กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

แนวโน้มรายสัปดาห์: หลายสิ่งที่เรา 'ไม่รู้ว่าเราไม่รู้' ในตลาด... รู้ก่อน ปรับตัวทันก่อน!

  • 1 replies
  • 1,267 views
แนวโน้มรายสัปดาห์: หลายสิ่งที่เรา 'ไม่รู้ว่าเราไม่รู้' ในตลาด... รู้ก่อน ปรับตัวทันก่อน!


ผมไม่ชอบติดตามโดนัลด์ รัมสเฟลด์ อดีตรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้สั่งการให้กองทัพสหรัฐบุกอิรักเท่าไหร่นัก แต่มีหนึ่งคำพูดของรัมสเฟลด์ในระหว่างการบรรยายสรุปข่าวของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2002  ที่เขาได้ตอบโต้เกี่ยวกับการขาดหลักฐานที่เชื่อมโยงรัฐบาลอิรักกับการจัดหาอาวุธทำลายล้างสูง ซึ่งกลายเป็นคำที่น่าจดจำและถูกบัญญัติให้เป็นหนึ่งในคำศัพท์อเมริกันจากประโยคที่ว่า:

การรายงานที่บอกว่าบางสิ่งบางอย่างไม่เคยเกิดขึ้นนั้นมักสร้างความน่าสนใจให้กับฉันอยู่เสมอ เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่ามีกรณี 'Known knowns' หรือสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่าเรารู้ นอกจากนั้นยังมีกรณี 'Known unknows' ที่เรารู้ว่าเราไม่รู้อะไรบ้าง และสุดท้ายก็มี 'Unknown unknowns' นั่นคือเราไม่รู้เลยว่าเราไม่รู้อะไรบ้าง และหากลองมองย้อนไปถึงประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ในอดีตของประเทศของเรา (สหรัฐ) และประเทศเสรีประเทศอื่น กรณีสุดท้ายคงเป็นกรณีที่เรารับมือได้ยากที่สุด

เช่นเดียวกับในตลาดการเงิน บ่อยครั้งที่มักจะเกิดเหตุการณ์ที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้อะไรบ้าง ไม่รู้มาก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้น และจะมีความสำคัญต่อตลาดยังไง ย้อนไปเมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ใครบ้างจะรู้ว่าจะต้องระวังไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ได้แพร่ระบาดรุนแรงไปทั่วโลก?

ในปี 2022 "สิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่าเรารู้" คือ วิวัฒนาการของไวรัสและการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของหลายๆ ประเทศทั่วโลก การทำความเข้าใจว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนและเศรษฐกิจของประเทศจีนจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อต่ออุปสงค์ทั่วโลกต่อสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ โอเปกและตลาดน้ำมันจะก้าวทันตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้หรือไม่? ประเด็นเหล่านี้คือสิ่งที่ผมให้ความสนใจในปี 2022 ที่ผ่านมา

วันนี้จึงอยากชวนทุกท่านไปพูดถึง "บางสิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้" – บางสิ่งที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้ตระหนักมาก่อน

1) การระเบิดของเกาหลีเหนือ

ผมได้ติดตามยูทูปช่อง Patreon, Voice of North Korea โดย Yeonmi Park ผู้แปรพักตร์ชาวเกาหลีเหนือ โดยวิดีโอล่าสุดของเธอเกี่ยวกับ ภัยคุกคามที่ใกล้เข้ามาซึ่งบ่งชี้ถึงการล่มสลายของระบอบการปกครองของเกาหลีเหนือ เธอกล่าวว่ามีข้อบ่งชี้ว่าเกาหลีเหนืออาจล่มสลายเนื่องจากความเครียดจากการระบาดใหญ่ เพราะเกาหลีเหนือไม่มีวัคซีนหรืออุปกรณ์ใดๆ ในการจัดการรับมือกับไวรัส อีกทั้งประชากรแทบทั้งหมดยังขาดสารอาหารและมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งรวมถึงกองทัพจำนวนมหาศาลที่มีประชากรเกือบ 1 ล้านคน (3.7% ของประชากรทั้งหมด) เมื่อกองทัพติดเชื้อ ไวรัสก็แพร่กระจายโดยไม่ได้มีการตรวจหาเชื้อ ทำให้กองทัพมีโอกาสล่มสลายได้ในที่สุดซึ่งจะทำให้ระบอบการปกครองไม่มีที่พึ่ง พัคยังโต้แย้งเกี่ยวกับกรณีที่ว่าคิม จองอึน อาจเสียชีวิตไปแล้ว ถึงแม้ผมไม่ได้เชื่อทุกอย่างที่เธอพูด แต่การโต้เถียงเรื่องการระบาดใหญ่นั้นฟังดูสมเหตุสมผล เธอโต้แย้งว่าจีนจะเข้ายึดครองเกาหลีเหนือหากเกิดการล่มสลาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดวิกฤตระดับนานาชาติครั้งใหญ่ และอาจเป็นแรงหนุนให้ขาขึ้นของสกุลเงิน CHF เพราะสกุลเงิน JPY อาจไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย หรือ Safe-haven หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงกับประเทศเพื่อนบ้าน

2) ประธานาธิบดีไบเดนถึงแก่อสัญกรรม

ไบเดนถือเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดในระหว่างวาระการดำรงตำแหน่งในทำเนียบขาว ต้องพูดตรงๆ ว่าด้วยอายุที่มาก เขาอาจเสียชีวิตเมื่อไหร่ก็ได้ หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงแล้วจะส่งผลยังไงต่อสหรัฐ? รองประธานาธิบดีแฮร์ริสจะกลายเป็นประธานาธิบดีแทน ซึ่งเธอไม่มีฐานที่แข็งแกร่งมากแม้แต่ในพรรคประชาธิปัตย์ และมีฐานน้อยกว่ามากในสหรัฐทั้งหมด กรณีนี้จะทำให้รัฐบาลสหรัฐเกิดความโกลาหลก่อนการเลือกตั้งกลางปี 2022 ซึ่งอาจส่งผลให้พรรครีพับลิกันในสภาคองเกรสมีเสียงข้างมากในการกำหนด Gridlock ทั้งหมด

3)  ทรัมป์อาจติดคุก... หรือเสียชีวิต

ทำไมกรณีนี้เป็นความเสี่ยงของตลาด? เพราะผมคิดว่า ก) มีเป็นไปได้ที่เขาจะถูกจับกุมไม่ช้าก็เร็ว และ ข) ผมคิดว่ามันอาจจะทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในสหรัฐฯได้ ในขณะที่หลายคนคงคิดว่า "ถึงเวลาแล้ว!" อย่าลืมว่ามีคน 74 ล้านคนโหวตให้เขา ซึ่งมากเป็นอันดับสองที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเคยได้รับ ผมจะไม่ประหลาดใจเลยหากการถูกจับกุมของทรัมป์อาจกระตุ้นให้พลเมืองบางส่วนจับอาวุธต่อต้านรัฐบาลหากดูจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค. และอาจทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในสหรัฐ ส่วนในกรณีการเสียชีวิตของทรัมป์... อย่าลืมว่าปีนี้เขาอายุ 75 ปี ไหนจะยังมีโรคอ้วน ติดยา และติดโควิด-19 เขาพร้อมที่จะไปตลอดเวลาเหมือนกัน กรณีนี้ก็จะทำให้เกิดความวุ่นวายกับพรรครีพับลิกันในที่สุด

เมื่อลองวิเคราะห์ดูแล้ว ผมคิดว่าการเลือกตั้งของสหรัฐในเดือน พ.ย. เป็นหนึ่งใน "สิ่งที่เรารู้ว่าเราไม่รู้" เนื่องจากการเลือกตั้งสามารถส่งผลให้พรรคเดโมแครตสูญเสียการควบคุมสภาคองเกรสได้ ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลที่แยกจากกันไม่สามารถดำเนินการใดๆ ที่เข้มงวดได้ แย่ไปกว่านั้น – พรรคเดโมแครตอาจชนะแต่ไม่สามารถเข้ารับตำแหน่งได้ด้วยการโกงในส่วนของพรรครีพับลิกัน ซึ่งอาจเป็นคนนับคะแนน นั่นอาจทำให้สหรัฐฯเผชิญกับวิกฤตรัฐธรรมนูญที่ก่อกวน แน่นอนว่ายังมีความเป็นไปได้ที่พรรคเดโมแครตจะมีเสียงข้างมากที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในที่สุดก็สามารถดำเนินการอย่างเด็ดขาดและผ่านการออกกฎหมายที่ก้าวหน้าได้

4) การต่อต้านข้อจำกัดของมาตรการโควิด-19

ความเลวร้ายลงของการระบาดใหญ่นั้นไม่ใช่กรณี "สิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้" เพราะที่จริงแล้วการแพร่ระบาดของไวรัสเป็นปัญหาและความเสี่ยงอันดับ 1 ในปี 2022 ที่จะถึงนี้ แต่ถ้าบ้านเมืองต้องกลับเข้าสู่สภาวะล็อกดาวน์อีกครั้ง... เชื่อว่ามีคนจำนวนมากทุกที่ตอนนี้เบื่อกับการถูกล็อกดาวน์เต็มที ความเสี่ยงที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นไม่ใช่ความเสียหายต่อเศรษฐกิจจากการล็อกดาวน์ แต่อาจเป็นการต่อต้านของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยและไม่ยอมทำตามมาตรการเพื่อคุ้มกันความเสี่ยงอีกต่อไป "สิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้" ไม่ใช่ไวรัส แต่เป็นการตอบสนองของพลเมืองและทางการเมืองต่อไวรัสต่างหาก ต้องรอดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการเลือกตั้งของฝรั่งเศสในเดือน เม.ย. การเลือกตั้งของไอร์แลนด์เหนือในเดือน พ.ค. และการเลือกตั้งระดับรัฐบาลกลางของออสเตรเลียในเดือน พ.ค. ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไร


ในทางกลับกัน เราอาจโชคดีพอที่จะได้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป – มีความเป็นไปได้ที่ไวรัสโควิด-19 จะหายไปจากโลกนี้หรือกลายเป็นโรคทั่วไปที่ไม่ได้มีความรุนแรงขนาดนั้นอย่างที่เราไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่สเปนหรือกาฬโรคอีกต่อไปถึงแม้ว่าครั้งหนึ่งโรคเหล่านั้นจะคร่าชีวิตผู้คนไปหลายล้านคนก็ตาม เห็นได้ชัดว่าโรคต่างๆ หายไปได้ด้วยสาเหตุตามธรรมชาติ บางทีไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนอาจแพร่กระจายได้ง่ายกว่าแต่มีอันตรายน้อยกว่า และอาจกลายเป็นเพียงความเจ็บป่วยอย่างหนึ่งที่ผู้คนต้องรับมือและอยู่ร่วมกับมันให้ได้

5) อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นไม่ได้มีอัตราเงินเฟ้อที่ชัดเจนในรอบ 25 ปี มีเพียงหนึ่งครั้งที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมากกว่า 2% ต่อปีนั่นก็คือตอนที่รัฐบาลขึ้นภาษีการบริโภคซึ่งทำให้ราคาขายปลีกสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ด้วยราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นประมาณ 75% yoy และราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้น 9% เราก็อาจได้เห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง รอติดตามกันว่าธนาคารกลางของญี่ปุ่นจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อไปและจะเกิดอะไรขึ้นกับสภาวะการเงินของรัฐบาลญี่ปุ่น หากรัฐบาลต้องจ่ายดอกเบี้ยจำนวนมากสำหรับหนี้ของประเทศ เนื่องจากสภาวะการเงินที่ไม่ยั่งยืน

อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในญี่ปุ่นอาจส่งผลให้นักลงทุนหันไปลงทุนเงินสกุลอื่นที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่น EUR หรือ CHF ที่อ่อนค่าลง


ลองพิจารณาตัวเลข CPI ของญี่ปุ่นในวันศุกร์ที่ผ่านมา รวมถึง CPI ของโตเกียวเดือนนี้ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อการลงทุนในตลาด

6) การเผชิญหน้ากับภาวะเงินฝืด

บางทีผมอาจเชื่อประธานพาวเวลล์มากเกินไป แต่ผมยังคิดว่าสาเหตุของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันนั้นเป็นแค่เรื่องชั่วคราว เพราะมีเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอุปสงค์และอุปทานที่มีความยากลำบากในการปรับตัว แล้วจะเป็นอย่างไรหากเราเริ่มปรับตัวได้? จะเกิดอะไรขึ้นเมื่ออุปสงค์หรือกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพียงชั่วคราว? มีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งอย่างกะทันหันและอาจลดลงอย่างกะทันหันได้เช่นกัน เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นนั้นสวนทางกับอุปสงค์ที่ลดลง เราก็อาจได้เห็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้

7) การแยกตัวของไอร์แลนด์เหนือ

ผู้คนให้ความสนใจเกี่ยวกับกรณีความเป็นไปได้ที่สกอตแลนด์จะลงมติประกาศอิสรภาพ แต่ผมคิดว่ามีโอกาสมากกว่าที่ไอร์แลนด์เหนือจะแยกตัวออกก่อน เนื่องจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์นั้นเหนียวแน่นกว่าความสัมพันธ์ระหว่างสกอตแลนด์และสหภาพยุโรป แม้เราต่างรู้ดีว่าเศรษฐกิจนั้นไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในเรื่องนี้ มิฉะนั้น Brexit ก็คงไม่เกิดขึ้นตั้งแต่แรก แต่รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำลังสร้าง Brexit ขึ้นมาอย่างถูกต้อง ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย เนื่องจากไม่มีทางที่จะออกจาก NI ทั้งในสหราชอาณาจักรและในสหภาพยุโรปได้ในเวลาเดียวกัน การเลือกตั้งสมัชชาไอร์แลนด์เหนือในเดือนพฤษภาคมอาจเป็นจังหวะเสี่ยงสำหรับตลาด แม้ว่าจะยังเป็นวันแรกๆ ที่การเลือกตั้งทำให้ Sinn Fein ซึ่งเป็นพรรคที่แสวงหาการรวมตัวกับทางใต้ได้เป็นผู้นำ

ในขณะเดียวกัน ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษ Boorish Johnson จะถูกไล่ออกจากตำแหน่งในช่วงปี ซึ่งไม่ถือว่าเป็น "สิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้" เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นจริง 50 ต่อ 50 เลยก็ว่าได้

จากการสำรวจความคิดเห็นในเดือนเม.ย. 11% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าสถานการณ์ในประเทศอังกฤษจะไม่อยู่ในรูปแบบเดิมภายใน 1 ปี ขณะที่ร้อยละสามสิบห้ากล่าวว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไปจากรูปแบบปัจจุบันภายใน 5 ปี


ผู้คนในไอร์แลนด์เหนือเป็นผู้ที่ไม่มั่นใจในความแข็งแกร่งของสหภาพมากที่สุด


8.) การบูมของคริปโต (Crypto)

ผมคิดว่าหลายๆ ประเทศได้ประกาศว่าจะเปิดธนาคารกลางสกุลเงินดิจิตอล (CBDC) อย่างจริงจัง โดยในฐานะที่ผมเคยเป็นที่ถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นนี้มาก่อน ธนาคารดังกล่าวจะกำจัดเหตุผลในการมีอยู่ของ crypto หรือ stablecoins ในมุมมองเงินตราพิเศษออกไป แต่ถ้า crypto ไม่มีความพิเศษในด้านการชำระเงินอีกต่อไป ผมคิดว่าการนำธนาคาร CBDC ไปใช้อย่างแพร่หลายอาจทำให้การบูมของ crypto สิ้นสุดลง

อาจจะจริงที่ผมมอง crypto ในแง่ร้ายมาเป็นเวลานาน อาจเป็นเพราะผมต้องเคยเผชิญมาแล้วทั้งในยุคเฟื่องฟูจนกลายเป็นภาวะตกต่ำ บางทีความเสี่ยงจริงๆ ของคริปโตคือการที่มีนักลงทุนให้ความสนใจจำนวนมากจนทำให้ตลาดเติบโตแซงหน้าตลาดอื่นๆ ในปัจจุบัน

9) ความก้าวหน้าทางการแพทย์

ผมไม่รู้ว่าประเด็นนี้จะส่งผลกระทบต่อตลาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ส่งผลกระทบต่อสังคมหรือเปล่า แต่... ลองคิดดูว่าอุตสาหกรรมยาได้พัฒนาวัคซีนสำหรับไวรัส COVID-19 ได้เร็วแค่ไหน บางทีนี่อาจแสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ในอุตสาหกรรมยาที่อาจนำไปสู่ยาและการรักษาใหม่ๆ ที่น่าทึ่งเพื่อยืดอายุและสุขภาพให้ยืนยาว ถ้าจู่ๆ ทุกคนอายุยืนยาวขึ้นอีก 25 ปี ก็อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการแพทย์และเภสัชกรรม (ไม่ต้องพูดถึงอุตสาหกรรมประกันชีวิตและบำนาญ)

10) สิ่งอื่นนอกเหนือ

นี่แหละคือสิ่งที่เรา "ไม่รู้ว่าเราไม่รู้" โดยแท้จริง เราไม่รู้ว่าจะมีบางอย่างเกิดขึ้นในวันนี้ ไม่ได้เตรียมการอะไรมาก่อน แต่แน่นอนว่าเมื่อมันเกิดขึ้นจริงจะสะเทือนไปทั้งวงการแน่นอน รอติดตามให้ดี!

สัปดาห์นี้: เป็นสัปดาห์ที่เงียบ

สัปดาห์ที่ผ่านมามีเหตุการณ์และข้อมูลตัวเลขแน่นเอี๊ยด: ทั้งการประชุมธนาคารกลาง 5 ครั้งสำคัญ, ตัวเลข PMI พื้นฐาน, ยอดค้าปลีกของสหรัฐ, ตัวเลข CPI อังกฤษ และข้อมูลตลาดแรงงาน เป็นต้น สัปดาห์นี้น่าจะไม่มีอะไรอัปเดตมาก อันที่จริงแทบไม่มีอะไรเลยก็ว่าได้

วันพฤหัสฯ อาจเป็นวันเดียวที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ เพราะมีตัวเลขรายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลของสหรัฐที่น่าติดตาม รวมถึงการกำหนดรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นตัววัดอัตราเงินเฟ้อที่ FED ให้ความสนใจ

มีการคาดการณ์ว่า PCE จะกระโดดไปที่ 5.7% yoy ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. ปี 1982 ขณะที่มาตรการหลักที่ FED ให้ความสนใจในการมาตรวัดเงินเฟ้อ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.5% yoy ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ มี.ค. ปี 1989 โดยตัวชี้วัดทั้ง 2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่า 2% ของเป้าหมายของ FED ยืนยันแนวคิดที่ว่าเงินเฟ้อนั้นอาจยากที่จะควบคุม


แต่หลังจาก FED ได้เพิ่มวงเงิน QE และมีการคาดการณ์เกี่ยวกับดอกเบี้ย FED Fund นั้นค่อนข้างหนักหน่วง ผมไม่แน่ใจว่าข้อแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะเปลี่ยนความคิดของผู้เล่นในตลาดได้หรือเปล่า ณ จุดนี้คงเป็นเรื่องยากสำหรับตลาดที่จะลดความเข้มงวดตามที่เฟดได้ให้คำมั่นไว้


ในขณะเดียวกัน ทั้งรายได้ส่วนบุคคลและค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน +0.5% mom และ +0.6% mom ตามลำดับ นั่นจะทำให้รายได้สูงกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดถึง 10.3% และ 10.9% สำหรับค่าใช้จ่าย โดยในระบบเศรษฐกิจที่เน้นการบริโภคอย่างสหรัฐ เรียกได้ว่าการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจ



รายได้ที่สูงขึ้นสะท้อนถึง 2 สิ่ง: อย่างแรก ผู้คนมีงานทำมากขึ้น ประการที่สอง ค่าแรงกำลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีค่าแรงต่ำ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ต้องทำงานท่ามกลางความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดนั่นเอง


หลายท่านจับตาดูอัตราการลาออกซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ลาออกจากงานด้วยความเต็มใจทุกเดือน โดยอัตราดังกล่าวเพิ่งทำสถิติสูงสุดเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถือเป็นการวัดความเชื่อมั่นของผู้คนว่าสามารถหางานใหม่ได้ไม่ยาก ในขณะเดียวกัน อัตราการจ้างก็เพิ่งจะทำสถิติสูงสุดเมื่อเร็วๆ นี้เช่นกัน แน่นอนว่าผู้ที่ตัดสินใจลาออกจากงานมักจะย้ายไปทำงานที่มีรายได้ดีกว่า บ่งบอกได้ว่าทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลนั้นเพิ่มขึ้นมากในสหรัฐ


ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐจะมีการประกาศในวันพฤหัสเช่นกัน โดยตลาดคาดว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้น 2.0% mom ซึ่งถือเป็นการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหลังตัวเลขลดลงสามครั้งติดต่อกัน และอาจดันให้คำสั่งซื้อพุ่งไปสู่ระดับ 15.5% สูงกว่าระดับก่อนการเกิดโรคระบาด สิ่งที่ทั่วโลกเห็นคือความเร่งรีบในการลงทุนเพื่อเอาชนะปัญหาเศรษฐกิจและความขาดแคลนที่เกิดขึ้น ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น นี่อาจเป็นการก่อตัวของภาวะเงินฝืดหรือภาวะเงินเฟ้อในที่สุด


แคนาดาจะประกาศตัวเลข GDP ประจำเดือนในวันพฤหัส อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการคาดการณ์เกี่ยวกับตัวเลขดังกล่าว

ส่วนสหรัฐจะเริ่มวันหยุดคริสต์มาสในวันศุกร์นี้ ดังนั้นรายงาน Commitment of Traders ประจำสัปดาห์จะออกมาในวันพฤหัสเช่นกัน


Cr. Marshall Gittler นักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญของ BDSwiss

อ้างจาก: tumlungaen ที่ 05, มกราคม  2022, 10:15:41 AM
ติดตามอยู่นะครับ ปี 2022 นี้จะมีข่าวละเอียดๆ แบบนี้อีกไหมครับ  ข้อมูลค่อนข้างแน่นมากเลย

ขอบพระคุณครับ

ขอบคุณค่ะ ปี 2022 นี้เราจะมีบทวิเคราะห์แนวโน้มรายสัปดาห์ทุกสัปดาห์เลยค่ะ รอติดตามนะคะ  **Hea**