กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Dow Theory – พื้นฐาน Technical analysis – เทรนจะยังต่อเนื่องจนกว่าเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน

  • 0 replies
  • 707 views
Dow Theory – พื้นฐาน Technical analysis – เทรนจะยังต่อเนื่องจนกว่าเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน

หลักการของ Dow จะให้ความสำคัญของเรื่องเทรนหรือแนวโน้มมาก และจะเน้นเทรดตามเทรนเป็นหลักด้วย ส่วนมากก็จะเทรดตามเทรนหลัก (Primary Trend) ดังนั้นการระบุเทรนเป็น หรือว่าบอกได้ว่าเทรนอยู่ช่วงไหน แข็งหรืออ่อนหรือส่งสัญญาณจะเปลี่ยนเทรนหรือไม่ เป็นสิ่งที่หลักการ Dow ให้ความสำคัญหมด เพราะต้องการเทรดตามเทรนด้วยความเป็นไปได้สูง ไม่ว่าเทรนจะขึ้นหรือจะลง การกำหนดเทรนเป็นเรื่องจำเป็นเพราะจะได้รู้ว่าเทรนจะเปลี่ยนด้วยหรือไม่


หลักการข้อที่หกของ Dow บอกว่าเทรนจะยังอยู่จนกว่าจะเห็นมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมาอย่างชัดเจน เพราะเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ต้องรอ และต้องแยกให้ออกระหว่าง Secondary Trend หรือเทรนรอง ที่เป็นการวิ่งสวนเทรนหลักเช่นกัน แต่เห็น Correction หรือทดสอบเทรนหลัก  แต่เทรนรองวิ่งสวนแล้ววิ่งกลับไปต่อทำเทรนต่อไป แต่เทรนเปลี่ยนหรือ Trend Reversal พอสวนแล้วจะเป็นการเริ่มเทรนทางใหม่ แล้วค่อยจะเริ่มทำเทรนไปต่อทางใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น หลักการของ Dow บอกว่าราคาไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรง แต่วิ่งจาก Highs (peaks) ไปยัง Lows (troughs) และมีการเคลื่อนโดยรวมไปทางเดียวกัน เลยกำหนดเป็นเทรน จากภาพด้านบน จะเห็นว่าสำหรันเทรนขึ้นหรือ Upward Trend  ราคาต้องทำ Higher Highs (Higher peaks) และ Higher Lows (Higher troughs) ต่อเนื่องกัน ส่วนเทรนลง (Downward Trend) ราคาต้องทำ Lower Highs (Lower Peaks) และ Lower Lows (Lower troughs) ต่อเนื่องกันได้ ตามใดที่การเคลื่อนโดยรวมยังไปทางเดียวกันอยู่ก็ยังถือว่าเป็นเทรนทางนั้นๆ อยู่



ดูภาพต่อมา [อีกสิ่งที่ต้องไม่ลืมคือว่าหลักการของ Dow จะให้ความสำคัญกับราคาปิดเป็นอย่างมาก เช่นถ้าเราดูแท่งเทียน เราต้องเห็นราคาปิดตามจุดที่หลักการ Dow ให้ความสำคัญด้วย] ดูที่ภาพด้านช้ายที่เป็น Reversal สำหรับเทรนขาขึ้น หรือ Upward Trend Reversal จะเห็นว่าตั้งแต่เลข 1-2-3-4 ราคาสามารถทำ Higher Highs (Higher peaks) และ Higher Lows (Higher troughs) ต่อเนื่องกัน ไปทางเดียวกันคือทางขึ้น เลยกำหนดเป็นเทรนขึ้น แต่เลข 5 แทนที่จะทำ Higher High และเลข 6 ทำ Higher Low แต่เลข 5 กลับทำ Lower Low (ต่ำกว่าหรือเบรค Low ที่เลข 3) และเลข 6 กลับทำ Lower High นี่คือหลักการกำหนดเทรนเปลี่ยนไป ที่เป็นที่มาของหลักการของ 6 ของ Dow ที่บอกว่า เทรนจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนเกิดขึ้น  ส่วนภาพทางด้านขวาเป็นการเปลี่ยนจากเทรนลงเป็นเทรนขึ้น (Downward Trend Reversal) ตรรกะและ market structure ตรงกันข้ามเท่านั้นเอง

มาถึงตรงนี้ อย่างที่กล่าวไว้ด้านบนว่า ต้องแยกให้ออกระหว่าง Secondary Trend และ Trend Reversal เพราะว่า เทรนรอง วิ่งสวนเทรนหลักจริง แต่สุดท้ายไปต่อทางที่เทรนหลักทำเทรน ตรงส่วนนี้ สามารถใช้ Volumes เข้ามาประกอบดูได้ ตามที่อธิบายไว้ในบทความก่อน เพื่อกำหนดเทรด Pullback ตามเทรนหลัก หลักสำคัญของการเปลี่ยนเทรนหลัก (primary trend) มองจากภาพประกอบด้านบน เมื่อราคาไม่สามารถทำ High และ Low ต่อเนื่องกันในทิศทางของเทรนหลักได้ เช่นสำหรับเทรนขึ้น การเปลี่ยนเทรนจะเกิดขึ้นเมื่อราคาไม่สามารถทำ New High และไม่สามารถสร้าง Higher Low ตามภาพทางด้านช้ายด้านบน ส่วนสำหรับการเปลี่ยนเทรนสำหรับ Downward Trend  ราคาไม่สามารถทำ Lower Low และตามด้วย Lower High ได้ แต่กลับ New High และตามด้วย Higher Low


หลักของ Dow ข้อนี้นั้นเป็นพื้นฐานที่จำเป็นมากพอๆ กับข้ออื่นในการกำหนดเทรน แม้ว่าเทรดเดอร์อาจไม่ได้เทรดเทรนยาวแบบตามหลักการของ Dow เมื่อเทรดตามเทรนหลักก็ตาม แต่หลักการกำหนดเทรนนี้ใช้ได้ทุกระดับเทรน และการใช้หลักการ Highs และ Lows ในการกำหนดเทรนสามารถใช้งานได้ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นเทรดเดอร์แม้แต่ระดับ Day Trading ลงมาก็ตาม หลักการไม่ต่างกัน แต่ช่วงเวลาของการเคลื่อนไหว ดูการเคลื่อนของเทรนขึ้นตามที่ยกตัวอย่าง จะเห็นว่าราคาสามารถทำ Higher Highs ตามด้วย Higher Lows และการเคลื่อนไหวเป็นไปทางขึ้นอย่างชัดเจน จนกว่าที่บอกว่า ถ้าเทรนจะไปต่อ ดูสิ่งที่เกิดขึ้น ราคาเปิดเผยทุกอย่าง ตามหลักการของ Dow ข้อแรก เมื่อเห็นว่าราคาไม่สามารถขึ้นไปต่อได้ แต่ตรงกันข้าม ราคาสามารถเบรค Low ใกล้สุดลงมาได้ด้วย แล้วราคากลับมาทดสอบ ราคาทำ Lower Low ตามด้วย Lower High นี่คือหลักการข้อ 6 สำหรับการกำหนดการเปลี่ยนเทรนของหลักการ Dow ที่บอกว่า เทรนจะยังต่อเนื่องจนกว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน


อีกตัวอย่างเป็น Downward Trend Reversal สิ่งหนึ่งต้องไม่ลืมก่อนจะบอกว่าเทรนจะเปลี่ยนคือความชัดเจนของ Market structure ตามหลักการกำหนดเทรน เกิดขึ้นก่อน ในภาพด้านบนคือเป็นราคาได้เบรค High ก่อนขึ้นไปทำ Higher High ได้และย่อตัวลงมาทดสอบที่จุดราคาเบรคหรือ Swap ที่เป็นจุดที่ราคาทำ Higher Low แล้วขึ้นไปทำ Higher High ใหม่ การพิจารณาการเกิดขึ้น อาจเป็นการใช้ Volumes เข้ามาประกอบตามหลักการที่บอกก่อนนี้ว่า Volumes ต้องยืนยันเทรน หรือการใช้หลักการ Impulsive move พร้อมด้วยตัวกรองเพื่อบอกถึงคุณภาพเข้ามาประกอบ แต่ที่แน่ๆ คือต้องเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนตามหลักการของ Dow คือถือว่าเทรนเปลี่ยน เป็นการเริ่มเทรนใหม่