กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เครื่องมือเด็ด! ช่วยวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่นักเทรดต้องมี

  • 0 replies
  • 593 views
เครื่องมือเด็ด! ช่วยวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่นักเทรดต้องมี

เครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นตัวช่วยที่ทำให้เทรดเดอร์เข้าใจภาพรวมของตลาดและสภาวะทางเศรษฐกิจ รวมถึงผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งบอกเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน ผลประกอบการ และมุมมองด้านการลงทุนของบริษัทเหล่านั้น ที่สำคัญเครื่องมือบางตัวยังใช้เปรียบเทียบมูลค่าหุ้นของบริษัทที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือมีขนาดบริษัทเท่าๆ กันได้อีกด้วยครับ


ในบทความวันนี้ เราจะมารีวิวสุดยอดเครื่องมือและโปรแกรมเด็ดที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อศึกษาและติดตามปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่ส่งผลต่อตลาด ไม่ว่าจะเป็นการจัดการสินทรัพย์ (Asset management), รายได้ของบริษัท (Company revenue), การดำเนินงานของธุรกิจ (Business production), อัตราดอกเบี้ย และอื่นๆ อีกมากมาย

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานประกอบการเทรด

แน่นอนว่าเป้าหมายสำคัญในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คือ การศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ของบริษัทเพื่อวิเคราะห์ราคาหุ้นของบริษัทนั้นๆ โดยหากนักเทรดรู้จักใช้ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานเหล่านั้นร่วมกับปัจจัยทางเทคนิค เช่น อารมณ์ตลาด (Market sentiment) หรืออินดิเคเตอร์ RSI ก็จะช่วยให้ท่านคาดการณ์ราคาหุ้นล่วงหน้าได้เช่นกัน

ที่สำคัญเทรดเดอร์จะต้องพิจารณาดูให้ดีว่าราคาหุ้นในปัจจุบันนั้นสอดคล้องกับมูลค่าหุ้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจะต้องใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อให้ท่านสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของหุ้นได้อย่างแม่นยำ

ดูผลประกอบการเป็นอันดับแรก

ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน นักลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูลหลายๆ อย่างรวมกัน โดยสิ่งแรกที่ท่านจะต้องพิจารณา คือ รายได้ของบริษัท ว่าบริษัทนั้นทำเงินได้เท่าไหร่หรือมีแนวโน้มผลประกอบการเป็นอย่างไรในระยะยาว

ถึงแม้การคำนวณรายได้ของบริษัทอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับนักเทรดมือใหม่ แต่รู้หรือไม่ว่าท่านสามารถติดตามการรายงานของบริษัทในแต่ละไตรมาสได้ง่ายๆ ซึ่งหากท่านสังเกตเห็นว่าบริษัทมีผลประกอบการสูง หุ้นของบริษัทก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นสูงตาม นักลงทุนก็จะได้รับเงินปันผลเพิ่มขึ้น แต่ถ้าหากบริษัทมีรายได้ลดลง นักลงทุนเองก็ควรรีบขายหุ้นของบริษัทเหล่านั้นทิ้งก่อนที่ราคาหุ้นจะร่วงไปมากกว่านั้น

เครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่ต้องใช้

การวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทจะต้องดูข้อมูลตัวเลขเยอะมากๆ และนอกจากรายได้ของบริษัทแล้ว ยังมีปัจจัยตัวเลขอื่นๆ ที่ส่งผลสำคัญต่อราคาหุ้น ด้วยเหตุนี้เอง นักลงทุนจึงควรใช้เครื่องมือตัวช่วยที่จะทำให้ท่านมองเห็นภาพรวมของมูลค่าหุ้นอย่างชัดเจน

เครื่องมือที่เรานำมาแนะนำในวันนี้สามารถหาได้ตามเว็บไซต์และโปรแกรมเทรดมากมาย ซึ่งจะช่วยให้ท่านประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้และสามารถศึกษาได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง และนี่คือเครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ท่านควรติดตาม ได้แก่:


  • EPS (ย่อมาจาก Earning per share) คือ กำไรสุทธิต่อจำนวนหุ้น ซึ่งเป็นการคำนวณจำนวนหุ้นกับรายได้ของบริษัท เพื่อดูว่านักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเท่าไหร่จากการถือหุ้นของบริษัทนั้นๆ
  • P/E (หรือ Price-to-earning ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นในตลาดและกำไรต่อหุ้น เพื่อเปรียบเทียบกำไรต่อหุ้นกับราคาขายในปัจจุบัน
    PEG (หรือ Projected earning growth) คือ อัตราส่วนระหว่าง P/E และอัตราการเติบโตของผลประกอบการ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ดูอัตราการเติบโตของหุ้นในระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
  • P/S (Price-to-sale ratio) คือ เครื่องมือที่ใช้ประเมินราคาหุ้นเปรียบเทียบกับผลประกอบการของบริษัท โดยนักวิเคราะห์อาจเรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า "Sales or revenue multiple ratio"
  • P/B (Price to book value ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นกับมูลค่าทางบัญชี (มูลค่าสินทรัพย์ที่แสดงในบัญชี) โดยมีวิธีคำนวณคือการนำมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นในไตรมาสที่ผ่านมามาหารกับราคาปิดของหุ้นนั้น
  • Dividend payout ratio คือ อัตราการจ่ายเงินปันผล ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ดูอัตราการเติบโตของบริษัทพิจารณาจากกำไรสะสมของบริษัทนั้นๆ โดยอัตราส่วนดังกล่าวจะเปรียบเทียบรายได้รวมทั้งหมดของบริษัทกับจำนวนการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นทั้งหมด ซึ่งจะทำให้นักลงทุนรับรู้ได้ว่าบริษัทมีแหล่งเงินทุนมากพอที่จะขยายกิจการได้มากน้อยแค่ไหนในอนาคต
  • Return on equity (หรือ Return on net worth) คือ อัตราส่วนระหว่างกำไรผลตอบแทนและส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) ซึ่งคำนวณได้จากการนำกำไรสุทธิ (Net income) ไปหารด้วย Equity นั่นเองครับ

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเครื่องมือส่วนมากสามารถใช้งานได้บนโปรแกรมวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานโดยเฉพาะ แต่ก็มีโปรแกรมหรือแพลตฟอร์มเทรดออนไลน์บางตัวที่มีเครื่องมือวิเคราะห์ทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคให้ใช้คำนวณอัตราส่วนที่สำคัญต่างๆ ได้ง่ายๆ โดยแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่นักเทรดนิยมใช้กัน ได้แก่ FinBox, SimplyWall และ WallStreetZen ซึ่งมีเครื่องมือตัวช่วยมากมายที่ทำให้เทรดเดอร์มือใหม่เข้าใจข้อมูลต่างๆ ได้มากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการเทรดมากมาย ไม่ต้องเสียเวลามานั่งคำนวณอัตราส่วนต่างๆ เองด้วยครับ

bonus-30-with-MTrading

สรุปสั้นๆ เกี่ยวกับเครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

เครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมีประโยชน์ต่อการเทรดอย่างมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเลขที่วิเคราะห์ได้ก็อาจไม่ได้เป็นการการันตีตัวเลขจริงที่แม่นยำซะทีเดียว เพราะตัวเลขอัตราส่วนต่างๆ อาจไม่สามารถบอกข้อมูลที่เทรดเดอร์จะต้องรู้เกี่ยวกับบริษัทนั้นๆ ได้ทั้งหมด แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็เพียงพอที่จะสามารถทำให้เทรดเดอร์มองเห็นภาพรวมการลงทุนของบริษัทได้มากขึ้น และช่วยให้ท่านเปรียบเทียบการลงทุนของแต่ละบริษัทได้จริง

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
รับโบนัส $30! พร้อมเทรด Forex สเปรดเริ่มจาก 0 ที่ MTrading


รับ $30 Bonus จาก MTrading