปแบบ Price Action ประกอบ หลักการไม่ต่างกัน แต่วิธีการต่างกันได้ จะเห็นว่าการเทรดตามเทรน เมื่อท่านวิเคราะห์แบบลงรายละเอียดแบบนี้เป็นไม่ใช่เรื่องยาก แค่ว่าต้องรอให้ราคาเปิดเผยว่าได้เงื่อนไขตามรายละเอียดที่วิเคราะห์ตอนไหน


ภาพเดียวกัน หลักการวิเคราะห์ลงรายละเอียด 3 ข้อ แต่เป็นการหาโอกาสเทรดสวนเทรน หรือราคาทำ Corrective  แม้ว่าการวิเคราะห์ลงรายละเอียดแบบนี้ เมื่อท่านชำนาญก็จะเปิดโอกาสให้ท่านเทรดตามเทรนได้ง่าย และเทรดสวนเทรนได้ด้วย แต่ที่สำคัญต้องดูว่าภาพรวมท่านกำหนดจาก timeframe ไหน เพราะว่าต้องให้ความสำคัญระยะห่างของจุด Swing highs/lows ระยะห่างต้องมากพอ และราคาต้องเคลื่อนไหวไปได้ง่ายด้วย เช่นอย่างในตัวอย่างที่ยกมาประกอบเป็นชาร์ตจาก H4 และจุดที่จะเปิดเทรดสวน Buy ระยะห่างจาก Lower Low ขึ้นไปหา Lower High ประมาณ 140 pips ได้มากพอ และ พอที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนแรงๆ ขึ้นไปหา Lower High หรือพื้นที่ Swap ได้ง่ายด้วย

หลักการวิเคราะห์ว่าจะเทรดสวนเทรนไม่ต่างจากเทรดตามเทรนเท่าไร แต่ต้องหาพื้นที่ให้เป็น เพราะว่าเราเทรดสวนเทรนหลัก ที่สำคัญต้องมีระยะห่างที่จะวิ่งสวนหรือ Corrective move มากพอ เราก็จะดูจุด Swing ก่อนที่จะเกิดจุด Swing ที่ต้องการเปิดเทรดสวน และมาดูพื้นที่ว่าราคาโต้ตอบ พื้นที่ตรงไหนอย่างไร ยิ่งเป็นแนวรับ-แนวต้านยิ่งดี ราคาไม่ควรจะปิดต่ำกว่าพื้นที่พวกนี้ด้วยแท่งเทียนยาวๆ หรือ Momentum ได้ พอมาถึงควรเป็นแท่งเทียนสั้นๆ หรือหางแท่งเทียนก่อนตามด้วยแท่งเทียนสั้นๆ เพราะหางแท่งเทียนเกิดจากการปิดทำกำไร แล้วดูการพัฒนาการใน Lower timeframe เช่นในตัวอย่าง M15 และ H1 ว่าโต้ตอบกับพื้นที่ที่เป็นแนวรับอย่างไร การที่จะเทรดสวนได้ ต้องเห็นการพัฒนาการที่สวนเทรนเกิดขึ้นใน lower timeframe พวกนี้อย่างชัดเจน การเปิดเทรดมักเน้นเทรดไปหาจุด Swing ในการทำเทรน เช่นอย่างตัวอย่างประกอบ ก็จะเน้น Buy เพื่อราคาขึ้นไปหา Lower High ที่เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาการเทรด

การวิเคราะห์เชิงเทคนิคแบบหลายมิติแบบนี้ ก็จะเปิดโอกาสให้เทรดทั้งแบบตามเทรนหรือสวนเทรนได้ แล้วแต่เงื่อนไขของการมองภาพรวมของการเคลื่อนว่ามีระยะมากพอหรือเปล่า จะเห็นได้ชัด ถ้าการมองภาพรวมมาจาก Timeframe ใหญ่ ตั้งแต่ H4, D1, W1 เป็นต้น