กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

✅🔰 EUR/USD แนวโน้ม Forex ศุกร์ 22 ตุลาคม 2564 บินด่วนเลยพี่วันนี้เติมเต็มถัง 🛸🛸

  • 31 replies
  • 5,248 views
*

PoNgPk

  • 6,073
(Oct 23) เกิดอะไรขึ้นกับอังกฤษ? ติดโควิดรายวันทะลุครึ่งแสน หลังปลดล็อกดาวน์ : สหราชอาณาจักรมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น ตัวเลขรายวันมากกว่า 40,000 รายต่อเนื่องนับสัปดาห์ และล่าสุดในวันพุธที่ 21 ต.ค. ผู้ติดเชื้อใหม่ทะลุ 50,000 รายแล้ว

การติดเชื้อที่กลับมาสูงขึ้น ทำให้หลายหน่วยงานออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล กลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดอีกครั้งก่อนฤดูหนาวจะมาถึง แต่รัฐบาลยังไม่เคลื่อนไหว

ผู้เชี่ยวชาญให้เหตุผลที่ทำให้การติดเชื้อในสหราชอาณาจักรกลับมาสูงขึ้นในตอนนี้ไว้หลายข้อ ซึ่งรวมถึงการที่ยูเคเริ่มฉีดวัคซีนเร็วกว่าหลายประเทศด้วย

ในปี 2563 สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในประเทศที่เผชิญการระบาดอย่างหนักของไวรัสโควิด-19 จนทำให้พวกเขามีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของยุโรป แต่มาตรการล็อกดาวน์ และโครงการฉีดวัคซีนอันรวดเร็ว ช่วยพลิกสถานการณ์จนควบคุมการระบาดได้สำเร็จ รัฐบาลเริ่มคลายมาตรการควบคุม และประชาชนก็กลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงกับคำว่าปกติ

ทว่าหลังจากนั้น มุมมองที่รัฐบาลมีต่อไวรัสมรณะตัวนี้ก็เปลี่ยนไป พวกเขาตัดสินใจยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ และข้อจำกัดสำหรับควบคุมการระบาดทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม ทั้งที่จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มกลับมาแตะหลักหมื่นต่อวัน ขณะที่นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ออกมาเรียกร้องให้ชาวอังกฤษเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับไวรัส

ตอนนี้ หลังจากปลดล็อกดาวน์ได้ราว 3 เดือน สถานการณ์ในสหราชอาณาจักรแตกต่างจากเมื่อช่วงต้นปีอย่างสิ้นเชิง พวกเขาพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 40,000 ราย ในวันเดียวต่อเนื่องนับสัปดาห์แล้ว และในวันพุธจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็พุ่งทะลุครึ่งแสนที่ 52,009 รายเป็นสถิติใหม่ ขณะที่ 1 วันก่อนหน้านั้น พวกเขามีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ถึง 223 ศพ มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม

โชคยังดีที่อัตราการฉีดวัคซีนที่สูงในสหราชอาณาจักร ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และผู้ป่วยรุนแรง ต่ำกว่าช่วงแรกของการระบาดมาก แต่จำนวนคนไข้ก็กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้เต็มความจุของโรงพยาบาลต่างๆ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขหลายคนออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล กลับมาใช้มาตรการควบคุมอีกครั้ง ก่อนที่ฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่การระบาดรุนแรงที่สุด จะมาถึง

เทียบสถิติกับปีก่อน
จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหราชอาณาจักรระหว่างเดือนกรกฎาคมจนถึงตุลาคมปีนี้ มีจำนวนประมาณ 3 ล้านคน มีผู้ป่วยต้องเขารับการรักษาในโรงพยาบาลราว 79,000 ราย ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อตั้งแต่ตุลาคมปีก่อนจนถึงมกราคมปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงก่อนจะมีการฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลาย อยู่ที่ประมาณ 2.7 ล้านคน แต่มีผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลสูงถึง 185,000 ราย

สถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการยกเลิกข้อจำกัดต่างๆ และการแพร่กระจายมากขึ้นของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา ที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ในทางกลับกัน โครงการฉีดวัคซีนสามารถทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลลดต่ำลงได้

ข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ (PHE) ระบุว่า ตอนนี้ในอังกฤษ ประชาชนที่ไม่ฉีดวัคซีนมีความเสี่ยงป่วยหนักเข้าโรงพยาบาลสูงกว่าคนที่ได้รับวัคซีนแล้วถึง 3 เท่า ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตในแต่ละวันก็ยังถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วงพีกเมื่อปีก่อน ที่มีผู้เคราะห์ร้ายวันละกว่า 1,000 คน

โรงพยาบาลส่อรับไม่ไหว
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ป่วยโควิดเข้าโรงพยาบาลจะไม่ได้เพิ่มขึ้นจากพรวดพราดเหมือนเมื่อปีก่อน แต่โรงพยาบาลต่างๆ ในสหราชอาณาจักรก็เริ่มกลับมาแบกรับแรงกดดันจากจำนวนผู้ป่วยที่สูงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งนางดีปตี กูร์ดาซานี นักระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัย ควีน แมรี ระบุว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ นี่เป็นผลจากการเปิดทุกอย่างทั้งหมด และอะไรๆ จะเลวร้ายลงเมื่อฤดูหนาวมาถึง

นายซาจิด จาวิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร ยอมรับในวันพุธว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอาจพุ่งทะลุ 100,000 รายก่อนถึงวันคริสต์มาส แต่ยังยืนยันว่า ไม่มีความจำเป็นต้องใช้มาตรการเพิ่มเติมในตอนนี้ เช่นเดียวกับนายกฯ จอห์นสัน ที่ยังไม่บังคับใช้มาตรการควบคุมเพิ่มเติม แม้จะไม่ตัดความเป็นไปได้ก็ตาม

ถึงกระนั้น ผู้เชี่ยวชาญหลายคน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเอง กำลังต้องการให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงแนวทางโดยเร็ว เช่น สมาพันธ์ NHS ซึ่งเป็นผู้แทนของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ เรียกร้องให้รัฐบาลบังคับใช้ "แผนบี" (Plan 😎 เพื่อกลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดรวมถึง การบังคับสวมหน้ากาก และออกบัตรผ่านวัคซีนเพื่อใช้บริการต่างๆ แบบเดียวกับชาติอื่นๆ ในยุโรป

ด้านสมาคมการแพทย์แห่งบริติช (BMA) ซึ่งเป็นตัวแทนของแพทย์ในสหราชอาณาจักร ออกแถลงการณ์กล่าวหารัฐบาลว่ากำลัง "จงใจเพิกเฉย" ไม่ใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 "รัฐบาลเวสต์มินสเตอร์บอกว่า พวกเขาจะใช้แผนบี เพื่อป้องกัน NHS จากการรับมือคนไข้จำนวนมากไม่ไหว แต่ในฐานะแพทย์ที่ทำงานในแนวหน้า เราบอกได้เลยว่าเวลานั้น คือตอนนี้"

ขณะที่ นายมาร์ติน แมกคี ศาสตราจารย์ด้านสาธารณสุขยุโรปจากวิทยาลัยแพทย์เขตร้อนและสุขอนามัยลอนดอน กล่าวว่า "มีมาตรการหลายอย่างที่เป็นมาตรฐานในประเทศอื่นๆ และมีมาตรการมากมายของเราที่ไม่สอดคล้องกับชาติยุโรปตะวันตก และชาติอื่นทั่วโลก" "เราได้เห็นแล้วว่าในชาติยุโรปอื่นๆ มาตรการร่วมสามารถสร้างความแตกต่างอย่างใหญ่หลวง เราควรถามตัวเราเองว่า เราทำถูกหรือไม่? เพราะไม่มีหลักฐานชี้ว่าเราทำถูกต้อง"

ทำไมยอดติดโควิดพุ่งสูง?
ผู้เชี่ยวชาญให้เหตุผลที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหราชอาณาจักรกลับมาพุ่งสูงไว้หลายข้อ ตั้งแต่การไม่ยอมใส่หน้ากากป้องกันในตอนที่มาตรการยังบังคับใช้อยู่ ไปจนถึงการรวมตัวกันเป็นจำนวนมากในที่ร่ม ซึ่งเปิดโอกาสให้ไวรัสแพร่กระจาย ขณะที่การฉีดวัคซีนให้เด็กล่าช้า แต่กลับอนุญาตให้เด็กกลับไปโรงเรียนในเดือนกันยายน ก็ถูกยกเป็นหนึ่งในสาเหตุเช่นกัน

แต่สิ่งที่ย้อนแย้งที่สุดคือ การเริ่มฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็วของสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ธันวาคม 2563 ก็อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นในตอนนี้ด้วย เพราะผลวิจัยต่างๆ ทำให้เรารู้แล้วว่า ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนจะเริ่มลดลงเมื่อเวลาผ่านไป 5-6 เดือน

ดร.อีริค โทโปล ผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัย สคริปป์ส ตั้งข้อสงสัยในประสิทธิภาพของวัคซีนแอสตราเซเนกา หลังจากมีผลการศึกษาของสำนักงานสาธารณสุขอังกฤษชี้ว่า การป้องกันการติดเชื้อของวัคซีนชนิดนี้ (ฉีดครบ 2 โดสแล้ว) ลดลงจาก 66.7% เหลือ 47% หลังจากผ่านไป 20 สัปดาห์ ขณะที่วัคซีนของไฟเซอร์ประสิทธิภาพลดลงจาก 90% เหลือ 70% ในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่การป้องกันผู้ติดเชื้อโควิดเดลตาเข้าโรงพยาบาล ก็ลดลงจาก 90% เหลือต่ำกว่า 80% หลังผ่านไป 140 วัน แต่วัคซีนไฟเซอร์ยังคงเกิน 90%

ความรู้ใหม่เรื่องการลดลงของภูมิคุ้มกัน ทำให้สหราชอาณาจักร รวมถึง อิสราเอล สหรัฐฯ และชาติอื่นๆ ในยุโรป ตัดสินใจในเดือนกันยายน แนะนำให้ผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี, บุคลากรทางการแพทย์ และผู้มีปัญหาสุขภาพ ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสตั้งแต่ 6 เดือนก่อน มารับวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งตอนนี้มีผู้เข้าข่ายราว 6.5 ล้านคน และในจำนวนนี้ได้รับวัคซีนเข็ม 3 ไปแล้วประมาณ 3.6 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังคงออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งความเร็วในการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีน รวมทั้งเร่งฉีดวัคซีนกระตุ้นให้เร็วขึ้น พร้อมกับเตือนให้เลิกพึ่งพาแนวคิดเรื่องภูมิคุ้มกันหมู่ได้แล้ว "ยูเคดูเหมือนจะค่อยๆ ตื่นขึ้นมายอมรับข้อเท็จจริงว่า ผู้ติดเชื้อโควิดนั้นสูงเกินไปแล้ว แต่ในความเป็นจริง จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นมาหลายเดือนแล้วและหลายประเทศก็จับเราขึ้นบัญชีแดง" ศ.ทิม สเปกเตอร์ ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาพันธุศาสตร์ จากวิทยาลัย คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน กล่าว

"การติดเชื้อยังสูงในหมู่คนหนุ่มสาว และกำลังจะลามไปสู่คนอายุ 35-55 ปี ซึ่งหากมันไปถึงกลุ่มคนอายุมากกว่า 55 ปีเมื่อไหร่ ก็อาจก่อให้เกิดหายนะแก่ NHS ในช่วงฤดูหนาวได้" ศ.สเปกเตอร์กล่าว "ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขนาดนี้ มันชัดเจนว่าภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ได้เกิดขึ้น และความเสี่ยงก็คือ คนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าพวกเขาปลอดภัยหากติดโควิดแล้ว หรือได้รับวัคซีนสักเข็ม เราต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ทุกคนได้รับวัคซีน 2 เข็ม และหยุดรอให้ภูมิคุ้มกันหมู่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติได้แล้ว"

โดย ทิตชนม์ สว่างศรี

Source: ไทยรัฐออนไลน์
TRADE RIDER

*

PoNgPk

  • 6,073
(Oct 24) นักวิจารณ์ชี้ แผนเปลี่ยนชื่อ 'เฟสบุ๊ค' เป็นเพียง 'การสับขาหลอก' : แผนการเปลี่ยนรีแบรนด์ตนเองของ เฟสบุ๊ค (Facebook) กลายมาเป็นเป้าวิจารณ์ของผู้ที่จับตาดูบริษัทสื่อสังคมออนไลน์ชั้นนำแห่งนี้แล้ว โดยหลายคนเชื่อว่า แผนงานนี้เป็นเพียงการ 'สับขาหลอก' เพื่อลดความสนใจของสาธารณะเกี่ยวกับข่าวอื้อฉาวและประเด็นร้อนต่างๆ ที่ถาโถมเข้าใส่ตนอย่างไม่หยุดหย่อน

กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่เรียกตนเองว่า The Real Facebook Oversight Board หรือ คณะกรรมการกำกับดูแลตัวจริงของเฟสบุ๊ค ออกมาเตือนว่า สิ่งที่ เฟสบุ๊ค อาจพยายามทำอยู่นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่หลายแห่ง เช่น น้ำมัน และ ยาสูบ ต่างเคยพยายามเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ หรือ รีแบรนด์ ตนเอง เพียงเพื่อหลบหนีปัญหาที่เผชิญอยู่ ณ จุดนั้นกันมาแล้ว

ทางกลุ่มได้ออกคำแถลงเกี่ยวกับประเด็นนี้ ที่ระบุว่า "เฟสบุ๊ค คิดว่า การทำรีแบรนด์จะสามารถช่วยเปลี่ยนประเด็นที่มีคนพูดถึงตนเองได้" และชี้ว่า ปัญหาที่แท้จริงนั้นก็คือ การที่ต้องมีกระบวนการกำกับดูแลและควบคุมบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างหาก
แต่หลังจากมีข่าวเกี่ยวกับแผนเปลี่ยนชื่อออกมา แอนดี้ สโตน โฆษกของ เฟสบุ๊ค บอกกับสำนักข่าว เอเอฟพี ว่า "เรา (เฟสบุ๊ค) ไม่มีความเห็นใดๆ และไม่ขอยืนยันรายงานของ The Verge"

ประเด็นการเตรียมเปลี่ยนชื่อและรีแบรนด์ของ เฟสบุ๊ค นั้น ถูกรายงานออกมาครั้งแรกโดยบล็อกเทคโนโลยี The Verge ซึ่งอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่สามารถเปิดเผยตัวตนได้ และระบุว่า เฟสบุ๊คจะประกาศรายละเอียดของแผนเปลี่ยนชื่อกลุ่มบริษัทในสัปดาห์หน้า โดยจะเป็นชื่อที่เน้นความเป็น metaverse ซึ่งก็คือ โลกดิจิทัลที่ผู้ใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีเสมือนจริง (VR – Virtual Reality) และเทคโนโลยีเสริมจริง (AR – Augmented Reality) สามารถสลับการใช้งานอุปกรณ์ที่ต่างกันและสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก อันเป็นสิ่งที่บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำแห่งนี้เชื่อว่า เป็นอนาคตที่ตนต้องมุ่งไปให้ถึง

SEE ALSO:
เฟสบุ๊ค วางแผนรีแบรนด์ตัวเอง-หวังเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กร
รายงานข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ระบุว่า มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอ ของ เฟสบุ๊ค พูดถึงการมุ่งหน้าสู่ metaverse มาตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคมแล้ว และบริษัทแห่งนี้ยังได้ลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีทั้งสองแบบอย่างมาก โดยได้เปิดตัวอุปกรณ์ใหม่ๆ เช่น หูฟัง Oculus VR ออกมา พร้อมๆ กับเร่งออกแบบอุปกรณ์แว่นตา และสายรัดข้อมือ AR อยู่ด้วย

และเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เฟสบุ๊ค ซึ่งมีบริษัทลูกที่นำเสนอแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอื่นๆ ในสังกัดมากมาย เช่น วอทส์แอป (WhatsApp) และ อินสตาแกรม (Instagram) เพิ่งประกาศแผนจ้างงานเพิ่ม 10,000 ตำแหน่งในสหภาพยุโรป เพื่อสร้าง metaverse อันเป็นแผนงานที่ ซัคเคอร์เบิร์ก ออกมาโปรโมทด้วยตนเอง

การประกาศจ้างงานเพิ่มของสื่อสังคมออนไลน์ชั้นนำแห่งนี้มีออกมา ขณะที่ทาง เฟสบุ๊ค ต้องเผชิญกับข่าวฉาวกระฉ่อนไปทั่ว รวมทั้งปัญหาระบบดับครั้งใหญ่ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าถึงบัญชีของตนได้ และเสียงเรียกร้องให้มีการบังคับใช้กฎเกณฑ์กับบริษัทแห่งนี้เพื่อควบคุมการสร้างอิทธิพลในสังคม

โดยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เฟสบุ๊ค ตกเป็นเป้าวิจารณ์จากหลายฝ่าย หลัง ฟรานซิส เฮาเกน อดีตพนักงานของบริษัทออกมาแฉผลการศึกษาที่จัดทำเป็นการภายในหลายชิ้น ซึ่งชี้ว่า เฟสบุ๊ค นั้นทราบดีว่าแพลตฟอร์มของตนนั้นเป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพจิตของผู้ใช้งานที่อายุน้อยๆ

SEE ALSO:
สภาสหรัฐฯ จี้เฟสบุ๊ค ชี้แจงกรณีอดีตลูกจ้างแฉบริษัท 'เน้นกำไรก่อนความปลอดภัยผู้ใช้'
หนังสือพิมพ์ เดอะ วอชิงตัน โพสต์ (The Washington Post) ตีพิมพ์บทความที่ชี้ว่า ความสนใจของ เฟสบุ๊ค เกี่ยวกับ metaverse นั้น "เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใหญ่ที่มุ่งหวังจะช่วยปรับปรุงชื่อเสียงของบริษัท ในสายตาของนักการเมืองทั้งหลาย และเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางของเฟสบุ๊ค ในส่วนของระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตยุคถัดไป"

แต่ เบเนดิคท์ เอฟแวนส์ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีซิลิคอน แวลลีย์ แย้งว่า การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ หรือ รีแบรนด์ ของ เฟสบุ๊ค ที่จะเกิดขึ้นนี้ ไม่ได้ตอบโจทย์ปัญหาพื้นฐานของแพลตฟอร์มตนเองเลย

เอฟแวนส์ ให้ความเห็นว่า "ถ้าหากเพียงจะตั้งชื่อใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม่ได้ดี ไม่ช้าไม่นาน คนอื่นก็จะรู้เองว่า แบรนด์ใหม่ที่ว่านี้ ก็ยังมีปัญหาเดิมๆ อยู่ดี" และว่า "การ 'รีแบรนด์' ที่ดีนั้น ควรจะเริ่มต้นด้วยการแก้ไขปัญหาต่างๆ เสียก่อน แล้วจึงค่อยสร้างแบรนด์ใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์(การใช้ผลิตภัณฑ์)ใหม่นี้"

อย่างไรก็ดี หาก เฟสบุ๊ค จะเดินหน้าแผนรีแบรนด์นี้ดังที่มีการรายงานออกมา เพื่อลดระดับความสำคัญของธุรกิจต่อกลุ่มบริษัทลงให้น้อยกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้นน่าจะเป็นแค่เพียงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรไปเป็นเหมือนของ บริษัท อัลฟาเบท (Alphabet) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ กูเกิล (Google) ที่ทำการปรับโครงสร้างตนใหม่ไปเมื่อปี ค.ศ. 2015 ซึ่งท้ายที่สุด ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความจริงที่ว่า ระบบค้นหาข้อมูลยอดนิยมแห่งนี้ ยังคงเป็นธุรกิจหลักที่ผู้คนรู้จัก พูดถึง และยอมรับในตัวกลุ่มบริษัทนี้ที่เปิดตัวธุรกิจอื่นๆ ออกมาให้ผู้บริโภคใช้งานหลายอย่าง เช่น โครงการรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตนเอง Waymo (เวย์โม) และโครงการเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ Verily (เวริลี่) เป็นต้น

เว็บข่าวออนไลน์ Vox ให้ความเห็นในเรื่องนี้ไว้ว่า โดยปกติ การที่บริษัทแห่งหนึ่งที่มีขนาดใหญ่แบบเดียวกับ เฟสบุ๊ค จะเปลี่ยนชื่อตนเองนั้น ต้องมีการวางแผนและกลยุทธ์ระยะยาวไว้ล่วงหน้าก่อน ดังนั้น การที่บริษัทเทคโนโลยีชื่อดังแห่งนี้จะดำเนินแผนรีแบรนด์คงไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งคิดออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่า ข่าวร้ายต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาในช่วงที่ผ่านมาคือ ตัวทำปฏิกิริยาที่เร่งให้กระบวนการตัดสินใจเปลี่ยนชื่อนี้เกิดเร็วขึ้น เพราะชื่อเสียงของบริษัทนั้นเริ่มเสียหายหนัก หลัง เฮาเกน อดีตพนักงานขึ้นให้ข้อมูลต่อรัฐสภาสหรัฐฯ

Source: VOA Thai
TRADE RIDER